Group Blog
All Blog
<<< "ซ้อมไว้ก่อน" >>>










"ซ้อมไว้ก่อน"

เวลาที่จิตสงบอยู่ในสมาธิ ไม่ต้องทำอะไร

 ให้จิตสงบให้นานเท่าที่จะนานได้

ปล่อยให้จิตออกมาเองจากสมาธิ

 อย่าไปทำอะไรกับสมาธิ

เพราะสมาธินี้จะเป็นกำลังสำคัญ

มาสนับสนุนในการต่อสู้กับตัณหาความอยาก

 เวลาที่ออกจากสมาธิมาแล้ว เวลาเกิดความอยาก

ก็ต้องใช้ปัญญา สอนใจให้เห็นโทษของความอยาก

 สอนให้เห็นว่า เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

ก็จะละความอยากได้

ถ้าออกจากสมาธิแล้ว ไม่มีตัณหาความอยาก

 ก็ให้พิจารณาถึงเรื่องที่จะทำให้เกิด

ตัณหาความอยากต่อไปในอนาคต

 เช่นพิจารณาเรื่องของความแก่ ความเจ็บ

ความตายของร่างกาย ให้เห็นว่าร่างกายนี้

 ต้องเเก่ ต้องเจ็บ ต้องตาย

 ไม่มีทางอื่นที่จะเป็นไปได้

ต้องเป็นทางนี้เพียงทางเดียว

แล้วถ้าไปอยากให้ไม่เเก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย

ก็จะทุกข์ไปเปล่าๆ ก็ต้องสอนใจให้หยุดความอยาก

 ไม่เเก่ ไม่เจ็บ ไม่ตายให้ได้

พอเวลาเกิดความแก่ ความเจ็บ ความตายขึ้นมา

ก็จะทำใจได้ หยุดความอยากได้

ถ้าไม่เตรียมตัวไว้ก่อน ไม่ซ้อมพิจารณาไว้ก่อน

 พอเวลาไปหาหมอ หมอบอกว่ามีมะเร็ง

 เวลานั้นก็จะรู้ว่า มะเร็งทำใจได้หรือไม่ได้

 ถ้าพิจารณาไว้ล่วงหน้าหน่อยว่า เราต้องโดนแน่ๆ

 ไม่โรคใด ก็โรคหนึ่ง พอเตรียมตัวเตรียมไว้แล้ว

 หมอบอกว่าเป็น เป็นก็เป็น หมอบอกต้องรักษา

รักษาก็รักษา รักษาก็มี 2 ทาง หายกับไม่หาย

 ไม่หายก็ต้องตาย ถ้าเราพิจารณาว่า

มันต้องเป็นอย่างนี้เตรียมไว้

ครั้งแรกอาจจะรักษาหาย

 หายแล้วมันก็มีครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3 ตามมา

จนในที่สุดมันก็ต้องเจอว่า รักษายังไงก็ไม่หาย

มีแต่ตายอย่างเดียว อันนั้นเราจะทำใจได้หรือเปล่า

 ถ้าเราซ้อมไว้ก่อน มันก็จะทำใจได้

อันนี้ หมายถึงการออกจากสมาธิมาแล้วก็ มาสอนใจ

มาซ้อมไว้ขึ้นเวที เหมือนกับนักมวยที่ต้องชิงแชมป์

 ถ้าเรายังอยากรักษาแชมป์ไว้

เราก็ต้องซ้อมไว้อยู่เรื่อยๆ

แชมป์ของเราก็คือความสงบนี่เอง

 เราจะรักษาความสงบเพียงอย่างเดียว

 จะไม่รักษาอะไร ร่างกายจะเจ็บ จะเเก่ จะตาย

ก็ปล่อยมันไป ทำอะไรไม่ได้ รักษาเท่าที่จะรักษาได้

 แต่เมื่อรักษาไม่ได้ก็จะไม่วุ่นวายกับมัน

 จะรักษาความสงบไว้.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

................................

