happy memories
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2562
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
28 มิถุนายน 2562
 
All Blogs
 
อำลา อาลัย...ดอริส เดย์




ภาพจาก hollywoodlife.com







Que Sera Sera (Whatever Will Be Will Be)
แต่งโดย Jay Livingston & Ray Evans


When I was just a little girl
I asked my mother, "What will I be?
Will I be pretty? Will I be rich?"
Here's what she said to me

"Que sera, sera
Whatever will be, will be
The future's not ours to see
Que sera, sera
What will be, will be"

When I grew up and fell in love
I asked my sweetheart, "What lies ahead?
Will we have rainbows day after day?"
Here's what my sweetheart said

"Que sera, sera
Whatever will be, will be
The future's not ours to see
Que sera, sera
What will be, will be"

Now I have children of my own
They ask their mother, "What will I be?"
Will I be handsome? Will I be rich?"
I tell them tenderly

"Que sera, sera
Whatever will be, will be
The future's not ours to see
Que sera, sera
What will be, will be
Que Sera, Sera!"


เมื่อตอนที่ฉันยังเป็นเด็กน้อย
ฉันถามแม่ว่า ฉันจะเป็นยังไงในวันข้างหน้า
ฉันจะสวยไหม ฉันจะรวยไหม
และนี่คือสิ่งที่แม่บอกกับฉัน

อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด
ปล่อยมันเป็นไป ให้มันเป็นไป
เราไม่สามารถล่วงรู้อนาคตได้
อะไรจะเกิด มันก็ต้องเกิด ปล่อยมันเป็นไป

พอฉันโตขึ้นมาและมีความรัก
ฉันถามแฟนฉันว่า เราจะเป็นอย่างไรในวันข้างหน้า
เราจะมีอนาคตที่สดใสในทุก ๆ วันไหม
นี่คือสิ่งที่เขาบอกกับฉัน

อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด
ปล่อยมันเป็นไป ให้มันเป็นไป
เราไม่สามารถล่วงรู้อนาคตได้
อะไรจะเกิด มันก็ต้องเกิด ปล่อยมันเป็นไป

แล้วตอนนี้ฉันก็เป็นแม่คนแล้ว
ลูก ๆ ก็เฝ้าถามฉันว่า พวกเขาจะเป็นอย่างไร
เขาจะหล่อไหม เขาจะรวยไหม
ฉันเลยบอกกับเขาด้วยความรักว่า

อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด
ไม่ว่าจะเป็นอะไรก็ตาม
เราไม่สามารถล่วงรู้อนาคตได้
อะไรจะเกิด มันก็ต้องเกิด ปล่อยมันเป็นไป







ภาพจาก mgronline.com


ดอริส เดย์ เจ้าของผลงานที่ทำเงินมากมายในช่วงระหว่างปี 1940s - 1960s ได้เสียชีวิตลงแล้วด้วยวัย ๙๗ ปี เมื่อวันที่ ๑๓ พ.ค. ที่ผ่านมา มูลนิธิ Doris Day Animal Foundation ของ ดอริส เดย์ เป็นผู้ยืนยันข่าวเศร้าดังกล่าว และให้รายละเอียดว่า เดย์ เสียชีวิตหลังป่วยจากการอาการแทรกซ้อนของโรคปอดบวมที่บ้านใน คาร์เมล วัลเลย์ แคลิฟอร์เนีย ... "เดย์มีสุขภาพที่ดีตามวัยของเธอ จนกระทั่งเกิดอาการแทรกซ้อนจากโรคปอดบวม จนเสียชีวิตลงในที่สุด เธอจากโลกนี้ไปโดยมีเพื่อน ๆ กลุ่มเล็ก ๆ คอยดูใจจนถึงวาระสุดท้าย"




ดอริส เดย์ เกิดเมื่อวันที่ ๓ เมษายน ค.ศ. ๑๙๒๒ บิดาชื่อ William Joseph Kappalhoff มารดาชื่อ Alma Sophia Welz มีชื่อเมื่อแรกเกิดว่า Doris Mary Ann Kappalhoff (ดอริส แมรี วอน เคปเปลฮอฟ) เป็นนักร้องในวงดนตรีที่ Barney Rapp (๑๙๐๐-๑๙๗๐) เป็นหัวหน้าวง เขาได้เปลี่ยนชื่อเธอเป็น Doris Day เพื่อให้เรียกง่าย




