<<
กรกฏาคม 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
25 กรกฏาคม 2554
 
 
Obstructive Sleep Apnea

ท่านเคยมีอาการเช่นนี้หรือไม่นอนเท่าไหร่ก็ไม่อิ่มสักที กลางวันก็มีอาการง่วงนอนทั้งๆ ที่นอนหลายชั่วโมง อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ หลับไม่สนิท สดุ้งตื่นกลางดึก นอนกรน สำลัก มีเสียงหายใจไม่สม่ำเสมอ (คนนอนข้างๆบอก) ถ้าท่านมีอาการเหล่านี้ อาจเป็นสัญญาณบอกว่าท่านอาจจะมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea) ก็ได้



ภาวะหยุดหายใจขณะหลับเกิดขึ้นได้อย่างไร?
ภาวะนี้เกิดจากการที่มีการอุดกั้นทางเดินหายใจในส่วนใดก็ได้ ตั้งแต่จมูกลงมาถึงบริเวณกล่องเสียง ทำให้เกิดเสียงกรน
สาเหตุเกิดได้ตั้งแต่แกนกั้นจมูกคด การอักเสบของจมูกและไซนัส กล้ามเนื้อบริเวณลำคอและลิ้นไก่หย่อน โคนลิ้นใหญ่ เมื่อนอนหงายโคนลิ้นและลิ้นไก่จะตกไปด้านหลังทำให้ทางเดินหายใจแคบลง เมื่อหลับสนิทจะมีภาวะหยุดหายใจช่วงสั้นๆ และร่างกายจะปลุกตัวเองขึ้นมา ทำให้หลับได้เป็นช่วงสั้นๆ ตลอดคืน จึงทำให้พักผ่อนได้ไม่เต็มที่ อาจมีผลต่อการเรียน หรือการทำงานในช่วงเวลากลางวัน

ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหยุดหายใจขณะหลับคือ ความอ้วน ยิ่งมีน้ำหนักตัวมาก เนื้อเยื่อบริเวณคอจะหนาขึ้น ทำให้หยุดหายใจง่ายขึ้น นอกจากนี้โครงสร้างของใบหน้าก็มีส่วนทำให้เกิดภาวะนี้ได้ เช่น ในคนที่มีคางสั้น ต่อมทอนซิลและอดีนอยด์โตจะมีปัญหามากกว่าคนอื่น ผู้ชายในครอบครัวเดียวกันจะมีปัญหาคล้ายกัน เนื่องจากโครงสร้างใบหน้าคล้ายๆกัน ในคนที่สูบบุหรี่จะมีภาวะนี้มากกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ถึง 3 เท่า และพบภาวะนี้ในคนที่เป็นโรคเบาหวานและมีภาวะต้านอินซูลินมากกว่าคนปกติถึง 3 เท่าเช่นกัน

จะทราบได้อย่างไรว่ามีภาวะหยุดหายใจขณะหลับหรือไม่
การวินิจฉัย ทำได้โดยการตรวจ Polysomnography หรือ Sleep lap ซึ่งเป็นการตรวจดูคลื่นสมอง การหายใจ ออกซิเจน และท่านอน ขณะหลับ ซึ่งผลที่ออกมาจะประเมินได้ว่าในขณะหลับมีการหยุดหายใจกี่ครั้งใน 1 ชั่วโมง

ความรุนแรงของอาการแบ่งเป็น
- ความรุนแรงน้อย หยุดหายใจประมาณ 5-15 ครั้ง ต่อชั่วโมง
- ความรุนแรงปานกลาง หยุดหายใจประมาณ 15-30 ครั้งต่อชั่วโมง คนกลุ่มนี้จะมีปัญหาในการขับขี่ยานพาหนะ เนื่องจากอาจมีอาการหลับในและเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย จึงไม่ควรขับรถทางไกล
- ความรุนแรงมาก หยุดหายใจมากกว่า 30 ครั้งต่อชั่วโมง คนกลุ่มนี้จะมีอาการง่วงนอนในเวลากลางวันมาก มีปัญหาความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เลือดข้น และมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายจึงไม่ควรขับรถทางไกลเช่นกัน และควรได้รับการรักษาโดยเร็ว เพราะพบว่าในรายที่ไม่ได้รับการรักษาจะมีอันตรายมากกว่าคนปกติ 3-6 เท่า

จะรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้อย่างไรบ้าง?

ในกรณีที่มีอาการน้อย อาจจะใช้วิธีการลดน้ำหนักด้วยวิธีต่างๆ ร่วมกับการปรับท่านอน สำหรับท่านอนที่ดีที่สุดคือท่านอนตะแคง ซึ่งลิ้นไก่จะไม่ตกไปด้านหลังจนไปอุดกั้นทางเดินหายใจ ในรายที่มีอาการ มาก การรักษามีหลายวิธี แตกต่างกันไป เช่น การใส่เครื่องอัดอากาศเข้าทางเดินหายใจ (Positive Continuous Airway Pressure) ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด แต่ในผู้ป่วยบางรายที่ไม่สามารถใช้เครื่องนี้ได้ ก็จะใช้วิธีอื่นๆ เช่น มีการใส่เครื่องมือในปาก การผ่าตัดที่บริเวณจมูก และลิ้นไก่ ผนังข้างลำคอ โคนลิ้น กระดูกใบหน้าและกราม ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่าวิธีการรักษาแบบใดจะเหมาะสมกับผู้ป่วย[/size]

ด้วยความปรารถนาดีจาก //www.samitivejhospitals.com/healtharticle_detail/obstructive_sleep_apnea_567/th



Create Date : 25 กรกฎาคม 2554
Last Update : 25 กรกฎาคม 2554 13:50:15 น. 0 comments
Counter : 822 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

samitivej
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Follow Samitivejclub on Twitter

[Add samitivej's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com