<<
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
2 สิงหาคม 2554
 
 
Kawasaki Disease



ในปี พ.ศ. 2510 นายแพทย์ Tomisaku Kawasaki ได้รายงานผู้ป่วยซึ่งเป็นที่รู้จักกันต่อมาในนามของ Kawasaki disease หรือ mucocutaneous lymph node syndrome (MCLS, MLNS หรือ MCLNS) จากประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก หลังจากนั้นได้มีรายงานของโรคนี้เพิ่มขึ้นอย่างมากมายในประเทศญี่ปุ่น ตลอดจนในประเทศอื่นๆ ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ในระยะแรกเข้าใจกันว่า Kawasaki disease เป็นโรคที่ถึงแม้จะมีอาการรุนแรงแต่ผู้ป่วยก็หายจากโรคได้เองโดยไม่ต้องรักษา แต่ในระยะ 3 ปีหลังจากที่รู้จักโรคนี้กันแพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น พบว่าโรคนี้ทำให้เกิดการตายอย่างปัจจุบันทันด่วน และที่สำคัญกว่านั้นคือ ผู้ป่วยจะตายไปโดยไม่มีผู้ใดคาดคิดในระยะที่กำลังจะหายจากโรค คือในระยะฟักฟื้นหรือระยะรองเฉียบพลัน การพบครั้งนี้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในความเข้าใจเดิมของแพทย์เกี่ยวกับลักษณะทางคลีนิก และการดำเนินของโรคอันนำไปสู่การเฝ้าระวังและการรักษาที่ต่างไปจากระยะแรกๆ

สาเหตุของโรค
แม้จะได้มีการศึกษาอย่าง มากมายก็ตามสาเหตุของ Kawasaki disease จนถึงปัจจุบันยังไม่เป็นที่ทราบกัน

ลักษณะทางคลินิก
Kawasaki disease มักเป็นในเด็กเล็ก โดย 80% ของผู้ป่วยจะมีอายุต่ำกว่า 5 ปี median age ของ
ผู้ป่วยเท่ากับ 2 ปี พบในเพศชาย : เพศหญิง เท่ากับ 1.5 : 1 มีลักษณะทางคลินิกที่สำคัญคือ มีไข้สูงโดยมีระยะเวลาของการเป็นไข้นานตั้งแต่ 5 วัน ขึ้นไป ร่วมกับ

อาการอื่นๆ อีก 4 ใน 5 ข้อ ดังต่อไปนี้
1. ตาแดง (ocular conjunctival injection) ทั้งสองข้าง
2. การเปลี่ยนแปลงของริมฝีปากและในช่องปาก ซึ่งอาจพบได้ดังนี้คือ ริมฝีปากแห้ง แดงแตก strawberry tongue และเยื่อบุในช่องปากแดง
3. การเปลี่ยนแปลงของมือและเท้า ซึ่งในระยะแรกจะพบฝ่ามือ ฝ่าเท้าแดงและ / หรือ ฝ่ามือ ฝ่าเท้าบวม ในระยะหลังประมาณวันที่สิบของโรคอาจพบการลอกของผิวหนังซึ่งจะเริ่มต้นที่บริเวณปลายนิ้วมือและนิ้วเท้า ในระยะเดือนที่สองของโรคอาจพบการเปลี่ยนแปลงบริเวณเล็บที่เรียกว่า transverse furrow
4. ผื่นบริเวณลำตัวซึ่งได้มีหลายแบบ (polymorphous exanthema) แต่ส่วนใหญ่จะเป็น morbilliform maculopapular rash
5. ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอโต อาจจะมีอาการแดงของผิวหนังบริเวณที่ต่อมน้ำเหลืองโตร่วมด้วย