ภายใต้ภาพลักษณ์ที่ดูสวย และสดใสอยู่ตลอดเวลา เดย์เองก็มีช่วงเวลาที่ชีวิตไม่ได้สวยงามอย่างภาพที่เห็น ดอริส เดย์ เป็นลูกคนสุดท้าย มีพี่ชาย ๒ คน พ่อเป็นชาวเยอรมันที่อพยพไปอยู่ที่ซินซินเนติ โอไฮโอ สหรัฐอเมริกา มีอาชีพสอนดนตรีและเล่นออร์แกนในโบสถ์ ทำให้เธอซึมซับดนตรีในสายเลือด เมื่ออายุเพียง ๘ ขวบ พ่อและแม่หย่าร้างกัน เธออยู่กับแม่ ทั้งสองใกล้ชิดและสนิทสนมกันมาก แม่เป็นผู้ที่เห็นความสามารถในการร้องเพลงของเธอ โดยเชื่อว่า มีน้ำเสียงระดับเดียวกับ Ella Fitzgerald (๑๙๑๗-๑๙๙๖) นักร้องเพลงแจ๊สชาวอเมริกัน จึงสนับสนุนให้ลูกสาวเรียนร้องเพลง แม้ในภายหลังเมื่อเธอท้อแท้เนื่องด้วยการงานและชีวิตครอบครัว แม่จะอยู่เคียงข้างเพื่อปลอบประโลมและให้กำลังใจ ดังเช่นเมื่อคราวที่ลูกคนแรกตาย และเมื่อสามีคนหนึ่งฉ้อฉลทรัพย์สินของเธอ




ดอริส เดย์ แต่งงาน ๔ ครั้ง สามีสองคนแรกเป็นนักดนตรี
๑. Al Jordan (๑๙๔๑-๑๙๔๓) เป็นนักดนตรีเล่น trombone ชอบทุบตีภรรยา อันเป็นเหตุให้เธอขอหย่า เธอมีบุตรชายกับ Al Jordan ชื่อ Paul Jordan (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น Terry Melcher ประกอบอาชีพในวงการดนตรี ถึงแก่กรรมในปี ๒๕๔๗)
๒. George Weidler (๑๙๔๖-๑๙๔๙) เป็นนักดนตรีเล่น saxophone เธอเลิกกับสามีคนนี้เนื่องเพราะเขาไม่ชื่นชมงานที่เธอทำ (BBC, 2019)
๓. Martin Melcher (๑๙๕๑-๑๙๖๘) ทำหน้าที่เสมือนผู้จัดการของเธอ อยู่ด้วยกันจน Melcher ถึงแก่กรรมในปี ๒๕๑๑ เธอและสามีร่วมกันประกอบธุรกิจดนตรี แตต่อมาปรากฏว่าสามีคนนี้ฉ้อฉล และกอบโกยเงินทองและทรัพย์สินจากเธอจำนวนมาก อันเป็นเหตุให้เธอสติแตก และทำงานไม่ได้อยู่นาน แม่ของเธอเป็นผู้ประคบประหงมและปลอบประโลมลูก Doris Day ฟ้องทนายของ Melcher จนชนะคดีในปี ๒๕๑๗ และได้รับค่าเสียหาย ๒๒ ล้านดอลลาร์อเมริกัน
๔. Barry Comden (๑๙๗๖-๑๙๘๑)




ภาพจาก nytimes.com


แม้ชีวิตจะผ่านเรื่องน่าเจ็บปวดและเสียใจมาไม่น้อย แต่สาธารณชนกลับแทบไม่ทราบข้อมูลส่วนนี้เลย เพราะ ดอริส เดย์ พยายามรักษาภาพลักษณ์ "หวานใจอเมริกัน" เอาไว้อยู่ตลอด เคยถึงกับทำให้เธอปฏิเสธบท "คุณนายโรบินสัน" ในหนัง The Graduate ที่ต่อมากลายเป็นหนังดังแห่งยุคสมัย เพราะรู้สึกว่าบทในหนังเรื่องนั้น "วาบหวิว" เกินไป

"ฉันอยากจะมีความสุข อยากจะสนุกสนานเวลาอยู่ในกองถ่าย อยากจะใส่เสื้อผ้าดี ๆ และดูสวยอยู่เสมอ" เดย์ เคยกล่าวเอาไว้




