น้ำมันมะพร้าว ... บล็อกที่ 12

น้ำมันมะพร้าว
จากบทความ สารประโยชน์ของน้ำมันมะพร้าว จากเว็บ baanmaha.com
1. น้ำมันมะพร้าวเป็นโทษต่อร่างกายหรือไม่ ?
วงการแพทย์และนักโภชนาการสมัยใหม่ ค้นพบแล้วว่าน้ำมันมะพร้าวไม่เป็นโทษต่อร่างกายเลย อันที่จริงสิ่งที่ให้โทษกับร่างกายคือน้ำมันพืชผ่านกรรมวิธี หรือน้ำมันพืชที่เราใช้ปรุงอาหารอยู่ในปัจจุบัน
ดังที่เป็นข่าวในอเมริกาว่า ผู้ดำเนินกิจการอาหารฟาสท์ฟู้ดถูกฟ้องฐานทำให้ผู้บริโภคเจ็บไข้ได้ป่วย เพราะใช้น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีที่มีกรดไขมันทรานส์มาปรุงอาหาร
ในทางกลับกัน น้ำมันมะพร้าวกลับช่วยป้องกันโรคหัวใจ เบาหวาน และมะเร็ง ไม่ทำให้อ้วน เพราะเผาผลาญได้เร็วจึงไม่สะสม และไม่ทำให้คลอเลสเตอรอลสูงขึ้น และความที่เป็นกรดไขมันอิ่มตัว จึงช่วยควบคุมการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันในร่างกาย ช่วยลดอนุมูลอิสระ ทำให้ผิวพรรณดี ไม่เหี่ยวย่นแก่ก่อนวัย
น้ำมันมะพร้าวไม่เป็นโทษแม้แต่กับเด็กเล็ก เนื่องจากน้ำมันมะพร้าวอุดมไปด้วยกรดลอริค ซึ่งเป็นกรดไขมันที่พบได้มากในน้ำนมแม่นั่นเอง
วิธีรับประทานน้ำมันมะพร้าวที่ดีที่สุดคือ ใช้น้ำมันมะพร้าวแทนน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ ในการปรุงอาหาร หรือจะรับประทานเป็นอาหารเสริมก็ได้ ผู้ใหญ่รับประทานวันละ 3-4 ช้อนชา เด็กวันละ 1-2 ช้อนชา โดยเฉลี่ยแบ่งรับประทานทีละน้อย จนครบจำนวนในแต่ละวัน หรือจะผสมในเครื่องดื่มร้อน ๆ เช่น โกโก้ร้อนหรือน้ำผลไม้อุ่น ๆ ก็ได้ น้ำมะเขือเทศอุ่นผสมน้ำมันมะพร้าวมีรสชาติอร่อยมาก

