<<
ธันวาคม 2553
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
27 ธันวาคม 2553
 
 

เจ็บใจดีกว่า...เจ็บหัวใจ







โอ๊ย... เจ็บใจใครๆ ก็คงเคยเป็นและดูเป็นเรื่องธรรมดา... แต่ถ้าโอ๊ย... เจ็บ ‘หัวใจ’นี่ซิเป็นเรื่องใหญ่

     เพราะในปัจจุบันโรคหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประชากรโลกเลย ทีเดียว โดยเฉพาะอาการหัวใจวายซึ่งมีอาการเริ่มต้น เช่นเจ็บหน้าอก เจ็บหัวใจแปล๊บ ๆ เหมือนใครเอาเข็มมาทิ่มมาแทง   บางทีก็เหนื่อยง่าย ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาณเตือนของภาวะหัวใจวายหรืออาการหัวใจล้มเหลว กะทันหัน (Heart Attack) ย้อนรอยไปจะพบว่าการเกิดหัวใจวายส่วนใหญ่มีสาเหตุจากโรคหลอดหัวใจตีบหรืออุด ตันซึ่งเกิดมาจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด   และการปริแยกหรือการฉีกขาดของเจ้าก้อนไขมันนี้   ภาษาแพทย์เราเรียกว่า “Plaque  rupture ” ในที่นี้จะขอเรียกว่าตะกอนไขมันในหลอดเลือดก็แล้วกัน

     โดยปกติเยื่อบุผนังหลอดเลือดของเราจะมีความสามารถในการป้องกันไม่ให้เกิดการ อุดตันของหลอดเลือด  และป้องกันการสะสมของไขมันในหลอดเลือด   แต่ถ้าการทำงานของเจ้าเยื่อบุผนังหลอดเลือดนั้นเสียไปหรือมีการเสื่อมไปของ เยื่อบุผนังหลอดเลือด  ก็จะทำให้เกิดมีการสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือดได้โดยง่าย  เกิดเป็นตะกอนไขมันขึ้นในหลอดเลือดซึ่งก็คล้าย ๆ กับการเกิดสนิมขึ้นในท่อประปา  ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้สะดวก  พบว่าถ้ามีการอุดตันของตะกอนไขมันมากกว่า  70 % ของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหลอดเลือดแล้วจะทำให้เกิดอาการหัวใจขาดเลือดขึ้น ได้ ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บหน้าอก ในช่วงที่ออกกำลังกายหรือ เหนื่อยง่าย แต่ถ้ามีการปริหรือฉีกขาดของตะกอนไขมันเกิดขึ้นไขมันและสารต่าง ๆในตะกอนไขมันที่ออกมาภายในหลอดเลือดจะกระตุ้นทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันใน หลอดเลือด (Thrombosis) ขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงแล้วหัวใจวายหรือเสียชีวิตอย่างปัจจุบัน ทันด่วนได้โดยไม่มีอาการอะไรนำมาก่อนเลยโดยปัจจัยที่มาทำให้เกิดการปริหรือ ฉีกขาดของตะกอนไขมันอาจมีได้หลายอย่างไม่ว่าจะเป็นความเครียด อารมณ์โกรธหรือเสียใจอย่างรุนแรง (มักจะเห็นได้ในละครตอน 2 ทุ่มช่วงที่ยุงชุมๆนั่นแหละ) หรือการออกกำลังกายอย่างหนัก ซึ่งเราก็เคยเห็นจากข่าวที่นักฟุตบอลต่างประเทศเกิดหัวใจวายกลางสนาม ทำให้เป็นที่น่าสงสัยว่านักกีฬาอาชีพก็เป็น Heart Attackได้นะ ดังนั้นคนธรรมดาแต่เท่ห์ไม่ธรรมดาอย่างพวกเราจึงไม่ควรประมาทเจ้าภัยเงียบ นี้โดยเด็ดขาด

     สำหรับวิธีที่เราจะป้องกันไม่ให้เกิดอาการเจ็บหัวใจก็มีวิธีง่าย ๆ โดยเน้นๆ เลยคงเป็นการลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะทำให้หลอดเลือดอุดตัน เช่นเลิกสูบบุหรี่  ดูแลเรื่องไขมันในเลือด  รวมทั้งควบคุมความดันโลหิตไม่ให้สูง (แต่ความดันทุรังสูงอาจจะไม่เกี่ยวนะครับ) ในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดก็เป็นสิ่งจำเป็นนอกจาก นี้สิ่งสำคัญคือการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งการควบคุมน้ำหนักก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้มากทีเดียว

     ที่นี้ถ้าเกิดเราหรือญาติสนิทต้องเผชิญหน้ากับเจ้าโรคร้ายนี้   แบบปัจจุบันทันด่วน  คือมีหลอดเลือดหัวใจอุดตันแบบเฉียบพลันขึ้นมาก็อย่าเพิ่งตกใจไป  ขอให้ตั้งสติให้ดีแล้วรีบมาพบแพทย์ให้เร็วที่สุด ปัจจุบันการรักษาจะทำด้วยการขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน  การทำบอลลูนก็คือการเจาะผ่านหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบหรือบางกรณีอาจทำที่ บริเวณข้อมือก็ได้ (เรียกว่า Transradial) ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยได้รับความสะดวกสบายมากกว่า โดยสามารถทำได้ในโรงพยาบาลรัฐและเอกชนที่มีความพร้อม หรือถ้าไม่พร้อมในการทำบอลลูนก็อาจทำการละลายลิ่มเลือดที่อุดตันออกโดยการ ใช้ยาละลายลิ่มเลือดก็ได้

     การตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำก็มีความสำคัญมาก ที่ทำกันได้ไม่ยุ่งยากคือ การตรวจเช็คร่างกายโดยวิธีเดินบนสายพาน  จะทำให้เราทราบว่าขณะออกแรงเต็มที่หัวใจเต้นผิดปกติอย่างไรบ้าง  ถ้ามีภาวะหลอดเลือดตีบจะพบว่ากราฟไฟฟ้าของหัวใจจะผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐาน ทำให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยและให้การรักษาได้ทันท่วงที       วิธีการตรวจร่างกายโดยเดินบนสายพานนี้ควรทำเมื่อมีอาการของโรคหลอดเลือด หัวใจตีบคือมีเจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อยง่ายหรืออาจไม่มีอาการเลยก็ได้แต่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเป็นโรค นี้ ได้ง่าย เช่น ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจตั้งแต่อายุน้อย ๆ (เหมือนได้รับมรดกนั่นแหละ)  ในผู้ชายถ้ามีอายุเกิน 40 ปี หรือผู้หญิงอายุเกิน 50 ปี ดังนั้นเราควรตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

     สุดท้ายนี้ขอฝากบัญญัติ  10  ประการ เพื่อป้องกันโรคหัวใจวาย ดังนี้
1. ควบคุมน้ำหนักตัว โดยเฉพาะในคนที่อ้วน (obese) หรือมีน้ำหนักเกิน(Over weight)
2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ (เน้นแอโรบิก แต่ไม่หักโหม)
3. เลิกสูบบุหรี่ (ทั้งของไทยและเทศ)
4. ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติ  โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานอาจต้องใช้ยาหรือ Insulin
5. ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
6. รักษาระดับไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติโดยการหมั่นตรวจเช็คสุขภาพและควบคุมอาหาร
7. ในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงอาจต้องใช้ยาบางชนิดเช่น  ยาต้านเกร็ดเลือด
8. ลดความเครียด เช่นไม่อ่านหนังสือพิมพ์แนวการเมืองหนักๆ (แต่ถ้าแนวขำๆคงไม่เป็นอะไร)
9. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ไวน์หรือเบียร์วันละ 1 แก้วเล็กพออนุโลม)
10. เพศสัมพันธ์...ตามความเหมาะสม (กรุณาปรึกษาแพทย์ก่อน หากมีปัญหาโรคหัวใจ!!!)


ด้วยความปรารถนาดีจาก โรงพยาบาลสมิติเวช
//www.samitivejhospitals.com/allhealth_article_detail.aspx?lid=1&id=181




 

Create Date : 27 ธันวาคม 2553
0 comments
Last Update : 27 ธันวาคม 2553 10:49:25 น.
Counter : 942 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 

samitivej
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Follow Samitivejclub on Twitter

[Add samitivej's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com