<<
มิถุนายน 2554
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
22 มิถุนายน 2554
 
 
สมิติเวชชวนชาวออฟฟิศป้องกันดูแลเรื่อง Office Syndrome



(ข้อมูลจากนิตยสาร AIGLE เดือนมิถุนายน)

นั่งทำงานนานๆ ไม่ได้ปลดปล่อยอิริยาบท พิมพ์งานจนนิ้วหงิก นั่งเพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์อ่านเมลทั้งวัน เหล่านี้คือพฤติกรรมกระตุ้นให้เกิด Office Syndrome โรคยอดฮิตของคนทำงานในสมัยนี้ ทั้งๆ ที่ดูแล้วการทำงานในออฟฟิศเหมือนว่าจะสบาย ไม่มีความอันตรายอะไร

ให้ข้อมูลว่า “เพราะลักษณะการทำงานแบบนี้นี่เองที่เป็นต้นเหตุของอาการเกี่ยวกับตาและปวดเมื่อยหลัง ต้นคอ ไหล่ ศีรษะ แขน ข้อมือ โดยที่คุณๆ อาจไม่รู้สาเหตุ และเมื่อต้องทำงาน 8-10 ชั่วโมงต่อวันเกือบทั้งสัปดาห์ ด้วยพฤติกรรมซํ้าๆ หลายคนจึงมีอาการหลายอย่าง บางคนชาตามมือและเท้า บางคนปวดตา ตาแห้งสู้แสงไม่ค่อยได้ บางคนเป็นภูมิแพ้ เป็นต้น ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปอาการน่ารำคาญแบบนี้อาจลุกลามเป็นโรคที่รุนแรงได้ ท่าทางการทำงานสภาพแวดล้อมในการทำงานถือเป็นปัจจัยหลัก เก้าอี้ปรับความสูงไม่ได้ แข็งไปอ่อนไป ความสูงและระยะห่างของคอมพิวเตอร์กับคีย์บอร์ดไม่เหมาะสม การวางข้อมือบนเม้าส์ผิดท่า ขนาดของเม้าส์ไม่เหมาะสมกับขนาดของมือ การนั่งหลังงอ นั่งไขว่ห้าง นั่งไม่เต็มเบาะ ศีรษะและคอไม่ตั้งตรง หลังส่วนล่างไม่มีซัพพอร์ต เท้าไม่วางแบนราบพื้น แม้แต่การวางแฟ้มงานหรือสิ่งของใต้โต๊ะทำงานส่งผลต่ออาการปวดคอ ปวดข้อมือ ปวดหลังของเราทั้งนั้นเพราะต้องก้มหรือเอื้อมหยิบ การนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ นั่นก็บังคับให้เกิดการจ้องแสงไฟนานๆ นั่นเอง อาการปวดตา ตาลาย ตาแห้งจึงเกิดขึ้น บางครั้งทำให้เรากระพริบตาน้อยกว่าปกติ บวกกับมีสารระเหยจากเครื่องใช้และอุปกรณ์สำนักงาน และระบบระบายอากาศ ยิ่งทำให้ตาแห้งและระคายเคืองง่ายเข้าไปใหญ่

นายแพทย์วิวัฒน์ เอกบรูณะวัฒน์ โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา

พนักงานที่อายุมากๆ ตาก็จะยิ่งแห้ง ยิ่งไปกว่านั้นคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าที่ไม่ใช่จอ LCD ไฟที่จอกระพริบอยู่ตลอดจะยิ่งกระตุ้นให้ผู้ที่เป็นไมเกรน มีอาการปวดหัวหนักเข้าไปอีก แต่อย่างไรก็ดียังไม่มีรายงานบ่งชี้ชัดว่า การใช้คอมพิวเตอร์นานๆ เป็นเหตุให้สายตาสั้นอย่างที่หลายๆคนเข้าใจกัน ในออฟฟิศที่แออัดและออฟฟิศที่จัดแบบเปิดโล่งพนักงานก็มักจะมีความเครียดแฝงเพราะไม่มีพื้นที่ส่วนตัว อาการปวดตา ปวดคอ ปวดข้อมือ จะสูงกว่าผู้ที่ทำงานในออฟฟิศที่มีการกั้นพื้นที่ส่วนตัว ระบบระบายอากาศรวมนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก บางออฟฟิศซื้อเฟอร์นิเจอร์มาใหม่หมดเดินเข้าไปก็จะได้กลิ่นนํ้ายาติดเฟอร์นิเจอร์ซึ่งมีส่วนผสมของฟอร์มัลดีไฮด์ Formaldehyde หรือนํ้ายาล้างศพนั่นเอง ไอของฟอร์มัลดีไฮด์จะระคายตา จมูก และผิวหนัง สูดดมเข้าไปมากๆ จะวิงเวียนศีรษะ แน่นหน้าอก เครื่องปรับอากาศที่ให้ความเย็นฉํ่าในก็จะมีขี้ฝุ่นสะสมเป็นคราบหนา เมื่อเจอความชื้นเข้าไปก็พัฒนาเป็นเชื้อราฟุ้งกระจายออกมาในอากาศ เมื่อหายใจเอาเชื้อราเหล่านี้เข้าไปก็เป็นเหตุให้เกิดโรคภูมิแพ้และหอบหืดได้



