หยดน้ำเจ้าพระยา
ภาพจาก getintravel.com หยดน้ำเจ้าพระยา - สุนทราภรณ์ หยดน้ำเจ้าพระยา คำร้อง ศิริพงษ์ จันทน์หอม ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน (ญ.) จากหยดน้ำหยดน้อยหลายร้อยหยด
รวมกันหมดเป็นมหาชลาศัย
จากปิง วัง ยม น่าน ผ่านมาไกล
แล้วรวมไหลกันเข้าเป็นเจ้าพระยา
(ช.) เหมือนสายเลือดรวมไหลไทยทั้งชาติ
รวมน้ำใจใสสะอาดศาสนา
รวมภักดีสูงส่งองค์ราชา
รวมศรัทธาในเสน่ห์ประเพณี
(ญ.) เจ้าพระยาเรื่อยไหลไม่รู้สร่าง
ไหลแผ่กว้างคว้างไปในทุกที่
โอบถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงชีวี
รวมฤดีไทยผองเกี่ยวคล้องกัน
(ช.) จากหยดน้ำหยดน้อยหลายร้อยหยด
จึงปรากฏเป็นมหานทีขวัญ
ขอความรักเรารวมร่วมผูกพัน
นานเท่าวันเจ้าพระยาไหลบ่านอง
ช่วงนี้มีฝนมาช่วยให้คลายร้อนลง แต่ก็ยังร้อนอยู่ หาเพลงเกี่ยวกับน้ำมาให้ฟังอีกค่ะ เป็นเพลงที่เขียนถึงแม่น้ำเจ้าพระยาของวงสุนทราภรณ์ ครูเอื้อร้องคู่กับคุณวรนุช อารีย์ เสียดายที่หาภาพของ ครูศิริพงษ์ จันทน์หอม ที่แต่งเนื้อเพลงนี้ไม่ได้เลย อ่านคอลัมน์แล้วแอบทึ่ง แต่งกลอนได้เพราะมาก ๆ ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมแต่งเนื้อเพลงนี้ได้เพราะขนาดนี้ ท่านใดมีภาพของครูศิริพงษ์ กรุณหลังไมค์มาให้หน่อยหรือแปะไว้ในเม้นท์ก็ได้ ขอบคุณล่วงหน้าค่า เสพงานศิลป์สองบล็อกล่าสุดเสพงานศิลป์ ๑oo เสพงานศิลป์ ๑o๑ ภาพจาก travelhdwallpapers.com คิดถึงเพลง หยดน้ำเจ้าพระยา ฤาหยดน้ำตา ศิริพงษ์ จันทร์หอม "จากหยดน้ำ หยดน้อย หลายร้อยหยด รวมกันหมด เป็นมหา ชลาศัย
จากปิง วัง ยม น่าน ผ่านมาไกล แล้วรวมไหล กันเข้า เป็นเจ้าพระยา....." นี่คือท่อนแรกของเพลงชื่อ "หยดน้ำเจ้าพระยา" คำร้องของ ศิริพงษ์ จันทร์หอม ทำนองโดย ครูเอื้อ สุนทรสนาน เพลงนี้มาจากบทกลอนประกวดในงาน "ลอยลำไปกับเรือเพลง" ประมาณปี ๒๕๑o-๒๕๑๕ ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมปีละ ๑ ครั้ง ต่อเนื่องกันถึง ๑๒ ครั้ง โดยบรรดาชาวนักกลอนในยุคนั้น นำโดย สนธิกาญจน์ กาญจนาสน์ เจ้าของบทกลอนที่กลายมาเป็นคำร้องในบทเพลงอันเลื่องชื่อ "จากเจ้าพระยาถึงฝั่งโขง" เป็นผู้จัดนักกลอนและผู้สนใจทางด้านกาพย์กลอน ล่องเรือไปบนแม่น้ำเจ้าพระยา ทัศนาจรกับเรือใหญ่ขนาดสองชั้น มีกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับบทกลอน เช่น แต่งกลอน โต้กลอนสดคุณสนธิกาญจน์ กาญจนาสน์ ภาพจาก