Group Blog
All Blog
<<< "สร้างความสุขใจด้วยการทำบุญ " >>>









“สร้างความสุขใจด้วยการทำบุญ”

การที่จะภาวนาได้เราก็ต้องมีศีลเป็นผู้สนับสนุน

และการที่เราจะมีศีลเราก็ต้องเป็นคนที่ใจบุญ

คนที่ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ถ้าเป็นคนที่ไม่ใช่ใจบุญ

ก็จะรักษาศีลลำบาก เพราะคนที่ไม่ใจบุญนี้

จะมีความโลภความอยาก มีความเห็นแก่ตัว

ก็อยากจะทำอะไรให้กับตัวเองมากกว่าทำให้กับผู้อื่น

แล้วเวลาอยากจะทำอะไรอยากจะได้อะไรมากๆ

ก็อาจจะไปทำร้ายผู้อื่นก็ได้ แต่คนที่ชอบทำบุญนี้

จะไม่ชอบทำร้ายผู้อื่น

จะไม่ชอบทำความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น

ก็จะทำให้รักษาศีลต่างๆ ได้

พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เราเริ่มต้นที่การทำบุญทำทาน

แล้วให้เราก้าวไปสู่การรักษาศีลและสู่การภาวนา

แล้วจะทำให้เราสามารถ

สร้างความสุขใจได้อย่างเต็มร้อย

ส่วนบุญชนิดอื่นเราก็สามารถเลือกทำได้

ตามวาระตามโอกาส บุญต่างๆ

นี้เราอาจจะสามารถแบ่งไว้เป็นสองพวกใหญ่ๆ

คือ พวกจำเป็นจะต้องทำ และพวกที่ทำไปตามโอกาส

ถ้าเปรียบเทียบก็เป็นเหมือนอาหารหลักกับอาหารเสริม

อาหารหลักนี้เป็นอาหารที่เราต้องกินกันทุกวัน

เช่น กินข้าวกินกับข้าว อันนี้เราต้องกินกันทุกวัน

แต่อาหารเสริม เช่น ขนมนมเนย ผลไม้

ของหวานอะไรต่างๆ เป็นของเสริมมีกินก็กินได้

ไม่มีกินก็ไม่กินก็ได้ไม่เดือดร้อน บุญเป็นลักษณะนั้น

บุญที่เราต้องทำเป็นประจำ

กับบุญที่เราทำตามวาระโอกาส

ที่มีโอกาสให้ทำเราก็ทำไป

บุญที่เป็นบุญหลักที่เราควรที่จะมีอยู่

ก็มีอยู่ ๔ ชนิดด้วยกัน คือ

๑. การทำทาน ๒. การรักษาศีล ๓.การภาวนา

๔.การฟังเทศน์ฟังธรรม

 และ ๕. การมีความเห็นที่ถูกต้อง

อันนี้เป็นบุญหลักที่เราต้องมีเสมอ

เราต้องทำทานเพราะการทำทานนี้

เป็นเหมือนกับการรับประทานอาหาร

ให้อาหารกับใจ ร่างกายเราต้องกินอาหารทุกวัน

เราก็ต้องควรจะทำบุญทุกวัน

ศีลเราก็ต้องควรรักษาตลอดเวลา

ภาวนาเราก็ควรทำตลอดเวลา

ถ้าเราอยากจะเห็นผลได้อย่างรวดเร็ว

เราต้องขยันภาวนา อย่าไปทำกิจกรรมอย่างอื่น

และเราก็ต้องฟังเทศน์ฟังธรรม

เพราะถ้าเราไม่ฟังเทศน์ฟังธรรมเราอาจจะหลงทางได้

เพราะการฟังเทศน์ฟังธรรมเป็น

เหมือนกับการดูแผนที่ที่เรากำลังจะเดินทาง

ไปสู่ที่ที่เราไม่เคยไป ถ้าเราไม่คอยเปิดแผนที่

เดี๋ยวเราก็เดินไปผิดทางได้

ฉะนั้น เราต้องคอยเปิดแผนที่ดูว่า

เรากำลังสร้างความสุขใจให้กับเรา

หรือว่าเรากำลังสร้างความไม่สบายใจให้กับเรา

เราจะรู้ถ้าเราเปิดแผนที่ดู

พอเราไปทำกิจกรรมที่ไม่มีอยู่ในแผนที่

ก็แสดงว่าเราไปผิดทางแล้ว

