<<
พฤศจิกายน 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
18 พฤศจิกายน 2555
 
 
Experts Play Therapy การเล่นที่เป็นมากกว่าการเรียนรู้





การเล่นเป็นเสมือนโลกส่วนตัวของเด็กๆ เพราะเขาสามารถแสดงออกทางความคิด ความรู้สึก ความคับข้องใจได้อย่างอิสระ  นักจิตวิทยาเด็กถือว่าการเล่นเป็นภาษาที่เด็กแสดงออกมาให้เรารับรู้ตัวตนที่แท้จริงของเขา จึงนำการเล่นมาเป็นสื่อกลางในการส่งเสริมและพัฒนาเด็กอย่างเป็นธรรมชาติ โดยเรียกว่า การเล่นบำบัด “Play Therapy”  ซึ่งเป็นการบำบัดที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในประเทศต่างๆ โดยมีทฤษฎีทางจิตวิทยา และงานวิจัยรับรองจำนวนมากถึงประสิทธิผลในการช่วยกระตุ้นพัฒนาการสำหรับเด็กปกติ และช่วยบำบัดเด็กพิเศษที่มีปัญหาพัฒนาการด้านต่างๆ  เช่น ปัญหาพัฒนาการล่าช้า ปัญหาด้านพฤติกรรม ปัญหาด้านอารมณ์ เป็นต้น เทคนิคการเล่นบำบัดมีหลายรูปแบบ เช่น การเล่านิทาน การเล่นทราย การวาดรูป การเต้น ซึ่งจะถูกเลือกตามความต้องการของเด็ก และประโยชน์ที่เด็กจะได้รับสูงสุด นักเล่นบำบัดจะใช้ทักษะการเล่นช่วยให้เด็กค่อยๆ เรียนรู้ที่จะเห็นคุณค่า และความสามารถของตัวเอง มีทักษะการตัดสินใจ และแก้ปัญหาที่ดีขึ้น เพื่อให้เป็นรากฐานที่ดีในการใช้ชีวิตในสังคมอย่างมีความสุขต่อไป


แพทย์หญิงปุณณดา สุไลมาน
กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชกรรม - จิตเวชเด็กและวัยรุ่น

สถาบันกุมารเวช
โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท



//www.facebook.com/SamitivejClub
//www.facebook.com/DrCareBear
//www.facebook.com/KidsHospital




Create Date : 18 พฤศจิกายน 2555
Last Update : 18 พฤศจิกายน 2555 22:11:53 น. 1 comments
Counter : 2457 Pageviews.

 
เห็นด้วยค่ะ ว่าการเล่นบำบัดมีประโยชน์มากจริงๆ ดิฉันขออนุญาตอ้างอิงข้อมูลจากที่ดิฉันเคยเขียนไว้นะคะ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อไปค่ะ ^_^

"การเล่นบำบัด (Play Therapy) คืออะไร ?

การเล่นบำบัด คือ การเล่นที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการในทุกๆ ด้านของเด็ก ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา สังคม อารมณ์และจิตใจ

การเล่นบำบัดเป็นวิธีการส่งเสริมและพัฒนาเด็กอย่างเป็นธรรมชาติโดยใช้การเล่นเป็นสื่อกลางที่ช่วยให้เด็กได้แสดงออกทางความคิด ความรู้สึกอย่างอิสระ ระบายปัญหาและความคับข้องใจผ่านการเล่น ซึ่งช่วยให้เด็กสามารถเรียนรู้และจัดการกับปัญหาด้วยตนเอง มีความเข้าใจตนเองและผู้อื่นมากขึ้น ส่งผลให้เด็กดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุขมากขึ้น

ในการเล่นบำบัดนั้น นักบำบัดจัดสภาพแวดล้อมให้เด็กรู้สึกปลอดภัย มีความเป็นส่วนตัว และได้รับการเอาใจใส่ การเล่นบำบัดเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ ซึ่งช่วยส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งช่วยให้เด็กได้ค้นหา และพัฒนาศักยภาพในตัวเองได้อย่างเต็มความสามารถ


ใครที่เหมาะกับการเล่นบำบัด?