maemaiplengthai.com ในคราวหนึ่งมีการจัดแต่งกลอนประกวดในงาน หัวข้อ "หยดน้ำเจ้าพระยา" ผลงานกลอนประกวดที่ชนะเลิศในครั้งนั้น เป็นของหนุ่มนักกลอนนามว่า ชื่อ ศิริพงษ์ จันทน์หอม กรรมการตัดสินชี้ขาดในวันนั้นคือ ครูเอื้อ สุนทรสนาน ซึ่งท่านชื่นชอบบทกลอนสำนวนนี้มาก จึงได้นำบทกลอนความยาว ๔ บทนี้ไปใส่ทำนองในจังหวะควิกวอลซ์ และได้กลายมาเป็นเพลงคู่ที่ ครูเอื้อ สุนทรสนาน ขับร้องเอง คู่กับ วรนุช อารีย์ เป็นบทเพลงที่ฟังครั้งใดผู้ฟังก็จะสัมผัสได้ถึงบรรยากาศและจินตนาการที่งดงามและยิ่งใหญ่ สมกับเป็นเพลงสำหรับแม่น้ำสายหลักของคนไทยทั้งประเทศ ครูเอื้อ ร้องคู่กับ คุณวรนุช อารีย์ ภาพจาก naewna.com ศิริพงษ์ จันทน์หอม เป็นคนแปดริ้ว มาเป็นบัณฑิตคณะวารสารศาสตร์จากรั้วมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หนึ่งในชมรมพระจันทร์เสี้ยวยุคก่อตั้ง เคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าข่าว คอลัมนิสต์ และบรรณาธิการของหนังสือพิมพ์ สยามรัฐ, เส้นทางเศรษฐกิจ, เมืองไทยวันนี้, สยามโพสต์, ไทยแลนด์ไทม์, วัฏจักรการเมืองและรายวัน ผ่านงานผู้จัดรายการวิทยุและโทรทัศน์ รวมถึงเป็นกรรมการตัดสินรางวัลมากมาย อาทิ รางวัลตุ๊กตาทอง, เมขลา และ โทรทัศน์ทองคำ ครูเอื้อ สุนทรสนาน ภาพจาก posttoday.com ในด้านงานเขียน มีผลงานเรื่องสั้นมาแล้วกว่า ๑oo เรื่อง บทกวีกว่า ๑,ooo ชิ้น และงานเขียนอีกหลากหลายแนวจำนวนมาก พร้อมงานเขียนบทกวี บทเพลง เรื่องสั้น นวนิยาย งานแปลสารคดี และนวนิยายต่างประเทศ ต่อเนื่องยาวนานกว่า ๔o ปี ในนามปากกาหลากหลายนับร้อยนามปากกา จนได้รับสมญานามว่า "นักเขียน ร้อยนามปากกา" ที่เปิดเผยอย่างเป็นทางการ และยังใช้อยู่ตลอดมาคือ "แผน ราชดำเนิน" และ "พลอยไพลิน" คุณวรนุช อารีย์ ภาพจาก youtube.com และ websuntaraporn.com ศิริพงษ์ จันทร์หอม เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๑ ตุลาคม ๒๔๘๖ เจ้าของผลงานหนังสือแนวปรัชญาชีวิต-ธรรมชาติชีวิต มีหลายเล่ม เช่น ชั่วนิรันดร์, บ้านทางมะพร้าว, ชีวิตคือการเดินทาง, เพื่อนชีวิต, ธรรมชาติชีวิต, พอดีของชีวิต, ดีพอต่อทุกสิ่ง และที่พึ่งสุดท้าย และ รวมเรื่องสั้น สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนร่วมทุกข์ ได้รับการตีพิมพ์จำหน่ายพร้อมกันเป็นชื่อชุด "คุณค่าชีวิต เสียชีวิตด้วยอาการไตวาย เมื่อเวลาประมาณ o๑.oo