<<
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
30 สิงหาคม 2554
 
 
โรคลำไส้แปรปรวน Irritable Bowel Syndrome (IBS)

เกิดจากความผิดปกติในการ เคลื่อนตัวของลำไส้ จากการสำรวจประชากรทั่วไปในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามีคนที่มีอาการกลุ่มโรค นี้ ประมาณร้อยละ10-20 และเป็นสาเหตุให้คนหยุดงานเป็นที่สองรองจากโรคหวัด ในประเทศญี่ปุ่นพบร้อยละ 25 แต่การสำรวจในประเทศไทยโดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน พบประมาณร้อยละ 4.6-6.9

กลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน
กลุ่มอาการลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome-IBS) เป็นกลุ่มอาการที่ประกอบด้วยอาการปวดท้อง และการแปรปรวนของการถ่ายอุจาระโดยไม่มีพยาธิสภาพที่ทุก ๆ อวัยวะในร่างกาย มีหลักฐานว่าอาการเหล่านี้เกิดจากความผิดปกติในการเคลื่อนตัวของลำไส้ จากการสำรวจประชากรทั่วไปในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่ามีคนที่มีอาการกลุ่มโรค IBS ประมาณร้อยละ10-20 และเป็นสาเหตุให้คนหยุดงานเป็นที่สองรองจากโรคหวัด ในประเทศญี่ปุ่นพบร้อยละ 25 แต่การสำรวจในประเทศไทยโดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน พบประมาณร้อยละ 4.6-6.9 เท่านั้น

สาเหตุและการเกิดโรค
สาเหตุของโรคยัง ไม่ทราบแน่ชัด ความรู้ที่มีอยู่ในปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยไม่มีความผิดปกติทางพยาธิวิทยา แต่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการเคลื่อนตัวของลำไส้โดยเฉพาะอย่างยิ่งลำไส้ใหญ่ หรืออาจเกิดจากประสาทรับความรู้สึกไวกว่าปกติ หรือมีความผิดปกติในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อของลำไส้ใหญ่โดยสมอง ซึ่งสามารถอธิบายการเกิดอาการได้พอสมควรแม้จะไม่สมบูรณ์นัก และยังมีข้อขัดแย้งอยู่บ้าง

ลักษณะทางคลินิก
ผู้ป่วย IBS จะเริ่มมีอาการในวัยหนุ่มสาว หรืออายุไม่เกิน 40 ปี ถ้าผู้ป่วยมีอาการครั้งแรก เมื่ออายุมากแล้ว แพทย์ควรคำนึงถึงโรคอื่นก่อนการเริ่มต้นของอาการ มีลักษณะแบบค่อยเป็นค่อยไป และไม่รุนแรง ผู้ป่วยส่วนมากจึงจำวันเริ่มมีอาการไม่ได้ เป็นโรคเรื้อรังที่มีอาการแบบเป็นแล้วหายแล้วอาการกำเริบใหม่ ระยะเวลาที่มีอาการและระยะเวลาที่หายอาจนานเป็นสัปดาห์ เป็นเดือนหรือเป็นปี โดยมีอาการหลัก 2 ประการ คือ อาการปวดท้องส่วนใหญ่ที่ท้องน้อย อาการปวดท้องจะดีขึ้นหลังถ่ายอุจจาระ และการแปรปรวนของการถ่ายอุจจาระ (ท้องผูก , ท้องเสียหรือทั้งสองอย่าง)
ท้อง อืดมีลมมากในท้อง ถ่ายมีมูก กลั่นอุจาระไม่อยู่ ปวดบริเวณทวารหลัก ในสตรีอาจมีอาการมากขึ้นในขณะมีประจำเดือน ถ้าอาการทั้งสองประการมีความสัมพันธ์กันก็ง่ายต่อการวินิจฉัยขึ้น ลักษณะอาการของผู้ป่วยแต่ละรายแตกต่างกัน แต่ผู้ปวดรายเดียวกัน ทุกครั้งที่อาการกำเริบจะมีรูปแบบเหมือนกัน ฉะนั้น ถ้าผู้ป่วยที่มีอาการแตกต่างไปจากเดิม แพทย์ต้องคำนึงด้วยว่าอาจจะเกิดจากโรคอื่น

การวินิจฉัยโรค
เนื่อง จาก IBS เป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุและไม่มีพยาธิสภาพ การวินิจฉัยโรคจึงต้องอาศัยกลุ่มอาการเป็นหลัก โดยอาจยึดหลัก 3 ประการได้แก่
1. อาการปวดท้องเรื้อรังหรือเป็น ๆ หาย ๆ โดยไม่ต้องเป็นติดต่อกัน แต่รวมเวลาที่มีอาการแล้วนานเกิน 3 เดือน ใน 12 เดือนที่ผ่านมา
2. อาการปวดท้องที่มีลักษณะต่อไปนี้
- ปวดบริเวณครึ่งล่างของท้อง
- ทุเลาด้วยการถ่ายอุจจาระ
- กระตุ้นให้ปวดด้วยการรับประทานอาหาร
- กระตุ้นให้ปวดด้วยความเครียด
- ไม่ตื่นกลางดึกเพราะปวดท้อง
3. อาการแปรปรวนของการถ่ายอุจจาระและลักษณะอุจจาระ
อุจจาระที่ถ่ายแต่ละครั้ง มีปริมาณน้อยไม่ว่าจะเป็นท้องผูก
หรือท้องเดินและไม่ตื่นกลางดึกมาถ่ายอุจจาระ

