<<
กันยายน 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
22 กันยายน 2554
 
 
ทำไมคนตาบอดสีถึงแยกสีไฟเขียวไฟแดงได้

คนที่สายตาปกติทั่วไป มักจะคิดว่า คนที่ตาบอดสี จะมองเห็นโลกนี้เป็นสีขาว-เทา-ดำ เท่านั้น





มีหลายคนไม่ทราบว่าตัวเองตาบอดสีและไม่ยอมเชื่อว่าตนตาบอดสีเมื่อมาตรวจที่โรงพยาบาลนั่นเป็นเพราะ ยังมองเห็นสีต่างๆได้ สามารถขับรถได้ แยกสีสัญญาณไฟจราจรได้ ซึ่งในทางทฤษฎี ก็ยอมรับว่าคนที่เป็นตาบอดสีบางคนสามารถแยกไฟสัญญาณจราจรได้จริง !!


เหตุผลง่ายๆก็คือ ตาบอดสี(color blindness) นั้นมีหลายประเภท เพราะบริเวณจอประสาทตานั้นจะประกอบด้วยเซลล์รูปกรวยมีหน้าที่รับสีซึ่งแบ่งเป็น 3 ชนิดตามแม่สี(trichromacy) คือ เซลล์รับแสง สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งแสงสีทั้ง 3 สีเมื่อมาผสมกัน จะทำให้เกิดเฉดสีต่างๆตามทฤษฎีแสงสีที่เคยเรียนในวิชาศิลปะ ซึ่งหากเซลล์รับสีทั้ง 3 ชนิดนี้ผิดปกติ จะทำให้เกิดภาวะตาบอดสีทั้งหมด(Total color blindness) ซึ่งจะทำให้มองเห็นภาพต่างๆเป็นสีขาว-เทา-ดำ เท่านั้น แต่คนที่ตาบอดสีแบบนี้มีน้อยมาก เราไม่ได้เจอคนที่ตาบอดสีแบบนี้กันบ่อยๆ


คนส่วนใหญ่ที่ตาบอดสีจะเป็นตาบอดสีชนิดสีเขียวแดง หรือถ้าจะเรียกให้ถูกต้อง ควรเรียกว่าการแยก สีเขียว-แดงบกพร่อง(Red-Green deficiency) ซึ่งโดยมากเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และจะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง นั่นเป็นเพราะยีน (gene) ที่ควบคุมเซลล์กรวยรับสีแดง และสีเขียวนั้นอยู่บนโครโมโซมเอกซ์ (Chromosome X) ในขณะที่ยีนควบคุมเซลล์กรวยที่รับแสงสีน้ำเงินนั้นอยู่บนโครโมโซมแท่งที่ 7 ดังนั้นโอกาสที่ยีนบนโครโมโซมเอกซ์ และโครโมโซมแท่งที่ 7 จะบกพร่องพร้อมๆ
กันนั้นเกิดขึ้นได้น้อย


การแยกสีเขียว-แดงบกพร่อง ส่วนใหญ่เกิดจาก เซลล์รูปกรวยที่รับแสงสีแดงหรือแสงสีเขียว อย่างใดอย่างหนึ่งบกพร่องเพียงสีเดียว แต่มีผลทำให้แยกสีแดงกับเขียวไม่ได้เพราะความยาวคลื่นของทั้งสองสีใกล้เคียงกัน หากเซลล์รับแสงสีใดสีหนึ่งหายไปหรือมีอยู่แต่ไม่สามารถทำงานได้เลย ก็จะแยกสีแดงออกจากสีเขียวไม่ได้โดยสมบูรณ์ แต่หากเพียงแค่เซลล์รับแสงสีแดงหรือแสงสีเขียวอย่างใดอย่างหนึ่งบกพร่องแต่ยังทำงานได้บ้าง
ก็จะทำให้แยกสีแดงกับเขียวได้บ้าง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของความผิดปกติ ระดับของเฉดสีขนาดของวัตถุที่มีสี การสะท้อนแสง


ความผิดปกติของเซลล์รับแสงสีน้ำเงิน มีน้อยมากให้ประชากรทั่วไป แต่คนที่มีเซลล์รับแสงสีน้ำเงินผิดปกติจะมีภาวะตาบอดสี น้ำเงิน-เหลือง หรือ Blue-yellow deficiency


จากข้อมูลดังกล่าว เราจึงสรุปได้ว่า คนที่ตาบอดสี ส่วนใหญ่ ไม่ได้มองเห็นภาพเป็นสีขาว-เทา-ดำ อย่างที่เราคิดแต่จะยังมองเห็นสีต่างๆได้ เพียงแต่อาจจะมีความเพี้ยนของสี เช่นหากเป็นคนที่มีเซลล์รับแสงสีแดงผิดปกติอาจจะมองเห็นภาพอยู่ในโทนสีฟ้า เขียว แต่หากเซลล์รับแสงสีเขียวบกพร่อง ก็จะเห็นภาพอยู่ในโทนสี แดงฟ้า และการที่คนที่ตาบอดสียังสามารถขับรถได้ แยกสีสัญญาณไฟจราจรได้ ก็เพราะเฉดสี แดง เขียว ของสัญญาณไฟจราจรค่อนข้างแตกต่างกันชัดเจน อีกทั้งยังอยู่ห่างกันมีไฟเหลืองคั่นกลาง นอกจากนี้อาจสามารถทำสัญลักษณ์บนดวงไฟได้ เช่นลูกศรพุ่งตรงบนไฟเขียว และสัญลักษณ์ห้ามไปบนไฟแดงเป็นต้น


และสำหรับประเด็นที่ว่า คนตาบอดสี จะทำงานต่างๆได้ตามปกติหรือไม่ คำตอบอยู่ที่ว่า งานที่ทำจำเป็นต้องแยกสีละเอียดเพียงใด งานทั่วไปแทบจะไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตรวจวัดตาบอดสีเลย แต่งานที่จำเป็นต้องตรวจตาบอดสี เช่น การทำงานศิลปะที่ต้องอาศัยการทำงานกับเฉดสี งานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการใช้สีเช่น ปุ่มควบคุมเครื่องจักรที่ใช้สีเป็นสัญลักษณ์ หรือช่างผสมสีตกแต่ง พนักงานแยกเม็ดพลาสติก เป็นต้น


ด้วยความปรารถนาดีจาก : //www.samitivejhospitals.com/healthblog/Sriracha/blogdetail.php?id=55


Create Date : 22 กันยายน 2554
Last Update : 22 กันยายน 2554 12:00:41 น. 0 comments
Counter : 2147 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

samitivej
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Follow Samitivejclub on Twitter

[Add samitivej's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com