<<
มกราคม 2562
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
26 มกราคม 2562

:: กะก๋าแนะนำหนังสือ : พุทธตันตระ ::

 
:: พุทธตันตระ ::

เขียน : สมเกียรติ โล่เพชรัตน์










ศาสนาพุทธ นิกายตันตระ เป็นหนึ่งในแนวทางการวิวัฒน์ตนเอง
เพื่อให้อยู่รอดและมีพื้นที่ทางความเชื่อ ในท่ามกลางความแตกต่างระหว่างศาสนา
นานนับพันปีที่ศาสนาต่าง ๆ เกิดขึ้นมาบนโลกนี้
ท่ามกลางความกลัว การเมือง การปกครอง และความเชื่อ
ซึ่งแตกต่างไปตามสภาพพื้นที่ อากาศ และวัฒนธรรม

เราสามารถแบ่งศาสนาออกเป็นสามสายหลักสำคัญ คือ


ศาสนาสายอารยัน (Arayan)
เช่น ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาฮินดู ศาสนาเชน ศาสนาพุทธ เป็นต้น


ศาสนาสายเซมิติค (Semitic)
เช่น ศาสนายูดาย ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม


ศาสนาสายมองโกล (Mongol)
เช่น ศาสนาเต๋า ศาสนาขงจื๊อ ศาสนาชินโต เป็นต้น



และในแต่ละศาสนายังแยกย่อยออกเป็นนิกายหรือลัทธิจำนวนมาก
การศึกษาแนวคิดต่าง ๆ ทางด้านศาสนาและปรัชญาจึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจสำหรับผม

พุทธตันตระ ก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางการฝึกฝนตนที่ผมสนใจ

ในพุทธศาสนา อาจแบ่งเป็นสองนิกายหลัก
คือ นิกายเถรวาท หรือ นิกายหินยาน
กับ นิกายอาวาริยวาท หรือ นิกายมหายาน
ถามว่าสิ่งใดคือความแตกต่าง ย่อม ไม่อาจชี้ชัดลงไปได้อย่างชัดเจน
เพราะที่สุดแล้วหลักคำสอนในศาสนาพุทธ
คือ การปฏิบัติฝึกฝนตนเพื่อให้พ้นทุกข์ จนถึงที่สุดในนิพพาน

แม้พุทธศาสนาจะก่อกำเนิดขึ้นในอินเดีย
ในอินเดียเองเมื่อมาถึงจุดหนึ่ง
ศาสนาพุทธก็ถูกหวาดล้างทำลาย จากศาสนาฮินดู พราหมณ์
รวมถึงในยุคที่ศาสนาอิสลามครองความเป็นใหญ่ในอินเดีย
ซึ่งแทบจะทำให้ศาสนาพุทธสิ้นไปตลอดกาลในแผ่นดินต้นกำเนิด
บริบทของคำสอนและการปฏิบัติต่าง ๆ ได้ถูกปรับเปลี่ยน ผสมกลมกลืน
กับความคิดความเชื่อต่าง ๆ ของศาสนาอื่น
เพื่อให้ศาสนาพุทธสามารถดำรงอยู่ได้



พุทธตันตระจึงกลายเป็นนิกายสุดท้ายของศาสนาพุทธในประเทศอินเดีย
เป็นการผสมผสานระหว่างนิกายเถรวาทและมหายาน
ก่อนจะไปเติบโตและหยั่งรากลึกลงในประเทศธิเบต และเนปาล

จิตรกรรม รูปเคารพ ไปจนถึงหลักคำสอนของพุทธตันตระ
จึงมีความแตกต่างจากคำสอนในนิกายเถรวาทที่เราคุ้นเคย
ภาพบางภาพสร้างความสับสน งุนงง ไปจนถึงสร้างความไม่พอใจ
ให้กับศาสนิกชนที่มองดูโดยปราศจากความเข้าใจ
ในปรัชญาที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังความหมายภาพหรือรูปเคารพเหล่านั้น


