<<
มกราคม 2555
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
19 มกราคม 2555
 
 
การออกกำลังกาย สำหรับผู้เป็นเบาหวาน

1. เบาหวาน
เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลสูงกว่าปกติ ที่พบบ่อย แบ่งเป็น

เบาหวานชนิดที่ 1 (ชนิดพึ่งอินสุลิน)
เบาหวานชนิดที่ 2 (ชนิดไม่พึ่งอินสุลิน)
เบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ เช่น โรคเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต จากยา
เบาหวานขณะตั้งครรภ์
2. ประโยชน์ของการออกกำลังกายในผู้เป็นเบาหวาน
1. ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางกาย
2. ช่วยป้องกัน หรือลดความอ้วนได้
3. ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น
4. ช่วยปรับระดับไขมันในเลือดให้เหมาะสม
5. ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือด
6. ช่วยในด้านอารมณ์ จิตใจ

3. คำแนะนำทั่วไป
- ระยะแรกเกิดควรติดตามระดับน้ำตาลอย่างใกล้ชิด ควรรู้จักอาการน้ำตาลต่ำ
- ควรปรับเปลี่ยนตำแหน่งในการฉีดยา อย่างสม่ำเสมอ
- ไม่ควรออกกำลังกายเพียงคนเดียว
- ควรจะมีเครื่องหมายหรือสิ่งแสดงว่าเป็นผู้ป่วยเบาหวานติดตัว
- ควรจะดื่มน้ำให้เพียงพอทั้งก่อนระหว่างและหลังการออกกำลังกาย
- ไม่ควรออกกำลังกายกลางแดดจัดหรือในวันที่ร้อนจัด
- ไม่ควรออกกำลังกายมากกว่า 1 ชั่วโมง
- ทุกๆครึ่งชั่วโมงของกายออกกำลังกาย ควรได้รับคาร์โบไฮเดรตเสริมประมาณ 10-15 กรัม

4. ข้อควรทราบอื่นๆ
ภาวะน้ำตาลต่ำ
การดูแลเท้า

5. ข้อปฏิบัติก่อนเริ่มการออกกำลังกาย
- ควรทราบระดับน้ำตาลตนเองและติดตามอย่างใกล้ชิด หากระดับน้ำตาลยังค่อนข้างเปลี่ยนแปลง ไม่คงที่โดยเฉพาะบางวันสูง บางวันต่ำ อาจจะต้องให้สามารถอยู่ในระดับที่ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก หรือ หากระดับยังสูง (มากกว่า 250 มก./ดล.) หรือ ยังค่อนข้างต่ำ คือ น้อยกว่า 80 มก./ดล.
- ควรเข้าใจการดูแลตนเองในเรื่องการดูแลเท้า
- ไม่ควรเริ่มด้วยการออกกำลังกายอย่างหนักทันที

6. การประเมินสุขภาพก่อนออกกำลังกาย

เพื่อตรวจหาข้อห้ามหรือข้อควรระวังในการออกกำลังกาย
เป็นแนวทางให้แพทย์กำหนดระดับการออกกำลังกายให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย
7. ผู้ป่วยที่ควรต้องผ่านการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST) ก่อน

ผู้เป็นเบาหวานที่มีอายุมากกว่า 35 ปี หรือเป็นเบาหวานชนิดที่ 1 มานานกว่า 15 ปี หรือเป็นเบาหวานชนิดที่ 2 มานานกว่า 10 ปี
มีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด
8. ข้อห้ามในการออกกำลังกาย

อาการเบาหวานขึ้นตากำเริบที่มีเลือดออกในจอรับภาพ, น้ำในช่องลูกตาหรือจอรับภาพแยกตัว
ระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 250 มก./ดล.ขึ้นไป
ภาวะเลือดเป็นกรดสูง (Diabetic Ketoacidosis)
ภาวะติดเชื้อ
9. รูปแบบการออกกำลังกาย
การออกกำลังกายที่เหมาะสม คือการออกกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น การเดิน การวิ่งเหยาะ ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ กิจกรรมเข้าจังหวะ รำมวยจีน



การเลือกชนิดการออกกำลังกาย ขึ้นอยู่กับ

อายุ
ความรุนแรงของโรคเบาหวาน
ความฟิตของร่างกาย
เครื่องออกกำลังกายที่มีอยู่หรือหาได้สะดวก
สถานที่ที่สะดวก
ความสนใจ
วิธีการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง ใช้เวลาอย่างน้อยวันละ 20 นาที ปฏิบัติสม่ำเสมอ อย่างน้อย 3 ครั้ง/สัปดาห์
ควรเริ่มจากระดับเบาๆ ก่อน แล้วค่อยๆเพิ่มให้มากขึ้นทีละน้อย ให้เหนื่อยพอสมควร
ขั้นตอนการออกกำลังกายแบบแอโรบิค มี 3 ระยะ
1. ระยะอุ่นเครื่องเพื่อเตรียมกล้ามเนื้อ ใช้เวลา 5 นาทียืดเหยียดกล้ามเนื้อ และกายบริหารเบาๆ
2. ระยะออกกำลังกาย ใช้เวลา 15-30 นาที ระดับความหนักเป้าหมายคือ ชีพจรเต้นเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 60 % ของอัตราชีพจรสูงสุด แต่ไม่เกิน 90 %, อัตราชีพจรสูงสุด = 220 – อายุ
3. ระยะผ่อนคลาย ใช้เวลา 5 นาที ให้ผ่อนระดับการออกกำลังกายลงช้าๆ จนหยุด
สำหรับผู้เป็นเบาหวานประเภท 1