ธรรมะบนเขา

วันที่ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๕๖








ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 18 มีนาคม 2561
Last Update : 18 มีนาคม 2561 6:03:50 น.
Counter : 393 Pageviews.

0 comment
<<< "อยาก ก็อย่าไปทำตามความอยาก” >>>










“อยากก็อย่าไปทำตามความอยาก”

เวลาอยู่ในสมาธิไม่มีความอยาก

พอออกจากสมาธิมา ความอยากมาแล้ว

 อยากดูอยากฟัง อยากลิ้มรสดมกลิ่น

 พอมันมาใจก็กระเพื่อม ใจก็สั่น ใจก็ไม่สบายขึ้นมา

 แล้วถ้าไม่ไปทำตาม พอมันอยาก

 ก็หยุดความอยากเสีย พอหยุดความอยากเสีย

ความสงบก็กลับมาใหม่ ความสบายใจก็กลับมาใหม่

พระพุทธเจ้าก็เลยค้นพบวิธี

 ที่จะทำให้ใจนี้มีความสุขตลอดเวลา

ไม่ว่าจะอยู่ในสมาธิหรือไม่อยู่ในสมาธิก็สุข

ออกจากสมาธิมา ถ้าเกิดความอยาก ก็หยุดมัน

อย่าไปทำตามความอยาก

อยากดูอยากฟังอะไร ก็ไม่ต้องดูมันไม่ต้องฟังมัน

 พอไม่ดูไม่ฟังมัน ฝืนมันไป

 เดี๋ยวความอยากนั้นมันก็หมดกำลังไป หายไป

ก็จะไม่มีตัวคอยมากวนใจให้ไปดูไปฟัง

เหมือนคนที่ติดสุราหรือติดบุหรี่อย่างนี้

 พอคิดถึงสุราคิดถึงบุหรี่ก็ต้องไปดื่มไปสูบ

พอได้ดื่มได้สูบ มันก็ใจก็สบายขึ้นมา

ขณะที่อยากดื่มอยากสูบใจก็ไม่สบาย

 แต่ถ้าเอาอีกวิธีหนึ่ง เวลาอยากจะดื่มอยากจะสูบ

 ก็ไม่สูบมันไม่ดื่มมัน ใช้สติหยุดความคิด

 อย่าไปคิดถึงมัน หยุดความคิดอย่าไปคิดถึงบุหรี่

อย่าไปคิดถึงสุรา หรือถ้าจะคิด

ก็คิดไปในทางที่ทำให้ไม่อยากจะดื่มไม่อยากจะสูบ

 ก็คิดถึงโทษที่จะตามมา

 สูบบุหรี่แล้วเดี๋ยวต่อไป

ก็เป็นโรคภัยไข้เจ็บทางร่างกาย

 ดื่มสุราก็จะต้องมีพิษสุราตามมา

ก็จะเจ็บไข้ได้ป่วย เสียชีวิตก่อนวัยอันควร

พอคิดอย่างนี้มันก็จะทำให้เปลี่ยนใจได้ว่า

 เรากำลังทำลายร่างกายเราอยู่

 เราไปสูบบุหรี่นี้เราไปทำลายร่างกาย

ควันพิษเข้ามา เราไปดื่มสุราเราก็เอาน้ำพิษเข้ามา

เอายาพิษเข้ามา เราอย่าไปดื่มไม่ดีกว่า

หรือ เราอย่าไปสูบไม่ดีกว่าหรือ

พอเห็นด้วยเหตุผลด้วยปัญญา

มันก็เลยได้ทีจะต้องเลิก

ก็ต้องเลิกด้วยที่เห็นเหตุผล

 ว่าเป็นการนำไปสู่ความทุกข์

ไม่ใช่นำไปสู่ความสุข มันเป็นการดับความทุกข์

หรือสร้างความสุขเพียงชั่วคราว

 แล้วเดี๋ยวความอยากใหม่มันก็จะกลับมา

 ทุกครั้งที่ความอยากเกิดขึ้น

 แล้วเราไปทำตามความอยาก

 เดี๋ยวความอยากใหม่ก็โผล่ขึ้นมาอีก

 อยากดื่มสุราถ้วยนี้แล้วความอยากดื่มก็หายไป

 เดี๋ยวซักระยะหนึ่งความอยากดื่มก็โผล่ขึ้นมาใหม่

 ถ้าไม่ได้ดื่มก็ทุกข์ ถ้าได้ดื่มก็หายทุกข์ชั่วคราว

 อันนี้ต้องใช้ปัญญาสอนใจให้เห็นว่า

การไปทำตามความอยากนี้

มันไม่ได้เป็นวิธีแก้ความทุกข์ใจ