นอกจากนี้ ยังมีแบคทีเรียชื่อ Legionella ที่พบบ่อยบริเวณท่อหล่อเย็นของระบบปรับอากาศ ถ้าระบบไม่ดี นํ้าแอร์มีการรั่วซึม เจ้า Legionella ก็จะฟุ้งกระจายออกมา เมื่อสูดเข้าไปมากๆ นานๆ จะทำให้ปอดอักเสบและอาจรุนแรงถึงชีวิตได้ อุปกรณ์สำนักงานบางชนิด เช่น ปากกา White Board และนํ้ายาลบคำผิด ก็มีสารระเหยไซลีนเป็นส่วนประกอบ เมื่อเปิดฝาสารก็จะระเหยฟุ้ง เครื่องถ่ายเอกสารเองก็ปล่อยทั้งรังสียูวี และไอหมึก ซึ่งมีพิษต่อตับ และในระหว่างขบวนการถ่ายเอกสารนั้นจะเกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ จึงปล่อยทั้งคาร์บอนมอนอกไซด์และโอโซนออกมา เมื่อสูดดมมากๆ ก็จะเป็นอันตรายแก่ปอดได้ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแบบสะสม ไม่ได้เกิดขึ้นแบบปัจจุบันทันด่วน ผังหรือแบบของออฟฟิศจึงมีส่วน ควรออกแบบให้เหมาะสม ถูกหลัก ergonomic มากกว่า



ส่วนที่บอกว่า พฤติกรรมนำมาสู่โรค นั่นคือ การใช้นิ้วมือ หรืองอนิ้วมือนานๆ เช่นต้องพิมพ์งานมากๆ ตัดกระดาษ หรือผ้าหรือขับรถทั้งวัน ซึ่งเหล่านี้อาจทำให้เจอปัญหาโรคนิ้วล็อก หรือ Trigger’s finger เป็นความผิดปกติของมือที่ไม่สามารถงอหรือเหยียดได้อย่างปกติ มีอาการขัด เจ็บ และสะดุดเวลางอและเหยียดนิ้วมือคุณๆ ที่ใช้ข้อมือมากๆ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องพิมพ์งานเยอะๆ เส้นประสาทบริเวณข้อมือจะมีพังผืดก่อตัวหนาทำให้เกิดอาการมือชา เรียกว่าโรคอุโมงค์ข้อมือ หรือ Carpal Tunnel Syndrome หากต้องใช้ท่อนแขนมากๆ อาจเกิดอาการในกลุ่ม Tennis Elbow บริเวณแขนด้านนอก หรือ กลุ่ม Golfer’s Elbow บริเวณแขนด้านใน คุณๆ ที่ต้องนั่งหน้าคอมวันละ 8-9 ชม. ต้องก้มหน้า พิมพ์งาน เขียนงานประกอบชิ้นส่วน อาจเกิดเป็นโรคกล้ามเนื้อคอหดเกร็ง อันเกิดจากการหดเกร็งสะสมของกล้ามเนื้อคอจนเป็นก้อนเล็กๆ มีอาการปวดร้าวลึกๆ ของกล้ามเนื้อ ความรุนแรงของการปวด มีได้ตั้งแต่ แค่เมื่อยล้าพอรำคาญ จนไปถึงปวดทรมาน จนไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดได้ หากทำไปนานๆซัก 5 ปี 10 ปี อาจพบภาวะของหมอนรองกระดูกคอเสื่อม นอกจากนี้ การนั่งผิดท่า หรือการยกของผิดท่า หรือหนักเกินไป อาจทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหลังอักเสบได้



