<<
ตุลาคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
12 ตุลาคม 2553
 
 

ซีสต์ที่เต้านม



ถุงน้ำที่เต้านม หรือที่เรียกว่า ซีสต์ Breast cysts คือถุงที่มีน้ำอยู่ภายในที่อยู่ที่หน้าอก (แปลแบบตรงตัวกันไปเลย) แต่ละคนอาจจะพบซีสต์ได้ บางคนเจอหลายซีสต์ก็พบได้บ่อย ส่วนใหญ่แล้วจะมีรูปร่างกลม และขอบเรียบ ถ้าเป็นซีสต์ที่ใหญ่พอสมควรอาจจะคลำได้ และรู้สึกเหมือนองุ่นนุ่มๆ หรือลูกโป่งที่มีน้ำอยู่ภายใน



ส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงอายุ 30 ขึ้นไป และจะยุบลงได้หลังจากเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ยกเว้นว่ารับประทานยาฮอร์โมนทดแทน ซีสต์ที่หน้าอก ไม่จำเป็นต้องรักษายกเว้นว่ามีขนาดใหญ่หรือมีอาการเจ็บ ซึ่งส่วนใหญ่จะให้การรักษาโดยการเจาะดูดน้ำออกมาเท่านั้น

อาการของถุงน้ำที่หน้าอกได้แก่

• คลำได้ก้อนที่หน้าอก เป็นก้อนที่ค่อนข้างเรียบกลม และกลิ้งไปมาได้
• มีอาการเจ็บบริเวณที่มีก้อน
• ก้อนที่คลำได้จะมีขนาดใหญ่ขึ้นและตึงขึ้นในช่วงก่อนมีประจำเดือน และจะเล็กลงหลังหมดประจำเดือน

สิ่งสำคัญที่ต้องรู้เพื่อจะได้ไม่ต้องกังวลคือ การมีซีสต์แบบธรรมดา Simple cyst ไม่ได้เป็นปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งเต้านม หากคลำหน้าอกตรวจด้วยตนเองแล้วพบว่ามีก้อนใหม่เกิดขึ้น หรือก้อนที่เคยพบอยู่เดิมมีขนาดใหญ่ขึ้นควรพบแพทย์เพื่อตรวจให้แน่ใจ

สาเหตุ
เต้านมแต่ละข้างจะมีเนื้อเยื่อของต่อมน้ำนม อยู่ 15-20 กลุ่ม และมีการแตกออกเป็นท่อน้ำนมในแต่ละกลุ่มเพื่อให้ในการสร้างน้ำนม ท่อน้ำนมเหล่านี้ก็จะเป็นที่สะสมของน้ำนมที่สร้างขึ้นมา
ถุงน้ำที่เต้านม เกิดจากต่อมและเนื้อเยื่อรอบ ๆ มีการโตขึ้นผิดปกติ และไปอุดกั้นท่อน้ำนม ทำให้มีการขยายออกของท่าน้ำนมและมีของเหลวเข้าไปสะสมอยู่
• Microcysts เป็นซีสต์ที่มีขนาดเล็กมากจนไม่สามารถคลำได้ แต่จะพบได้เมื่อทำการตรวจ แมมโมแกรมหรืออัลตราซาวน์
• Macrocysts เป็นซีสต์ที่มีขนาดใหญ่ที่สามารถคลำได้ ส่วนใหญ่ที่สามารถคลำได้ชัดเจนคือ 2.5 เซนติเมตร ถ้ามีขนาดใหญ่มากจะเบียดเนื้อเยื่อรอบ ๆ ทำให้มีอาการเจ็บได้

สาเหตุของซีสต์ที่เต้านมไม่ชัดเจน แต่อาจจะเกิดจากการมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายมากเกินไป
การตรวจและวินิจฉัยซีสต์ที่เต้านมมักจะทำหลังจากที่ตัวคุณหรือแพทย์ตรวจร่างกายพบว่ามีก้อนที่เต้านม โดยจะทำการตรวจต่อไปนี้

• การตรวจคลำเต้านมโดยแพทย์ แต่การตรวจนี้จะยังไม่สามารถบอกได้ว่า ก้อนที่ตรวจพบเป็นก้อนเนื้อหรือถุงน้ำกันแน่ จึงควรจะต้องทำการตรวจด้วยวิธีอื่น ๆ เพื่อยืนยัน
• การตรวจอัลตราซาวน์เต้านม จะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยได้ว่าก้อนที่ตรวจพบเป็นก้อนเนื้อหรือถุงน้ำ
• การเจาะดูดของเหลวด้วยเข็ม Fine-needle aspiration เป็นการตรวจที่แพทย์จะทำการเจาะดูดของเหลวออกจากในก้อนถุงน้ำ ถ้าของเหลวที่ดูดออกมาไม่มีเลือดปนก็ไม่ต้องทำการตรวจอย่างอื่นต่อ แต่ถ้ามีเลือดปนอยู่ในนั้นด้วยต้องส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม ถ้าดูดของเหลวไม่ออก หรือก้อนไม่ได้ยุบลงแสดงว่ามีส่วนที่เป็นเนื้อปนอยู่ด้วย จะต้องทำการส่งตรวจเพื่อหาเซลล์มะเร็งต่อไป

การรักษา
1. การใช้ฮอร์โมน โดยการใช้ยาคุมกำเนิดเพื่อปรับระดับฮอร์โมนในร่างกายและประจำเดือน อาจจะช่วยลดการเกิดถุงน้ำที่เต้านมได้ การหยุดฮอร์โมนทดแทนในหญิงวัยทองก็จะช่วยได้เช่นกัน
2. การผ่าตัด ในบางรายจำเป็นต้องผ่าตัด เช่นอาการค่อนข้างมาก หรือมีการเจาะดูดออกแล้วพบเลือดปน หรือสงสัยความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง

การป้องกันถุงน้ำที่เต้านม
• สวมชุดชั้นในที่มี support อาจจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บได้
• หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ ยังไม่มีการวิจัยใดที่แสดงว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดถุงน้ำ แต่สำหรับอาการต่าง ๆ พบว่าอาการจะบรรเทาลงหากหยุดการดื่มกาแฟ
• ลดการรับประทานอาหารเค็ม เพราะความเค็มจะทำให้เกิดการคั่งของน้ำในร่างกาย


ด้วยความปรารถนาดีจาก โรงพยาบาลสมิติเวช




 

Create Date : 12 ตุลาคม 2553
0 comments
Last Update : 12 ตุลาคม 2553 15:29:52 น.
Counter : 2437 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 

samitivej
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Follow Samitivejclub on Twitter

[Add samitivej's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com