2. คุณภาพของน้ำมันมะพร้าวที่ดี ดูได้จากอะไรบ้าง ?
คุณภาพของน้ำมันมะพร้าว เบื้องต้นดูได้จาก มาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข โรงงานที่ผลิต และน้ำมันมะพร้าวผ่านการตรวจสอบจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีความใส ไม่มีสี ปราศจากสารปนเปื้อน มีกลิ่นหอม ได้รับการรับรองและเลขสารบบ อย. บนฉลากขวด แต่ก็สามารถตรวจสอบคุณภาพได้ด้วยตนเองง่ายๆ ดังนี้
2.1. ความใส น้ำมันที่สะอาดจะมีความใส ลักษณะโปร่งแสง แต่อาจเปรียบเทียบคุณภาพความใสที่แตกต่างกันในแต่ละยี่ห้อได้ไม่ชัดเจน เนื่องจากไม่ได้อยู่ในขวดลักษณะเดียวกัน สีของพลาสติกหรือแก้ว อาจทำให้มีอิทธิพลต่อสีได้บ้าง
2.2. กลิ่น ความหอมของน้ำมันมะพร้าว ต้องหอมอ่อนให้ความรู้สึกว่าเป็นน้ำมันสดใหม่ ไม่มีกลิ่นหืน หรือเปรี้ยว ถึงแม้ว่าจะเปิดใช้แล้ว กลิ่นต้องไม่เปลี่ยนแปลง แต่ยังมีผู้ผลิตบางรายดัดแปลงกลิ่น โดยใช้น้ำหอมสังเคราะห์กลิ่นมะพร้าว หรือ กลิ่นมะพร้าวน้ำหอมเข้าไป วิธีนี้จะทำให้มีกลิ่นหอมมากในตอนเปิดขวดหรือเปิดใช้ หลังจากนั้นความหอมจะจางลง และเปลี่ยนเป็นเหม็นเปรี้ยว และทำให้อายุของน้ำมันมะพร้าวอยู่ได้ไม่นาน
2.3. ความเบา น้ำมันมะพร้าวคุณภาพดี จะมีความเบา มีความหนืดน้อยมาก เวลารับประทานจะผ่านลำคอได้ง่ายและเร็ว มีความรู้สึกเหมือนละลายในปาก ในขณะที่กลืนลงคอไม่มีกลิ่นรุนแรง ไม่เลี่ยน
2.4. ความซึมเข้าสู่ผิว น้ำมันมะพร้าวคุณภาพดี จะมีโมเลกุลเล็ก ทำให้ซึมเข้าสู่ผิวได้เร็ว ไม่ทิ้งคราบน้ำมันลอยอยู่บนผิว

3. ใช้น้ำมันมะพร้าวทำอาหารแล้วมีกลิ่น
กลิ่นของน้ำมันมะพร้าวมีเหตุผล 2 ลักษณะ คือ
1. ความเคยชินของการใช้น้ำมันพืชผ่านกรรมวิธีที่ใช้สารเคมีฟอกสี ฟอกกลิ่นออกจนหมดจึงไม่ได้กลิ่นเวลาทำอาหาร
2. น้ำมันพืชบริสุทธิ์ทุกชนิดจะมีกลิ่นเฉพาะตัว เนื่องจากไม่ได้ใช้สารเคมีใดเข้าไปดัดแปลง น้ำมันมะพร้าวก็เช่นกัน จะมีกลิ่นเฉพาะของน้ำมันมะพร้าว หากผู้บริโภคไม่เคยชิน อาจใส่ใบเตยหรือหอมซอยลงไปในน้ำมันก่อนทอด จะทำให้กลิ่นของน้ำมันมะพร้าวลดลงได้มาก
เทคนิคการับประทานน้ำมันมะพร้าวในรูปแบบต่าง ๆ
1. ใส่ผสมในน้ำผลไม้ เช่น ใส่ในน้ำส้มคั้น รับประทานทุกวัน
2. ใส่ในแกงจืด อาหารแกงต่างๆ
3. ใช้เป็นน้ำสลัด
4. ราดบนน้ำแข็งใส ไอศกรีม (สูตรนี้เด็กชอบรับประทาน)
5. ใช้ทอดอาหาร อาหารจะไม่ชุ่มน้ำมัน และมีความกรอบได้นาน
6. ใส่ลงไปพร้อมการหุงข้าว จะทำให้ได้ข้าวนุ่ม หอม อร่อย (สูตรพิเศษใส่กระเทียมเล็ก 5-6 กลีบ และใบเตยโรยเกลือนิดหน่อย จะยิ่งทำให้อร่อยมากขึ้น)

