โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ...บล็อกที่ 184
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ข้อมูลจาก.... khaosod.co.th ข่าวสดรายวัน ฉบับที่ 8734 วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ปีที่ 24
วิถีการใช้ชีวิตของเราในปัจจุบัน ทำให้เป็นโรคต่างๆ ได้แบบไม่รู้ตัว ทั้งเบาหวาน ความดัน รวมไปถึงโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งนับวันจะมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น และเป็นผู้ป่วยที่มีอายุน้อยลงเรื่อยๆ
นพ.ประพนธ์ ดิษฐ์รุ่งโรจน์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ ร.พ.สมิติเวช ศรีนครินทร์ อธิบายอาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบว่า โรคนี้มักไม่มีอาการแสดงให้ทราบสาเหตุส่วนใหญ่มาจากปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้และควบคุมไม่ได้
ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้
1 อายุ ผู้หญิงหรือผู้ชาย ยิ่งมีอายุมากขึ้น ก็มีโอกาสเกิดไขมันในผนังหลอดเลือดมากขึ้น โดยเฉพาะผู้หญิงอายุ 55 ปี ขึ้นไป และผู้ชายอายุ 45 ปี ขึ้นไป เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
2 พันธุกรรม
ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้ 1 การสูบบุหรี่ มีโอกาสเสี่ยงหัวใจวายมากกว่าคนที่ไม่สูบสองเท่า
2 โรคเบาหวาน คือความผิดปกติที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง อาจเป็นสาเหตุของการทำลายผนังภายในหลอดเลือด
3 ความดันโลหิตสูง กระตุ้นให้กระบวนการสะสมไขมัน ที่ผนังหลอดเลือดเกิดเร็วขึ้น
4 คอเลสเตอรอลสูง เพิ่มโอกาสให้ไขมันไปเกาะผนังหลอดเลือดมากขึ้น
5 ความอ้วน ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น
6 การใช้ชีวิตในแต่ละวัน ได้แก่ การนั่งอยู่กับโต๊ะทำงาน โดยไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย รับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ด ดื่มแอลกอฮอล์มาก ความเครียด
อาการของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ที่ชัดเจนคือเจ็บแน่นหน้าอก เมื่อออกแรงยกของหนัก หรือออกกำลังกาย เพราะปกติแล้วผนังภายในหลอดเลือดหัวใจจะเรียบ แต่หากมีการสะสมของไขมันมากๆ จะทำให้หลอดเลือดตีบ
สิ่งที่ควรทำคือตรวจร่างกายเป็นประจำ หากพบความเสี่ยงจะได้หาสาเหตุและรักษาได้ทันท่วงที แต่หากมีอาการ ก็ต้องมาตรวจหัวใจเพิ่ม และหากยังอยู่ในเกณฑ์ว่าจะมีหลอดเลือดหัวใจตีบ แพทย์จะสวนสีหัวใจเพื่อหารอยโรค โดยฉีดสารทึบรังสี เพื่อดูหลอดเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจตีบ ตัน บ้างหรือไม่ หากพบว่าหลอดเลือดตีบ ตัน ตรงไหน ก็จะทำบอลลูนขยายหลอดเลือด โดยใส่ขดลวดเพื่อถ่างหรือดันไขมันสะสม ที่มาขวางทางเดินของหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดโล่งขึ้น
ล่าสุดมีการพัฒนาขดลวดที่ย่อยสลายได้เอง มีความอ่อนกว่าปกติ หากเจอผนังหลอดเลือดที่หนาๆ ก็จะไม่สามารถใส่ขดลวดนี้ได้ จึงเหมาะกับรอยโรคที่ไม่แข็งตัวมาก และความยาวการตีบตันไม่มาก ซึ่งจะสลายไปเองภายในเวลา 1-2 ปี หลอดเลือดก็จะกลับมาสู่สภาพปกติ
ถึงแม้เทคโนโลยีทางการแพทย์ จะพัฒนาช่วยให้สามารถรักษาโรคต่างๆ ได้ดีขึ้น แต่หากผู้ป่วยไม่ดูแลตัวเอง ต่อให้เทคโนโลยีล้ำขนาดไหน หลอดเลือดหัวใจก็มีโอกาสกลับไปตีบตันได้เหมือนเดิม
ขอขอบคุณ ภาพจาก...อินเตอร์เน็ต ข้อมูลจาก.... khaosod.co.th ข่าวสดรายวัน ฉบับที่ 8734 วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ปีที่ 24 //www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1pXRXdOREkzTVRBMU53PT0=ionid=TURNek1BPT0=&day=TWpBeE5DMHhNQzB5Tnc9PQ สวัสดีค่ะ จาก พรไม้หอม หากท่านใดประสงค์จะโหวตให้บล็อกนี้ ขอความกรุณาโหวตในสาขาสุขภาพ ขอบคุณค่ะ
Create Date : 01 ธันวาคม 2557 |
Last Update : 1 ธันวาคม 2557 17:45:19 น. |
|
23 comments
|
Counter : 3464 Pageviews. |
 |
|
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
พรไม้หอม Health Blog ดู Blog