<<
ตุลาคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
18 ตุลาคม 2553
 
 
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ Obstructive Sleep Apnea


ท่านเคยมีอาการเช่นนี้หรือไม่ นอนเท่าไหร่ก็ไม่อิ่มสักที  กลางวันก็มีอาการง่วงนอนทั้งๆ ที่นอนหลายชั่วโมง อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ  หลับไม่สนิท สดุ้งตื่นกลางดึก นอนกรน สำลัก มีเสียงหายใจไม่สม่ำเสมอ (คนนอนข้างๆบอก)  ถ้าท่านมีอาการเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณบอกว่าท่านอาจจะมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea) ก็ได้

ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเกิดขึ้นได้อย่างไร?
ภาวะนี้เกิดจากการที่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจในส่วนใดก็ได้ ตั้งแต่จมูกลงมาถึงบริเวณกล่องเสียง ทำให้เกิดเสียงกรน

สาเหตุเกิดได้ตั้งแต่แกนกั้นจมูกคด การอักเสบของจมูกและไซนัส กล้ามเนื้อบริเวณลำคอและลิ้นไก่หย่อน โคนลิ้นใหญ่ เมื่อนอนหงายโคนลิ้นและลิ้นไก่จะตกไปด้านหลัง ทำให้ทางเดินหายใจแคบลง  เมื่อหลับสนิทจะมีภาวะหยุดหายใจช่วงสั้นๆ และร่างกายจะปลุกตัวเองขึ้นมา ทำให้หลับได้เป็นช่วงสั้นๆ ตลอดคืน จึงทำให้พักผ่อนได้ไม่เต็มที่ อาจมีผลต่อการเรียน หรือการทำงานในช่วงเวลากลางวัน

ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับคือ ความอ้วน ยิ่งมีน้ำหนักตัวมาก เนื้อเยื่อบริเวณคอจะหนาขึ้น ทำให้หยุดหายใจง่ายขึ้น นอกจากนี้โครงสร้างของใบหน้าก็มีส่วนทำให้เกิดภาวะนี้ได้ เช่น ในคนที่มีคางสั้น ต่อมทอนซิลและอดีนอยด์โตจะมีปัญหามากกว่าคนอื่น ผู้ชายในครอบครัวเดียวกันจะมีปัญหาคล้ายกัน เนื่องจากโครงสร้างใบหน้าคล้ายๆกัน ในคนที่สูบบุหรี่จะมีภาวะนี้มากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 3 เท่า และพบภาวะนี้ในคนที่เป็นโรคเบาหวาน และมีภาวะต้านอินซูลินมากกว่าคนปกติถึง 3 เท่าเช่นกัน

จะทราบได้อย่างไรว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือไม่
การวินิจฉัย ทำได้โดยการตรวจ Polysomnography หรือ Sleep lap ซึ่งเป็นการตรวจดูคลื่นสมอง การหายใจ ออกซิเจน และท่านอน ขณะหลับ ซึ่งผลที่ออกมาจะประเมินได้ว่าในขณะหลับมีการหยุดหายใจกี่ครั้งใน 1 ชั่วโมง

ความรุนแรงของอาการแบ่งเป็น
- ความรุนแรงน้อย หยุดหายใจประมาณ 5-15 ครั้ง ต่อชั่วโมง
- ความรุนแรงปานกลาง หยุดหายใจประมาณ 15-30 ครั้งต่อชั่วโมง คนกลุ่มนี้จะมีปัญหาในการขับขี่ยานพาหนะ เนื่องจากอาจมีอาการหลับในและเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย จึงไม่ควรขับรถทางไกล
- ความรุนแรงมาก หยุดหายใจมากกว่า 30 ครั้งต่อชั่วโมง คนกลุ่มนี้จะมีอาการง่วงนอนในเวลากลางวันมาก มีปัญหาความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เลือดข้น และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายจึงไม่ควรขับรถทางไกลเช่นกัน และควรได้รับการรักษาโดยเร็ว เพราะพบว่าในรายที่ไม่ได้รับการรักษาจะมีอันตรายมากกว่าคนปกติ 3-6 เท่า

จะรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้อย่างไรบ้าง?
ในกรณีที่มีอาการน้อย อาจจะใช้วิธีการลดน้ำหนักด้วยวิธีต่างๆ  ร่วมกับ การปรับท่านอน สำหรับท่านอนที่ดีที่สุดคือท่านอนตะแคง ซึ่งลิ้นไก่จะไม่ตกไปด้านหลังจนไปอุดกั้นทางเดินหายใจ ในรายที่มีอาการ มาก การรักษามีหลายวิธี แตกต่างกันไป เช่น การใส่เครื่องอัดอากาศเข้าทางเดินหายใจ (Positive Continuous Airway Pressure) ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด  แต่ในผู้ป่วยบางรายที่ไม่สามารถใช้เครื่องนี้ได้ ก็จะใช้วิธีอื่นๆ เช่น มีการใส่เครื่องมือในปาก  การผ่าตัดที่บริเวณจมูก และลิ้นไก่  ผนังข้างลำคอ  โคนลิ้น  กระดูกใบหน้าและกราม ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าวิธีการรักษาแบบใดจะเหมาะสมกับผู้ป่วย


ด้วยความปรารถนาดีจาก โรงพยาบาลสมิติเวช
//www.samitivejhospitals.com/allhealth_article_detail.aspx?id=567&lid=th




Create Date : 18 ตุลาคม 2553
Last Update : 18 ตุลาคม 2553 17:29:40 น. 1 comments
Counter : 882 Pageviews.

 
ดิฉันทำ sleep lap มาแล้วคะ คุณหมอบอกว่ามรอาการหยุดหายใจ 55 ครั้งต่อชั่วโมง ดิฉัยอยากทราบบว่าอาการแบบนี้มันจะอันตรายถึงแ่ชีวิตไหมคะ และตอนนี้ดิฉันเป็นโรคภูมิแพ้อากาศ ฝุ่น และโรคผนังหัวใจรั่วขนาด 3 cm แต่ว่าอุดปิดรอยรั่วแลัวคะ อยากทราบว่า ถ้ารักษาจะไปที่โรงพยาบาลไหนดีคะะ ดิฉันใช้สิทธิเบิกข้าราชการได้คะ ขอพระคุณมากคะ


โดย: กิ๊ฟฟี่ IP: 110.78.149.247 วันที่: 15 ตุลาคม 2557 เวลา:11:07:59 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

samitivej
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Follow Samitivejclub on Twitter

[Add samitivej's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com