<<
กุมภาพันธ์ 2555
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
 
6 กุมภาพันธ์ 2555
 
 
โรคกระดูกพรุน





           โรคกระดูกพรุน  คือ ภาวะที่มีเนื้อกระดูกบางตัวลง ทำให้ร่างกายมีมวลกระดูกลดน้อยลงและมีการเสื่อมสลายของเนื้อเยื่อกระดูก จนทำให้กระดูกเปราะบางและแตกหักง่ายกว่าปกติ



           โครงสร้างของกระดูกมีสองชั้น   ชั้นนอก เป็นส่วนของกระดูกแข็ง ส่วนชั้นในของกระดูกมีลักษณะเป็นรูพรุนคล้ายฟองน้ำ แคลเซียมและโปรตีนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของกระดูก กระดูกทั้งสองชั้นประกอบด้วยเซลล์สองชนิดคือ เซลล์เสริมสร้างกระดูกใหม่ และเซลล์ทำลายกระดูกเก่า กระบวนการของการสร้างกระดูกใหม่และการทำลายกระดูกเก่าเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นและดำเนินไปพร้อมๆ กันอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดสมดุลของร่างกาย



           ในช่วงก่อนเข้าสู่วัยรุ่นจะมีการเจริญและสะสมมวลกระดูกมากและเร็วที่สุด หลังจากนั้นการสะสมของมวลกระดูกจะเริ่มช้าลง จนเมื่อเข้าสู่ช่วงที่เป็นผู้ใหญ่เต็มที่ คือ ช่วงประมาณอายุ 25 - 30 ปี การสะสมของมวลกระดูกจะหยุดลง

  

           จากการที่ร่างกายสูญเสียความหนาแน่นของกระดูกเมื่ออายุเพิ่มขึ้น  เป็นสาเหตุให้กระดูกเปราะบางลงเรื่อย ๆ จนถึงระดับที่กระดูกสามารถแตกหักได้ง่าย  แม้มีแรงมากระทบเพียงเล็กน้อยก็ตาม ทำให้เกิดข้อจำกัดในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน และต้องทรมานกับการเจ็บปวดเมื่อกระดูกหลักยุบหรือหักลง โดยที่โรคจะดำเนินไปค่อนข้างเร็วจากกระดูกหนึ่งนำไปสู่การแตกหักของอีกกระดูกหนึ่ง



ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุนจะมีปัญหาอะไรบ้าง

1.    ปวดหลัง กระดูกสันหลังยุบตัวลง หลังค่อม ตัวเตี้ยลง

2.    กระดูกแขนขาเปราะและหัก ได้แก่ กระดูกข้อมือ กระดูกสะโพก กระดูกสันหลัง ทำให้เกิดการพิการเดินไม่ได้

3.    อาการแทรกซ้อนจากกระดูกหัก เช่น ปอดบวม แผลกดทับ ติดเชื้อ แขนขาใช้งานไม่ได้ ทำให้ผู้สูงอายุเสียชีวิตได้โดยง่าย



เราจะป้องกันโรคกระดูกพรุนได้อย่างไร

           การป้องกันโรคกระดูกพรุนในวัยสูงอายุ และวัยหมดประจำเดือน ทำได้โดยการเริ่มเสริมสร้างให้กระดูกหนาแน่น และแข็งแรง ตั้งแต่วัยหนุ่มสาว คือ ก่อนอายุ 30 ปี เพราะหลังอายุ 30 ปีแล้ว โอกาสในการเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกทำได้ยาก ทำได้เพียงแต่ชะลอการทำลายกระดูกเท่านั้น วิธีการป้องกัน คือ

           1.    ออกกำลังกายสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง ๆ ละ 1 ชั่วโมง ผู้สูงอายุ สตรีวัยหมดประจำเดือนควรออกกำลังกายที่ลงน้ำหนัก เช่น เดินไกล ๆ วิ่งเหยาะ รำมวยจีน เต้นรำ เพื่อป้องกันการสูญเสียกระดูก

           2.    รับประทานเนื้อสัตว์ แป้ง ผัก ผลไม้ และอาหารที่มีแคลเซียม เช่น ดื่มนมทุกวัน วันละ 1 แก้ว หรือรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมแคลเซียม เพื่อให้ได้รับแคลเซียมเพียงพอกับความต้องการในแต่ละวัน

           3.    ลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ได้แก่ งดสูบบุหรี่ งดดื่มสุรา ไม่ซื้อยาชุดทานเอง ดื่มกาแฟไม่เกินวันละ 2 แก้ว



           คนทั่วไปต้องการแคลเซียมวันละ 800 มิลลิกรัม  สตรีตั้งครรภ์ต้องการเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 1,200 มิลลิกรัม เมื่ออายุมากขึ้นสตรีต้องการแคลเซียมมากขึ้น สตรีก่อนวัยหมดระดูควรได้รับแคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม ส่วนสตรีหลังวัยหมดระดูต้องการแคลเซียมวันละ 1,500 มิลลิกรัม อย่างไรก็ตามเนื่องจากได้ร่างกายได้รับแคลเซียมจากแหล่งอาหารประจำวันอย่างพอเพียง หากไม่รับประทานอาหารซ้ำซาก ส่วนใหญ่มักจะเพียงพอต่อความต้องการประจำวันของร่างกาย ไม่จำเป็นต้องได้แคลเซียมเสริม นอกจากบางคนอาจได้แคลเซียมไม่พอเพียง เนื่องจากมีปัจจจัยเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุนอย่างชัดเจน เช่น โครงสร้างของกระดูกบอบบาง หรือน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ



           แหล่งอาหารที่ดีที่สุดของแคลเซียม คือ    นมและผลิตภัณฑ์จากนม   รองลงมาคือ ปลาเล็กที่กินทั้งกระดูก   กะปิ              แต่แคลเซียมจากผักจะดูดซึมไม่ดี เนื่องจากปริมาณไฟเตต และออกซาเลตจะรบกวนการดูดซึมแคลเซียม







Create Date : 06 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 6 กุมภาพันธ์ 2555 20:52:52 น. 0 comments
Counter : 589 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

samitivej
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Follow Samitivejclub on Twitter

[Add samitivej's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com