<<
กุมภาพันธ์ 2564
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28 
28 กุมภาพันธ์ 2564

:: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - เสรีภาพไม่ใช่การตามใจ ::


:: เสรีภาพไม่ใช่การตามใจ ::

เขียน : A.S. Neil
แปล : สมบัติ พิศสะอาด









เอ.เอส.นีล เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียน SummerHill ในประเทศอังกฤษ ในปี พศ. 2464
นับเป็นต้นแบบโรงเรียนทางเลือกและการเรียนรู้แบบ Home school ในยุคปัจจุบัน
แนวคิดในการจัดการศึกษาให้เด็กนักเรียนสามารถเรียนรู้อะไรก็ได้ที่ตนเองสนใจ
เพื่อดึงศักยภาพและพรสวรรค์ของตัวเองออกมาได้อย่างแท้จริง
โดยสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ระหว่างครูกับเด็กให้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์
เคารพความคิดเห็นระหว่างกัน และ เปิดพื้นที่ให้มีอิสระในการตัดสินใจโดยไม่มีการบังคับ
โดยปราศจากการออกคำสั่ง การลงโทษรุนแรง หรือกฎระเบียบที่เป็นไปเพื่อการควบคุม
ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้เด็กมีความมั่นใจ มีความเป็นตัวของตัวเอง
และจัดการระบบชีวิตของตัวเองได้ในที่สุด

หลังจากเผยแพร่แนวคิดของ SummerHill ในช่วงเริ่มต้น (ประมาณปี พ.ศ. 2503)
นีลต้องคอยตอบคำถามพ่อแม่จำนวนมากมายที่ไม่เข้าใจในหลักการของ SummerHill
จดหมายจำนวนมากถูกส่งมาเพื่อไถ่ถามถึงข้อสงสัยในใจของผู้ปกครองทั้งหลาย
นีลรวบรวมจดหมายทั้งหมดนำมาคัดแยกและตอบ จนกลายเป็นหนังสือเล่มนี้ในที่สุด



“เสรีภาพ” ไม่ใช่ “การตามใจ”
เป็นประเด็นสำคัญที่สุดของหนังสือเล่มนี้
เพราะในสมัยนั้น (หรือสมัยนี้ก็ตาม) พ่อแม่จำนวนหนึ่งยังเชื่อว่า
การเลี้ยงลูก คือ การสั่ง การสอน การบอกให้ทำตาม
คือ การตัดสินใจเลือกแทนลูกไปเสียทุกอย่าง ตั้งแต่เรื่องใกล้ตัวอย่าง ทรงผม การแต่งกาย
การกินข้าว การตื่นนอน หน้าที่ภายในบ้าน การเรียน การทำการบ้าน การเรียนพิเศษ ฯลฯ

ลูกที่ได้ดั่งใจ หมายถึง เด็กที่เรียบร้อย ว่านอนสอนง่าย สั่งอะไรก็ทำตาม ไม่เถียง ไม่ดื้อ
เรียนเก่ง ได้คะแนนสอบสูง ๆ และมีความสามารถพิเศษมากมายซึ่งพ่อแม่คัดสรรให้
ไม่ว่าเด็กจะอยากทำหรือไม่ก็ตาม เช่น ศิลปะ ดนตรี หรือกีฬา


ผมชอบตัวอย่างที่นีลยกมาเป็นตัวอย่างในการสอนที่โรงเรียน SummerHill
เสรีภาพ หมายถึง หากเด็กคนหนึ่งไม่พึงพอใจที่จะเรียนภายในห้อง
เขามีสิทธิเดินออกจากห้องเรียนได้ เพื่อไปทำสิ่งที่ตัวเองสนใจ
แต่ไม่มีสิทธิ์นั่งในห้องแล้วทำเสียงดังรบกวนเพื่อนร่วมชั้น
ครูที่นี่จะไม่ใช้ “ความเป็นครู” ตวาดหรือสั่งให้เด็กเงียบ
ไม่ใช้การลงโทษหรือประจานให้อาย เมื่อเด็กคนนั้นไม่พร้อมจะเรียนรู้
แต่เปิดโอกาสให้เด็กลองค้นหาว่าอะไรคือสิ่งที่เขาสนใจ
โดยไม่รบกวนสิทธิ์ของเพื่อน ๆ คนอื่นในขณะเรียนรู้


