<<
พฤศจิกายน 2553
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
22 พฤศจิกายน 2553
 
 
ข้อเข่าเสื่อม....Knee Osteoarthritis



สาเหตุของการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม Knee Osteoarthritis (OA Knee)
    ที่กล่าวในที่นี้หมายถึง ภาวะที่ข้อเกิดความผิดปรกติจากสภาวะเสื่อมถอยของร่างกายซึ่งหากสัมพันธ์โดยตรงกับอายุที่เพิ่มขึ้น จะเรียกว่าเสื่อมชนิดปฐมภูมิ (Primary OA knee)หากความผิดปรกติเกิดจากมีปัญหาในเข่ามาก่อน อาทิเช่น กระดูกหัก,ติดเชื้อในข้อ ก็จะเรียกว่า ข้อเสื่อมทุติยภูมิ (Seconndary OA knee)
     ปัจจุบันพบได้ในช่วงอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป แต่มักพบบ่อยในช่วงที่อายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของแต่ละบุคคลนั้นๆ
นอกจากนี้ยังพบปัจจัยเสี่ยงอื่นต่อการเป็นโรค OA Knee
   - เพศหญิงเป็นมากกว่าเพศชาย
   -  กระดูกบางตัวลง ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกน้อยลง
   -  น้ำหนักตัวที่เพิ่มมากขึ้น
   -  การหย่อนตัวของเส้นเอ็นรอบเข่า
   - โรคประจำตัว อาทิเช่น รูมาตอยด์มเกาท์เป็นต้น

การป้องกันโรค OA Knee
  -  หลีกเลี่ยงท่างอเข่ามากๆ เช่นนั่งพับเพียบ นั่งสมาธิ หรือ นั่งคุกเข่าเป็นต้น
   -  เลี่ยงการขึ้นลงบันไดหลายๆชั้น
   -  ควบคุมน้ำหนักตัวให้ดี ไม่ให้อ้วน
   -  หมั่นขยันบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าเสมอ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อต้นขา (Quadriceps exercise)
   -  ในรายที่ข้อโก่งผิดรูป ควรสวมปลอกรัดข้อเข่าชนิดมีแกนเหลกเพื่อกระชับรอบข้อเข่าเวลาเดิน
   -  ใช้ไม้เท้าช่วยเดิน หากจำเป็นต้องเดินไกลๆหรือทางไม่เรียบ

การวินิจฉัยโรค OA Knee
  -  เนื่องจากผิวของข้อเข่า เป็นกระดูกอ่อน หากเริ่มมีการสึกหรอ จะทำให้ผิวข้อไม่เรียบ การเคลื่อนไหวข้อมีการติดขัด ฝืด บางครั้งอาจดังคล้ายเสียงกระดาษถูกัน
  -  อาการแบ่งตามระยะของการเสื่อมสภาพคือ
    1.เริ่มบวม
    2.ปวดขัดในข้อมากขึ้นเวลาขยับหรือเคลื่อนไหว
    3.งอเริ่มมีการติดขัด
    4.ขาโก่งผิดรูป
 -  ซึ่งการวินิจฉัยทำได้โดยดูจากประวัติ ร่วมกับการตรวจร่างกายและ x-ray ทางรังสีวิทยา

การรักษาโรค OA Knee
    การหลีกเลี่ยงภาวะความเสี่ยงของข้อเข่าเสื่อมคือการรักษาที่ดีที่สุด แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็มีการรักษาตั้งแต่
1.การใช้ยามีตั้งแต่กินยา ฉีดยา ร่วมกับยาทา หรือสเปร์ใช้ภายนอก การออกกำลังกายและลดน้ำหนัก
2.การส่องกล้องเพื่อสำรวจความเสียหายภายในผิวรวมถึงสภาพผิวข้อกระดูกอ่อน สามารถทำร่วมกับการแก้ไขผิวข้อที่มีการสึกระยะเบื้องต้นได้ (ในรายที่ยังไม่มีการโค้งงอ ผิดรูปจากข้อเท้า)
3.การผ่าตัดเปลี่ยนผิวข้อเข่าเทียม โดยลักษณะคือการตัดเอาผิวข้อที่มีการเสียออก และใส่ผิวข้อใหม่เข้าไปแทน (Total knee Arthroplasty) ลักษณะจะคล้ายกับการทำครอบฟันที่ผุ เป็นต้น

ด้วยความปรารถนาดีจาก โรงพยาบาลสมิติเวช
//www.samitivejhospitals.com/healthblog/Srinakarin/blogdetail.php?id=37


Create Date : 22 พฤศจิกายน 2553
Last Update : 22 พฤศจิกายน 2553 10:58:26 น. 0 comments
Counter : 1215 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

samitivej
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Follow Samitivejclub on Twitter

[Add samitivej's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com