<<
กันยายน 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
18 กันยายน 2555
 
 
ผ่าตัดแล้วยังปวดหลังซ้ำซาก แก้อย่างไรไม่น่ากลัว

        เรามักพบปัญหาต่างๆ ได้หลังการผ่าตัดไม่ว่าจะใช้วิธีการใดๆก็ตามอาจจะไม่ประสบความสำเร็จดังที่หวัง สาเหตุอาจจะเป็นผลมาจากการผ่าตัดเองหรือการดูแลรักษาร่างกายหลังผ่าตัด รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันของคนไข้ด้วย

  กระดูกสันหลังเป็นโครงสร้างที่สำคัญของร่างกาย เชื่อมต่อลงมาจากกระโหลกศีรษะลงไปจนถึงกระดูกเชิงกราน และทำหน้าที่เป็นโครงสร้างสำคัญในการป้องกันประสาทไขสันหลัง  โดยมีกล้ามเนื้อหลังเป็นตัวยึดเกาะเพื่อทำให้เกิดการเคลื่อนไหว

    โรคกระดูกสันหลังสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่มักพบมากในผู้สูงอายุ มีการรักษาได้หลายวิธีเป็นขั้นเป็นตอนไปจนกระทั้งทาง เลือกสุดท้ายของการรักษา คือ การผ่าตัด ในอดีตผู้ป่วยมักกลัวการผ่าตัด เพราะถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ และมีความเสี่ยง ทั้งเรื่องการรักษาแล้วไม่ค่อยหายและอาจจะถึงขั้นเป็นอัมพาตได้ แต่ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ก้าวไกลมากขึ้นทุกวัน บวกกับประสบการณ์ของแพทย์ที่สั่งสมกันมานาน ทำให้การผ่าตัดในยุคปัจจุบันเป็นเรื่องที่ไม่น่ากลัวอีกต่อไปและมีความปลอดภัยสูง แนวทางการผ่าตัดมีหลายวิธีการขึ้นอยู่กับชนิดของโรค และความถนัดของแพทย์ผู้รักษา ซึ่งจะมีทั้การผ่าตัดปกติและการผ่าตัดที่เป็นลักษณะ Minimally invasive surgery ที่มุ่งหวังจะลดผลกระทบต่อเนื้อเยื่อต่างๆให้น้อยที่สุด

    แต่ปัญหาที่พบได้หลังการผ่าตัดไม่ว่าจะใช้วิธีการใดๆก็ตามอาจจะไม่ประสบความสำเร็จดังที่หวังได้ หรือที่เรียกว่า Failed Back surgery คือ สาเหตุอาจจะเป็นผลมาจากการผ่าตัดเองหรือการดูแลรักษาร่างกายหลังผ่าตัด รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันของคนไข้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการ  ไม่ออกกำลังกายหรืออกกำลังกายมากเกินไปหลังผ่าตัด พอแผลหายก็คิดว่าตัวเองหายดีแล้วจึงทำงานหนักเหล่านี้เป็นต้น ความจริงแล้วต้องขึ้นกับแต่ละชนิดของการผ่าตัด หรือบางรายอาจจะเกิดอาการปวดหลังเมื่อผ่าตัดไปนานๆ อีกกรณีหนึ่งเรียกว่า Adjacent segment pathologyคือ การเจ็บป่วยในส่วนพยาธิสภาพที่อยู่ชิดติดกัน หมายถึง ในครั้งแรกอาจมารับการผ่าตัดรักษากระดูกสันหลังข้อที่3 และ 4 เมื่อหายดีแล้ว กลับมาปวดอีก ซึ่งอาการเหมือนเดิมจึงคิดว่าเป็นที่เดิมรักษาไม่หาย แต่ความจริงแล้วอาการปวดเกิดจากกระดูกข้อที่อยู่ติดกันไม่ใช่ข้อเดิม  บางคนเสื่อมช้า บางคนเสื่อมเร็ว ซึ่งบางครั้งในขณะที่เราผ่าตัดครั้งแรกกระดูกข้อนั้นยังไม่เสื่อมคุณหมออาจจะยังไม่แนะนำให้ผ่าตัดในครั้งนั้นก็ได้

    ภาวะเช่นนี้อาจจะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดแบบเรื้อรังยาวนานต่อมาได้อีก ทำให้ผู้ป่วยเกิดความทุกข์ เครียด กังวลใจเรียกว่าทุกข์ทั้งกายและทุกข์ทั้งใจไปหาหมอซ้ำแล้วซ้ำเล่าแต่ก็ไม่ดีขึ้น จึงทำทุกวิถีทางเพื่อให้คลายความเจ็บปวด บางครั้งอาจได้รับการรักษาที่ไม่ถูกวิธี ผลที่ได้รับก็ดีบ้าง ไม่ดีบ้างบางคนต้องผ่าจุดเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่ามากหลายครั้ง เป็นความทุกข์ใจของทั้งตัวผู้ป่วยเองและคนรอบข้าง 

ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต เทียนบุญ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ กล่าวว่า เห็นใจผู้ป่วยที่มีความทุกข์ทั้งหลาย ที่เจ็บปวดจากการผ่าตัดซ้ำแล้วซ้ำเล่า จึงอยากมีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยเหล่านี้มีความสุขมากขึ้น สามารถใช้ชีวิตได้อย่างสบายมากขึ้น เจ็บปวดน้อยลง พ้นจากความทุกข์ที่สะสมมาเป็นเวลานานๆ ถึงแม้การแก้ไขผลของ Failed Back จะยากกว่าการผ่าตัดในครั้งแรก แต่ด้วยทีมแพทย์ที่มากประสบการณ์และความชำนาญพิเศษ ผ่านการสั่งสมประสบการณ์อันยาวนาน พร้อมด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีในการรักษาที่ทันสมัยและมีความปลอดภัยสูง ของโรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ และมีความ พร้อมที่จะช่วยแก้ไขปัญหาให้ผู้ป่วยทุกท่าน

    อาจารย์กล่าวเสริมว่า ความยากง่ายของการผ่าตัด อยู่ที่ขั้นตอนการประเมินคนไข้ซึ่งทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต้องหาต้นตอของปัญหาที่ทำให้ผู้ป่วยยังมีอาการเจ็บปวดอยู่ โดยต้องศึกษาว่าการผ่าตัดครั้งก่อนหน้าได้ทำอะไรไปบ้างแล้ว มีการสูญเสียเรื่องระบบประสาทหรือไม่ถ้าเป็นเรื่องของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นอย่างเดียว ส่วนใหญ่แล้วจะสามารถผ่าตัดแก้ไขให้กลับมาดีขึ้นได้ และส่วนใหญ่ของโรค failed back surgery  มักจะเป็นเช่นนี้ แต่หากเป็นการสูญเสียเรื่องระบบประสาท ต้องดูว่าเป็นการเสียหายเป็นแบบบางส่วนหรือถาวร หากเกิดการเสียหายแค่บางส่วนก็อาจสามารถทำให้ระบบประสาทกลับคืนมาได้ 
ในการรักษาทีมแพทย์ต้องพูดคุยกับผู้ป่วย เพื่อศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด ให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนมากที่สุด เพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำและถูกต้องในการวางแผนการรักษา คุณหมอแนะนำว่า การเก็บประวัติการรักษาของตัวเองในแต่ละครั้งไว้ให้ครบถ้วน จะเป็นประโยชน์กับตัวคุณเอง และเป็นตัวช่วยสำคัญให้กับคุณหมอได้มากทำให้การรักษาเป็นไปได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

    อายุของผู้ป่วยไม่ใช่ข้อจำกัดของการรักษาโรคกระดูกสันหลัง แต่อยู่ที่ความแข็งแรงของสภาพร่างกายของคนไข้ซึ่งต้องนำมาพิจารณา เลือกวิธีการที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลการรักษาต้องทำให้พอดีกับโรค และภาวะร่างกายที่คนไข้คนนั้นจะนำไปใช้งาน บางคนอาจไม่ต้องถึงขั้นแก้ไขด้วยการผ่าตัด แต่อาจรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดก็สามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ซึ่งทางโรงพยาบาลก็มีความพร้อมในด้านนี้อยู่แล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภาวะร่างกายและจิตใจของคนไข้ด้วย  



ด้วยความปรารถนาดีจาก
ศาสตราจารย์นายแพทย์ประกิต เทียนบุญ 
ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกสันหลัง ข้อ และข้อสะโพกเทียม 
โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์ 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม : คลิ๊ก //bit.ly/PBPRCh

โรงพยาบาลสมิติเวช ศรีนครินทร์

488 ถนนศรีนครินทร์ สวนหลวง กรุงเทพฯ 10250

โทร:         +66 (0) 2378-9000

โทรสาร:  +66 (0) 2731-7044

อีเมล์:      info.srinakarin@samitivej.co.th




Create Date : 18 กันยายน 2555
Last Update : 18 กันยายน 2555 10:43:31 น. 0 comments
Counter : 1624 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

samitivej
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Follow Samitivejclub on Twitter

[Add samitivej's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com