เช่น พอเราไปเที่ยวกันนี้ก็เรียกว่าเราไปหลงทางแล้ว

พอเราไปหาลาภยศสรรเสริญหรือไปหาความสุข

ทางตาหูจมูกลิ้นกาย เช่น ไปดูหนังฟังเพลง

ไปทำอะไรต่างๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย

แสดงว่าเรากำลังหลงทาง ไปผิดทางแล้ว

เราต้องรู้ว่าเราไปในทาง

ของบุญ ๑๐ ประการนี้หรือเปล่า

ถ้าเรายังทำทานอยู่ ยังรักษาศีลอยู่ ยังภาวนาอยู่

ยังฟังเทศน์ฟังธรรมอยู่ ยังมีความเห็นที่ถูกต้องอยู่

ยังอุทิศบุญอยู่ เวลาเราทำบุญแล้วเราก็อุทิศบุญ

เวลาเห็นคนอื่นเขาทำบุญ

เราก็อนุโมทนาบุญกับเขาไป

เวลาเห็นคนอื่นเขาทุกข์ยากเดือดร้อน

เราก็ช่วยเหลือเขารับใช้กันไป เวลาที่เราพบปะกัน

อ่อนน้อมถ่อมตนหรือเปล่า หรือเราถือเนื้อถือตัว

อวดเบ่งอวดดีหรือเปล่า

อันนี้ก็จะเป็นแผนที่คอยบอกให้เรารู้ว่า

เราไปในทิศทางที่ถูกต้องหรือไม่

เพราะถ้าเราไม่หมั่นฟังเทศน์ฟังธรรม

เดี๋ยวเราหลงทางได้ เดี๋ยวเราลืมทางได้

เพราะว่าเรามีตัวที่ชอบหลง

มาคอยหลอกเราอยู่เรื่อยๆ

คือความหลง ความหลงมันจะชอบหลอก

ให้เราไปอีกทางหนึ่ง

ไปหาความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย

หลอกให้เราไปหาลาภยศสรรเสริญ

หรือ เช่นบางคนนี้ถูกหลอกว่าต้องไปหาเงินเยอะๆ

ก่อนถึงจะมาบวชได้ ทีนี้พอมันมีเงินเยอะ

มันก็บวชไม่ได้หรอก มันเสียดายเงิน

ฉะนั้น อย่าไปถูกหลอก

 บางคนก็ถูกหลอกให้ไปหาเงินจะได้มาทำบุญ

 แต่ไม่ใช่จะเอาเงินมาทำบุญหรอก

เอาเงินไปเที่ยวมากกว่า

 เอาเงินไปซื้อของกันของเล่นมากกว่า

อาจจะมาทำบุญแต่ก็เป็นส่วนน้อย

อาจจะทำบุญสักร้อยละสิบ

คนชอบมาขอหวยพระเรื่อย

ขอหวยบอกถูกหวยแล้วจะมาทำบุญ

พอถูกจริงๆ ก็มาทำแค่สิบเปอร์เซ็นต์เท่านั้นเอง

อีกเก้าสิบเปอร์เซ็นต์ก็เอาไปเที่ยวไปดื่มไปเล่นกัน

เขาเรียกว่าติดสินบนพระ

 ฉะนั้น เราต้องฟังเทศน์ฟังธรรมอยู่เรื่อยๆ

 จะได้ไม่หลงทาง ส่วนบุญอื่นเราก็ทำไปตามโอกาส

 อุทิศบุญเวลาที่เราทำบุญแล้ว

เราก็อุทิศบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

 ถ้าเราเห็นผู้อื่นเขาทำบุญเราก็แสดงความยินดี

ไปกับการทำบุญของเขา อย่าไปขวางอยากไปห้าม

 เพราะการทำบุญไม่เสียหาย ไม่สร้างความทุกข์

สร้างความเดือดร้อนให้กับใคร มีแต่คุณมีประโยชน์

 อันนี้ก็คือบุญเสริม บุญเสริมก็คือการอนุโมทนาบุญ

 การอุทิศบุญ การช่วยเหลือรับใช้ผู้อื่น

การอ่อนน้อมถ่อมตน และการให้ธรรมะแก่ผู้อื่น

 ถ้าเรามีธรรมะเราก็สามารถให้ธรรมะแก่ผู้อื่นได้

 ถ้าเรายังไม่มีเราก็ยังไม่ต้องให้

 นี่คือเรื่องของการทำบุญ ๑๐ ประการด้วยกัน

 ที่จะทำให้ใจของเรามีความสุข

 และจะเป็นความสุขที่เหนือกว่าความสุขทั้งปวง

 สุขใดในโลกนี้ไม่มีเหนือกว่าความสุขใจ