อาการดังกล่าวสามารถแก้ไขได้จากพฤติกรรม เราควรต้องหันมาใส่ใจในรายละเอียดกัน โดย จัดให้ความสูงและระยะห่างของคอมพิวเตอร์ คีย์บอร์ด ถูกต้องเหมาะสม การวางข้อมือบนเม้าส์ในท่าตรงและมีซัพพอร์ตพยุงมือ ขนาดของเม้าส์เลือกที่พอดีขนาดของมืออย่าเล็กเกินไปจนต้องเกร็ง การนั่งวางแขนและข้อมือทำงานให้อยู่ในท่าทางที่ถูกต้อง ความสูงของเก้าอี้เหมาะสม ศีรษะและคอตั้งตรง วางเท้าแบนราบกับพื้น ขณะใช้คอมพิวเตอร์ควรหยุดพักสายตาด้วยการหลับตา กระพริบตาบ่อยๆ และเปลี่ยนเป็นมองไกลหากมีอาการตาแห้ง การหยอดนํ้าตาเทียมก็จะทำให้อาการดีขึ้น หมั่นลุกขึ้นยืน ขยับแขนขา หลัง คอ ไหล่ และข้อบ่อยๆ หรือออกกำลังกายแบบยืดเหยียดซัก 10 นาที ช่วงพักเที่ยงก็ได้ ถ้าทำได้เป็นประจำ อาการปวดเมื่อยต่างๆ จะค่อยลดน้อยลงจนคุณรู้สึกได้ หรือออฟฟิศไหนที่เจ้านายเป็นคนอารมณ์ดีๆ หน่อย ควรลองเสนอให้มีการออกกำลังกายเข้าจังหวะยามบ่ายแบบที่ญี่ปุ่นนิยมทำกันก็ดี เพราะนอกจากจะทำให้ร่างกายได้ยืดเหยียดแล้วยังแก้ง่วงและคลายเครียดได้อีกด้วย



สำหรับที่บอกว่าให้ยืดเส้นยืดสายบ้าง มีวิธีการมาบอกดังนี้



1. ท่าก้มศีรษะ ศีรษะตั้งตรง ก้มคอช้าๆ ก้มให้สุดเท่าที่ทำได้ คือรู้สึกตึงพอดีๆ อย่าฝืน ค้างไว้ 1-8 ในใจ แล้วกลับที่เดิม

2. ท่าเงยหน้า ตรงกันข้ามกับท่าแรก แต่ปิดปาก ค่อยๆ เงยหน้าช้าๆ จนรู้สึกตึง ค้างไว้ แล้วกลับที่เดิม ถ้าเจ็บต้องหยุดทันที

3. เอียงคอซ้าย-ขวาศี รษะตั้งตรง ค่อยๆ เอียงให้หูอยู่แนวเดียวกับไหล่จนรู้สึกตึง เปลี่ยนข้าง คออย่าบิด ระนาบกับไหล่

4. หันศีรษะซ้าย-ขวา ศีรษะตั้งตรง หันหน้าให้คางไปทางไหล่จนสุด ค้างไว้ แล้วกลับที่เดิม เปลี่ยนอีกข้าง

5. ท่าดัดปลายนิ้วมือ ยื่นแขนซ้ายมาข้างหน้าให้ตึงและขนานกับพื้น ควํ่ามือซ้ายลง ใช้มือขวาดัดนิ้วมือซ้ายขึ้น แล้วค้างไว้ จากนั้นหงายมือซ้ายขึ้น แล้วใช้มือขวาดัดนิ้วมือซ้ายลงแล้วค้างไว้ เปลี่ยนอีกข้าง

6. ท่ายืดแขนซ้าย-ขวา ยื่นแขนซ้ายมาทางหัวไหล่ขวาให้ตึงและขนานกับพื้น ยกแขนขวาขึ้น งัดแขนซ้ายที่บริเวณข้อศอกจนตึง และหันหน้าไปทางไหล่ซ้ายจนตึงเช่นกัน ค้างไว้ แล้วกลับที่เดิม เปลี่ยนอีกข้าง

7. ท่ายืดไหล่ซ้ายขวา ยกแขนซ้ายขึ้นให้ตึงและตั้งฉากกับพื้น งอข้อศอกซ้ายลงไปแตะไหล่ขวาทางด้านหลัง ยกแขนขวาขึ้นไปจับข้อศอกซ้ายที่งออยู่ ดึงรั้งให้ตึง ค้างไว้ แล้วกลับที่เดิม เปลี่ยนอีกข้างในลักษณะเดียวกัน