แต่เป็นการเพิ่มความทุกข์ใจให้มีเข้ามาอยู่เรื่อยๆ

 เพราะจะมีความอยากตามมาอยู่เรื่อยๆ

 เพราะนิสัยของใจ ทำอะไรแล้วมันจะติดนิสัย

ทำอะไรแล้วมันก็จะทำต่อ ถ้าไม่ทำมันก็จะไม่ทำ

เปลี่ยนนิสัยจากทำเป็นนิสัยไม่ทำเสีย

 อยากจะทำอะไรก็ไม่ทำมัน พอเราไม่ทำมันไปเรื่อยๆ

 ต่อไปนิสัยไม่ทำมันก็จะเป็นนิสัยของเรา

มันก็จะไม่อยากทำอะไร มันก็อยากจะอยู่เฉยๆดีกว่า

 อยู่เฉยๆสบายกว่า ถ้าเราหยุดความอยากได้

อยู่เฉยๆจะไม่ทุกข์ ที่ทุกข์กันเพราะว่า

หยุดความอยากไม่ได้

 ไม่รู้ว่าความอยากเป็นตัวที่ทำให้เราทุกข์กัน .

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

...................................

สนทนาธรรมมะบนเขา

วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๖๑







ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 16 มีนาคม 2561
Last Update : 16 มีนาคม 2561 14:31:53 น.
Counter : 553 Pageviews.

0 comment
<<< " มงคลของชีวิต" >>>










"มงคลของชีวิต"

ท่านทั้งหลายได้ตั้งใจมาวัด

เพื่อมาเสริมความเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิต

ด้วยการกระทำสิ่งที่เป็นมงคล

ตามที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนไว้ในมงคล ๓๘ ประการ

 ถ้าพวกเราสามารถปฏิบัติตามได้ครบทั้ง ๓๘ ข้อ

 พวกเราจะไปถึงพระนิพพานกันอย่างแน่นอน

แต่ก่อนที่เราจะถึงนิพพาน

 ก่อนที่เราจะสามารถทำมงคลทั้ง ๓๘ ข้อให้ได้ครบถ้วน

 เราต้องเริ่มทำทีละข้อสองข้อไป

 เราก็จะก้าวหน้าขึ้นไปตามลำดับ

 ทางสู่พระนิพพานนี้ก็จะผ่านสวรรค์ชั้นต่างๆ

 สวรรค์ชั้นเทพ สวรรค์ชั้นพรหม

 สวรรค์ชั้นพระอริยเจ้า จนไปถึงสวรรค์พระนิพพาน

 ที่เป็นสวรรค์ชั้นสูงสุด

ซึ่งเกิดจากการกระทำที่เป็นมงคลทั้ง ๓๘ ประการ

มงคลนี้คืออะไร มงคลก็คือความร่มเย็นเป็นสุข

 อายุมั่นขวัญยืน มีความสุขกายสบายใจ

 ปราศจากทุกข์ภัยอันตรายทั้งหลาย

นี่คือความหมายของความเป็นสิริมงคล

ถ้าพวกเราอยากจะได้ความเป็นสิริมงคล

 เราต้องสร้างเหตุที่ทำให้เกิดผล

 เหตุที่จะทำให้เกิดความเป็นสิริมงคลก็คือ

การกระทำมงคลทั้ง ๓๘ ข้อ

ในวันนี้จะฝากไว้ ๓ ข้อแรก คือ

 อะเสวะนา จะ พ า ล า นั ง

ปั ณ ฑิ ต า นั ญ จ ะ เสวะนา ปูชา

 จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง 

ข้อที่ ๑. คือการไม่คบคนพาลคนไม่ดีเป็นมิตร

๒. การคบบัณฑิตคนดีเป็นมิตร

 ๓. การบูชาบุคคลที่สมควรแก่การบูชา

นี่คือสิ่งที่พวกเราควรจะหัดทำกันให้ได้

 ถ้าทำได้แล้วจะได้รับมงคลสามข้อแรกไป.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

.................................