นอกจากนั้น Kawasaki Disease ยังมีลักษณะทางคลินิกอื่นๆ ที่เกิดจากการมีรอยโรคในอวัยวะระบบต่างๆ ของร่างกายจะพบการเปลี่ยนแปลงในอวัยวะระบบต่างๆ เรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้
1. Anterior uveitis พบจากการตรวจ slit lamp ซึ่งพบได้สูงถึง 83% ในสัปดาห์แรกของโรค
2. Pyuria และ urethritis ซึ่งพบได้ 70% ในระยะเฉียบพลัน ทำให้ตรวจพบเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ ซึ่งอาจพบได้มากถึง 100 เซลล์/มม.3 การตรวจปัสสาวะยังอาจพบ proteinuria ได้
3. Arthralgia และ arttritis พบได้ 35 ถึง 40% มักพบได้ในสัปดาห์แรก หรือในระยะรองเฉียบพลันและมักเป็นที่ข้อใหญ่ๆ เช่น เข่า ตะโพก ศอก บางครั้งจะมีน้ำในข้อร่วมด้วย ซึ่งจะอยู่นานถึง 2 – 4 สัปดาห์ และหายได้เอง น้ำในข้อมี neutrophil สูง อาจสูงถึง 20,000–200,000 เซลล์/มม
4. Myositis และ myalgia
5. Aseptic meningitis การเปลี่ยนแปลงในระบบประสาทกลางพบได้บ่อยโดยผู้ป่วยจะมีอาการหงุดหงิด งุ่นง่าน อารมณ์เปลี่ยนง่าย ประมาณ 1 ใน 3 มีอาการง่วงซึม บางรายอาจเป็นมากจนไม่รู้สติไปเลย การตรวจน้ำไขสันหลังพบลักษณะของ aseptic meningitis ได้ประมาณ 25% ของผู้ป่วย
6. Diarrhea ในบางครั้งอาจมี bloody diarrhea
7. Abdominal pain
8. Myocardiopathy
9. Pericardial effusion
10. Obstructive jaundice
11. Hydrops of gallbladder
12. Hepaittis พบตับอักเสบได้ประมาณ 10% ผู้ป่วยจะมีอาการเหลือง และมี serum transaminase เพิ่มขึ้นเล็กน้อย
13. Acute mitral insufficiency
14. Myocardial infarction
15. Pneumonitis
16. Tympanitis

สำหรับการเปลี่ยนแปลงของการตรวจทางโลหิตวิทยาและชีวะเคมีของเลือด มีดังนี้คือ
1. จำนวนเม็ดเลือดขาว และจำนวน neutrophil เพิ่มขึ้น
2. Hemoglobin ต่ำเล็กน้อย
3. ESR เพิ่มขึ้น
4. CRP เป็นบวก
5. Serum globulin สูงขึ้น
6. Thrombocyosis โดยจำนวนเกล็ดเลือดจะอยู่ระหว่าง 500,000 – 3,000,000 /มม3
6. ASO ไม่สูง

การวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัย Kawasaki disease ขึ้นกับลักษณะทางคลินิกต่างๆ ของโรคดังกล่าวมาแล้ว ซึ่งอาจจะให้การวินิจฉัยได้ยากในระยะแรกของโรคที่ยังไม่มีอาการชัดเจน นอกจากนั้นจะต้องวิเคราะห์แยกโรคที่มีส่วนคล้ายคลึงกันออกไปเช่น scarlet fever, staphylococcal scalded skin syndrome, toxic shock syndrome, measles, leptospirosis, Stevens-Johnson syndrome, juvenile rheumatoid arthritis เป็นต้น

โรคแทรกซ้อน
โรคแทรกซ้อนที่สำคัญและอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตคือ โรคแทรกซ้อนทางหัวใจได้แก่ anuerysm ของ coronary arteries และ large arteries อื่น , aneurysmal rupture, hemopericadium, coronary thrombosis, myocarditis, pericardial effusion, cardiac tamponade, arrhythmia และ mitral valve disease การตายในระยะต้นเกิดจาก myocarditis และความผิดปกติของ conducting system เป็นส่วนใหญ่ ส่วนการตายในระยะหลังคือ สัปดาห์ที่ 2 – 4 เกิดจาก myocardial ischemia, acute myocardial infarction จาก aneurysmrupture หรือ thrombosis

การรักษา
การดูแลรักษาผู้ป่วย Kawasaki disease ควรจะเป็นการดูแลร่วมกันระหว่าง กุมารแพทย์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางโรคหัวใจเด็ก พบว่า Intravenous gammaglobulin (IVIG) ในขนาดสูงสามารถป้องกันโรคแทรกซ้อนทาง coronary artery ของผู้ป่วย Kawasaki disease โดยให้ในขนาด 2 กรัม/กก. ครั้งเดียว ในกรณีที่ไข้ ไม่ลงใน 48 ชั่วโมง สามารถใชซ้ำได้อีกครั้ง และให้ aspirin 80-100 มก./กก. ในระยะเฉียบพลันของโรค และลดเป็น 5 มก./กก./วัน อีก 6-8 สัปดาห์