มีลักษณะทางคลินิกบางอย่างอย่างที่บงบอกว่าไม่ใช่ IBS ได้แก่
1. มีอาการครั้งแรกหลังอายุ 40 ปี
2. อาการรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ
3. มีอาการที่ทำให้ต้องตื่นกลางดึก
4. มีไข้
5. ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน
6. น้ำหนักตัวลดลง
7. โลหิตจาง ซีด
8. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งที่ระบบทางเดินอาหาร

การพยากรณ์โรค
ถึงแม้ IBS เป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุ และเป็นโรคเรื้อรัง แต่ก็ไม่ใช่โรคที่มีความรุนแรงที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพผู้ป่วย ผู้ป่วยส่วนมากมีอาการเป็นๆ หายๆ มากกว่าที่จะมีอาการอยู่ตลอดเวลา และผลจากการติดตามในระยะยาวก็ปรากฏว่า หากได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการดีขึ้น

การรักษาและข้อแนะนำ
1. รับประทานอาหารที่มีกากมากโดยเฉพาะช่วงท้องว่าง เช่น
กากสังเคราะห์หรือผักและผลไม้มากๆ น้ำผลไม้ Cereal ขนมปังที่ทำจากธัญพืช ถั่วปนโปรตีนเกษตรแทนเนื้อสัตว์ จะทำให้ท้องผูกดีขึ้น
- อาหารหลัก ควรประกอบด้วย แป้ง ขนมปัง Pasta ข้าว มันฝรั่ง Pita bread ข้าวโอ๊ต ธัญญพืช
- อาหารประกอบ ควรเป็นผักผลไม้ อาหารทะเล ไข่ขาว ไก่

2. หลีกเลี่ยงอาหารบางประเภท เช่น
2.1 อาหารที่ทำให้เกิด Gas มากเช่น กะหล่ำปลี น้ำอัดลม นมและผลิตภัณฑ์จากนม (อาจรับประทานนมไขมันต่ำ, เนยแข็งที่ทำแบบไขมันต่ำได้)
2.2 หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง โดยการลดปริมาณน้ำมันในการทำอาหาร กินเฉพาะไข่ขาว แทนที่จะรับประทานไข่ทั้งฟอง ใช้กระทะที่ไม่ต้องใช้น้ำมันมาก กินนมถั่วเหลือง นมข้าว ทดแทนนมปกติ ใช้น้ำสลัดไขมันต่ำ
2.3 งดการสูบบุหรี่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ยาแก้อักเสบ ยาแก้ปวด วิตามินบำรุงเลือด ยาเสพติด เช่น โคเคน ยาอี
2.4 งดกาแฟ ชา
2.5 งดอาหารและเครื่องดื่มเย็นๆ เพราะทำให้กระเพาะอาหารบีบตัวมากขึ้น
2.6 งดหมากฝรั่ง ลูกอม
2.7 หลีกเลี่ยงยาบางชนิด ตามที่แพทย์แนะนำ

3. รับประทานอาหารปริมาณน้อยและบ่อยครั้ง เคี้ยวช้าๆ

4. ออกกำลังกาย เดินไปเดินมาหลังมื้ออาหาร คลายเครียด ผักผ่อนให้เพียงพอ

5. รับประทานยาตามที่แนะนำ
5.1 กากใยอาหารสังเคราะห์สำหรับ IBS แบบท้องผูก
5.2 Loperamide สำหรับแบบ IBS แบบท้องเสีย
5.3 Peppermint ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อเรียบ เช่น ดื่มชามิ้นท์
Colpermin (แต่อาจทำให้เกิดแสบท้องมากขึ้น)
5.4 ยาแก้ปวดในกลุ่มคลายอาการเกร็งของกล้ามเนื้อลำไส้
5.5 ยาช่วยควบคุมลำไส้ที่ออกฤทธิ์ต่อ Serotonin

6. ดื่มน้ำ 6-8 แก้ว/วัน อย่าดื่มน้ำมากตอนรับประทานอาหาร

7. ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดท้องและท้องเสียมักเกิดจากความเครียดเป็นตัวกระตุ้น จึงอาจใช้การรักษาทางจิตวิทยาและการช่วยคลายความเครียดโดยไม่ต้องใช้ยารักษาได้



ด้วยความปรารถนาดีจากโรงพยาบาลสมิติเวชค่ะ : //www.samitivejhospitals.com/healtharticle_detail/โรคลำไส้แปรปรวน_irritable_bowel_syndrome_(ibs)_57/th


Create Date : 30 สิงหาคม 2554
Last Update : 30 สิงหาคม 2554 10:42:35 น. 0 comments
Counter : 4943 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

samitivej
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Follow Samitivejclub on Twitter

[Add samitivej's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com