<<
กรกฏาคม 2554
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
19 กรกฏาคม 2554
 
 
ผื่นแพ้..แก้ได้

ผื่นแพ้สัมผัส คือ ผื่นที่เกิดจากการสัมผัสสารที่ก่อการแพ้ที่ผิวหนัง ผื่นมีได้หลายลักษณะ ขึ้นกับตำแหน่ง และระยะเวลาที่เกิดผื่น ตั้งแต่เป็นรอยแดง หรือตุ่มแดง อาจตามด้วยตุ่มใสหรือพุพอง บางตำแหน่งอาจมีการบวมด้วย ถ้าเป็นเรื้อรังอาจเป็นปื้นหนามีขุย, ร่อง โดยที่มีตุ่มแดงหรือตุ่มน้ำด้วยหรือไม่ก็ได้

ผื่นแพ้สัมผัส คือ ผื่นที่เกิดจากการสัมผัสสารที่ก่อการแพ้ที่ผิวหนัง ผื่นมีได้หลายลักษณะ ขึ้นกับตำแหน่ง และระยะเวลาที่เกิดผื่น ตั้งแต่เป็นรอยแดง หรือตุ่มแดง อาจตามด้วยตุ่มใสหรือพุพอง บางตำแหน่งอาจมีการบวมด้วย ถ้าเป็นเรื้อรังอาจเป็นปื้นหนามีขุย, ร่อง โดยที่มีตุ่มแดงหรือตุ่มน้ำด้วยหรือไม่ก็ได้ ประวัติการสัมผัสสาร, อาชีพ, ตำแหน่งที่เป็นผื่น รวมทั้งรูปร่างของผื่นอาจช่วยบ่งว่าแพ้สารอะไร เช่น ประวัติการเปลี่ยนเครื่องสำอางค์ก่อนเกิดผื่นที่หน้า อาจนึกถึงผื่นแพ้เครื่องสำอางค์ หรือผื่นที่มือในแม่บ้าน อาจนึกถึงผื่นแพ้หรือระคายเคืองจากสานซักฟอกน้ำยาล้างจาน ผื่นแพ้จากต้นไม้ใบหญ้าอาจจะเป็นรอยทางตามลักษณะการสัมผัส ผื่นแพ้จากสารในอากาศมักเป็นผื่นตามแขนขา และผิวหนังบริเวณนอกร่มผ้า ในทางตรงกันข้ามผื่นแพ้จากเสื้อผ้า เช่น เส้นใยบ้างชนิด, สีย้อมผ้า หรือสารที่ใช้ในกระบวนการผลิตผ้า มักจะเป็นในตำแหน่งซอกรักแร้หรือชั้นใน

นอกจากนี้ปัจจัยอื่นอาจมีผลต่อการเกิดผื่นด้วย เช่น การกดทับ, การเสียดสี, อุณหภูมิ, ความร้อน, เหงื่อ ตำแหน่งและการกระจายของผื่นมีช่วยสำคัญในการช่วยวินิจฉัยอย่างมาก ผื่นแพ้สัมผัสบริเวณหน้า หู คอ อาจนึกถึงสารได้หลายอย่าง
- สารในเครื่องสำอางค์ เช่น สารกันบูด น้ำหอม ตัวทำลายสี เป็นต้น
- สารที่ใช้ในการดัดขนตา หรือยางที่ดัดขนตา(Nickel,Rubber) ก่อให้เกิดผื่นบริเวณเปลือกตา
- น้ำยาย้อมผม หรือดัดผม อาจก่อให้เกิดผื่นที่หน้า หู คอ โดยที่ไม่มีผื่นที่หนังศีรษะเนื่องจากหนังศีรษะเป็นผื่นยากกว่า เช่น สาร para-phenylenediamine ในยาย้อมผม
- สารในอากาศ (airborne allergens)
- สารที่ก่อการแพ้เมื่อโดยแสงหลังการสัมผัสด้วย (Photocontact allergens)
นอก จากนี้สารที่ติดมากับมือ อาจก่อการแพ้ที่หน้า หู และคอได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่คาดไม่ถึง เช่น ผื่นแพ้ที่เปลือกตา อาจเกิดจากยาทาเล็บโดยที่ไม่มีผื่นที่มือได้

ผื่นแพ้สัมผัสบริเวณมือ
ส่วน ใหญ่พบจากการทำงาน อาจต้องแยกจากผื่นแพ้จากสาเหตุอื่นด้วย ซึ่งมีการวิจัยพบว่าส่วนหนึ่งของผู้ป่วยที่มาทำการทดสอบการแพ้สัมผัส กลับเป็นผื่นที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ ผื่นที่เกิดจากภูมิแพ้ นอกจากนี้ยังมีผื่นที่เกิดจากการระคายเคืองจากการสัมผัสสารโดยไม่ได้ก่อการ แพ้

ผื่นแพ้สัมผัสที่เท้า
ตำแหน่ง ที่พบบ่อยคือ บริเวณหลังเท้า หลังนิ้วเท้า ต้องแยกจากผื่นจากการติดเชื้อราที่เท้าก่อน สารก่อการแพ้ เช่น rubber accelerators, p-tert-butylphenol formaldehyde resin, potassium dichromate เป็นสารที่ใช้ในกระบวนการผลิตรองเท้า เช่น กาว, การแทนหนัง หรือ สีย้อมหนัง แต่เนื่องจากสารบางชนิดมาอยู่ในสารมาตรฐานที่ใช้ในการทดสอบการแพ้ที่ผิว หนัง จึงอาจต้องตัดส่วนหนึ่งของรองเท้าในการทดสอบด้วย