1-4 ช่วยเส้นคอที่ปวดเมื่อยให้คลายลง ท่า 5 ช่วยเส้นแขนที่งอพิมพ์คอมพิวเตอร์มาทั้งวัน ได้ขยับเนื้อขยับตัวมั่ง ..ส่วนท่า 6-7 ช่วยดึงสบักที่จมและหัวไหล่ที่ติดๆ ให้ฟรีสบายเนื้อสบายตัว)

(ท่า

CVS กลุ่มอาการทางสายตาที่เกิดจากการที่ต้องใช้เวลาอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์วันละหลายๆ ชั่วโมง โดยปกติคนเราจะกระพริบตาชั่วโมงละ 16-20 ครั้งต่อนาที แต่สำหรับคนที่จ้องอยู่กับคอมพิวเตอร์นานๆ อาจจะลดลงเหลือเพียง 6-8 ครั้งต่อนาที ผลที่ตามมาก็คืออาการตาแห้งและเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อตา ทำให้มีอาการปวดตา เคืองตาและสายตาล้า บางคนอาจจะทำให้ไม่สามารถโฟกัสภาพให้ชัดได้ และจะทำให้เกิดสายตายาวเร็วขึ้นกว่าปกติ อย่างไรก็ตามมี 10 ขั้นตอนที่จะช่วยลดอาการ CVS ได้

คนทำงานออฟฟิศ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ มีความเสี่ยงต่อ Computer Vision Syndrome (CVS) อีกเช่นกัน

1. ตรวจสายตาเป็นประจำทุกปี โดยแพทย์เฉพาะทาง

2. ใช้แสงสว่างให้พอเหมาะ

3. ลดแสงสะท้อนจากผิววัสดุต่างๆ หรือผนังห้อง หากว่าคุณใส่แว่น พยายามเลือกเลนส์ที่ช่วยตัดแสง ลดแสงสะท้อน

4. เปลี่ยนจอ monitor เป็นแบบ เลือกจอที่มีความละเอียดสูงๆ และหน้าจอขนาดใหญ่ 19 นิ้ว

5. ปรับ brightness & contrast ของหน้าจอคอมพิวเตอร์ปรับความจ้าให้ใกล้เคียงกับแสงในบริเวณที่คุณทำงาน ปรับตัวหนังสือใหญ่ประมาณสามเท่าของตัวหนังสือที่เล็กที่สุดที่คุณอ่านเป็นประจำ ตัวหนังสือสีดำบนพื้นขาวดีที่สุด

6. กระพริบตาให้บ่อยขึ้น เพื่อช่วยป้องกันตาแห้ง แต่ถ้ามีอาการคันตา เคืองตามากอาจหยอดนํ้าตาเทียม

7. บริหารกล้ามเนื้อตา ใช้หลัก 20-20-20 มองไกลทุก 20 นาที นาน 20 วินาที อีกวิธีคือ มองไกล 10-15 วินาที แล้ว กลับมามองใกล้ 10-15 วินาที ทำแบบนี้ 10 รอบ

8. พักเบรกบ้างเพื่อลดอาการล้าของสายตาและกล้ามเนื้อที่หลัง บ่า ไหล่ของคุณ หลายคนอาจจะพักแค่วันละ 15 นาที แต่สถาบันอาชีวเวชศาตร์ของอเมริกาแนะนำให้ในหนึ่งวัน มีเพิ่มการพักสั้นๆ 5 นาที วันละ 4 ครั้ง

9. ปรับเปลี่ยนโต๊ะทำงานให้เหมาะสม ให้สายตาห่างจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ประมาณ 20-24 นิ้ว และจุดศูนย์กลางของจอตํ่าลงมาประมาณ 10-15 องศา จากตาของคุณ

10. สวมแว่นสำหรับทำคอมพิวเตอร์ ถ้าคุณมีปัญหาสายตา

อ่านความรู้เพื่อเป็นแนวทางป้องกันดูแลชีวิตและสุขภาพได้ในนิตยสารรายเดือน ไอเกิล (AIGLE) หรือ //www.aiglemag.com และพบบทความสุขภาพออนไลน์อีกมากมายที่ //www.facebook.com/DrCareBear