การมองเห็นความจริง หรือการรู้แจ้งในพุทธตันตระนั้น
มิได้รู้แจ้งหรือตรัสรู้แล้วหยุดนิ่งไปตลอด แต่ผู้บรรลุธรรมยังต้อง
‘รักษา’ และเพียรปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนกว่าจะสิ้นชีพ
และแม้จะสิ้นชีพไปแล้ว ก็ยังมิปรารถนาไปสู่แดนนิพพาน
หากแต่ยังตั้งจิตไว้ว่าจะขออยู่ช่วยเหลือสรรพสัตว์ในโลกนี้
จนกว่าจะพ้นทุกข์จนหมดสิ้น นี่คือ หัวใจหลักแห่งความเมตตา
ที่เห็นเด่นชัดมากที่สุดในหลักคำสอนของฝั่งมหายานหรือพุทธตันตระนั่นเอง


‘พุทธตันตระ’ จึงเป็นอีกหนึ่งแนวคิด
ที่เน้นการฝึกฝนตนจนจิตเกิดสุญญตาภาวะเพื่อสามารถบรรลุธรรม
และเข้าสู่นิพพานภูมิในช่วงเวลาใดก็ได้ หากแต่ผู้ฝึกฝนตนจนบรรลุแล้ว
จะเลือกที่จะอยู่โปรดสัตว์จนหมดสิ้นจากความทุกข์ทั้งหมดเสียก่อน

การฝึกฝนตนจึงมีทั้งการเรียนรู้ท่าทางต่าง ๆ ที่เรียกว่าท่า ‘มุทรา’
รวมถึง ‘รหัสธรรม’ ต่าง ๆ ทั้งเชิงสัญลักษณ์ เครื่องหมาย รูปเคารพ
เพื่อใช้นำมาเป็นอุบายในการฝึกฝนจิต

หนังสือเล่มนี้อธิบายทั้งท่ามุทรา เครื่องหมาย สัญลักษณ์
ไปจนถึงปางต่าง ๆของพระโพธิสัตว์ รวมทั้งภาพประกอบของรูปเคารพต่าง ๆ
ในศิลปะของธิเบตและเนปาล


การอ่านหนังสือเล่มนี้ช่วยทำให้มองภาพรวมและแนวคิดของพุทธสายมหายาน
ได้ชัดเจนขึ้น มีความเข้าใจในที่มาที่ไปของรูปเคารพต่าง ๆ มากขึ้น

ถ้าจะมีข้อติติงอยู่บ้าง
คงเป็นคำผิดที่พบอยู่ในหลายจุดหลายแห่งในหนังสือเท่านั้นเอง








ภาพประกอบจากหนังสือและแต่งภาพด้วยแอพ Prisma






























 



Create Date : 26 มกราคม 2562
Last Update : 24 กุมภาพันธ์ 2563 22:22:34 น. 14 comments
Counter : 940 Pageviews.  

 
วิวัฒน์ตนเอง เพื่อการอยู่รอด..ของศาสนา...นั้น น่าคิดนะครับ

เจ้าของลัทธิ หรือผู้ร่วมเจตนาเผยแพร่ คงต้องคิด ว่าจะทำอย่างไร
ให้คนศรัทธา..จะตรงเกินไปก็ไม่เหมาะจริตคนละแวกนั้น

แต่ถ้าปรับแนวปฏิบัติหรือบัญญัติอะไรเพิ่ม กลายเป็น คล้อยตาม
คนทั่วไป.. ยิ่งไม่ได้ผล ต้องใช้กลาง ๆ ไว้

...

ที่ผ่านมา คนใช้ศาสนา ที่คนนับถือ แปลงคำสอนใช้ตีความให้
คนด้อยด้านนี้ บิดเบือน จะได้หาแนวร่วมหรือใช้คนนับถือเป็น
เครื่องมือ...แย่มาก ๆ

ผมมีเพื่อนที่เขาเคร่งครัดด้านศาสนา แต่เขาเป็นคนรักการศึกษา
นำข้อบัญญัติมาวิเคราะห์ แล้วเปรียบเทียบคำสอนที่มีคนบิดเบือน
เขาก็รู้แล้วว่า ตีความผิด..

เขาบอกว่า นั่นตีความผิด มิใช่คำสอนที่แท้จริง

แล้วคนแบบเขามีน้อยมาก ทำไงดี..

.....

อะ ผมเขียนให้ความเห็นซะยืดยาว..แล้วมาคิดถึง แนวคิด
ของผู้เขียนข้างบน.. เขาค้นคว้ามากจริง ๆ แล้วถ่ายทอด
ให้คนเข้าใจ... ไม่ง่ายเลย

เพราะเขียนด้านศาสนา ยาก..ที่จะให้คนอ่าน

เขียนแรงไปก็กระทบ อีกฝ่าย

ไปละครับฟ้าสางที่หัวหิน จะไปปั่นจักรยานเส้น เขาเต่าไป
เส้นปากน้ำปราณ ไบค์เลนดี เขาให้เฉพาะจักรยานปลอดภัย
มากกว่าเมื่อวาน ปั่นจากบ้านพัก ไปเส้น วัดห้วยมงคลไม่ไหว
ครับ ไหล่ทางแคบ รถยนต์วิ่งเร็ว เสียงดัง

วันนี้เปลี่ยนเส้นทางดีกว่า..






โดย: ไวน์กับสายน้ำ วันที่: 26 มกราคม 2562 เวลา:6:39:02 น.  

 
ไม่ได้ตั้งใจดึงรากในตม แต่ว่าดันออกแรงเยอะไปหน่อยจ้า


สวัสดีค่ะคุณก๋า เขียนเรืองๆบัว ว่าแล้วมื้อเย็นนี้

เจอแม่ค้าเจ้าไหนทำแกงสายบัวจะอุดหนุดซะเลย 30


โดย: โอน่าจอมซ่าส์ วันที่: 26 มกราคม 2562 เวลา:8:31:56 น.  

 
กี่บาทนี่
ถ้าจะต้องควักสตางค์ซื้อซะแล้ว
น่าสนใจจริงๆค่ะ
ขอบคุณที่แนะนำ

ให้ดวงตาเห็นธรรม
เช่นนี้เรียกว่าการเผยแผ่พุทธศาสนาแล้วนะคะคุณก๋า

การบอกต่อ ได้บุญมากนักแล


โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 26 มกราคม 2562 เวลา:8:57:23 น.  

 


โดย: (2) New Messages! IP: 139.99.104.93 วันที่: 26 มกราคม 2562 เวลา:9:22:11 น.  

 


โดย: The Kop Civil วันที่: 26 มกราคม 2562 เวลา:10:11:58 น.  

 


โดย: Total Antivirus 2019 – Save Up to 70% Off Antivirus Today - TotalAV IP: 139.99.104.93 วันที่: 26 มกราคม 2562 เวลา:13:57:38 น.  

 
ขอบคุณคะ ได้ความรู้ทางศาสนาพุทธมากขึ้นเลย
ไม่เคยค้นหาเรื่องราวเหล่านี้อ่านเพิ่มจากที่ไหน


โดย: Tui Laksi วันที่: 26 มกราคม 2562 เวลา:14:05:01 น.  

 
สวัสดี จ้ะ น้องก๋า

หนังสือ พุทธตันตระ อ่านจากการรีวิวของเธอ คิดว่า
เป็นหนังสือน่าสนใจเล่มหนึ่งนะ โดยเฉพาะคนทีี่ชอบศึกษาเรื่อง
เกี่ยวกับศาสนา น่าเสียดาย ตัวอย่างในหนังสือเล่มนี้ ทำไมยกมา
น้อยมากล่ะ มีแต่รูปเยอะเนาะ อิอิ

ความรู้ใหม่ ศาสนาแบ่งได้เป็น 3 สาย พุทธของไทยเรา
อยู่สาย อารยัน ส่วน นิกาย พุทธ ตันตระ มีในธิเบต เนปาล

อ่านจากความหมายและวิธีการของนิกายนี้ ชอบตรงที่ว่า
เมื่อศึกษาจนถึง นิพพานแล้ว ก็ยังคงคิดช่วยคนอื่น ๆ ต่อไป ไม่ไปแล้วไปลับ ความคิดนี้ ถ้ามีมาก ๆ ในสังคมธรรมดา จะช่วยให้
สังคมเป็นสุขเนาะ

ที่จริง เต๋า ขงจื้อ ไม่เป็นศาสนานะ เป็นลัทธิ ไม่ใช่
เหรอ ไม่ใช่ศาสนา เป็นเพียงลัทธิที่สอนประชาชนในจีน ลัทธิ
ขงจื้ิิอ เน้นมากคือ เรื่องของความ กตัญญู ซึ่งเป็นคุณธรรมที่
อยู่และใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย ไม่มีล้าสมัยเลยเนาะ

โหวดหมวด รีวิวหนังสือ



โดย: อาจารย์สุวิมล วันที่: 26 มกราคม 2562 เวลา:16:45:15 น.  

