<<
กันยายน 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
23 กันยายน 2555
 
 
ลิ้นหัวใจยาว

โดย พญ.อรพิน ชวาลย์กุล อายุรแพทย์โรคหัวใจ

ลิ้นหัวใจที่พบว่าลิ้นหัวใจยาว (prolapsed)บ่อยคือ ลิ้นไมตรัล จึงเรียกว่า Mitral Valve Prolapse( MVP) อุบัติการณ์ของโรคนี้ร้อยละ 1- 2.5 ความชุกไม่ขึ้นอายุ หรือเพศใดเป็นพิเศษ  ส่วนข้อมูลสำหรับในประเทศไทยยังไม่มีรายงานที่จะบอกตัวเลขที่แน่นอน

สาเหตุอาจเกิดพันธุกรรม(Familial MVP) กลุ่มผู้ป่วยโรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพันผิดปกติ(connective tissue diseases )เช่นผู้ป่วยกลุ่มมาแฟน (Marfan syndrome), โรคเลือดบางชนิด(Von Willebrand’s disease, coagulopathies) ทำให้เกิดความเสื่อมสภาพ หรือ มีการสะสมของสารบางชนิดที่ลิ้นหัวใจมากขึ้น(myxomatous degeneration) ทำให้ลิ้นหัวใจ มีความยืดหยุ่นมากผิดปกติและยาวขึ้น  ทำให้ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท เกิดการเกยกันของลิ้นหัวใจขณะที่ลิ้นปิด บางส่วนของ ลิ้นหัวใจอาจยื่นเลยเข้าไปในหัวใจห้องบนได้ ( prolapse) ทำให้ลิ้นหัวใจรั่ว (แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรั่วเพียงเล็กน้อยเท่านั้น)  นอกจากนี้ภาวะลิ้นหัวใจยาว(Mitral valve prolapsed) ยังมักพบร่วมกับโรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั้ว(secundum atrial septal defect) โรคหัวใจที่มีทางเดินพิเศษทีมีภาวะหัวใจห้องบนเต้นเร็วผิดปกติ(left-sided atrioventricular bypass tracts &supraventricular arrhythmias)

ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ แพทย์มักฟังได้เสียงหัวใจผิดปกติในกลุ่มที่มาตรวจสุขภาพ การตรวจยืนยันเพิ่มโดยอัลตราซาวน์หัวใจ หรือ เรียกว่า เอคโค่คาร์ดิโอแกรม(Echocardiogram) เป็นการตรวจที่สามารถเห็นลิ้นหัวใจได้ชัดเจน และให้การวินิจฉัย ได้ดีที่สุดวิธีหนึ่ง

ในกรณีมีภาวะลิ้นหัวใจรั่วมากขึ้น(severe MR)อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย(CHF)  ภาวะความดันหลอดเลือดแดงในปอดสูงรุนแรง(severe PHT) ภาวะหัวใจห้องบนเต้นพริ้วผิดจังหวะ(AF) นอกจากนี้ผู้ป่วย MVP ที่มีอายุน้อยกว่า45 ปี มีเสี่ยงต่อการเกิดอัมพาตเนื่องจากหลอดเลือดเลี้ยงสมองอุดตันแต่หลังอายุ 45 ปีจะมีความเสี่ยงเท่าคนทั่วไป โรคลิ้นหัวใจยาว(Mitral valve prolapsed)พบอัตราตายน้อยกว่าร้อยละ1ต่อปี ส่วนภาวะเสียชีวิตเฉียบพลันพบได้น้อยกว่าร้อยละ 2ในผู้ป่วยที่ได้รับการติดตามในระยะเวลานาน

ในกรณีที่ไม่มีอาการผิดปกติ ไม่จำเป็นต้องรักษา หากมีใจสั่นผิดปกติจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ เจ็บแน่นหน้าอกก็รักษาด้วยยา ผู้ป่วยกลุ่มนี้ก็ยังสามารถดำเนินชีวิต ได้อย่างเป็นปกติ ออกกำลังกายได้ตามปกติแต่ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องแข่งขันรุนแรง (competitive sports) เพียงแต่ควรได้รับคำแนะนำและการตรวจจากแพทย์ โดยควรมาตรวจโดยอัลตราซาวน์หัวใจ(Echocardiogram)ทุก 3-5 ปีในกรณีลิ้นหัวใจยาว(Mitral valve prolapsed)แต่ไม่มีลิ้นหัวใจรั่วร่วมด้วย(Mitral valve regurgitation) แต่ถ้าพบลิ้นหัวใจรั่วร่วมด้วย(Mitral valve regurgitation)ก็ควรมาตรวจโดยอัลตราซาวน์หัวใจ(Echocardiogram)ทุกหนึ่งปี
ส่วนในกรณีที่ลิ้นหัวใจรั่วมากหรือมีอาการหัวใจวาย การรักษาคือการผ่าตัดแก้ไข โดยอาจเป็นการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมลิ้น หรือ การผ่าตัด เปลี่ยนลิ้นหัวใจ
ส่วนในรายที่มีการเกิดอัมพาตเนื่องจากหลอดเลือดเลี้ยงสมองอุดตัน ควรมาติดตามรับยาต่อเนื่อง(Aspirin หรือ warfarin)






Create Date : 23 กันยายน 2555
Last Update : 23 กันยายน 2555 22:19:33 น. 0 comments
Counter : 9067 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

samitivej
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Follow Samitivejclub on Twitter

[Add samitivej's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com