ธรรมะในศาลา

 วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๘

"มงคลชีวิต"








ขอบคุณที่มา fb' พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 15 มีนาคม 2561
Last Update : 15 มีนาคม 2561 5:32:12 น.
Counter : 297 Pageviews.

0 comment
<<< "ความกตัญญู" >>>










"ความกตัญญู"

ความกตัญญูเป็นบุญเป็นกุศล

เป็นรากเหง้าของความดีของจิตใจ

 คนเราจะดีมันก็ต้องรู้จัก"บุญคุณ"

 เมื่อมีบุญคุณแล้วมันก็จะได้ทดแทนบุญคุณ

 ทำสิ่งที่ดี แล้วจิตใจก็จะเจริญรุ่งเรืองไป

คนที่ไม่มีความกตัญญูนี้เป็นคนที่เจริญยาก

 พระพุทธเจ้านี้ ท่านก็ยังขนาดแม่ตายไป

 ท่านก็ยังคิดถึงพระคุณของแม่อยู่

ก็ทรงไปสอนถึงสวรรค์

สอนให้ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน

พระพุทธเจ้าทรงเห็นความสำคัญ

ของความกตัญญูกตเวที

ต่อผู้มีพระคุณทั้งหลาย

ความกตัญญูจะทำให้จิตใจของคนเรา

มีความอ่อนโยน ไม่มีความเเข็งกระด้าง

มีความเสียสละไม่เห็นแก่ตัว

 ดังนั้นขอให้เราพยายามทดแทนบุญคุณ

ผู้มีอุปการคุณทั้งหลาย

มันทำให้จิตใจเรามีความสุข

 แล้วจิตใจเราก็จะไม่คิดร้ายไม่ทำร้ายใคร

ทำให้เราทำบุญทำทานได้

 รักษาศีลได้ ทำให้เราภาวนาได้

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

............................

สนทนาธรรมะบนเขา

 วันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๙








ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 15 มีนาคม 2561
Last Update : 15 มีนาคม 2561 5:11:57 น.
Counter : 478 Pageviews.

0 comment
<<< "ฟังธรรมจากผู้รู้จริง" >>>










“ฟังธรรมจากผู้รู้จริง”

นี่คือการฟังเทศน์ฟังธรรมเพื่อให้เกิดผลขึ้นมา

 ต้องฟังด้วยกาย วาจา ใจ ที่สงบมีสติจดจ่อ

มีปัญญาพิจารณาตามเหตุตามผลที่ได้แสดงเอาไว้

 พอเข้าใจแล้วก็จะเกิดดวงตาเห็นธรรม

เห็นว่ามีเกิดย่อมมีดับ ทุกสิ่งทุกอย่าง

เมื่อมีเกิดแล้วต้องมีดับไปเป็นธรรมดา

ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ใช่เป็นสิ่งที่เราจะไปห้ามไปสั่งเขาได้