 
สวัสดีมีสุขค่ะ

ต้องออกตัวก่อนว่าไม่คุ้นเคยกับหนังสือประเภทนี้ค่ะ
ภาพเคารพของหนังสือสีสดใส ลวดลายแยะดี
ภาพเคารพของพุทธศาสนาบ้านเราเรียบง่ายสงบสบายตาสบายใจ..คนละอารมณ์กัน

ศาสนาก็ต้องปรับเพื่อให้คงอยู่เช่นกันนะคะ
น่าสนใจค่ะ


โดย: ตะลีกีปัส วันที่: 26 มกราคม 2562 เวลา:16:52:31 น.  

 
อ่านวันนี้ ได้ความรู้
คุณก๋าเรียบเรียงออกมาหื้ออ่านแล้วเข้าใจชัดเจนดีเจ้า
เคยฟังประวัติของศาสนาพุทธ และอีกหลาย ๆ ศานา
จากธรรมนิยายของหลวงพ่อจรัญ ตอนเปิ้นไปประเทศอินเดีย

เลยมีประวัติแต่ละที่และศาสนาที่เกิดขึ้นในอินเดีย
และในพุทธกาล ความเป็นมาเป็นไป มาเล่าสู่
ลืมเลือนไปผ่องแล้ว จำได้ลาง ๆ เพราะมีหลายตอนมาก
มาอ่านที่คุณก๋ารีวิว ทำให้หันภาพเด่นชัดขึ้นมาผ่องเจ้า

สงครามที่ยิ่งใหญ่ทำลายล้างชาติ
นอกจากขยายอาณาจักรการปกครองแล้ว
ก็จะมีสงครามศาสนาเนี่ยเนอะเจ้า ที่ทำลายผู้คนไปเยอะมาก

ปัจจุบัน กลายเป็นสงครามการเงินแทน
ที่กำลังทำหื้อโลกสั่นคลอน เศรษฐกิจย่ำแย่

วันนี้ไปเดินร้านหนังสือสุริวงค์มา
ได้หนังสือมา 2 เล่ม ได้พระไตรปิฎก โดย วศิน อินทสระ
มาไว้เล่ม แต่จะได้อ่านมะใดบะฮู้ 555
ทำดีขนาดเจ้า อยากเก็บมากกว่าอยากอ่าน
กลัวว่าถ้าบะซื้อมาถ้าไค่อ่านไปหาบะเจอละ


โดย: JinnyTent วันที่: 26 มกราคม 2562 เวลา:18:03:22 น.  

 
ต้องการเพียงดอกบัว ดึงรากมาทำไม...น่าคิดนะคะ

สวัสดีวันหยุดค่ะคุณก๋า..


โดย: สันตะวาใบข้าว วันที่: 26 มกราคม 2562 เวลา:18:43:42 น.  

 
มีคำศัพท์ คำเรียกไม่คุ้นหลายคำเลยค่ะ

เล่มนี้ปกสวยค่ะ



โดย: สายหมอกและก้อนเมฆ วันที่: 26 มกราคม 2562 เวลา:19:15:12 น.  

 
พักยาวเลยครับลิเวอร์พูล ชนะอีก 15 นัดที่เหลือ รับถ้วยเลยครับ


โดย: The Kop Civil วันที่: 26 มกราคม 2562 เวลา:19:47:39 น.  

 
พุทธเรามันแยกเยอะกว่าที่เราเห็นครับ ในแต่ละประเทศก็แตกต่างกัน

มุทรา คุ้นๆ ว่าพวกหนังกำลังภายในของจีนก็จะมีพวกท่าที่เรียก มุทรา ในการทำมือต่างๆ เยอะอยู่เหมือนกัน


โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 26 มกราคม 2562 เวลา:22:58:58 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิกช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

กะว่าก๋า
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 392 คน [?]




มองฉันอีกครั้ง
เธออาจเห็นฉัน
หรืออาจไม่เห็นฉัน

ฉันแค่แวะผ่านทางมา
และอาจไม่หวนกลับมาทางนี้อีกแล้ว

เราเคยรู้จักกัน
และมันจะเป็นเช่นนั้นตลอดไป

มองดูฉันอีกครั้ง
เธออาจเห็นฉัน
และฉันอาจมองไม่เห็นเธอ.





[Add กะว่าก๋า's blog to your web]