ไม่พบประวัติการศึกษาของเธอ ทราบแต่ว่าเธอต้องการเป็นนักเต้นรำแต่โชคร้าย ประสบอุบัติเหตุรถยนต์เมื่ออายุ ๑๓ ปี ขาหักทั้งสองข้าง และเดินไม่ได้ถึง ๓ ปี จึงต้องเบนเข็มไปร้องเพลง ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมารดาอย่างดียิ่ง เธอเรียนร้องเพลงสัปดาห์ละ ๓ วัน หลังจากนั้น จึงเริ่มต้นอาชีพนักร้องประจำวง Bob Crosby (๑๙๑๓-๑๙๙๓) พี่ชายของ Bing Crosby (๑๙๐๓-๑๙๗๗) แม้เธอจะมีเสียงสดใส มีหลายโทนเสียง สามารถแผดเสียงร้องเพลงได้ และควบคุมลมหายใจได้ดี จนได้รับความชื่นชมจากนักร้องที่ร่วมงานหลายต่อหลายคน




ครั้งหนึ่ง ดอริส เดย์ เคยได้ชื่อว่าเป็นดาราหญิงอันดับ ๑ ของฮอลลีวูด ด้วยภาพลักษณ์ที่ดูน่ารักสดใสในแบบ Girl Next Door หรือ สาวข้างบ้าน ทำให้แฟนหนังมากมายตีตั๋วเข้าไปชมผลงานการแสดงของเธอ ไม่ว่าจะเป็นในหนังเพลง, หนังตลก, หนังคาวบอยหรือหนังระทึกขวัญ (The Man Who Knew Too Much, Alfred Hitchcock, 1956) เธอแสดงร่วมกับดาราชายระดับนำหลายคน ทั้ง Kirk Douglas (1916- ), Gordon MacRae (1921-1986), Frank Sinatra (1915-1998), Rock Hudson (1925-1985) และแสดงละครโทรทัศน์ด้วย นอกจากนี้ ยังมีรายการโชว์ทางทีวีที่ชื่อ Doris Day Show เป็นรายการร้องเพลง




ช่วงรุ่งเรืองสุดขีดของ เดย์ กินเวลายาวนานระหว่างยุค ๑๙๔๐ - ๑๙๖๐ ผลงานที่สร้างชื่อให้ ดอริส เดย์ มากที่สุดคือ ภาพยนตร์เพลง (Musical) ที่เธอมีผลงานการแสดงมากมายเกือบ" ๔๐ เรื่อง รวมถึงหนังสุดฮิตเรื่อง Pillow Talk ในปี ๑๙๕๙ ที่เธอร่วมแสดงกับ แครีย์ แกรนต์, ร็อค ฮัดสัน และ เจมส์ การ์เนอร์ ด้วย ผลงานเรื่องอื่น ๆ ที่สร้างชื่อเสียงให้ เช่น


Tea for Two (David Butler, 1950)
Lullaby of Broadway (David Butler, 1951)
On the Moonlight Bay (Ray Del Ruth, 1951)
I’ll See you in My Dream (Michael Curtiz, 1951)
April in Paris (David Butler, 1952)
By the Light of the Silvery Moon (David Butler, 1953)
Lucky Me (Jack Donohue, 1954)
Young at Heart (Gordon Douglas, 1958)
The Pajama Game (George Abbott, 1957)
Billy Rose’s Jumbo (Charles Walters, 1962)




ภาพจาก theenchantedmanor.com


และไม่ใช่แค่งานแสดงเท่านั้น แต่ ดอริส เดย์ ยังประสบความสำเร็จในฐานะนักร้อง ที่มีเพลงฮิตติดชาร์ตมากมาย โดยผลงานฮิตแรกของ เดย์ ก็คือเพลง Sentimental Journey นอกจากนั้นก็ยังมีเพลง Que Sera Sera ที่ประกอบภาพยนตร์ The Man Who Knew Too Much ในปี ๑๙๕๖ ด้วย


ผลงานเพลงที่ได้รับรางวัล
Academy Awards: Pillow Talk (1950), Nominated.
Golden Globe: Herself (1955; 1958; 1963), won.
Grammy Lifetime Achievemant Award (2009)
Grammy Hall of Fame
Sentimental Journey (1998)
Secret Love (1999)
Que Sera,Sera (Whatever will be, will be) (2012)