นั่งทำงานนานๆ ไม่ได้ปลดปล่อยอิริยาบท พิมพ์งานจนนิ้วหงิก นั่งเพ่งหน้าจอคอมพิวเตอร์อ่านเมลทั้งวัน เหล่านี้คือพฤติกรรมกระตุ้นให้เกิด Office Syndrome โรคยอดฮิตของคนทำงานในสมัยนี้ ทั้งๆ ที่ดูแล้วการทำงานในออฟฟิศเหมือนว่าจะสบาย ไม่มีความอันตรายอะไร

ให้ข้อมูลว่า “เพราะลักษณะการทำงานแบบนี้นี่เองที่เป็นต้นเหตุของอาการเกี่ยวกับตาและปวดเมื่อยหลัง ต้นคอ ไหล่ ศีรษะ แขน ข้อมือ โดยที่คุณๆ อาจไม่รู้สาเหตุ และเมื่อต้องทำงาน 8-10 ชั่วโมงต่อวันเกือบทั้งสัปดาห์ ด้วยพฤติกรรมซํ้าๆ หลายคนจึงมีอาการหลายอย่าง บางคนชาตามมือและเท้า บางคนปวดตา ตาแห้งสู้แสงไม่ค่อยได้ บางคนเป็นภูมิแพ้ เป็นต้น ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปอาการน่ารำคาญแบบนี้อาจลุกลามเป็นโรคที่รุนแรงได้ ท่าทางการทำงานสภาพแวดล้อมในการทำงานถือเป็นปัจจัยหลัก เก้าอี้ปรับความสูงไม่ได้ แข็งไปอ่อนไป ความสูงและระยะห่างของคอมพิวเตอร์กับคีย์บอร์ดไม่เหมาะสม การวางข้อมือบนเม้าส์ผิดท่า ขนาดของเม้าส์ไม่เหมาะสมกับขนาดของมือ การนั่งหลังงอ นั่งไขว่ห้าง นั่งไม่เต็มเบาะ ศีรษะและคอไม่ตั้งตรง หลังส่วนล่างไม่มีซัพพอร์ต เท้าไม่วางแบนราบพื้น แม้แต่การวางแฟ้มงานหรือสิ่งของใต้โต๊ะทำงานส่งผลต่ออาการปวดคอ ปวดข้อมือ ปวดหลังของเราทั้งนั้นเพราะต้องก้มหรือเอื้อมหยิบ การนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ นั่นก็บังคับให้เกิดการจ้องแสงไฟนานๆ นั่นเอง อาการปวดตา ตาลาย ตาแห้งจึงเกิดขึ้น บางครั้งทำให้เรากระพริบตาน้อยกว่าปกติ บวกกับมีสารระเหยจากเครื่องใช้และอุปกรณ์สำนักงาน และระบบระบายอากาศ ยิ่งทำให้ตาแห้งและระคายเคืองง่ายเข้าไปใหญ่

นายแพทย์วิวัฒน์ เอกบรูณะวัฒน์ โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีราชา

พนักงานที่อายุมากๆ ตาก็จะยิ่งแห้ง ยิ่งไปกว่านั้นคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าที่ไม่ใช่จอ LCD ไฟที่จอกระพริบอยู่ตลอดจะยิ่งกระตุ้นให้ผู้ที่เป็นไมเกรน มีอาการปวดหัวหนักเข้าไปอีก แต่อย่างไรก็ดียังไม่มีรายงานบ่งชี้ชัดว่า การใช้คอมพิวเตอร์นานๆ เป็นเหตุให้สายตาสั้นอย่างที่หลายๆคนเข้าใจกัน ในออฟฟิศที่แออัดและออฟฟิศที่จัดแบบเปิดโล่งพนักงานก็มักจะมีความเครียดแฝงเพราะไม่มีพื้นที่ส่วนตัว อาการปวดตา ปวดคอ ปวดข้อมือ จะสูงกว่าผู้ที่ทำงานในออฟฟิศที่มีการกั้นพื้นที่ส่วนตัว ระบบระบายอากาศรวมนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก บางออฟฟิศซื้อเฟอร์นิเจอร์มาใหม่หมดเดินเข้าไปก็จะได้กลิ่นนํ้ายาติดเฟอร์นิเจอร์ซึ่งมีส่วนผสมของฟอร์มัลดีไฮด์ Formaldehyde หรือนํ้ายาล้างศพนั่นเอง ไอของฟอร์มัลดีไฮด์จะระคายตา จมูก และผิวหนัง สูดดมเข้าไปมากๆ จะวิงเวียนศีรษะ แน่นหน้าอก เครื่องปรับอากาศที่ให้ความเย็นฉํ่าในก็จะมีขี้ฝุ่นสะสมเป็นคราบหนา เมื่อเจอความชื้นเข้าไปก็พัฒนาเป็นเชื้อราฟุ้งกระจายออกมาในอากาศ เมื่อหายใจเอาเชื้อราเหล่านี้เข้าไปก็เป็นเหตุให้เกิดโรคภูมิแพ้และหอบหืดได้



