มารู้จักความดันโลหิตสูง ... บล็อกที่ 36

มารู้จักความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นสภาวะผิดปกติที่บุคคลมีระดับความดันโลหิตสูงขึ้นกว่าระดับปกติของคนส่วนใหญ่ และถือว่าเป็นสภาวะที่ต้องควบคุม เนื่องจากความดันโลหิตสูงทำให้เกิดความเสียหายและการเสื่อมสภาพของหลอดเลือดแดง นำไปสู่สภาวะการแข็งตัวของหลอดเลือด การอุดตันของหลอดเลือด และหลอดเลือดแตกได้ นอกจากนี้ ความดันโลหิตสูงยังเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้ เช่น โรคหัวใจวาย โรคอัมพาต โรคสมองเสื่อม และโรคไตวายเรื้อรัง

อย่างไรเรียกว่าความดันโลหิตสูง
การวัดความดันโลหิตสูง ค่าความดันที่วัดได้จะออกมา 2 ค่า คือความดันตัวบนและค่าความดันตัวล่าง
- ค่าความดันตัวบน คือ ระดับความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว
- ค่าความดันตัวล่างคือ ระดับความดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว ซึ่งตัวเลขทั้งสองค่าจะรายงานเป็น มิลลิปรอท (mm / Hg)
ระดับความดันโลหิตที่ถือว่าสูงผิดปกติ คือ ค่าความดันตัวบนมากกว่าหรือเท่ากับ 140 mm / Hg ขึ้นไป หรือค่าความดันตัวล่างมากกว่าหรือเท่ากับ 90mm / Hg ขึ้นไป โดยระดับความดันทั้ง 2 ค่ายิ่งสูงมาก ก็ยิ่งจะมีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้มากขึ้นตามลำดับ

ใครว่า "ความดันโลหิตสูง" ไม่อันตราย
คุณมีอาการเหล่านี้หรือไม่
ปวดศีรษะ
มึนงง....ศีรษะ
คลื่นไส้.อาเจียน...
เหนื่อยง่าย...
หน้ามืดเป็นลม...
เหล่านี้คือ กลุ่มอาการที่พบบ่อยๆ ของผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
สาเหตุของโรคความดันโลหิตสูง
มากกว่า 90% เป็นความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ (Essential Hypertension) มักพบได้บ่อยในรายที่มีประวัติครอบครัวเป็นความดันโลหิตสูง อายุมาก
ส่วนใหญ่กลุ่มที่ทราบสาเหตุ พบได้น้อย ซึ่งเกิดได้ในผู้ป่วยที่มีโรคอยู่แล้ว เช่น โรคไต หลอดเลือดที่ไตตีบตัน ครรภ์เป็นพิษ เนื้องอกบางชนิด โรคต่อมหมวกไต ยาบางอย่าง เป็นต้น
การพยากรณ์โรค ขึ้นอยู่กับ
1. ระดับความดันโลหิตสูง ยิ่งความดันโลหิตสูงมากและระยะเวลาที่เป็นนาน ยิ่งทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆ หลายระบบตามมา
2. การมีโรคอื่นร่วมและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เช่น โรคหัวใจ โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะอัมพาต .. การที่มีปัจจัยเสี่ยงมาก มีโรคร่วมหลายโรค ยิ่งทำให้การพยากรณ์โรคไม่ดี

เพื่อก้าวไปสู่ภาวะความดันปกติ ถามตัวเองว่า ท่านปฎิบัติตามนี้แล้วหรือยัง
1. มีน้ำหนักตัวที่เหมาะสมกับส่วนสูง (ดัชนีมวลกาย=18.5-25 กิโลกรัม / เมตรยกกำลังสอง)
2. ดำเนินชีวิตที่เหมาะสม ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เน้นการพักผ่อนให้เพียงพอ
3. บริโภคอาหารตามข้อปฎิบัติการรับประทานอาหารที่ให้ประโยชน์แก่สุขภาพ
4. จัดการเวลาและมีทักษะเผชิญต่อความเครียด
5. เรียนรู้และปฎิบัติตัวตามข้อปฎิบัติและคำแนะนำที่ถูกต้องของแพทย์และทีมการดูแลสุขภาพ
6. ไม่สูบบุหรี่
7. ลดละเลิกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
8. ลดปริมาณเกลือแกงหรือเกลือโซเดียมในอาหาร โดยจำกัดการใช้เกลือในการปรุงอาหารหรือเครื่องปรุงรสบนโต๊ะอาหาร .. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณเกลือโซเดียมสูงหรือรสเค็มจัด เช่น อาหารกระป๋อง อาหารกินเล่น อาหารแช่แข็งและปรุงสำเร็จรูป อาหารใส่ผงชูรส เป็นต้น เมื่อจับจ่ายซื้ออาหารสำเร็จรูป ควรอ่านฉลากกำกับทุกครั้ง และเลือกซื้ออาหารที่ระบุชัดเจนว่ามี "โซเดียมต่ำ" หรือ "ไม่ใช้เกลือ" เท่านั้น หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ใช้เครื่องเทศแทนการใช้เกลือ เช่น เครื่องเผ็ด น้ำส้ม มะนาว กระเทียม ขิง หัวหอม เป็นต้น เลือกรับประทานอาหารสด ผลไม้และผัก ข้าว ขนมปัง เป็นต้น
Health Tip
การหัวเราะช่วยเพิ่มออกซิเจนและการไหลเวียนของเลือด ลดความกดดันและความหดหู่ในจิตใจได้ดี... วันนี้คุณหัวเราะแล้วหรือยัง?



หากท่านใดประสงค์จะโหวตให้บล็อกนี้ ขอความกรุณาโหวตในสาขาสุขภาพ ขอบคุณค่ะ
จาก พรไม้หอม
Create Date : 27 กรกฎาคม 2555 |
Last Update : 27 กรกฎาคม 2555 10:49:04 น. |
|
38 comments
|
Counter : 4387 Pageviews. |
 |
|
|