การจากไปในวัย ๙๗ ปี ของ เดย์ จึงเป็นข่าวเศร้าสำหรับชาวฮอลลีวูดทุกคน สถาบันศิลปะและวิทยาการภาพยนตร์ยังได้แถลงแสดงความเสียใจ และยกย่องว่า เดย์ คือผู้ที่มีทั้ง "อารมณ์ขัน, ความสามารถอันโดดเด่น และหัวใจที่โอบอ้อมอารี"




ส่วน คาร์ล ไรเนอร์ ที่กำกับภาพยนตร์เรื่อง The Man With Two Brains เมื่อ ๖๓ ปีก่อน ยังเปิดเผยว่าเขาเองเพิ่งจะได้พบกับ ดอริส เดย์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วนี่เอง เช่นเดียวกับ พอล แม็คคาร์นีย์ ที่เพิ่งไปเยี่ยม เดย์ ที่บ้านก็กล่าวยกย่องว่า เดย์ เป็น "สุขภาพสตรีผู้รวยอารมณ์ขัน ... แน่นอนผมจะคิดถึงเธอเสมอ จะจดจำรอยยิ้มพิมพ์ใจ และเสียงหัวเราะของเธอเอาไว้ รวมถึงเพลงดี ๆ กับหนังที่เธอมอบให้กับพวกเราด้วย"




ดอริส เดย์ ไม่เคยได้รับรางวัลออสการ์สาขาด้านการแสดง และได้ชิงรางวัลแค่ครั้งเดียวเท่านั้น แต่เคยได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ ใปนี ๒๐๐๔ และได้รับรางวัลแกรมมีที่ยกย่องความสำเร็จตลอดชีวิตของเธอในปี ๒๐๐๘ หลังเกษียณตัวเองจากการทำงานในวงการบันเทิง เธอเลือกที่จะทุ่มเทเวลาให้กับงานการกุศลด้านการปกป้องสิทธิ์สัตว์ และเปิดธุรกิจโรงแรมสำหรับผู้เดินทางพร้อมสัตว์เลี้ยงในแคลิฟอร์เนียด้วย




"สิ่งที่ฉันอยากจะสื่อก็คือ ขอแค่เมตตาเหล่าสัตว์ของคุณ แสดงความรักให้พวกมันรู้สึก ดูแลคนที่คุณรัก และไม่ต้องเป็นห่วงอะไรในตัวฉัน" เดย์ เคยกล่าวเอาไว้ โดย Doris Day Animal Foundation บอกว่า เดย์ เคยร้องขอว่าเธอไม่ต้องการพิธีศพ และงานรำลึกถึงการจากไปของเธอแต่อย่างใด




ภาพจาก khaosod.co.th


ผลงานเพลงที่เด่น ๆ ของ ดอริส เดย์ มีหลายเพลง อย่างเช่น "Whatever will be, will be" (Que Sera Sera) แต่งโดย Jay Livingston & Ray Evans ใช้ประกอบภาพยนตร์เรื่อง The Man Who Knew Too Much (ดาวร้ายใต้ดิน) ปี ๑๙๕๖ เรื่องก็คือ ลุงอัลเฟรด ฮิตช์ค็อก แกเป็นราชาหนังเขย่าขวัญ แต่บังเอิญเรื่องนี้ ได้นักร้องมาเป็นนางเอก (คือ ดอริส เดย์ นั่นแหละ) แถมในเรื่องต้องเป็นคุณแม่มีลูกเล็ก ๆ เลยหาเพลงให้เธอร้องกล่อมลูกแล้วกัน

ร้อนถึงคนแต่งเพลงคือคุณเจย์ กับคุณเรย์ จะแต่งเพลงในหนังระทึกขวัญยังไงดีหว่า? ถามลุงอัลเฟรดว่าอยากได้แบบไหน ลุงบอก..ไม่รู้! ทำไงดี???

แต่ก็แต่งน่ะแหละ ไม่ถึงวันเดียวก็เสร็จ แต่แสร้งทำเป็นยุ่งสัก ๒ อาทิตย์ ค่อยนำเพลงไปเสนอ... ลุงอัลเฟรดได้ฟัง พยักหน้าหงึก! บอกว่า ใช้ได้...