“เสรีภาพ” ที่ดีจึงต้องมาพร้อมกับการเคารพสิทธิ์ของผู้อื่น
เด็กจะเรียนรู้สิ่งนี้ได้ เพราะเขามีสิทธิ์เลือกในสิ่งที่ตนเองต้องการ
และในขณะเดียวกันก็ต้องเรียนรู้เคารพสิทธิในการเลือกของผู้อื่นด้วย
ไม่ใช่การทำตามใจตนเองทุกอย่างโดยไม่สนใจความรู้สึกของผู้อื่น


นีลตอบคำถามทุกเรื่องทุกข้อจากประสบการณ์การทำงานของเขา
ไม่ว่าจะเป็นคำถามเรื่อง การเบี่ยงเบนทางเพศ กิริยามารยาท หน้าที่และความรับผิดชอบ
การนับถือศาสนา ความแตกต่างเรื่องสีผิว ความรุนแรงในครอบครัว การใช้สื่อ
ปัญหายาเสพติด ช่องว่างระหว่างวัยในครอบครัว ไปจนถึงความกลัว และความผิดปกติในตัวเด็ก
หลายคำถามนีลตอบอย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่ดุเดือด
แต่ก็เพื่อจี้ให้ตรงประเด็นว่าเพราะอะไรพ่อแม่จึงคิดว่าลูกตัวเองผิดปกติหรือมีปัญหา
ทั้งที่แท้จริงแล้วรากเหง้าของปัญหาทั้งมวล อาจเกิดขึ้นจากทัศนคติที่ผิดพลาดของพ่อแม่
หรือเกิดจากวิธีการเลี้ยงดูลูกที่ไม่เหมาะสมต่างหาก


พ่อแม่หลายคนยังเลี้ยงลูกอย่างเข้มงวดกวดขัน กดดัน
เพื่อหวังว่าเด็กจะเติบโตมาอย่างสมบูรณ์แบบตามความคาดหวังของคนเป็นพ่อเป็นแม่
ทุ่มเททั้งแรงกาย แรงทรัพย์จำนวนมากเพื่อให้ลูกกลายเป็นอย่างที่พ่อแม่ต้องการ
โดยไม่เคยถามลูกสักคำว่าเขาเหนื่อยไหม มีความสุขไหม
ในการใช้ชีวิตเพื่อเป็นไปอย่างที่คนอื่นคาดหวัง


เข้มงวดกวดขันมากกับตามใจมาก
ก็มีโอกาสทำให้เด็กเสียคนได้มากพอกัน
สำคัญคือเขารับรู้ได้บ้างหรือเปล่า
ว่าอะไรคือสิ่งที่ตัวเองต้องการอย่างแท้จริง
รู้หรือไม่ว่าตัวเองอยากเรียนรู้อะไร อยากทำอะไร
อยากเติบโตขึ้นมาเป็นแบบใด
เพราะเด็กทุกคนควรมี “เสรีภาพ”
ที่จะถามตัวเองได้ ตอบตัวเองได้ในทุกคำถามของชีวิต
ด้วยตัวเขาเอง















 



Create Date : 28 กุมภาพันธ์ 2564
Last Update : 17 กรกฎาคม 2565 6:54:26 น. 22 comments
Counter : 337 Pageviews.  

 
เซียนกระบี่ลุ่มแม่น้ำวัง



ใช่เลยครับ เสรีภาพ ไม่ใช่การตามใจ แต่กับลูกนี่ อดตามใจไม่ได้จริง ๆ นะครับ

จากบล็อก ใช่อีกครับ เพลงนี้เป็นเพลงไม่กี่เพลงในยคใหม่ ๆ ที่โดนใจ


โดย: เซียน_กีตาร์ วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:6:14:48 น.  

 
สวัสดีตอนเช้าคร่า

มาแต่เช้า เพราะว่าวันนี้พาลูกไปลงแข่งค่ะ



โดย: Love Memoirist (blue_medsai ) วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:6:26:45 น.  

 
เสรีภาพ
ต้องมีขอบเขต
ไม่กระทบ(เสรีภาพ)ผู้อื่น


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:7:04:55 น.  