การเล่นบำบัดนั้นใช้ได้ทั้งในเด็กปกติและเด็กพิเศษเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ โดยเฉพาะเด็กที่ประสบภาวะดังนี้

ซึมเศร้า ไม่มีความสุข เครียด วิตกกังวล
มีปัญหาด้านอารมณ์ หรือพฤติกรรม
ปัญหาการสื่อสาร พูดช้า ไม่ยอมพูด
พัฒนาการล่าช้า
ประสิทธิภาพทางการเรียนลดลง
ขี้อาย ขาดทักษะทางสังคม แยกตัว
ความภาคภูมิใจในตนเองน้อย
ถูกเพื่อนรังแก หรือรังแกเพื่อน
ก้าวร้าว ใจร้อน โกรธ อิจฉา ทะเลาะวิวาท
ปัญหาความสัมพันธ์กับผู้อื่น
ชอกช้ำจากการสูญเสีย ปัญหาความผูกพัน (attachment)
มีการเล่นไม่เหมาะสม
เจ็บป่วย พิการ
เด็กสมาธิสั้น เด็กออกทิสติก
ถูกทำร้ายร่างกาย หรือจิตใจ

แม้ว่าการเล่นบำบัดจะเหมาะกับเด็กโดยธรรมชาติ แต่ก็สามารถใช้ได้ในผู้ใหญ่เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่มีความยากลำบากในการสื่อสารโดยใช้คำพูด หรือผู้ใหญ่ที่มีความชอกช้ำในวัยเด็ก
ประโยชน์ของการเล่นบำบัด

การเล่นบำบัดเป็นสาขาหนึ่งในการบำบัดที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง โดยมีทฤษฎีทางจิตวิทยาและงานวิจัยสนับสนุนจำนวนมากรับรองประสิทธิผลของการเล่นบำบัด จากหลักฐานต่างๆ พบว่า เด็กส่วนมากที่ได้เข้าร่วมการเล่นบำบัดนั้นมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น
เด็กๆ มักสนุกสนานเพลิดเพลินกับการเล่น ซึ่งการเล่นบำบัดนั้นมีบรรยากาศที่สนุกสนาน ผ่อนคลาย ช่วยให้เด็กสามารถระบายความเครียดความกังวล รวมทั้งช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะต่างๆ ผ่านการเล่นได้ดี สำหรับเด็กแล้ว ของเล่นเป็นเสมือนโลกของเขา และการเล่นก็เป็นภาษาที่เด็กแสดงออกมา อาศัยการเล่นบำบัด เด็กจะค่อยๆ เรียนรู้ที่จะเคารพตนเอง เข้าใจและยอมรับตนเอง ควบคุมตนเองได้ดีขึ้น มีทักษะการตัดสินใจ การแก้ปัญหาดีขึ้น และมีความสุขมากขึ้น


ลักษณะของการเล่นบำบัด
การเข้าร่วมการเล่นบำบัดใน 1 คาบ ใช้เวลาประมาณ 45-60 นาที โดยมีความถี่ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ การเล่นบำบัดมีเทคนิกการเล่นหลายรูปแบบ รวมเรียกว่า “อุปกรณ์ในการเล่นบำบัด” (Play Therapy Tool Kit) การเลือกใช้อุปกรณ์ขึ้นอยู่กับความต้องการของเด็กและประโยชน์ที่เด็กจะได้รับสูงสุด อุปกรณ์ในการเล่นบำบัดประกอบด้วย
นิทานบำบัด หรือเรื่องเล่าบำบัด
การเล่นสมมติ
หุ่นมือ (puppets)
การเล่นทรายบำบัด (sandplay)
ศิลปะ วาดรูป ระบายสี
ดนตรี
การเคลื่อนไหว และการเต้น
การปั้น (clay)
การใช้ความคิดสร้างสรรค์โดยใช้จินตภาพ (creative visualisation)

นักเล่นบำบัด (Play Therapist)

นักเล่นบำบัดต้องไ้ด้รับวุฒิบัตรรับรองวิชาชีพการเล่นบำบัดโดยเฉพาะ (Certified Play Therapist)

นักเล่นบำบัดเปิดโอกาสให้เด็กเลือกของเล่น ซึ่งช่วยให้เด็กได้แสดงความรู้สึก ระบายปัญหาต่างๆ ของตนเอง รวมถึงได้เลือก และตัดสินใจหาหนทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเองอย่างสร้างสรรค์และปลอดภัย ตลอดระยะเวลาของการเล่นบำบัด ความคิด ความรู้สึก และการกระทำของเด็กจะได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด ซึ่งนักบำบัดจะสะท้อนความคิดความรู้สึกที่เด็กแสดงออกมา
กลับไปสู่เด็กเพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจในตนเองมากขึ้น หน้าที่สำคัญของนักเล่นบำบัดนั้น คือ เคารพในตัวตนของเด็กในแบบ
ที่เด็กเป็น และใช้ทักษะการเล่นบำบัดช่วยส่งเสริมให้เด็กมีความสบายใจ ผ่อนคลาย พัฒนาอารมณ์ทางบวก พัฒนาการเห็นคุณค่า
และความสามารถของตนเอง ทำให้เด็กมีความมั่นใจและภาคภูมิใจในตนเอง และใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขมากขึ้น"


โดย: ฉันทิดา สนิทนราทร Certified Play Therapist IP: 124.122.86.132 วันที่: 28 มีนาคม 2556 เวลา:12:16:56 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

samitivej
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Follow Samitivejclub on Twitter

[Add samitivej's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com