4. เวลาน้ำมันมะพร้าวเป็นไข
น้ำมันและไขมันมีความแตกต่างกันอย่างไร น้ำมันและไขมันมักจะถูกใช้แทนที่กันเสมอ น้ำมันมีสถานะเป็นของเหลว ส่วนไขมันมีสถานะเป็นของแข็ง น้ำมันทุกชนิด สามารถกลายเป็นไขได้ แต่ด้วยอุณหภูมิที่แตกต่างกัน
น้ำมันมะพร้าวเป็นไข มีลักษณะเป็นครีมขาวที่อุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซ็นเซียส เนื่องจากมีคุณสมบัติความเป็นน้ำมันอิ่มตัวสูง จึงเปลี่ยนเป็นไขเร็วกว่าน้ำมันชนิดอื่น ทำให้น้ำมันมะพร้าวมีสภาพเป็นครีมขาว ณ ที่จุดวางขาย หากมีอุณหภูมิเย็น แต่จะเปลี่ยนกลับเป็นน้ำมันใสดังเดิมที่อุณหภูมิสูงกว่า 25องศาเซ็นเซียส
ไขของน้ำมันมะพร้าวไม่ใช่น้ำมันเสีย แต่กลับเป็นสัญลักษณ์ของน้ำมันชนิดดี ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เมื่อท่านซื้อน้ำมันมะพร้าวจากชั้นวางขาย หรือวางไว้ในห้องแอร์ น้ำมันมะพร้าวอาจจะเป็นไขได้ ท่านเพียงแต่ละลายไขนั้นด้วย การนำไปวางในห้องที่มีอุณหภูมิปกติ หรือวางไว้ในบริเวณที่ใกล้แสงแดด ไม่ควรตากแดด เพราะหากลืมทิ้งไว้เป็นเวลานาน ความร้อนที่สะสมอาจมีผลกับภาชนะบรรจุ
ถึงแม้น้ำมันมะพร้าวจะเป็นผลิตผลของพืชเมืองร้อน แต่กลับเป็นที่นิยมของคนที่อยู่ในเขตหนาว การเป็นไขของน้ำมันมะพร้าวจึงเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้น
ภาชนะที่ใช้ใส่น้ำมันมะพร้าวที่เหมาะสม จึงควรเป็นกระปุกปากกว้าง เพื่อใช้ตักแทนการเทริน และขณะนี้การส่งน้ำมันมะพร้าวออกไปขายยังต่างประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการ

5. SHELF LIFE (อายุของผลิตภัณฑ์) ของน้ำมันมะพร้าว
น้ำมันมะพร้าวที่ดีจะมี SHELF LIFE หรือ อายุของผลิตภัณฑ์ นานมาก MCFAS (กรดไขมันสายปานกลาง) จะมีคุณสมบัติเป็นสาร ANTIOXIDANTS ทำให้ป้องกันการเสียได้นาน จากผลการทดลองในห้องแล็บของประเทศฟิลิปปินส์ น้ำมันมะพร้าวที่บรรจุในกระปุกและเปิดฝาทิ้งไว้ มี SHELF LIFE นานกว่า 5 ปี
แต่ถ้าน้ำมันมะพร้าวมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวหรือหืนแล้ว ไม่ควรรับประทาน เพราะกลิ่นที่เปลี่ยนไปนี้ เกิดจากมีความชื้นเข้าไปรวมตัวกับน้ำมันมะพร้าว ทำให้เกิดเป็นสารอนุมูลอิสระ
เพราะฉะนั้น ศัตรูที่สำคัญที่สุดของน้ำมันมะพร้าว คือ ความชื้น ขั้นตอนการ DRY OIL คือการกำจัดความชื้นออกจากน้ำมันมะพร้าว เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดขั้นตอนหนึ่ง
ดังนั้น เมื่อต้องการซื้อน้ำมันมะพร้าวที่ดี การดมกลิ่นจึงสามารถใช้เป็นมาตรฐานการเลือกซื้อเบื้องต้นได้ และหลังจากเปิดใช้แล้ว ควรเก็บให้ห่างจากการเปียกน้ำและความชื้น จะทำให้มีอายุการใช้งานได้นาน.
ขอเชิญชม มหัศจรรย์น้ำมันมะพร้าว

สวัสดีค่ะ
จาก พรไม้หอม
Create Date : 17 กุมภาพันธ์ 2555 |
Last Update : 17 กุมภาพันธ์ 2555 20:21:30 น. |
|
76 comments
|
Counter : 12827 Pageviews. |
 |
|
|
มีความสุขมากมายนะครับ