 
แสดงว่าแสดงตลกตามหน้าที่
แต่ไม่มีเสรีภาพในจิตใจซินะคุณก๋า
คนเราอย่างน้อยต้องมีเสรีภาพในการคิดนะ
ส่วนการแสดงออกก็ต้องมีขอบเขตกันบ้างจ้า



โดย: หอมกร วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:7:16:31 น.  

 
แนวคิดคุณนิล น่าจะเป็นทีมาของ ร.ร.สาธิตต่าง ๆ

ให้เด็กคิดทำเองแนะแนวนิด ๆ

...

งั้นลุง ๆ ก็โบราณซิเนาะ 555 เห็นห้ามโน่นห้ามนี่ต้องอยู่
ในโอวาท เออไปยุแยงให้แตกแล้ว จะปูนบำเหน็จให้ พอทำ
เสร็จก็ปูนกาหัวไว้ พออ้าปากจะทำโน่นทำนี่ขอเพิ่ม อะ
เตือนก่อน ถ้าไม่ฟังใช้ไม้เรียวรื้อฟืนความผิดยุแยงให้แตก
แล้วสอยซะ

...
คุณสุทธิชัย หย่น อ.วีระกะอีกคน ออกจาก อสมท. ไปอยํ่
ช่องนกบิน ตอนสองทุ่มกว่าวันเสาร์ คุยให้คิด เป็นชือ
ใหม่ ดีเหมือนกันครับ

ของลิ้มผมดูบางเรื่องที่วิเคราะห์ครับทำให้รู้อีกแนว

...
เช้านี้ที่แก่งเสี้ยน กาญจนบุรี อากาศเย็น 23 c ออกถ่าย
ภาพ 6 โมงกว่า แสงไม่มีเกือบ 2 โมงค่อย ๆ โผล่หมอกจริง
คลุมไปทั่ว


โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:8:09:00 น.  

 
รร.แนวนี้ ลูกเพื่อนที่เป็นอาจารย์เรียนอยู่เหมือนกันครับ
ทฤษฎี วิชาการไม่เน้น ไม่มีการบ้านอีกตะหาก(อ.เต๊ะ อยากจะไปสมัครเป็นครู รร.นี้จัง555)

แถม รร. ชอบให้ทำ กิจกรรมนอกห้องมาก บางทีพาไปดำนาบ้าง เกี่ยวข้าวบ้าง

เห็นมีช่วงนึง รร.กำลังต่อเติมห้องเรียน เลยบอกเด็ก ให้ไปบอกผู้ปกครองมาช่วย ขนทรายมั่ง ทาสีมั่ง ประหยัดค่าแรงไปได้อื้อเลยละครับ555

ปล. รูปก่อนสุดท้าย ท่าทางจะโดนใจคุณก๋า เน้น ตัวใหญ่เป้งเลยนะครับนี่ 555


โดย: multiple วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:8:25:16 น.  

 
สวัสดียามเช้าค่ะพี้ก๋า


โดย: mariabamboo วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:8:44:04 น.  

 
เห็นชื่อหนังสือแล้วขำมากครับ


เมื่อวานเพิ่งมีเรื่องกับหลานสาวไปหยกๆ เรื่องใหญ่โต ถึงกับจับมานั่งคุยกัน ปรับทัศนคติกัน


นางบ่นเล็กๆว่า "ลุงให้อิสระหนูในการคิด แต่ลุงชอบมีแนวความคิดให้หนูทำตาม" ...... ฮ่าๆๆๆๆๆ


ขำนางมากๆ คือเอาวิธีของคุณผัดไท ดีใจ ดีดีดี (ผู้ซึ่งเป็นพี่โรงเรียนสวนนนท์เหมือนกัน) มาสอนหลานสาว คุณผัดไทบอกว่าเราต้องให้อิสระเด็กในการคิดแต่เราก็สามารถวางแนวความคิดให้กับเด็กไปด้วย ....


นางรู้ไต๋เราแล้ว สงสัยต้องหาวิธีการสอนแบบใหม่ๆมาหลอกนางต่อไป ฮ่าๆๆๆๆๆๆ


โดย: ทนายอ้วน วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:9:37:10 น.  