นอกจากนี้ ยังมีแบคทีเรียชื่อ Legionella ที่พบบ่อยบริเวณท่อหล่อเย็นของระบบปรับอากาศ ถ้าระบบไม่ดี นํ้าแอร์มีการรั่วซึม เจ้า Legionella ก็จะฟุ้งกระจายออกมา เมื่อสูดเข้าไปมากๆ นานๆ จะทำให้ปอดอักเสบและอาจรุนแรงถึงชีวิตได้ อุปกรณ์สำนักงานบางชนิด เช่น ปากกา White Board และนํ้ายาลบคำผิด ก็มีสารระเหยไซลีนเป็นส่วนประกอบ เมื่อเปิดฝาสารก็จะระเหยฟุ้ง เครื่องถ่ายเอกสารเองก็ปล่อยทั้งรังสียูวี และไอหมึก ซึ่งมีพิษต่อตับ และในระหว่างขบวนการถ่ายเอกสารนั้นจะเกิดการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ จึงปล่อยทั้งคาร์บอนมอนอกไซด์และโอโซนออกมา เมื่อสูดดมมากๆ ก็จะเป็นอันตรายแก่ปอดได้ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแบบสะสม ไม่ได้เกิดขึ้นแบบปัจจุบันทันด่วน ผังหรือแบบของออฟฟิศจึงมีส่วน ควรออกแบบให้เหมาะสม ถูกหลัก ergonomic มากกว่า



ส่วนที่บอกว่า พฤติกรรมนำมาสู่โรค นั่นคือ การใช้นิ้วมือ หรืองอนิ้วมือนานๆ เช่นต้องพิมพ์งานมากๆ ตัดกระดาษ หรือผ้าหรือขับรถทั้งวัน ซึ่งเหล่านี้อาจทำให้เจอปัญหาโรคนิ้วล็อก หรือ Trigger’s finger เป็นความผิดปกติของมือที่ไม่สามารถงอหรือเหยียดได้อย่างปกติ มีอาการขัด เจ็บ และสะดุดเวลางอและเหยียดนิ้วมือคุณๆ ที่ใช้ข้อมือมากๆ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องพิมพ์งานเยอะๆ เส้นประสาทบริเวณข้อมือจะมีพังผืดก่อตัวหนาทำให้เกิดอาการมือชา เรียกว่าโรคอุโมงค์ข้อมือ หรือ Carpal Tunnel Syndrome หากต้องใช้ท่อนแขนมากๆ อาจเกิดอาการในกลุ่ม Tennis Elbow บริเวณแขนด้านนอก หรือ กลุ่ม Golfer’s Elbow บริเวณแขนด้านใน คุณๆ ที่ต้องนั่งหน้าคอมวันละ 8-9 ชม. ต้องก้มหน้า พิมพ์งาน เขียนงานประกอบชิ้นส่วน อาจเกิดเป็นโรคกล้ามเนื้อคอหดเกร็ง อันเกิดจากการหดเกร็งสะสมของกล้ามเนื้อคอจนเป็นก้อนเล็กๆ มีอาการปวดร้าวลึกๆ ของกล้ามเนื้อ ความรุนแรงของการปวด มีได้ตั้งแต่ แค่เมื่อยล้าพอรำคาญ จนไปถึงปวดทรมาน จนไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดได้ หากทำไปนานๆซัก 5 ปี 10 ปี อาจพบภาวะของหมอนรองกระดูกคอเสื่อม นอกจากนี้ การนั่งผิดท่า หรือการยกของผิดท่า หรือหนักเกินไป อาจทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหลังอักเสบได้



