bloggang.com mainmenu search
อาหาร ฤทธิ์ร้อน-เย็นนี้ คือหนึ่งในวิถีธรรมชาติบำบัด ที่เชื่อว่าอาหารแต่ละอย่างส่งผลให้ร่างกายร้อนหรือเย็น สุขภาพที่แข็งแรงจะเกิดขึ้นต่อเมื่อร่างกายอยู่ในภาวะได้สมดุล ไม่ร้อนหรือเย็นเกินไป ภาวะที่ร้อนหรือเย็นมากเกินไปนั่นเองที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ

อาการของภาวะที่ร้อน-เย็นเกินไป
ร้อนเกินไป :
หน้าแดง มีสิวขึ้น มีแผลในช่องปากด้านล่าง ตัวร้อน มือเท้าร้อน มีเส้นเลือดขอดตามจุดต่างๆ ท้องผูกเป็นประจำ ท้องอืด เจ็บปลายลิ้น เจ็บส้นเท้า
เย็นเกินไป :
ตาแฉะ ขี้ตาเยอะ เป็นแผลในช่องปากด้านบนหรือโคนลิ้น ตัวเย็น มือเท้าเย็น มีน้ำมูกใส นิ้วล็อคกำมือไม่ลง อุจจาระเหลวสีอ่อน เจ็บโคนลิ้น

ร้อน-เย็น ดูกันยังไงนะ
หมั่นสังเกตว่าอาหารที่กินเข้าไปทำปฏิกิริยาให้ร่างกายร้อนขึ้นหรือเย็นลง แค่ไหน นอกจากนี้ยังมีลักษณะของอาหารที่ให้ฤทธิ์ร้อน-เย็น มาให้อ่านเพื่อใช้ประกอบการสังเกตกันด้วยค่ะ

อาหารฤทธิ์เย็น :
มักจะมีลักษณะหวานหรือจืด สีจะออกไปทางสีอ่อน เช่น ขาว เขียว ความหนาแน่นของเนื้อสารจะน้อย ยุ่ยๆ หลวมๆ
อาหารฤทธิ์ร้อน : มักจะมีลักษณะเค็ม ขม เนื้อแข็ง สีสันจะออกไปทางสีเข้มหรือคล้ำ เช่น แดง ม่วง ดำ ถ้าเป็นเขียวก็ออกเขียวเข้ม มีกลิ่นออกเหม็นเขียว



แต่ในปัจจุบันนี้อาหาร ส่วนใหญ่ที่เรากินกันมักจะมีฤทธิ์ร้อน เช่น อาหารที่เค็มจัด มันจัด หวานจัด เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด อาหารใส่สารเคมี อาหารใส่ผงชูรส เหล้า เบียร์ ไวน์ ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง ขนมกรุบกรอบ บะหมี่ซอง รวมไปถึงน้ำร้อนจัด น้ำเย็นจัด และน้ำแข็ง

จริงๆ อาหารก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของวิธีคิดแบบร้อน-เย็น เพราะยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการที่ร่างกายจะมีภาวะร้อนหรือเย็นอีกมาก เช่น ความเครียด อดนอน กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระ เดินทางบ่อย หงุดหงิดโมโหและสูบบุหรี่

ดังนั้นหากคุณพบว่าตัวเองมีอาการที่แสดงว่าร่างกายคุณมีภาวะร้อนหรือเย็นจน ผิดปกติ นอกจากจะต้องปรับเปลี่ยนอาหารแล้ว คงจะต้องเปลี่ยนรายละเอียดในชีวิตประจำวันกันบ้าง เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะที่ได้สมดุล อันจะนำภาวะปลอดโรคและมีสุขภาพที่แข็งแรงมาสู่ชีวิตของคุณค่ะ




ขอขอบคุณข้อมูลจาก momypedia
Create Date :08 เมษายน 2554 Last Update :8 เมษายน 2554 8:40:05 น. Counter : Pageviews. Comments :1