 
อรุณสวัสดิ์ค่ะ
ชอบข้อความสุดท้ายค่ะ

จาก ปสก แทบจะไม่เคยเห็นพ่อแม่ไหนบังคับลูกเลยค่ะ
ถ้ามีคงน้อยกว่า 0.01% ที่มากคือพวกตามใจลูกเกิน
ปัญหาน่าจะอยู่ที่การเลี้ยงแบบไม่เลี้ยง คือ ปล่อยตามยถากรรม
ว่านั่นคือ เสรีภาพของเด็ก สุดท้ายก็พบเจอในสถานพินิจ
เลี้ยงดูคนก็คงไม่ต่างจากต้นไม้ ดูแลย้ายที่ ใส่ปุ๋ย รดน้ำ บังแดดให้ทั้งหมด หวังให้ต้นไม้เติบโตสวยงาม ต้นไม้สุขเราก็สุขไปด้วย
ส่วนการเรียนการสอนในสถานศึกษา มันก็คือ ใบไม้กำมือเดียวทางการศึกษาที่บุคคลควรได้รับ ถ้าใครจะรู้จะศึกษามากกว่านั้น ก็เป็นเสรีภาพของเขาเอง มองในด้านดีทำให้ไม่คับข้องใจค่ะ


โดย: mcayenne94 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:9:51:33 น.  

 
สวัสดีมีสุขค่ะ

ชอบตรงที่ เสรีภาพ ไม่ใช่การตามใจ
และ เสรีภาพที่ดีต้องมาพร้อมการเคารพสิทธิ์ผู้อื่น

เลี้ยงลูกมาให้เสรีภาพในการเลือกเรียน เลือกสาขา
แต่ก็อดไม่ได้ที่จะเล่าถึงเรื่องโอกาสในอนาคตด้วย
นอกจากความสุขในการประกอบอาชีพ

พอลูกมีการงานทำตามความสามารถและความพอใจ
เลี้ยงตนให้อยู่รอดในโลกที่ผันแปรได้แล้ว
พี่ก็ปลอดโปร่งโล่งหัวใจยิ่งนัก
นอนตายตาหลับแล้วค่ะ



โดย: ตะลีกีปัส วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:13:54:53 น.  

 
สวัสดีวันหยุดครับ

มาอ่านรีวิวหนังสือที่มีคติข้อคิดดีๆด้วยครับ



โดย: Sleepless Sea วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:14:27:58 น.  

 
ผมว่าพื้นฐานทางครอบครัว การเลี้ยงดูของพ่อแม่ มีผลต่อลูกมากจริง ๆ ครับ อย่างข่าวครอบครัวหัวร้อน อาทิตย์ที่แล้วมาอาละวาดอีกละครับ เป็นกันทั้งครอบครัวเลย
ลิเวอร์พูลเจอบ๊วย ไม่ง่ายเหมือนกันนะครับ


โดย: The Kop Civil วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:14:43:37 น.  

 
เสรีภาพในห้องเรียน ถ้ามีเกิดขึ้นในเมืองไทยคงเป็นอะไรดีมาก ๆ เลยนะคะ ถ้าไม่ชอบก็ไม่ต้องทนเรียนอยู่ครบชั่วโมง


โดย: comicclubs วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:15:55:20 น.  

 
สวัสดีค่า พี่ก๋า

แฟนเหม่งเค้าก็สไตล์นี้ตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้วค่ะ
แรกๆ สลับกันตดลั่น เขินอายกันไป 55555
หลังๆ มานี่เป็นเรื่องในชีวิตประจำวันไปแล้วค่ะ
คนที่ซื่อสัตย์ ต่อให้ตดเหม็น ก็ยังน่ารักเสมอค่ะ 5555

สิทธิและเสรีภาพมาทีหลัง หน้าที่มาก่อนค่ะ
ทุกวันนี้คุยกับแฟน ถ้ามีลูกแล้วตั้งใจจะสอนให้เค้ารู้จักหน้าที่
รู้จักที่จะตัดสินใจและเลือกเคารพผลที่จะตามมาให้ได้ค่ะ
รู้จักขอบเขตของตัวเอง ไม่ไปละเมิดผู้อื่นค่ะ

คนเราพัฒนาให้ดีขึ้นได้เสมอ ถ้าไม่หยุดการเรียนรู้ค่ะ
ไม่ใช่แค่เด็กที่เรียนรู้ได้ ผู้ใหญ่ก็เรียนรู้ได้เช่นกัน

