<<
พฤษภาคม 2555
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
26 พฤษภาคม 2555
 
 
ลูกสาว ... อยากสูง



ทำไมหนูถึงตัวเล็กกว่าเพื่อนๆ? คำถามนี้อาจเกิดจากความสงสัยของคุณแม่เอง หรือว่าลูกสาวเกิดความสงสัยเมื่ออยู่กับเพื่อนๆ แล้วรู้สึกว่าตัวเล็กจัง เพื่อให้คุณแม่ได้ทำความเข้าใจอย่างถูกต้องและสามารถตอบคำถามลูกได้อย่างดีนั้น ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่าความสูงนั้นมีสัดส่วนจากปัจจัยอะไรบ้าง

•    พันธุกรรม ลูกมีแนวโน้มที่จะสูงหรือเตี้ยตามพ่อแม่ ถ้าหากพ่อแม่สูง ลูกก็จะสูงไปด้วย แต่ถ้าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสูง ลูกก็อาจจะสูงหรือเตี้ยก็ได้ ขึ้นกับว่าเอาพันธุกรรมความสูงของพ่อหรือแม่มามากกว่ากัน
•    ศักยภาพในการเจริญเติบโต ลูกวัยแรกคลอดที่มีน้ำหนักน้อยหรือตัวเล็กตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ทั้งๆ ที่คลอดครบกำหนด ก็มีแนวโน้มที่จะเจริญเติบโตช้า และมีโอกาสสูงน้อยเมื่อโตขึ้น
•    การเลี้ยงดู การเลี้ยงดูส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลูก หากพวกเขาไม่ได้รับการเอาใจใส่ดูแลเท่าที่ควร ก็จะมีการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติเช่นกัน
•    โภชนาการ เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสูง ควรให้ลูกทานอาหารจำพวกโปรตีนให้เพียงพอ เพื่อช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโต (Growth Hormone) และส่วนใหญ่เด็กที่ดื่มนมเป็นประจำ ก็จะเติบโตได้ดีเช่นกัน พยายามให้ลูกไม่บริโภคอาหารประเภทไขมัน, แป้งมากเกินความจำเป็นและหลีกเลี่ยงของหวาน ซึ่งอาจทำให้อ้วนและเตี้ยได้
•    ฮอร์โมน (Growth Hormone)เป็นฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากต่อมใต้สมอง (pituitary gland) นอกจากนี้ยังมี ฮอร์โมนเพศชาย (แอนโดรเจน – androgen) และฮอร์โมนเพศหญิง (อีสโตรเจน - estrogen) ที่สร้างจากอัณฑะ, รังไข่ ฮอร์โมนเหล่า นี้มีผลต่อความสูงเช่นกัน 
•    โรคภัยไข้เจ็บ การเจ็บป่วยรุนแรงหรือเรื้อรัง จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลูก อาจทำให้ตัวเตี้ยกว่าปกติ เช่น เด็กที่มีปัญหาเรื่องการดูดซึมอาหาร โรคปอดเรื้อรัง ท้องเสียเรื้อรัง นอกจากนี้ โรคบางอย่างของกระดูก อาจทำให้กระดูกสันหลังเจริญเติบโตไม่ดีทำให้ดูตัวเตี้ยได้  นอกจากนี้กลุ่มอาการผิดปกติบางอย่าง  เช่น กลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner syndrome) ในเพศหญิง ก็ทำให้ตัวเตี้ยกว่าปกติได้
 เตี้ยได้
•    การพักผ่อน หากลูกได้นอนหลับสนิทเวลากลางคืน ก็ส่งผลต่อความสูงเช่นกัน เพราะ Growth Hormone จะหลั่งเพิ่มขึ้นเมื่อลูกนอนหลับสนิท จึงไม่ควรให้ลูกสาวนอนดึกเกิน 2-3 ทุ่ม
•    การออกกำลังกาย  Growth Hormone จะถูกหลั่งเพิ่มขึ้นเมื่อมีการออกกำลังกาย คุณแม่ลองพาลูกสาวทำกิจกรรมหรือออกกำลังกายเบาๆ เพื่อให้ลูกได้มีการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อ เสียเหงื่อ และออกแรง นอกจากจะช่วยให้สูงแล้ว ยังช่วยสนับสนุนพัฒนาการการเติบโตด้านอื่นๆ ด้วย

ปัจจัยบางอย่างข้างต้น อย่างเช่น พันธุกรรมนั้นไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่ก็มีปัจจัยอื่นๆ ที่สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อ ช่วยเสริมสร้างลูกสาวให้เติบโตอย่างแข็งแรงและมีส่วนสูงที่เหมาะสม เช่น พยายามให้ลูกดื่มนมที่มีทั้งโปรตีนและแคลเซียมเป็นประจำ นอกจากจะช่วยในการเจริญเติบโตที่ดีของลูกแล้ว ยังส่งผลต่อความแข็งแรงของกระดูกด้วย แต่ถ้าหากลูกแพ้นม ก็อาจให้ทานเนื้อสัตว์ หรือไข่ หรืออาหารจำพวกโปรตีนอื่นๆ แทนได้

นายแพทย์ชลันธร ปรียาสมบัติ
กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านต่อไร้ท่อ
สถาบันกุมารเวช โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท



Create Date : 26 พฤษภาคม 2555
Last Update : 26 พฤษภาคม 2555 18:02:59 น. 0 comments
Counter : 562 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 

samitivej
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Follow Samitivejclub on Twitter

[Add samitivej's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com