ข้อเสื่อม ... บล็อกที่ 17
ข้อเสื่อม ข้อเสื่อม พบมากที่สุดในโรคปวดข้อ (arthritis) มีผลกระทบต่อทุกคนที่เริ่มมีอายุมากขึ้น จะเกิดขึ้นบ่อยในข้อต่อที่ต้องรับน้ำหนักมาก เช่น เข่า สะโพก ข้อศอก ทำให้กระดูกอ่อนซึ่งหุ้มปลายกระดูกแต่ละชิ้นในข้อต่อนั้นค่อยๆเสื่อมสลายไปอย่างช้าๆ ปกติแล้วกระดูกอ่อนจะทำหน้าที่เป็นตัวลดแรงกระแทก แต่ผู้ที่ข้อเสื่อม ผิวของกระดูกอ่อนซึ่งปกติจะเรียบนั้นขรุขระมากขึ้นและยุบลงไป การที่พื้นผิวไม่ราบเรียบจะส่งผลให้กระดูกในบริเวณข้อต่อบดขยี้กัน ทำให้เกิดการอักเสบ เจ็บปวด และเคลื่อนไหวลำบาก และในอนาคตจะทำให้กระดูกงอกผิดปกติ ความเจ็บปวด เป็นอาการแรกและชัดเจนที่สุดของข้อเสื่อม แรกๆ นั้น จะมีอาการเจ็บปวดเพียงเล็กน้อยแต่จะเริ่มเจ็บปวดมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว ในอนาคตอาการเจ็บปวดอาจจะรุนแรงมากขึ้นแม้ขณะนอนอยู่เฉยๆ ซึ่งเกิดจากการระคายเคืองและแรงดันบนปลายประสาท อาการที่ทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้สะดวกนั้น เป็นอาการอย่างหนึ่งของข้อเสื่อม ผู้ป่วยบางคนอาจจะไม่สามารถก้มลงหรือลุกขึ้นได้อย่างปกติอีกต่อไป การเคลื่อนไหวที่ไม่สะดวกนี้ทำให้กล้ามเนื้อที่ควบคุมบริเวณข้อต่อที่ได้รับผลกระทบนั้นอ่อนแอลง และสภาพร่างกายโดยรวมจะประสบกับความตึงและเหนื่อยล้า ข้อเสื่อม ถือว่าค่อนข้างง่ายต่อการวินิจฉัยของแพทย์ ศัลยแพทย์ทางกระดูกจะทำการ X-Ray บริเวณข้อต่อที่รับน้ำหนัก และทำการตรวจสอบประกอบ กระบวนการวินิจฉัยนั้นจะกินเวลาไม่นาน ไม่เปลืองเงิน และไม่มีผลร้ายใดๆ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค จะเป็นผลดีต่อโรคข้อเสื่อม ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่ามีอาหารใดที่ช่วยป้องกันหรือบรรเทาอาการได้ แต่การกินอาหารอย่างเหมาะสมและรักษารูปร่างเป็นเรื่องสำคัญ เพราะว่าจะส่งผลกระทบต่อข้อต่อที่รับน้ำหนัก ผู้ที่มีน้ำหนักมากก็จะเจ็บมากขึ้น สำหรับการควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดีนั้น จะช่วยสามารถลดความเจ็บปวดบริเวณข้อต่อพร้อมๆ กับปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น การออกกำลังกายและการพักผ่อน ก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรจะทำให้เหมาะสม การนอนอยู่บนเตียงที่มากเกินไปจะทำให้ข้อต่อเมื่อยล้า และการออกกำลังกายที่มากเกินไปก็ส่งผลให้ข้อต่อเกิดอันตรายได้ ความสมดุลระหว่างการออกกำลังกายและการพักผ่อน ถือเป็นสิ่งสำคัญทีเดียว อาการข้อเสื่อมเป็นอย่างไร? 1. ข้อบวมหรือข้อโตขึ้น 2. กดเจ็บ ในรายที่มีข้ออักเสบ ปวดขณะเคลื่อนไหวข้อ หรือกดกระดูกข้างข้อที่โตแล้วเจ็บ มีอาการบวมและมีน้ำในข้อ 3. มีเสียงดังกรุ๊บกรั๊บในข้อขณะเคลื่อนไหว เหมือนผิวของกระดูกเสียดสีกัน 