ความรู้ในห้องเรียนก็แค่เป็นเหมือนใบเบิกทางเบื้องต้น
สุดท้ายแล้วพอโตมาแล้วมีความสนใจเรื่องใดๆ
ก็สามารถศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมต่อไปได้เรื่อยๆ ค่ะ
เมืองไทยเราเอาระบบการศึกษาในยุคอุตสาหกรรมมา
คือระบบการศึกษาที่ผลิตแต่คนป้อนเข้าไปเป็นแรงงาน
ไม่ได้ผลิตให้ไปคิด วิเคราะห์ หรือส่งเสริมพัฒนาใดๆ ค่ะ
ระบบการศึกษาล้าหลัง หลักสูตรก็ไม่ต้องพูดถึงค่ะ

เหม่งเคยไปอยู่ทางฝั่งอเมริกา เคยไปเลี้ยงน้องๆ ที่โน่น
การศึกษาในบ้านเมืองเค้า ไม่มีหนังสือหนักๆ ไปเรียน
แต่ฝึกให้เด็กรู้จักคิด วิเคราะห์ จินตนาการ ให้เหตุผล
การรู้จักแสดงออก ตั้งแต่ชั้นอนุบาลเลยค่ะ
น้องไม่ได้เรียนหนัก แต่น้องจะมีกิจกรรมเยอะ
ทำให้รู้จักการเข้าสังคม และช่วยเหลือชุมชนตั้งแต่เด็ก

มีบังคับให้อ่านหนังสือแล้วมาเล่าเรื่อง มาวิเคราะห์ให้เพื่อนๆ ฟัง
หนังสือจะเป็นเล่มไหนก็ได้ เรื่องใดก็ได้ แล้วแต่สนใจ
อย่างน้อยหนังสือต้องอ่านสัปดาห์ละ 3 เล่มเป็นอย่างต่ำค่ะ
พวกนิทานอีสปบ้านเรา สรุปไว้ให้ แต่ประเทศเขา ไม่มีค่ะ
แต่จะเป็นคำถามให้ไปคิดเอง ว่า ทำไมถึงเป็นแบบนั้น
ทุกคนจะคิดวิเคราะห์ออกมาหลากหลายแบบมาก
ไม่มีอะไรตายตัว เห็นแล้วก็ชอบการเรียนการสอนเค้ามากค่ะ
มีวิชาหลักที่ต้องเรียนอยู่ เพราะเป็นพื้นฐานที่ทุกคนต้องมี
แต่วิชารองอื่นๆ เลือกเรียนได้ตามที่สนใจค่ะ
การเรียนแบบผสมผสาน เลยทำให้ได้ประชากรที่มี
คุณภาพเพิ่มมากขึ้น มากกว่าเรียนแบบไม่บังคับเลย
เสรีภาพเกินร้อย หรือ บังคับมากเกินไป ไม่มีอิสระใดๆ ค่ะ


โดย: Princezz Matcha Latte วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:16:50:33 น.  

 
สวัสดีครับน้องแตง

รร.เก่าหมิง
ถ้าเด็กคนไหนไม่อยากเรียน
สามารถเดินอออกไปนอกห้องได้เลย
โดยที่ไม่มีสิทธิ์รบกวนเพื่อนที่กำลังเรียนอยู่
พี่ก๋าชอบนะแนวคิดนี้
แต่ รร. ส่วนใหญ่ ไม่ใช่แบบนี้
แต่เป็นแบบอำนาจนิยม ชอบสั่งการ
ชอบบังคับ หวังผลว่าเด็กจะเป็นเหมือนกันหมด
น่าเศร้านะครับ
เพราะเด็กไม่ใช่สินค้าจากโรงงานซึ่งต้องเหมือนกันไปหมดทุกอย่าง




โดย: กะว่าก๋า วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:18:09:02 น.  

