โรคตาแห้ง ...บล็อกที่ 285
โ ร ค ต า แ ห้ งสาระสุขภาพจากเว็บ sriphat โดย ศ.พญ.สมสงวน อัษญคุณ จักษุแพทย์ คุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่ แสบตา ระคายเคืองตา เหมือนมีเม็ดทรายในตา ตาแห้ง ตาแดงบ่อยๆ ปวดตา ตาล้า สู้แสงสู้ลมไม่ได้ ตามัว น้ำตาไหลบางครั้ง ต้องกระพริบตาบ่อยๆ มีเมือกในตา ใช้คอมพิวเตอร์นานๆ แล้วปวดหัวปวดตา ใส่เลนส์สัมผัสแล้วมีตาอักเสบบ่อยๆ ถ้าคุณมีอาการดังกล่าวข้างต้น ควรจะไปตรวจกับจักษุแพทย์ ว่าคุณเป็นโรคตาแห้งหรือไม่

โรคตาแห้งทำให้เกิดผลเสียอย่างไร
โรคตาแห้งทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เพราะเมื่อใช้สายตานานๆ เช่น จ้องจอคอมพิวเตอร์ จะมีอาการแสบตา ระคายเคืองตา ดูภาพไม่ชัด บางครั้งต้องกระพริบตาบ่อยๆ โรคตาแห้งเป็นสาเหตุทางตาที่สำคัญของ Computer vision syndrome (กลุ่มอาการจากการใช้คอมพิวเตอร์) หรือ โรค ซีวีเอส (CVS)
อาการแสบตา สู้แสงสู้ลมไม่ได้ ทำให้อยู่ในห้องที่เปิดพัดลม หรือเครื่องปรับอากาศนานๆ แล้วไม่สบายตา ตาแดง หรือเคืองตา แสบตาเวลาขับรถ ถ้าเป็นผู้ที่ใส่เลนส์สัมผัส จะทำให้ระคายเคืองตาขณะใส่เลนส์ และมีโอกาสติดเชื้อที่กระจกตาได้ง่าย
โรคตาแห้งทำให้คุณภาพชีวิตลดลง โดยกลุ่มที่ตาแห้งปานกลาง มีคุณภาพชีวิตเทียบเท่ากับภาวะเจ็บหน้าอกขั้นปานกลาง (Moderate angina) ส่วนพวกที่ตาแห้งมากๆ อาจมีภาวะแทรกซ้อนทำให้ตาบอดได้

น้ำตาสร้างมาจากไหน และโรคตาแห้งเกิดได้อย่างไร
น้ำตาของคนเรามี 3 ชั้น โดยชั้นบนสุดเป็นชั้นไขมัน (Lipid layer) สร้างจากต่อมไขมันบริเวณเปลือกตา (meibomian glands) ไขมันเหล่านี้ช่วยให้น้ำตาไม่ระเหยเร็ว ชั้นกลางเป็นชั้นน้ำ (aqueous layer) สร้างมาจากต่อมน้ำตาบริเวณเยื่อบุตาและต่อมน้ำตาที่ใต้หางตา (lacrimal gland) ชั้นนี้มีทั้งน้ำ เกลือแร่ โปรตีน และเอนไซม์ ช่วยหล่อเลี้ยงกระจกตาและทำลายเชื้อโรค ชั้นในเป็นชั้นเมือก (mucin layer) สร้างมาจากต่อมเมือกในเยื่อบุตา (globlet cells) เมือกเหล่านี้ช่วยให้น้ำตาเกาะกับผิวตา
โรคตาแห้งเกิดจากการที่น้ำตาที่หล่อลื่นผิวตามีปริมาณไม่เพียงพอ โดยอาจเกิดจากการสร้างน้ำตาน้อยลง หรือน้ำตาระเหยมากไป หรือเกิดจากการอักเสบของตา ซึ่งมีสาเหตุได้หลายปัจจัย ได้แก่ อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีความชื้นต่ำทำให้น้ำตาระเหยเร็ว เช่น ในห้องหรือรถที่เปิดเครื่องปรับอากาศ สถานที่มีลมแรง เป็นต้น
พฤติกรรมที่มีการกระพริบตาลดลงทำให้มีการกระตุ้นให้น้ำตาออกมาน้อย เช่น การจ้องจอคอมพิวเตอร์ อ่านหนังสือ เล่นเกมส์ หรือดูโทรทัศน์นานๆ ฯลฯ การอักเสบของตาบางชนิดทำให้มีผลต่อการสร้างน้ำตา เช่น เปลือกตาอักเสบบ่อยๆ และการใส่เลนส์สัมผัส เป็นต้น
นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยเสี่ยงของแต่ละบุคคลที่ทำให้มีโอกาสเป็นโรคตาแห้ง เช่น สตรีวัยหมดประจำเดือน การใช้ยาบางอย่างหยอดตา เช่น ยารักษาต้อหิน หรือรับประทานยาที่ทำให้การสร้างน้ำตาลดลง ได้แก่ ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก ยาขับปัสสาวะ ยาลดกรด ยาคุมกำเนิด ฯลฯ รวมทั้งเป็นโรคที่มีการทำลายเซลล์ของต่อมน้ำตา ได้แก่ โรคแพ้ภูมิตนเอง โรคภูมิต้านทานบกพร่อง ฯลฯ หรือมีความผิดปกติของเปลือกตา หรือเส้นประสาทที่ทำให้หลับตาปิดไม่สนิท เช่น โรคไทรอยด์เป็นพิษ โรคทางระบบเส้นประสาทและสมอง เป็นต้น