อาการดังกล่าวสามารถแก้ไขได้จากพฤติกรรม เราควรต้องหันมาใส่ใจในรายละเอียดกัน โดย จัดให้ความสูงและระยะห่างของคอมพิวเตอร์ คีย์บอร์ด ถูกต้องเหมาะสม การวางข้อมือบนเม้าส์ในท่าตรงและมีซัพพอร์ตพยุงมือ ขนาดของเม้าส์เลือกที่พอดีขนาดของมืออย่าเล็กเกินไปจนต้องเกร็ง การนั่งวางแขนและข้อมือทำงานให้อยู่ในท่าทางที่ถูกต้อง ความสูงของเก้าอี้เหมาะสม ศีรษะและคอตั้งตรง วางเท้าแบนราบกับพื้น ขณะใช้คอมพิวเตอร์ควรหยุดพักสายตาด้วยการหลับตา กระพริบตาบ่อยๆ และเปลี่ยนเป็นมองไกลหากมีอาการตาแห้ง การหยอดนํ้าตาเทียมก็จะทำให้อาการดีขึ้น หมั่นลุกขึ้นยืน ขยับแขนขา หลัง คอ ไหล่ และข้อบ่อยๆ หรือออกกำลังกายแบบยืดเหยียดซัก 10 นาที ช่วงพักเที่ยงก็ได้ ถ้าทำได้เป็นประจำ อาการปวดเมื่อยต่างๆ จะค่อยลดน้อยลงจนคุณรู้สึกได้ หรือออฟฟิศไหนที่เจ้านายเป็นคนอารมณ์ดีๆ หน่อย ควรลองเสนอให้มีการออกกำลังกายเข้าจังหวะยามบ่ายแบบที่ญี่ปุ่นนิยมทำกันก็ดี เพราะนอกจากจะทำให้ร่างกายได้ยืดเหยียดแล้วยังแก้ง่วงและคลายเครียดได้อีกด้วย



สำหรับที่บอกว่าให้ยืดเส้นยืดสายบ้าง มีวิธีการมาบอกดังนี้



1. ท่าก้มศีรษะ ศีรษะตั้งตรง ก้มคอช้าๆ ก้มให้สุดเท่าที่ทำได้ คือรู้สึกตึงพอดีๆ อย่าฝืน ค้างไว้ 1-8 ในใจ แล้วกลับที่เดิม

2. ท่าเงยหน้า ตรงกันข้ามกับท่าแรก แต่ปิดปาก ค่อยๆ เงยหน้าช้าๆ จนรู้สึกตึง ค้างไว้ แล้วกลับที่เดิม ถ้าเจ็บต้องหยุดทันที

3. เอียงคอซ้าย-ขวาศี รษะตั้งตรง ค่อยๆ เอียงให้หูอยู่แนวเดียวกับไหล่จนรู้สึกตึง เปลี่ยนข้าง คออย่าบิด ระนาบกับไหล่

4. หันศีรษะซ้าย-ขวา ศีรษะตั้งตรง หันหน้าให้คางไปทางไหล่จนสุด ค้างไว้ แล้วกลับที่เดิม เปลี่ยนอีกข้าง

5. ท่าดัดปลายนิ้วมือ ยื่นแขนซ้ายมาข้างหน้าให้ตึงและขนานกับพื้น ควํ่ามือซ้ายลง ใช้มือขวาดัดนิ้วมือซ้ายขึ้น แล้วค้างไว้ จากนั้นหงายมือซ้ายขึ้น แล้วใช้มือขวาดัดนิ้วมือซ้ายลงแล้วค้างไว้ เปลี่ยนอีกข้าง

6. ท่ายืดแขนซ้าย-ขวา ยื่นแขนซ้ายมาทางหัวไหล่ขวาให้ตึงและขนานกับพื้น ยกแขนขวาขึ้น งัดแขนซ้ายที่บริเวณข้อศอกจนตึง และหันหน้าไปทางไหล่ซ้ายจนตึงเช่นกัน ค้างไว้ แล้วกลับที่เดิม เปลี่ยนอีกข้าง

7. ท่ายืดไหล่ซ้ายขวา ยกแขนซ้ายขึ้นให้ตึงและตั้งฉากกับพื้น งอข้อศอกซ้ายลงไปแตะไหล่ขวาทางด้านหลัง ยกแขนขวาขึ้นไปจับข้อศอกซ้ายที่งออยู่ ดึงรั้งให้ตึง ค้างไว้ แล้วกลับที่เดิม เปลี่ยนอีกข้างในลักษณะเดียวกัน

1-4 ช่วยเส้นคอที่ปวดเมื่อยให้คลายลง ท่า 5 ช่วยเส้นแขนที่งอพิมพ์คอมพิวเตอร์มาทั้งวัน ได้ขยับเนื้อขยับตัวมั่ง ..ส่วนท่า 6-7 ช่วยดึงสบักที่จมและหัวไหล่ที่ติดๆ ให้ฟรีสบายเนื้อสบายตัว)

