<<
กันยายน 2554
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
19 กันยายน 2554
 
 
ไทรอยด์เป็นพิษกับการตั้งครรภ์



ไทรอยด์เป็นพิษกับการตั้งครรภ์ คนที่เป็นโรคไทรอยด์เป็นพิษถ้าเกิดตั้งครรภ์ขึ้นมาจะมีผลกระทบอะไรไหม??
หลายคนคงอยากจะทราบคำตอบใช่ไหมคะ Nurse แอ๋ว มีคำตอบมาฝากค่ะ ลองอ่านดูนะคะ
















ถ้าจะพูดกันให้ครบถ้วนแล้ว ก็ต้องไล่ตั้งแต่เริ่มจะมีการตั้งครรภ์เลยค่ะว่า คนที่เป็นโรคนี้อาจจะมีลูกยาก เนื่องจากการตกไข่จะถูกรบกวน แต่ถ้าตั้งครรภ์ได้ก็อาจจะมีปัญหาว่าลูกน้อยในท้องมีการเจริญเติบโตไม่ดี เนื่องจากสารอาหารที่ลูกควรจะได้จากแม่ถูกเผาผลาญทิ้งไปเฉยๆ เป็นจำนวนมาก ทำให้เหลือไปยังลูกน้อยกว่าที่ควรจะเป็น บางคนที่โรครุนแรงมากลูกอาจจะตายในครรภ์เลยก็ได้ อย่างรายของคุณทอดทิ้งที่ยกตัวอย่างนั่นแหละค่ะ อย่างไรก็ตามโรคนี้ไม่ทำให้ลูกพิการแต่อย่างใด


สำหรับตัวคุณแม่ที่ตั้งครรภ์เองพบว่าถ้า ควบคุมอาการของโรคให้ดีก็ไม่น่าเกิดปัญหาอะไร แต่ถ้าควบคุมโรคได้ดี อาจทำให้เสี่ยงชีวิตได้จากการที่ร่างกายถูกกระตุ้นมากเกินไป บางคนอาจจะหัวใจวายไตวาย หมดสติ มีอาการขาดน้ำ เหมือนกับรายของคุณละเลยที่ยกมาเป็นตัวอย่าง


3 วิธีรักษา


ใช้ยา วิธี รักษาโรคไทรอยด์เป็นพิษที่ดีก็คือ ต้องควบคุมให้ต่อมไทรอยด์ทำงานโดยการสร้างฮอร์โมนไทร็อกชินออกมาในปริมาณที่ เหมาะสม ซึ่งปัจจุบันเราใช้ยาในการควบคุมการทำงาน ยากที่ใช้กันบ่อยและได้ผลดีคือ PTU (Propylthiouracil) ซึ่งจะช่วยปรับลดปริมาณฮอร์โมนไทร็อกชินให้อยู่ระดับใกล้เคียงปกติเพื่อให้ อาการสงบ


คนที่เป็นโรคนี้ต้องกินยาตัวนี้ไปเรื่อยๆ และควรพบแพทย์ตามนัดเพื่อปรับปริมาณยาให้เหมาะสมกับความรุนแรงของโรคหลายคน คงสงสัยว่า แล้วจะต้องกินยาไปนานซักเท่าไรถึงจะเลิกได้ คำตอบก็คือบอกยากค่ะบางคนกินไม่นานอาการของโรคก็หยุดไปและเลิกยาแล้วก็ไม่มีอาการ บางคนอาการเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายต้องกินยาบ้าง หยุดบ้างไปเรื่อยๆ บางคนหยุดยาไม่ได้เลย ก็มี ขืนหยุดโรคแผลงฤทธิ์เลยทันที เอาเป็นว่าตัวใครตัวมันก็แล้วกันนะคะ


ดื่มน้ำแร่ การดื่มน้ำแร่บางชนิดสามารถไปช่วยลดจำนวนเซลล์ของต่อมไทรอยด์ที่ทำหน้าที่ สร้างฮอร์โมนไทร็อกชินได้ เพื่อจะลดการผลิตฮอร์โมนออกมา ร่างกายจะได้ถูกระตุ้นในทำงานน้อยลง แต่ถ้าดื่มมากไปก็อาจทำให้ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนน้อยเกินไป กลายเป็นเป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติก็เป็นได้ค่ะ


ผ่าตัดบาง คนที่กินยาหรือดื่มน้ำแร่แล้วก็ยังไม่ค่อยได้ผล ก็ต้องใช้วิธีผ่าตัดเอาเนื้อต่อมไทรอยด์บางส่วนออก เพื่อลดปริมาณการผลิตฮอร์โมนไทร็อกชินลง การผ่าตัดที่ว่านี้มีความเสี่ยงไม่น้อย เพราะใกล้เคียงกับต่อมไทรอยด์ที่ทารกผ่าตัด ยังมีต่อมอีกต่อมหนึ่งเรียกชื่อว่าต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid Gland) ซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมปริมาณแคลเซียมในร่างกาย และก็ยังมีเส้นประสาทที่ควบคุมการใช้เสียงพูดอยู่ข้างๆ และทั้งต่อมและเส้นประสาทที่ว่าก็มีขนาดเล็กเหลือเกิน จนดูแทบไม่ออก ถ้าผ่าตัดไม่ดีไปโดนต่อมหรือเส้นประสาทที่ว่าเข้าก็เป็นเรื่องเหมือนกัน กล่าวคืออาจทำให้เกิดปัญหากระดูกบางหรือเสียงแหบตามมาได้ เป็นไง…อ่านแล้วเหนื่อยไหมคะ


จะเห็นได้ว่าการรักษาโรคนี้ก็เหมือนการ พยายามที่จะจูนคลื่นวิทยุหรือปรับความแรงของเครื่องยนต์ให้ทำงานในระดับปกติ ซึ่งทำได้ไม่ง่ายนัก ต้องค่อยๆ ทำไปดังนั้นการรักษาที่ดีอย่างต่อเนื่องจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากถ้าคุณแม่ท่านใดเป็นโรคนี้ ก็อยากจะฝากข้อแนะนำว่าพยายามมีวินัยในการกินยานะคะ ทำตัวให้สบาย ไม่หาเรื่องเครียดใส่ตัวจนเกินไป พักผ่อนให้เพียงพอแค่นี้ก็น่าจะพอ ขอให้คุณแม่ที่เป็นโรคนี้ทุกคนตั้งครรภ์และคลอดโดยปลอดภัยนะคะ


หลังจากอ่านแล้ว ทราบคำตอบกันแล้วก็อย่าลืม เขียนคอมเม้น ให้กำลังใจ Nurse แอ๋ว ด้วยนะคะ


โรงพยาบาลสมิติเวช 





Create Date : 19 กันยายน 2554
Last Update : 19 กันยายน 2554 11:12:29 น. 0 comments
Counter : 4534 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

samitivej
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Follow Samitivejclub on Twitter

[Add samitivej's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com