การรักษาและป้องกันโรคตาแห้งมีหลัก 3 ประการ
1. ให้น้ำตาเทียมชดเชยน้ำตาธรรมชาติ ที่มีไม่เพียงพอ พร้อมทั้งเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้กระพริบตาน้อยลง เช่น พักสายตาเป็นระยะๆ เมื่อต้องทำงานที่ต้องจ้องหรือใช้สายตานานๆ
2. ลดการระเหยของน้ำตา โดยหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อม เช่น สวมแว่นกันแดดกันลมเมื่อต้องออกไปสัมผัสถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจจำเป็นต้องอุดรูน้ำตาในบางรายที่มีอาการตาแห้งมากๆ ที่ใช้น้ำตาเทียมหยอดแล้วยังไม่ได้ผล หรือผ่าตัดเย็บเปลือกตาในรายที่หลับตาไม่สนิท
3. ลดการอักเสบของตา เช่น หยุดใส่เลนส์สัมผัส หรือรักษาการอักเสบของเปลือกตาอย่างต่อเนื่อง

น้ำตาเทียมคืออะไร มีกี่ชนิด ใช้เป็นประจำแล้วมีอันตรายหรือไม่
น้ำตาเทียมเป็นสารหล่อลื่นที่มีคุณสมบัติช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวตา โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มที่มีสารกันเสีย (Preservatives) ทำให้ยามีอายุ 1 เดือนหลังเปิดใช้ ซึ่งมีหลายแบบ เช่น แบบสารละลายบรรจุในขวด แบบเจล (gel) และแบบขี้ผึ้ง (ointment) และกลุ่มที่ไม่มีสารกันเสีย ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบสารละลายที่บรรจุในหลอดบรรจุขนาดเล็กที่ต้องใช้ภายใน 24 ชั่วโมงหลังเปิดใช้ หรือ ขวดบรรจุพิเศษที่ไม่ให้อากาศเข้าได้ (COMOD system)
น้ำตาเทียมยังมีหลากหลายชนิดตามคุณสมบัติของสารเคมีที่เป็นส่วนประกอบ ซึ่งจะเหมาะกับภาวะตาแห้งที่มีความรุนแรงและสาเหตุที่แตกต่างกันการใช้น้ำตาเทียมเป็นประจำ ไม่มี
ทำให้การหลั่งน้ำตาตามธรรมชาติลดลง แต่มีข้อจำกัดในการใช้ เช่น ถ้าเป็นชนิดที่มีสารกันเสีย ไม่ควรใช้บ่อยกว่า 4 ชั่วโมง เนื่องจากสารกันเสียอาจไปทำอันตรายผิวตา ทำให้ยิ่งใช้บ่อยยิ่งทำให้ระคายเคืองตามากขึ้น ซึ่งถ้าต้องการหยอดบ่อยๆ ควรใช้ชนิดที่ไม่มีสารกันเสีย ซึ่งมักจะมีราคาแพงกว่า
ถ้าต้องใช้น้ำตาเทียมร่วมกับยาหยอดตาอื่นๆ เช่น ยารักษาต้อหิน ยารักษาโรคภูมิแพ้เยื่อบุตา ยาแก้อักเสบ ฯลฯ ควรเลือกใช้น้ำตาเทียมชนิดไม่มีสารกันเสีย เพราะจะได้ไม่เพิ่มสารกันเสียที่จะทำอันตรายต่อผิวตา และควรหยอดห่างจากยาเดิมอย่างน้อย 5 นาที อาจจะก่อนหรือหลังยาเดิมก็ได้
ขอขอบคุณ
ภาพจาก...อินเตอร์เน็ต สาระสุขภาพจากเว็บ sriphat โดย ศ.พญ.สมสงวน อัษญคุณ จักษุแพทย์ //sriphat.med.cmu.ac.th/th/knowledge-75
สวัสดีค่ะ
จาก พรไม้หอม
หากท่านใดประสงค์จะโหวตให้บล็อกนี้ ขอความกรุณาโหวตในสาขาสุขภาพ ขอบคุณค่ะ
Create Date : 18 กันยายน 2559 |
Last Update : 18 กันยายน 2559 11:42:20 น. |
|
35 comments
|
Counter : 3007 Pageviews. |
 |
|
จึงต้องดูแลรักษากันให้ดี
ถ้ามองอะไรไม่เห็นนี่ชีวิตเหี่ยวเฉาแน่ๆค่ะ
เพื่อสุขภาพตาที่ดี
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
ดอยสะเก็ด Literature Blog ดู Blog
haiku Art Blog ดู Blog
เริงฤดีนะ Movie Blog ดู Blog
ซองขาวเบอร์ 9 Literature Blog ดู Blog
กะว่าก๋า Book Blog ดู Blog
ALDI Klaibann Blog ดู Blog
สาวไกด์ใจซื่อ Food Blog ดู Blog
พรไม้หอม Health Blog ดู Blog
ระบบจะบันทึกคะแนนโหวต เฉพาะการโหวต 10 ครั้งล่าสุดในแต่ละวันเท่านั้น