ไขมันในเลือดสูง ... บล็อกที่ 31
สมองหมู (อาหาร) มีโคเลสเตอรอลสูง

ไขมันในเลือดสูง
ข้อมูลจาก ชมรม OPPY (Old People Playing Young Club)
ไขมัน เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานสูงแก่ร่างกาย โดยจะถูกย่อยด้วยน้ำดีจากตับอ่อน และถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายที่ลำไส้ จากนั้นจะถูกส่งไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกายทางกระแสเลือด ไขมันส่วนเกินที่ไม่ได้ใช้ จะถูกเก็บสะสมไว้ตามผนังกล้ามเนื้อหัวใจ และเนื้อเยื่อไขมัน
ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคหลอดเลือดแข็งตัวซึ่งนำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือดได้ นับเป็นโรคร้ายที่อยู่ในอันดับต้นๆ ของการเสียชีวิต ฉะนั้นเราจึงควรควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ เพื่อช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
ชนิดของไขมันในเลือด
ไขมันในเลือดมีหลายชนิด แต่โดยทั่วไปการตรวจไขมันในเลือดจะตรวจสารต่างๆ ดังต่อไปนี้
โคเลสเตอรอล (Cholesterol) เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่ร่างกายสามารถสังเคราะห์ขึ้นเองได้ และได้รับสารอาหารที่รับประทานเข้าไป พบมากในไขมันสัตว์ โคเลสเตอรอลมีความสำคัญต่อร่างกาย โดยเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลส์ต่างๆ แต่ถ้ามีมากเกินไป ก็จะเป็นโทษต่อร่างกาย ซึ่งเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งตัวและอุดตัน ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เป็นไขมันอีกชนิดหนึ่ง เกิดจากการสร้างขึ้นเองในร่างกายและจากอาหารที่รับประทานเข้าไป โดยเฉพาะอาหารจำพวกแป้ง หรืออาหารที่หวานจัด มีความสำคัญทางด้านโภชนาการหลายประการ นับตั้งแต่ให้พลังงานช่วยในการดูดซึมวิตามิน เอ ดี อี และเค ช่วยทำให้รู้สึกอิ่มท้องอยู่นาน นอกจากนี้ร่างกายยังเก็บสะสมไตรกลีเซอไรด์ ไว้สำหรับให้พลังงานเมื่อมีความต้องการ
อย่างไรก็ตาม การมีไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง หรือพบว่าสูงในคนที่มีโคเลสเตอรอลสูงอยู่แล้ว เชื่อว่ามีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบเพิ่มมากขึ้น ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน 160 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
เอชดีแอล (High density lipoprotein – HDL) มีหน้าที่นำโคเลสเตอรอลจากกระแสเลือดไปทำลายที่ตับ ดังนั้นถ้าระดับ HDL ในเลือดสูง จะทำให้อัตราเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบน้อยลง HDL จะเพิ่มมากขึ้นได้ด้วยการออกกำลังกาย ค่า HDL ยิ่งสูงมากยิ่งดี ถือเป็นไขมันดีต่อร่างกาย ได้จากการออกกำลังกาย ระดับปกติในเลือด ผู้ชายมากกว่า 40 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ผู้หญิงมากกว่า 45 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร
แอลดีแอล (Low density lipoprotein – LDL) หากมีไขมันชนิดนี้ในเลือดสูงก็จะไปเกาะผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดพอกหนาขึ้น จนความยืดหยุ่นของหลอดเลือดเสียไป หลอดเลือดจะตีบแคบลง ทำให้การไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก จึงเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบตันได้มาก ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน 130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และหากมีโรคเบาหวานหรือมีโรคหัวใจร่วมด้วย ควรต่ำกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ไขมันนี้ถือเป็นไขมันไม่ดีต่อร่างกาย
ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคไขมันในเลือดสูง
• ผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน โดยเฉพาะผู้ที่มีลักษณะอ้วนลงพุง
• ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง
• ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ
• ผู้ป่วยโรคเบาหวาน
• ผู้ที่มีประวัติญาติพี่น้องเคยเป็นโรคหัวใจ
• ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
• ผู้ที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย
ไข่แดง มีโคเลสเตอรอลสูง