(ท่า

CVS กลุ่มอาการทางสายตาที่เกิดจากการที่ต้องใช้เวลาอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์วันละหลายๆ ชั่วโมง โดยปกติคนเราจะกระพริบตาชั่วโมงละ 16-20 ครั้งต่อนาที แต่สำหรับคนที่จ้องอยู่กับคอมพิวเตอร์นานๆ อาจจะลดลงเหลือเพียง 6-8 ครั้งต่อนาที ผลที่ตามมาก็คืออาการตาแห้งและเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อตา ทำให้มีอาการปวดตา เคืองตาและสายตาล้า บางคนอาจจะทำให้ไม่สามารถโฟกัสภาพให้ชัดได้ และจะทำให้เกิดสายตายาวเร็วขึ้นกว่าปกติ อย่างไรก็ตามมี 10 ขั้นตอนที่จะช่วยลดอาการ CVS ได้

คนทำงานออฟฟิศ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ มีความเสี่ยงต่อ Computer Vision Syndrome (CVS) อีกเช่นกัน

1. ตรวจสายตาเป็นประจำทุกปี โดยแพทย์เฉพาะทาง

2. ใช้แสงสว่างให้พอเหมาะ

3. ลดแสงสะท้อนจากผิววัสดุต่างๆ หรือผนังห้อง หากว่าคุณใส่แว่น พยายามเลือกเลนส์ที่ช่วยตัดแสง ลดแสงสะท้อน

4. เปลี่ยนจอ monitor เป็นแบบ เลือกจอที่มีความละเอียดสูงๆ และหน้าจอขนาดใหญ่ 19 นิ้ว

5. ปรับ brightness & contrast ของหน้าจอคอมพิวเตอร์ปรับความจ้าให้ใกล้เคียงกับแสงในบริเวณที่คุณทำงาน ปรับตัวหนังสือใหญ่ประมาณสามเท่าของตัวหนังสือที่เล็กที่สุดที่คุณอ่านเป็นประจำ ตัวหนังสือสีดำบนพื้นขาวดีที่สุด

6. กระพริบตาให้บ่อยขึ้น เพื่อช่วยป้องกันตาแห้ง แต่ถ้ามีอาการคันตา เคืองตามากอาจหยอดนํ้าตาเทียม

7. บริหารกล้ามเนื้อตา ใช้หลัก 20-20-20 มองไกลทุก 20 นาที นาน 20 วินาที อีกวิธีคือ มองไกล 10-15 วินาที แล้ว กลับมามองใกล้ 10-15 วินาที ทำแบบนี้ 10 รอบ

8. พักเบรกบ้างเพื่อลดอาการล้าของสายตาและกล้ามเนื้อที่หลัง บ่า ไหล่ของคุณ หลายคนอาจจะพักแค่วันละ 15 นาที แต่สถาบันอาชีวเวชศาตร์ของอเมริกาแนะนำให้ในหนึ่งวัน มีเพิ่มการพักสั้นๆ 5 นาที วันละ 4 ครั้ง

9. ปรับเปลี่ยนโต๊ะทำงานให้เหมาะสม ให้สายตาห่างจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ประมาณ 20-24 นิ้ว และจุดศูนย์กลางของจอตํ่าลงมาประมาณ 10-15 องศา จากตาของคุณ

10. สวมแว่นสำหรับทำคอมพิวเตอร์ ถ้าคุณมีปัญหาสายตา

อ่านความรู้เพื่อเป็นแนวทางป้องกันดูแลชีวิตและสุขภาพได้ในนิตยสารรายเดือน ไอเกิล (AIGLE) หรือ //www.aiglemag.com และพบบทความสุขภาพออนไลน์อีกมากมายที่ //www.facebook.com/DrCareBear


Create Date : 22 มิถุนายน 2554
Last Update : 22 มิถุนายน 2554 11:29:09 น. 1 comments
Counter : 1420 Pageviews.

 
แวะมาเยี่ยมค่ะ ทักทายค่ะ

แวะชมบล็อกของน้ำชาได้ค่ะ อย่าลืม Vote ให้ด้วยนะค่ะ

ThaiLand Travel สถานที่ท่องเที่ยว



โดย: nonguide วันที่: 22 มิถุนายน 2554 เวลา:11:31:42 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

samitivej
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Follow Samitivejclub on Twitter

[Add samitivej's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com