การพยากรณ์โรค
ในผู้ป่วยที่ไม่พบโรคแทรกซ้อนของหลอดเลือดหัวใจจะมี Complete recovery ในเด็กส่วนใหญ่ที่มีโรคแทรกซ้อนทางหัวใจมักจะสบายดีไม่มีอาการ จากการรวบรวมในญี่ปุ่นพบว่า 1-2 % ของผู้ป่วย Kawasaki disease เสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนทางหัวใจซึ่งมักเกิดใน 1-2 เดือน แต่การพยากรณ์โรคในระยะยาวยังไม่ทราบ

ด้วยความปรารถนาดีจากโรงพยาบาลสมิติเวชค่ะ
//www.samitivejhospitals.com/healtharticle_detail/kawasaki_disease_658/th


Create Date : 02 สิงหาคม 2554
Last Update : 2 สิงหาคม 2554 9:40:42 น. 1 comments
Counter : 2695 Pageviews.

 
แวะมาทักทาย เป็นกำลังใจให้เสมอนะจ้า ยกมุมปาก EIS BIO SCAN Morpheus Morpheus8 ยกกระชับ ICELAB ลดร่องแก้ม Harmonyca ฟิลเลอร์ ดูดไขมัน P-SHOT สมรรถภาพทางเพศ ฉีดฟิลเลอร์น้องชาย ฟิลเลอร์น้องชาย Ultherapy Prime Profhilo ฉีดฟิลเลอร์น้องสาว ฟิลเลอร์น้องสาว เลเซอร์ขนน้องสาว เลเซอร์ขนหน้า ฉีดฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์คาง ฉีดฟิลเลอร์ขมับ ฟิลเลอร์ขมับ เลเซอร์บิกินี่ Thermage FLX BLUE Tip Thermage FLX Ultraformer III Ultraforme Ultraformer MPT Ultraformer ฉีดโบลดกราม โบลดกราม Radiesse ร้อยไหม เลเซอร์ขนบราซิลเลี่ยน บราซิลเลี่ยน เลเซอร์ขนขา เลเซอร์ขน ฟิลเลอร์หน้าผาก O-Shot Aviclear Aviclear Laser IV DRIP ดริปวิตามิน ฉีดโบรักแร้ โบรักแร้ ปลูกผม LLLT ปลูกผมด้วยแสงเลเซอร์ ปลูกผม ผมบาง ปลูกผมเทคนิคแขนกล รักษาผมร่วง ผมร่วง Hair Restart ผมร่วง ผมบาง ปลูกผม ปลูกผมถาวร ปลูกผม ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์ใต้ตา เสริมจมูก ยกคิ้ว เสริมหน้าอก ยกกระชับ Ulthera อัลเทอร่า Thermage Thermage FLX ฉีดฟิลเลอร์ปาก ฟิลเลอร์ปาก โบลดริ้วรอย ฉีดโบลดริ้วรอย สลายไขมันด้วยความเย็น Coolsculpting Elite Coolsculpting Sculptra ฟิลเลอร์ ปลูกผม ปลูกผม FUE Pico Pico Majesty Pico Majesty Laser ฟิลเลอร์ร่องแก้ม ฉีดฟิลเลอร์ร่องแก้ม Radiesse ฟิลเลอร์ โบลดริ้วรอย โบลดริ้วรอย Oligio เลเซอร์ขน วีเนียร์ AviClear Laser AviClear เลเซอร์รักษาสิว ปลูกผมเทคนิคแขนกล ปลูกผม เลเซอร์รักษาสิว Accure Laser Accure เลเซอร์หนวด เลเซอร์เครา Emface Skinvive Oligio เลเซอร์รักแร้ เลเซอร์ขนรักแร้ กำจัดขนถาวร กำจัดขน เลเซอร์ขน เลเซอร์ขน กำจัดขน ฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ ฉีดฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์คาง ฟิลเลอร์ ฉีดฟิลเลอร์ Reepot Laser Reepot Sculptra Hifu ยกกระชับ ยกกระชับหน้า Ulthera ยกกระชับ ฉีดฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ ฉีดฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์ Radiesse Radiesse Radiesse Radiesse Apex ให้ใจ สุขภาพ


โดย: น้องเมย์น่ารัก วันที่: 19 พฤศจิกายน 2567 เวลา:14:43:06 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

samitivej
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Follow Samitivejclub on Twitter

[Add samitivej's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com