 สั่งไม่ให้เขาดับไม่ได้ สั่งไม่ให้เขาเสื่อมไม่ได้

เขาจะดับเขาจะเสื่อมไม่มีใครไปห้ามได้

ถ้าไปห้ามไปอยากไม่ให้เสื่อมไม่ให้ดับ

ก็จะเกิดความทุกข์ใจขึ้นมา ถ้าไม่อยากจะทุกข์ใจ

ก็ต้องปล่อยวาง อย่าไปอยากให้เขาไม่เสื่อม

 อย่าไปอยากให้เขาไม่ดับ พอไม่มีความอยากแล้ว

 ความทุกข์ใจก็จะไม่มี นี่คือการเห็นธรรม

จากการฟังเทศน์ฟังธรรม จะเห็นธรรมได้

ก็ต้องมีกาย วาจา ใจที่สงบ มีศีล มีสมาธิ

 แล้วมีสติปัญญาความสามารถที่จะพิจารณา

ตามเหตุตามผลที่ได้ยินได้ฟังมาได้

 ถ้าเราฟังแล้วยังไม่ได้มีดวงตาเห็นธรรม

ก็แสดงว่าศีลของเรายังไม่บริสุทธิ์

กาย วาจาของเรายังไม่นิ่ง

 ใจของเรายังไม่เป็นสมาธิพอ

นั่งแล้วไม่ฟังอย่างต่อเนื่อง

 ฟังไปแป๊บหนึ่งแล้วก็แวบไปคิดถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้

 พอมีอะไรมากระทบกับใจมีเสียงหรือมีกลิ่น

มีอะไรมารบกวนใจ ใจก็จะลอยไปกับสิ่งที่มารบกวน

มาสัมผัสกับใจ ตอนนั้นเวลาธรรมที่กำลังได้ยินได้ฟัง

ก็จะไม่เข้าสู่ใจ ก็จะทำให้ไม่สามารถพิจารณาเหตุผล

ได้อย่างต่อเนื่อง ก็จะไม่เกิดความเข้าอกเข้าใจ

ก็จะไม่เกิดการมีดวงตาเห็นธรรมขึ้นมา

นี่คือเรื่องของการฟังเทศน์ฟังธรรม

เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์อย่างสูงสุด

 ผู้เทศน์ผู้แสดงธรรม ก็ต้องเป็นผู้แสดงธรรม

ที่ตรงกับความเป็นจริง ที่เกิดจากการปฏิบัติ

ถ้าเกิดจากการจดจำมา การแสดง

 ก็จะไม่เป็นจริงร้อยเปอร์เซ็นต์

เป็นจริงบางส่วน บางส่วนไม่จริง

 เวลาฟังแล้วก็จะเกิดการขัดกัน ไม่สอดคล้องกัน

 เพราะว่าสิ่งที่จดจำมานี้

ไม่ได้จดจำมาอย่างครบถ้วนบริบูรณ์นั่นเอง

 ส่วนที่ลืมไปก็เอาความคิดมาแทรก มาสอนแทน

 ก็เลยทำให้ผู้ฟังนั้นไม่ได้เห็นเหตุเห็นผลอย่างเต็มที่

 มีความรู้สึกว่ามีอะไรขัดแย้งกันอยู่ ระหว่างเหตุกับผล

 เมื่อมีการขัดแย่งกันระหว่างเหตุกับผล

 มันก็ไม่สามารถที่จะหาข้อสรุปได้

 เช่นทุกข์เกิดจากอะไรอย่างนี้

ถ้าผู้ฟังฟังแล้วจำไม่ได้ก็อาจจะไปพูดว่า

ทุกข์เกิดจากเพราะว่าความแก่ ความเจ็บ ความตาย

 ซึ่งความจริงแล้วความแก่ ความเจ็บ ความตายนี้

ไม่ได้เป็นต้นเหตุของความทุกข์ใจ

 แต่ความทุกข์ใจนี้ เกิดจากความอยากไม่แก่

อยากไม่เจ็บ อยากไม่ตายต่างหาก

 เพราะว่าคนที่ไม่ทุกข์กับความแก่

 ความเจ็บ ความตายก็มี เช่นพระพุทธเจ้า

พระอรหันต์นี้ท่านไม่ทุกข์กับความแก่

ความเจ็บ ความตายของร่างกาย

 เพราะว่าท่านไม่มีความอยากไม่แก่

 ไม่เจ็บ ไม่ตายนั่นเอง.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

.........................................ง

ธรรมะบนเขา

วันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๖









ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 13 มีนาคม 2561
Last Update : 13 มีนาคม 2561 6:47:06 น.
Counter : 324 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