น. วันอาทิตย์ที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณ โรงพยาบาลพระนั่งเกล้าฯ ภาพจาก posttoday.com ไม่มีใครรู้เรื่องราวในชีวิต ความรัก และครอบครัว ของ ศิริพงษ์ จันทร์หอม ได้ลึกซึ้งนัก เพราะชีวิตของเขามักจะขลุกอยู่กับงานเป็นส่วนใหญ่ นาน ๆ ทีจะได้เห็นหน้าของเขาอยู่ท่ามกลางเพื่อนพ้องที่ใกล้ชิดสนิทกัน แต่เพื่อนผู้ใกล้ชิดหลายคนเห็นตรงกันว่า มีบทกลอนของเขาอยู่บทหนึ่งที่อ่านแล้วทำให้เข้าใจได้ว่าในเบื้องลึกหัวใจของเขาได้ซ่อนความรักและความหลังไว้อย่างลึกซึ้ง เป็นทั้งภูมิหลังของชีวิตและแรงบันดาลใจในงานอื่น ๆ ของเขาในเวลาต่อมาด้วย กลอนบทนั้นก็คือ "รอยนอน" ที่เพียงแค่อ่านดูก็พอรู้ว่าเขาเขียนไว้ด้วยน้ำตาอย่างไร"โอ้ว่าแวว ตาเศร้า ของเจ้าเอ๋ย แต่ก่อนเคย สบชิด ไยคิดด่วน
โอ้ว่าหยาด น้ำตา นองหน้านวล จะไปชวน ใครเช็ด เกล็ดน้ำตา
เสียดายจุม...พิตหวาม ในความหลับ จะนานนับ เดือนปี ที่ห่วงหา
เห็นแต่รอย เธอนอน อ่อนระอา กี่เวลา จะย้อน ที่นอนเดิม" ภาพจาก บล็อกโอเคเนชั่น
ฝีมือกลอนในระดับนี้ในเมืองไทยคงมีไม่กี่คน ซึ่งไม่ว่าจะจับวางไว้ที่ไหน จะตัดตอนท่อนใดประโยคใดมาใคร่ครวญ ก็ล้วนแต่ไพเราะเสนาะใจไปทั้งสิ้น ไม่เชื่อท่านลองนำท่อนแรกของเพลง "หยดน้ำเจ้าพระยา" มาตั้งไว้เป็นท่อนแรกเหมือนเดิม แต่คราวนี้เราจะต่อด้วยบทสุดท้ายของบทกลอน "รอยนอน" แล้วให้นักแต่งทำนองเพลงมือดีสักคนแต่งทำนองใหม่ให้ เราก็จะได้เพลงใหม่อีกเพลง ดังนี้"จากหยดน้ำ หยดน้อย หลายร้อยหยด รวมกันหมด เป็นมหา ชลาศัย
จากปิง วัง ยม น่าน ผ่านมาไกล แล้วรวมไหล กันเข้า เป็นเจ้าพระยา
เสียดายจุม...พิตหวาม ในความหลับ จะนานนับ เดือนปี ที่ห่วงหา
เห็นแต่รอย เธอนอน อ่อนระอา กี่เวลา จะย้อน ที่นอนเดิม"ภาพจาก hdtimelapse.net อ่านแล้วจะเห็นภาพสังคมไทยวันนี้ วันที่หยดน้ำหยดน้อยหลายร้อยหยด ไม่ยอมไหลรวมกันเข้าเป็นเจ้าพระยาอีกแล้ว ได้แต่ไหลกันไปคนละทิศ...คิดกันไปคนละทาง "จากหยดน้ำ หยดน้อย หลายร้อยหยด จึงปรากฏ เป็นมหา นทีขวัญ
ขอความรัก เรารวม ร่วมผูกพัน นานเท่าวัน เจ้าพระยา ไหลบ่านอง"ภาพจาก บล็อกคุณ Chionis ข้อมูลจากthaipost.net นสพ.ไทยโพสต์แทบลอยด์ ๒๕ ส.ค. ๒๕๕๖ บล็อกนี้อยู่ในหมวดแฟนคลับค่ะ บีจีจากเวบ wallcoo ไลน์จากคุณญามี่ กรอบจากคุณ somjaidean100Free TextEditor
Create Date : 11 พฤษภาคม 2557
Last Update : 11 พฤษภาคม 2557 11:21:07 น.
10 comments
Counter : 6250 Pageviews.