 ฉะนั้นขอให้เราสร้างความสุขใจกัน

 ด้วยการทำบุญทั้ง ๑๐ ประการนี้.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

...........................

ธรรมะบนเขา

วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑






ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 05 กรกฎาคม 2561
Last Update : 5 กรกฎาคม 2561 10:49:25 น.
Counter : 510 Pageviews.

0 comment
<<< "ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ" >>>









"ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ”

พระพุทธเจ้าเป็นบุคคลที่ประเสริฐที่สุด

 ไม่มีใครในโลกนี้

ที่จะมีความประเสริฐเท่ากับพระพุทธเจ้า

 อะไรเป็นสิ่งที่ทำให้พระพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐ

กว่าทุกๆ คนที่อยู่ในโลกนี้

ก็คือการตรัสรู้พระอริยสัจ ๔

 ที่เป็นความรู้ที่ไม่มีใครสามารถรู้ได้ด้วยตนเอง

 ยกเว้นพระพุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น

 ผู้ที่มีความสามารถที่จะเข้าถึงพระอริยสัจ ๔ ได้

อะไรคือพระอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ ก็คือ

ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการด้วยกันนั้นเอง

 ที่ผู้ใดถ้าได้เข้าถึงความจริง

อันประเสริฐ ๔ ประการนี้แล้ว

 จะเป็นบุคคลที่ประเสริฐเพราะเป็นบุคคลที่จะหลุดพ้น

จากความทุกข์ทั้งปวง จะไม่ต้องอยู่ภายใต้อำนาจ

ของความทุกข์อีกต่อไป

นี่คือสิ่งที่ทำให้พระพุทธเจ้าเป็นผู้ประเสริฐ

ก็คือทรงเป็นผู้ได้ค้นพบพระอริยสัจ ๔

 ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการด้วยกัน

มีอะไรบ้างพระอริยสัจ ๔ 

พระอริยสัจ ๔ ข้อที่ ๑ ก็คือทุกข์

ข้อที่ ๒ คือสมุทัย ต้นเหตุของความทุกข์

ข้อที่ ๓ คือนิโรธ การดับของความทุกข์

และข้อที่ ๔ คือมรรค

 ทางสู่การหลุดพ้นจากความทุกข์

 ทางสู่การดับของความทุกข์นี้

คือความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการด้วยกัน

ที่เราเรียกว่าพระอริยสัจ ๔

 ถ้าผู้ใดได้เข้าถึงพระอริยสัจ ๔ แล้ว

ก็จะสามารถที่จะกำจัดความทุกข์ต่างๆ

ที่มีอยู่ในใจให้หมดสิ้นไปได้

กำจัดสิ่งที่ทำให้ต้องทุกข์ คือการเกิดแก่เจ็บตาย

 การเวียนว่ายตายเกิดให้หมดสิ้นไปจากใจ

เพราะจะรู้ทางการกำจัดความทุกข์ต่างๆ

ให้หมดไปจากใจ การรู้ป่ะอริยสัจ ๔ นี้ไม่ใช่รู้เฉยๆ

รู้แล้วต้องสามารถปฏิบัติกิจของพระอริยสัจ ๔ ได้ด้วย

 คือกิจของพระอริยสัจ ๔ นี้มีกิจในแต่ละข้อ

ที่ผู้รู้จะต้องกำหนด ที่จะต้องกระทำต้องปฏิบัติ

ถ้าไม่ปฏิบัติถ้ารู้เฉยๆ ก็ยังจะไม่สามารถ

ทำให้ใจหลุดพ้นจากความทุกข์ต่างