<<
ตุลาคม 2554
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
3 ตุลาคม 2554
 
 

ปอดบวมก่อกวน


วันนี้ Nurse กะต๊อย จะแนะนำเจ้าโรคปอดบวมให้ทุกคนรู้จักค่ะ เพื่อทุกคนจะได้มีความรู้เกี่ยวกับโรคนี้แล้วใช้ความรู้นี้เป็นภูมิป้องกันเจ้าโรคปอดบวมไม่ให้มายุ่งวุ่นวายกับตัวคุณค่ะมาอ่านบทความของ Nurse กะต๊อย กันเลยค่ะ













โรคปอดบวมคืออะไร โรคปอดบวมหมายถึงภาวะปอดซึ่งเกิดการอักเสบ ซึ่งอาจเป็นเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส ซึ่งในสภาวะที่ผิดปกติอาจจะเกิดจาก เชื้อรา และ พยาธิ เมื่อเป็นปอดบวม จะมีหนอง และสารน้ำอย่างอื่นในถุงลม ทำให้ร่างกายไม่สามารถรับ oxygen ทำให้ร่างกายขาด oxygen และอาจถึงแก่ชีวิตได้ สาเหตุของปอดบวม มีสาเหตุมากมายแต่แบ่งสาเหตุได้ดังนี้
• Bacteria
• Viruses
• Mycoplasma
• เชื้อชนิดอื่น เช่น เชื้อรา
• สารเคมี


เชื้อที่เป็นสาเหตุมักจะอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วยและสามารถแพร่กระจายออกมาเวลาไอ จาม นอกจากนี้ยังเกิดจากการดมสารเคมี เช่น แอมโมเนีย ไนโตรเจน ไดออกไซด์ หรือการสำลักน้ำลายเศษอาหารและน้ำย่อย
เหตุชักนำสำคัญที่ทำให้เกิดปอดบวม ปกติเชื้อโรคอยู่ในคอ เมื่อร่างกายมีภาวะที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอก็จะเกิดโรค
ภาวะต่างๆดังกล่าวได้แก่
1. ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อการอักเสบติดเชื้อลดลง เช่นอายุมาก ขาดอาหาร เบาหวาน ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน
2. การอักเสบติดเชื้อไวรัสของระบบการหายใจ
3. การอุดกั้น และการอักเสบเรื้อรังในหลอดลม
4. การสำลัก น้ำลาย เศษอาหาร หรือสิ่งติดเชื้อในปอด


การติดต่อ ติดต่อโดยการได้รับเชื้อจากการไอ หรือจามของผู้ป่วย บางรายอาจได้จากการกินน้ำแก้วเดียวกันหรือใช้ผ้าเช็ดหน้าร่วมกัน หลังจากได้รับเชื้ออาจจะเกิดอาการใน 1-3 วัน


อาการของโรคปอดบวม
• ผู้ป่วยบางรายอาจจะมีอาการน้ำมูกไหล จาม คัดจมูกนำมาก่อน
• บางรายอาจจะเริ่มด้วยไข้สูง หนาวสั่น
• หายใจหอบเหนื่อย
• อาจจะมีอาการเจ็บหน้าอกตำแหน่งที่เจ็บมักตรงกับบริเวณที่อักเสบ
• อาการไอในระยะแรกมีลักษณะไอแห้งๆ แต่ระยะต่อมาจะมีจำนวนเสมหะเพิ่มมากขึ้น เสมหะเหนียว

การวินิจฉัย หากมีประวัติไข้สูง หนาวสั่น ไอมีเสมหะสีเหลือง หรือสีเขียว หายใจหอบ และแพทย์สงสัยว่าจะเป็นปอดบวมแพทย์ตรวจร่างกายและส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการดังนี้
• เจาะเลือดตรวจ CBC พบว่าเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น
• ตรวจเสมหะโดยการย้อมสี และเพาะเชื้อ เพื่อหาสาเหตุของปอดบวม
• นำเลือดไปเพาะเชื้อหาสาเหตุ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลา 3-4 วันกว่าจะทราบผล
• X-ray ปอด


การรักษาในเด็กส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสอาจจะไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล ต้องกระตุ้นให้เด็กดื่มน้ำมากๆ วัดไข้วันละ 2 ครั้ง รับประทานยาตามแพทย์สั่งโดยเคร่งคัด ห้ามซื้อยาแก้ไอรับประทานเอง ให้คอยตรวจดูสีริมฝีปาก และเล็บว่ายังคงสีชมพูอยู่หรือไม่ หากมีสีคล้ำควรรีบพบแพทย์ หากเป็นเชื้อแบคทีเรีย หรืออาการเป็นมาก เช่น ไข้สูงมาก หอบมาก ไอมาก แพทย์จะให้นอนโรงพยาบาล และตรวจเลือดดังกล่าวข้างต้น และให้การรักษา คือ
• ให้ oxygen
• ให้ยาปฏิชีวนะ
• ให้น้ำเกลือ


โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ
1. น้ำในช่องเยื่อหุ้มปอด (pleural effusion) เกิดจากการอักเสบของเนื้อปอดลามออกมาถึงเยื่อหุ้มปอด จำนวนน้ำมีได้ตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงขนาดมาก ถ้ามีไม่มากก็อาจหายเองได้ ในรายที่มีจำนวนมากจนทำให้เกิดอาการหอบจะต้องทำการรักษาโดยการเจาะดูดเอาน้ำออก
2. หนองในช่องเยื่อหุ้มปอด (empyema )ภาพถ่ายรังสีเหมือนกับน้ำในช่องหุ้มปอดแต่จะมีไข้สูงและหอบเหนื่อย
3. ปอดแตกและมีลมในช่องปอด (pneumothorax )มักเกิดจากการติดเชื้อที่รุนแรง ผู้ป่วยจะแน่นหน้าอกและหายใจหอบเหนื่อย
4. เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ( pericarditis ) เยื่อหุ้มสมองอักเสบ( meningitis )ปัจจุบันพบน้อย
5. หัวใจวาย มักพบในรายที่มีโรคหัวใจอยู่ก่อน


การป้องกัน
• ใช้วัคซีนสามารถป้องกันปอดบวมได้บางเชื้อ เช่น H.influenza, Pertussisไอกรน,ปอดบวม Pneumococcal
• ให้หลีกเลี่ยงจากคนที่เป็นปอดบวม
• หากมีสมาชิกในครอบครัวเป็นหอบหืดให้แยกถ้วย และชาม สมาชิกในครอบครัวให้ล้างมือบ่อยๆ


หลังจากอ่านบทความของ Nurse กะต๊อยแล้ว ก็อย่าลืมโหวตให้คะแนน Nurse กะต๊อย หรือเขียนแสดง
ความคิดเห็นติชม Nurse กะต๊อยผ่านทางคอมเม้นข้างล่างนี้ด้วยนะคะชอบหรือไม่ชอบยังไงฝากช่วยติชมด้วยนะคะรัก Nurse กะต๊อย เยอะๆ นะคะขอบคุณค่ะ


โรงพยาบาลสมิติเวช 





 

Create Date : 03 ตุลาคม 2554
0 comments
Last Update : 3 ตุลาคม 2554 11:21:26 น.
Counter : 1295 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

 

samitivej
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




Follow Samitivejclub on Twitter

[Add samitivej's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com
pantip.com pantipmarket.com pantown.com