ไข่แดง มีโคเลสเตอรอลสูง

จะทำอย่างไรเมื่อไขมันในเลือดสูง
ถ้าตรวจพบว่าระดับไขมันในเลือดสูง ควรมีการควบคุมปริมาณไขมันในเลือด โดยการปฏิบัติตัวดังนี้
1. ควบคุมอาหาร โดยเฉพาะอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง เช่น ไขมันสัตว์ ไข่แดง ปลาหมึก
2. ควบคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วนเกินไป
3. หลีกเลี่ยงการดื่มสุรา เบียร์
4. หลีกเลี่ยงอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมัน เช่น อาหารทอด เจียว ควรใช้น้ำมันจากพืชแทนน้ำมันจากสัตว์ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน เป็นต้น
5. รับประทานอาหารพวกผักใบเขียวต่างๆ และผลไม้ที่ให้กากใยอาหาร
6. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
7. รับประทานยาลดระดับไขมันในเลือด
จากการศึกษาพบว่า ระดับไขมันในเลือดมีความสัมพันธ์อย่างมากกับการเกิดโรคหลอดเลือดตีบตัน โดยเฉพาะหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงจึงมีโอกาสเป็นโรคหัวใจขาดเลือด สมองขาดเลือดจนเป็นอัมพาต หรืออัมพฤกษ์.
ปลาหมึก มีโคเลสเตอรอลสูง

ปลาหมึก มีโคเลสเตอรอลสูง

อาหารลดไขมันและโคเลสเตอรอล
ข้อมูลจากเอกสารเผยแพร่ ของสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
หลักการบริโภคอาหารและการปฎิบัติตนเพื่อป้องกันภาวะไขมันในเลือดสูง
1. เลือกรับประทานอาหารที่มีปริมาณโคเลสเตอรอลไม่เกิน 300 มิลลิกรัม/วัน
2. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ไขมันจากสัตว์ หนังสัตว์ และเนื้อสัตว์ติดมัน
3. รับประทานอาหารที่มี กรดไขมันไลโนเลอิก (โอเมก้า 6) และไลโนเลนิก (โอเมก้า 3) สูง โดยใช้น้ำมันพืชในการประกอบอาหาร ซึ่งกรดไขมันประเภทนี้พบมากใน ถั่ว งา และมากถึงรัอยละ 50 ในน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด เป็นต้น
4. เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยให้มากขึ้น เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวซ้อมมือ ถั่วเมล็ดแห้ง เป็นต้น
5. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลมาก เช่น น้ำหวาน ขนมหวาน ลูกกวาด เป็นต้น
6. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณท์ที่เหมาะสม
7. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
8. งดสูบุหรี่ ชา กาแฟ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด
ปริมาณโคเลสเตอรอลในอาหาร 100 กรัม
ไข่ไก่เฉพาะไข่แดงดิบ 100 กรัม ปริมาณโคเลสเตอรอล 2,000 มก.
ไข่ไก่เฉพาะไข่ขาวดิบ 100 กรัม ปริมาณโคเลสเตอรอล 0 มก.
ไข่ไก่ดิบทั้งฟอง 100 กรัม ปริมาณโคเลสเตอรอล 548 มก.
ไข่นกกระทาดิบ 100 กรัม ปริมาณโคเลสเตอรอล 844 มก.
คุกกี้ธรรมดา 100 กรัม ปริมาณโคเลสเตอรอล 117 มก.
เค้กเนย 100 กรัม ปริมาณโคเลสเตอรอล 221 มก.
นมชอกโกแลต 100 กรัม ปริมาณโคเลสเตอรอล 12 มก.
นมข้นหวาน 100 กรัม ปริมาณโคเลสเตอรอล 34 มก.
นมเปรี้ยวรสผลไม้ 100 กรัม ปริมาณโคเลสเตอรอล 6 มก.
นมพร่องไขมัน (ของเหลว) 100 กรัม ปริมาณโคเลสเตอรอล 2 มก.
น้ำสลัดข้น 100 กรัม ปริมาณโคเลสเตอรอล 69 มก.
เนย 100 กรัม ปริมาณโคเลสเตอรอล 219 มก.
ไอศกรีม รสวนิลา 100 กรัม ปริมาณโคเลสเตอรอล 45 มก.
ไอศกรีม รสส้ม 100 กรัม ปริมาณโคเลสเตอรอล 7 มก.
ตับไก่สุก 100 กรัม ปริมาณโคเลสเตอรอล 631 มก.
ตับหมูสุก 100 กรัม ปริมาณโคเลสเตอรอล 355 มก.
สมองหมูสุก 100 กรัม ปริมาณโคเลสเตอรอล 2,552 มก.
เนื้อไก่ล้วนสุก 100 กรัม ปริมาณโคเลสเตอรอล 89 มก.
เนื้อหมูล้วนสุก 100 กรัม ปริมาณโคเลสเตอรอล 93 มก.
น้ำมันหมู 100 กรัม ปริมาณโคเลสเตอรอล 95 มก.
หมูสามชั้นดิบ 100 กรัม ปริมาณโคเลสเตอรอล 72 มก.
เนื้อปูสุก 100 กรัม ปริมาณโคเลสเตอรอล 100 มก.
ปลากะพงขาวสุก 100 กรัม ปริมาณโคเลสเตอรอล 50 มก.
ปลาทูสุก 100 กรัม ปริมาณโคเลสเตอรอล 57 มก.
กุ้งรวมชนิด 100 กรัม ปริมาณโคเลสเตอรอล 195 มก.
ปลาหมึกกล้วยสุก 100 กรัม ปริมาณโคเลสเตอรอล 260 มก.
หอยนางรมสุก 100 กรัม ปริมาณโคเลสเตอรอล 100 มก.
ลดการดื่มกาแฟ