ผื่นแพ้สัมผัสที่เยื่อบุต่างๆ
เช่น จาก cinnamic aldehyde ในยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก บางครั้งมาด้วยผื่นรอบๆปาก โดยไม่มีอาการในช่องปาก ผู้ป่วยบางคนอาจแพ้สารใน amalgam ที่อุดฟัน เช่น nickel, mercury, palladium, gold ซึ่งก่อให้เกิดผื่นตามตัว การอักเสบของทางเดินอาหาร นอกเหนือจากที่ปากได้

ผื่นแพ้สัมผัสที่เกี่ยวเนื่องกับอาหาร
ผู้ ป่วยส่วนน้อยเกิดผื่นแพ้สัมผัสจากอาหาร โดยก่อนหน้าที่จะเกิดผื่นกระจายตามตัว อาจเคยแพ้จากการสัมผัสทางผิวหนังมาก่อน หลังจากนั้นเมื่อรับประทานสารที่ก่อการแพ้เข้าไปจึงจะเกิดอาการแพ้ขึ้นโดย ที่ไม่จำเป็นต้องสัมผัสทางผิวหนัง สารนั้นอาจอยู่ในรูปของอาหาร, ยารับประทาน, ยาฉีด, ยาสอดหรือเหน็บ หรือสารเคมีอื่นก็ได้ อาการส่วนใหญ่มักเกิดในตำแหน่งเดมที่เคยเกิดผื่นแพ้สัมผัสมาก่อน แต่มีบางรายที่เกิดผื่นกระจายทั่วตัวได้

ผื่นแพ้สัมผัสที่กระจายทั่วตัว
สาร ที่พบได้บ่อย ได้แก่ Nickel มักเกิดจากการสัมผัสเครื่องประดับ เช่น ต่างหู, สร้อย, นาฬิกา, ยาดัดผมหรือดัดขนตา, ตะขอ, กระดุมเสื้อ, สารอุดฟัน (Dental Amalgam) นอกจากนี้ยังพบในอาหารบางประเภทได้ Formaldehyde พบได้จาก
- พรม, ผลิตภัณฑ์กระดาษเช็ดปาก, กระดาษชำระหรือแม้แต่ควัน
- สารกันบูดในเครื่องสำอางค์, ยา, โรงงาน
- สารที่ทำให้สีผ้าติดทน และกันยับในการผลิตผ้า
- ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น แชมพู, สบู่เหลว
Balsum of Peru ใช้ในเครื่องสำอางค์, ยาทา, ยาเหน็บ, ยาอุดฟัน, น้ำหอม, สารปรุงรส ยางธรรมชาติหรือยางสังเคราะห์ ตำแหน่งที่พบบ่อย
เช่น
- หน้า จากฟองน้ำแต่งหน้า
- รูหู จากที่อุดหู
- รอบตา จากแว่นตาว่ายน้ำ
- ใต้สายชั้นใน และขอบแอว จาก elastic ในชั้นใน
- อวัยวะเพศ จากถุงยางอนามัย, ห่วงอนามัย, ยาเหน็บสอด
- มือเท้า เช่น ถุงมือ, ถุงเท้า
- ข้อ จากอุปกรณ์ทางศัลยกรรมกระดูก

สารที่ก่อการแพ้ในยางทั้ง 2 ชนิด ได้แก่
- Accelerants เช่น อนุพันธ์ของ para-phynylenediamine
นอก จากนี้ยางธรรมชาติ ยังก่อให้เกิดผื่นแบบลมพิษได้ด้วย ผื่นแพ้สัมผัสบางกรณีก็สามารถวินิจฉัยสาเหตูการแพ้ได้จากอาการ แต่ถ้าไม่สามารถหาสาเหตุได้ชัดเจน อาจต้องทำการทดสอบสารที่ผิวหนังด้วยวิธี Patch Test ต่อไป โดยการทดสอบสารที่ผิวหนัง แต่การทำ Patch Test ไม่ได้ทำในผู้ป่วยทุกรายที่เกิดผื่นแพ้สาร เนื่องจากผู้ป่วยต้องเสียเวลาพอสมควร

กรณีใดบ้างที่สมควรทำ Patch Test
1. เป็นผื่นแพ้สัมผัสซ้ำหลายครั้งโดยไม่ทราบสาเหตุ
2. เป็นผื่นแพ้สัมผัสเรื้อรังมากกว่า 2 เดือน จนถึงเป็นปี


ด้วยความปรารถนาดีจากโรงพยาบาลสมิติเวช
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ >> //www.samitivejhospitals.com/healtharticle_detail/ผื่นแพ้สัมผัส_80/th



Create Date : 19 กรกฎาคม 2554
Last Update : 19 กรกฎาคม 2554 10:05:25 น. 0 comments
Counter : 1105 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
 

samitivej
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Follow Samitivejclub on Twitter

[Add samitivej's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com