 
สวัสดี จ้ะ น้องก๋า

"เสรีภาพไม่ใช่การตามใจ" หนังสือเล่มนี้ น่าจะเป็นแนวคิด
ที่ดีสำหรับใช้ในวงการศึกษา เนาะ

ทุกคนก็ต้องการเสรีภาพทั้งนั้น แต่คนเรามักจะต้องการ
เสรีภาพ แต่ไม่รู้จักหน้าที่ ไม่รู้จักขอบเขตของเสรีภาพ ข้อสำคัญ
คือ ขาดการศึกษากฎระเบียบด้วย ปัจจุบันสังคมจึงมีปัญหาต่าง ๆ
เกิดขึ้นไม่มีที่สิ้นสุด โชคดี ที่ครูเกษียณจากการสอนมานาน ถ้า
เจอเสรีภาพตามความคิดของเด็กยุคใหม่ (ไม่ใช่ทุกคนนะ ที่ดี ๆ
เขาก็มีเยอะ) ไม่งั้นก็คงกลุ้มใจเหมือนกัน ต้องจัดเตรียมวิธีการ
เตรียมหาเหตุผลมาให้เขาเข้าใจและยอมรับได้โดยศิโรราบ อิอิ

โหวดหมวด แนะนำหนังสือ


โดย: อาจารย์สุวิมล วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:18:35:13 น.  

 
หลานแม่ซองฯก็เรียน home school สามปี
ตอนนี้เอาเข้าโรงเรียนประจำของคุณภัทราวดี มีชูธนแล้ว
เขาสอนคล้ายๆแบบโฮมสกูลค่ะ


โดย: ซองขาวเบอร์ 9 วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:19:44:49 น.  

 
น่าสนใจที่ในคอมเม้นต์มีเพื่อนบล็อกพูดถึงโฮมสคูลกัน และน่าสนใจยิ่งกว่าที่ปัจจุบันมีแนวคิดโฮมสคูลกันมากขึ้น อะไรทำให้โรงเรียนแบบเก่าๆ ไม่เป็นที่พอใจและน่าไว้ใจ? ถ้ามีเงินมากพอก็น่าทำโฮมสคูลครับ

ปัญหาใหญ่คือการละเมิดกฎ ซึ่งต้องย้ำว่ากฎดังกล่าวที่กล่าวถึง "ไม่ได้เป็นกฎที่เรามีส่วนร่วม" ด้วย ขอนอกเรื่องหน่อย กล้อนผมนักเรียน ไม่นานมานี้มีอีกแล้ว ผมเน้นย้ำเสมอนะครับว่า "ถ้าจะต้องไล่เด็กออกเพราะไม่ยอมตัดผมก็ต้องทำ" แต่ "ครูไม่มีสิทธิ์ในการไปตัดผมเด็ก" กฎไม่อนุญาตในการทำโทษลักษณะนี้ ไม่ต้องอ้างว่าเดี๋ยวเด็กจะเสียอนาคต ถ้ามันจะต้องเสียก็ต้องให้มันเสียครับ ไม่ใช่ไปละเมิดมัน


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:21:37:48 น.  

 
สวัสดีครับคุณก๋า

ตามเข้ามาอ่านหนังสือครับ

ความเห็นส่วนตัวผมว่าครอบครัวเป็นจุดเริ่มต้นของทุกชีวิตครับ


โดย: มาช้ายังดีกว่าไม่มา วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:23:36:53 น.  

 
ก็ผมนี่แหละกริมาลดี
จุดใต้ตำตอ แต่คำแนะนำดีนะคะคุณก๋า

ขอบคุณคุณก๋าสำหรับรีวิวค่ะ
ราตรีสวัสดิ์นะคะ


โดย: Sweet_pills วันที่: 1 มีนาคม 2564 เวลา:0:39:59 น.  

 

สวัสดีค่ะน้องก๋า

หน้งสือเล่มนี้น่าอ่านค่ะ


โดย: newyorknurse วันที่: 1 มีนาคม 2564 เวลา:1:49:15 น.  

 
ชอบหลักแนวทางของ ซัมเมอร์ฮิล มากครับ


โดย: ธี IP: 202.57.188.3 วันที่: 22 พฤศจิกายน 2566 เวลา:8:50:51 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กะว่าก๋า
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 392 คน [?]




มองฉันอีกครั้ง
เธออาจเห็นฉัน
หรืออาจไม่เห็นฉัน

ฉันแค่แวะผ่านทางมา
และอาจไม่หวนกลับมาทางนี้อีกแล้ว

เราเคยรู้จักกัน
และมันจะเป็นเช่นนั้นตลอดไป

มองดูฉันอีกครั้ง
เธออาจเห็นฉัน
และฉันอาจมองไม่เห็นเธอ.





[Add กะว่าก๋า's blog to your web]