ลดการดื่มกาแฟ

ตัวอย่างรายการอาหารใน 1 วัน
อาหารเช้า .. ข้าวต้มปลากะพง และส้มเขียวหวาน .. พลังงาน 515 กิโลแคลอรี่ / โคเลสเตอรอล 12 มิลลิกรัม
ข้าวต้ม (ข้าวซ้อมมือ) 4 ทัพพี
ปลากะพง 2 ช้อนคาว
ขึ้นฉ่าย ตามต้องการ
น้ำมันกระเทียมเจียว 2 ช้อนชา
ส้มเขียวหวาน 1 ผลกลาง
นมขาดมันเนย 1 กล่อง (240 มล.)
อาหารกลางวัน .. เซี่ยงไฮ้น้ำไก่ และสับปะรด .. พลังงาน 545 กิโลแคลอรี่ /โคเลสเตอรอล 42 มิลลิกรัม
เส้นเซี่ยงไฮ้ 3 ทัพพี
เนื้อไก่ต้มสุก 4 ช้อนคาว
น้ำมันกระเทียมเจียว 2 ช้อนชา
ถั่วงอก 1 ทัพพี
น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา
สับปะรด 9 ชิ้นพอดีคำ
อาหารมื้อว่าง .. ฝรั่ง
ฝรั่ง 1 ผลกลาง
อาหารเย็น .. ข้าวสวย ต้มยำหมูเห็ด ปลาอินทรีย์นึ่งบ๊วย ผัดผักรวมมิตรน้ำมันหอย และชมพู่ .. พลังงาน 695 กิโลแคลอรี่ / โคเลสเตอรอล 52 มิลลิกรัม
ข้าวสวย (ข้าวซ้อมมือ) 4 ทัพพี
ต้มยำหมูเห็ด
เนื้อหมูไม่ติดมัน 2 ช้อนคาว
เห็ดฟาง 1 ทัพพี
พริกมะนาว น้ำปลา ตะไคร้ ใบมะกรูด ตามต้องการ
ปลาอินทรีย์นึ่งบ๊วย
ปลาอินทรีย์ 2 ช้อนคาว
ขิง บ๊วย ตามชอบ
ผัดผักรวมมิตรน้ำมันหอย
ถั่วลันเตา ยอดข้าวโพด แครอท 1 ทัพพี
น้ำมันถั่วเหลือง 2 ช้อนชา
น้ำมันหอย 1 ช้อนชา
น้ำตาลทราย 1 ช้อนชา
ปรุงรสด้วยน้ำปลา
ชมพู่ 2 ผลขนาดกลาง.
ลดขนมหวาน

ลดขนมหวาน

หากท่านใดประสงค์จะโหวตให้บล็อกนี้ ขอความกรุณาโหวตในสาขาสุขภาพ ขอบคุณค่ะ
จาก พรไม้หอม
Create Date : 24 มิถุนายน 2555 |
Last Update : 24 มิถุนายน 2555 15:47:17 น. |
|
59 comments
|
Counter : 5347 Pageviews. |
 |
|
|
ป้าไปตรวจมาตัวเลขรวมอยู่ที่ 265 ตัวดี 84 ตัวร้าย 155
สรุปโดยรวมหมอบอกว่ายังไม่ดีนัก ให้ยามากินวันละเม็ด
ครบสองเดือนค่อยไปเจาะเลือดดูตัวเลขใหม่
ตอนนี้ก็พยายามระวังอยู่ค่ะ
วันนี้หมดงบ ....พรุ่งนี้จะแวะมาโหวตค่ะ