4. องศาการเคลื่อนไหวของข้อลดลง เมื่อทิ้งไว้นานการเคลื่อนไหวของข้อยิ่งลดลงมาก ทำให้สูญเสียการทำงาน 5. ข้อผิดรูปหรือพิการ เช่น ข้อเข่าโก่ง 6. ความมั่นคงของข้อเสียไป เช่น ข้อหลวม 7. การเดินผิดปกติ เช่น เดินกระเผลก 8. กล้ามเนื้อรอบข้อลีบเล็กลง 9. มีอาการข้อฝืด เช่น นั่งท่าเดียวนาน ๆ จะมีความรู้สึกฝืด เคลื่อนไหวไม่คล่อง ใครบ้างที่มีโอกาสเป็นข้อเสื่อม? 1. ผู้สูงอายุ ตั้งแต่อายุ 40 ขึ้นไป โดยเฉพาะในช่วยวัยทอง จะมีการสึกกร่อนของข้อมากที่สุด 2. เพศหญิง จะมีโอกาสเกิดข้อเสื่อมมากกว่าเพศชาย และมักพบข้อเสื่อมบริเวณเข่ามากที่สุด 3. ผู้มีน้ำหนักตัวยิ่งมาก ยิ่งมีโอกาสเกิดข้อเข่าเสื่อมมาก 4. นักกีฬา ที่เกิดอุบัติเหตุบริเวณข้อ 5. ชาวไร่ ชาวนา มักพบข้อเสื่อมบริเวณบั้นเอว 6. พ่อค้า แม่ค้า มักพบโรคข้อเสื่อมของข้อเข่า 7. แม่บ้านพบข้อนิ้วเสื่อมมากที่สุดการบริหารกล้ามเนื้อเข่า การพักกล้ามเนื้อเป็นวิธีที่ดี แต่ต้องมีการบริหารข้อเข่าอย่างเหมาะสม จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ป้องกันข้อติด การเคลื่อนไหวข้อดีขึ้น การบริหารมีหลายท่า สามารถทำได้บ่อยๆ วิธีง่ายๆ ทำได้ด้วยตัวเอง 1. นั่งบนเก้าอี้ให้นั่งห้อยเท้าไว้ ผูกน้ำหนักที่ข้อเท้าประมาณ 2-5 กิโลกรัมไว้ที่ขาทั้งสองข้าง ให้ทำวันละ 1-3 ครั้งครั้งละ 5-15 นาที 2. นั่งบนเก้าอี้ วางเท้าข้างหนึ่งไว้บนพื้น เท้าอีกข้างหนึ่งวางบนเก้าอี้ ให้กดเท้าที่วางอยู่บนเก้าอี้ ลงบนพื้นนาน 5-10 วินาที แล้วพัก 1 นาที ทำซ้ำข้างละ10 ครั้ง ให้ทำวันละ 3 เวลา 3. นั่งบนเก้าอี้ หลังพิงพนัก ยกเท้าขึ้นมาและเกร็งกล้ามเนื้อต้นขา โดยกระดกข้อเท้า นับ 5- 10 วินาที ทำข้างละ 10 ครั้ง ทำวันละ 3 เวลา ถ้าแข็งแรงขึ้นอาจถ่วงน้ำหนักที่ปลายเท้า 4. นอนหงาย ยกเท้าข้างหนึ่งงอตั้งไว้ อีกข้างหนึ่งยกสูงขึ้นจากพื้น 1 ฟุต เกร็งไว้ นับ 1-10 ทำสลับข้าง ทำซ้ำหลายๆครั้ง หรืออาจะเคลื่อนเท้าเป็นรูปตัวที ทำวันละ 3 เวลา 5. นอนหงายหรือนั่ง มีหมอนรองบริเวณข้อเท้าข้างหนึ่ง กดเข่าของเท้าที่มีหมอนหนุนให้ติดพื้น นับ 5-10 วินาที พัก1 นาที ทำข้างละ 10 ครั้ง วันละ 3 เวลา ทำสลับข้างทำบ่อยๆ 6. นั่งบนเก้าอี้ นำผ้าวางไว้ใต้เท้าข้างหนึ่ง แล้วดึงขึ้นมาให้สูงจากพื้น 4-5 นิ้ว ดึงไว้ 5-10 วินาที พักหนึ่งนาที่ ทำซ้ำข้างละ 10 ครั้ง ทำวันละ 3 ครั้ง 7. ยืนหลังพิงกำแพง เคลื่อนตัวลงจนเข่างอ 30 องศา แล้วยืนขึ้นทำ 5-10 ครั้ง วันละ 3 เวลา การดูแลข้อเข่าเสื่อม ความยาว 6.32 นาทีVIDEO ขอให้ทุกท่านโชคดี ห่างไกลจากข้อเข่าเสื่อมค่ะ หากท่านใดประสงค์จะโหวตให้บล็อกนี้ ขอความกรุณาโหวตในสาขาสุขภาพ ขอบคุณค่ะ จาก พรไม้หอม
Create Date : 20 มีนาคม 2555
Last Update : 7 เมษายน 2555 11:46:06 น.
57 comments
Counter : 4582 Pageviews.