ไม่ควรออกกำลังกายนานเกินไป (> 45 นาที)
ควรออกกำลังในเวลาใกล้เคียงกันในแต่ละวัน
แนะนำให้ออกกำลังในช่วงเช้าก่อนอาหารมื้อเช้า
สำหรับผู้เป็นเบาหวานประเภท 2

ระยะเวลาการออกกำลังควรใช้เวลานานขึ้น (ระหว่าง 20 นาที ถึง 45 นาที) เพื่อเผาผลาญไขมันได้มากขึ้น
ควรจำกัดอาหารเพื่อลดน้ำหนักด้วย
สมดุลระหว่างอาหาร กับการออกกำลังกาย

ผู้เป็นเบาหวานทุกรายควรได้รับการตรวจระดับน้ำตาลก่อนการออกกำลังกาย
ถ้าระดับน้ำตาลอยู่ระหว่าง 180 ถึง 240 มก./ดล. ไม่จำเป็นต้องรับประทานอาหารว่างก่อนออกกำลังกาย
ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ระหว่าง 100 ถึง 180 มก./ดล. ควรได้รับอาหารว่างก่อนออกกำลังกายประมาณ 15-30 นาทีด้วย 10-15 กรัมของอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 100 มก./ดล.ควรรับประทานอาหารว่างก่อนออกกำลังกายประมาณ 25-50 กรัม ของอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต
ถ้าออกกำลังกายยาวนาน ควรรับประทานอาหารว่างเพิ่มขึ้น 10-15 กรัม ทุก 30 นาที หรือ ควรเพิ่มปริมาณอาหารว่างก่อนออกกำลังกายให้มากขึ้นและควรตรวจระดับน้ำตาลในเลือดภายหลังการออกกำลังกาย เพื่อประเมินความต้องการอาหารว่างของผู้ป่วยว่า จำเป็นต้องทานเพิ่มหรือไม่
ชนิดของอาหาร ปริมาณ
ประเภทคาร์โบไฮเดรต (เทียบเท่ากับ 10-15 กรัม)
ขนมปัง 1 แผ่น
น้ำส้ม 1/2 ถ้วย
น้ำอัดลม ½ ถ้วย
นม 1 แก้ว
น้ำผึ้ง 2 ช้อนชา
ผลไม้สด 1 ชิ้น
ผลไม้อบแห้ง ¼ ถ้วย
น้ำตาลก้อน 2 ก้อน
น้ำตาลกลูโคสเม็ด(ลูกอม) 2-3 เม็ด

ข้อควรระวังในการออกกำลังกายและการป้องกัน
1. ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำจากการออกกำลังกาย
อาการใจสั่น ตาลาย เหงื่อออก ตัวเย็น อาจถึงขั้นหมดสติได้ในขณะออกกำลังกาย ถ้ารู้สึกผิดปกติ เช่น เวียนศีรษะ หน้ามืด จุก แน่นหน้าอก รู้สึกเหนื่อยผิดปกติ ให้หยุดพักทันที ตรวจน้ำตาลและหาของหวานๆกิน
2. ปัญหาเกี่ยวกับเท้า
มีการเสื่อมของเลือดหลอดและเส้นประสาททำให้เท้าชา ไม่รู้สึก เป็นแผลง่าย ติดเชื้อง่าย หายช้า

ควร

สวมรองเท้าที่เหมาะสม (พอดี,ไม่หลวม,พื้นนุ่มถ่ายเทดี,สวมถุงเท้า) ในรายที่ฝ่าเท้าผิดรูปมาก ควรใส่รองเท้าที่ตัดขึ้นโดยเฉพาะ
ทำความสะอาดเท้าอย่างทั่วถึง
ทาครีมทาผิวบางๆ ถ้าผิวหนังแห้งเกินไป
ตรวจเท้าอย่างละเอียดทุกวัน
ซับเท้าให้แห้งด้วยผ้านุ่มโดยเฉพาะบริเวณซอกนิ้วเท้า
ตัดเล็บเท้าให้ตรงให้มุมเล็บยังคงยาวคลุมนิ้วเพื่อป้องกันเล็บขบ
ไม่ควร

ไม่ควรประคบเท้าที่ชาด้วยของร้อน
ไม่ควรใช้วัตถุแข็งแคะซอกเล็บ
ควรตัดเล็บหลังล้างเท้าหรืออาบน้ำใหม่ๆ เพราะเล็บจะอ่อนและตัดง่าย ไม่แช่เท้าก่อนตัดเล็บ
ถ้าสายตามองเห็นไม่ชัด ควรให้ผู้อื่นตัดเล็บให้
ถ้ามีผิวหนังที่หนาหรือเป็นตาปลา ควรได้รับการตัดให้บางทุก 6-8 สัปดาห์ โดยผู้ชำนาญ
หมั่นบริหารเท้าให้เป็นกิจวัตรประจำวัน
3. การบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ เอ็น และกระดูก
ควรเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมเริ่มจากระดับเบาๆ ก่อน แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มระดับความหนักขึ้นช้าๆ มีการอุ่นเครื่องและผ่อนหยุดเสมอ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักเกินไปหรือมากเกินไป
4. ผู้เป็นเบาหวานที่มีภาวะแทรกซ้อน
ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อให้ได้โปรแกรมการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับตน


Create Date : 19 มกราคม 2555
Last Update : 19 มกราคม 2555 17:53:09 น. 0 comments
Counter : 903 Pageviews.
 

samitivej
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Follow Samitivejclub on Twitter

[Add samitivej's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com