คราวนี้ถึงคราวต้องร้องล่ะ ดอริสเกลียดเพลงนี้มาก เพลงอะไรไม่รู้ ชื่อเห่ย "อะไรจะเกิดก็ให้มันเกิด" ชื่อดีกว่านี้ไม่มีรึ? แต่สามีดอริสได้ฟังแว้บเดียว บอกว่าเพลงนี้ต้องฮิตแน่ ๆ เชื่อเหอะ

พอหนังฉาย เพลงฮิตจริงฮิตจัง จนชนะรางวัลออสการ์เพลงยอดเยี่ยมในปีนั้นซะด้วย (ค.ศ. ๑๙๕๖ หรือ พ.ศ. ๒๔๙๙) ดอริส เดย์ เลยหายเกลียดเพลงนี้ และเพลงนี้ก็กลายเป็นเพลงประจำตัว (signature song) ของดอริส เดย์ จนถึงวันนี้... และตลอดไป...

Que Sera Sera, Whatever Will be Will be


ข้อมูลจากเพจ Wirot Kongsakorn MusicCollector






และอีกหลายเพลงที่ดังไม่แพ้กัน อย่างเช่น


๑. My One and Only Love (1952)
ทำนอง Robert Mellin
คำร้อง Gus Wood





๓. Secret Love (1953)
คำร้อง Sammy Fain
ทำนอง Paul Francis Webster
Doris Day ขี่จักรยานไปห้องอัดเสียง อัดเสร็จแล้ว ขี่กลับบ้าน แต่ร้องได้อารมณ์ดำดิ่งมาก เธอได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง 26th Academy Awards ในปี ๒๔๙๖ จากเพลงนี้ เมื่อได้รับติดต่อให้ร้องเพลงนี้ในงานแจกรางวัลตุ๊กตาทอง เธอตอบปฏิเสธ เพราะไม่ต้องการร้องเพลงต่อหน้าฝูงชน ในห้องที่มีการกินดื่มและพูดคุย





๔. Everybody Loves a Lover (1958)
ทำนอง Robert Allen
คำร้อง Richard Adler
ชื่อเพลงเลียนวลี All the World Loves a Lover (Ralph Waldo Emerson, 1803-1882) เพลงนี้มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อร้อง ๓ ครั้ง Doris Day ต้องการให้เพลงนี้เป็นเพลงรื่นเริงสดใส เพลงนี้ได้รับการเสนอชื่อให้ได้รับรางวัล Grammy ในปี ๒๕๐๑ แต่ไม่ได้





๕. Love Me or Leave Me (1928)
ทำนอง Walter Donaldson
คำร้อง Gus Kahn
เพลงนี้ Doris Day ร้องเพลง Love Me or Leave Me (1928) ในภาพยนตร์เรื่อง Love Me or Leave Me (Charles Vidor, 1955) โดยที่เธอนำแสดงด้วย






ข้อมูลจาก
mgronline.com
เพจ Thai Tribune
เพจ Rangsun Thanapornpun












บีจีจากคุณจอมแก่นแสนซน กรอบข้อความจากคุณ Hawaii_Havaii
กรอบรูปจาก photofuneditor.com

Free TextEditor





Create Date : 28 มิถุนายน 2562
Last Update : 28 มิถุนายน 2562 22:29:04 น. 0 comments
Counter : 4006 Pageviews.

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณtoor36, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณไวน์กับสายน้ำ, คุณกะว่าก๋า, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณเริงฤดีนะ, คุณmcayenne94, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณSweet_pills, คุณวลีลักษณา, คุณThe Kop Civil, คุณTui Laksi, คุณสองแผ่นดิน, คุณALDI, คุณสันตะวาใบข้าว, คุณOldbuff 1222, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณJinnyTent, คุณนกสีเทา, คุณruennara, คุณสาวไกด์ใจซื่อ, คุณ**mp5**, คุณRinsa Yoyolive, คุณอุ้มสี, คุณnewyorknurse, คุณหอมกร, คุณkatoy, คุณเรียวรุ้ง, คุณmariabamboo, คุณดาวริมทะเล, คุณMDG, คุณInsignia_Museum, คุณSertPhoto, คุณSai Eeuu, คุณkae+aoe, คุณก้นกะลา, คุณทองกาญจนา, คุณผีเสื้อยิปซี, คุณtuk-tuk@korat, คุณบาบิบูเบะ...แปลงกายเป็นบูริน, คุณญามี่


haiku
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 164 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add haiku's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.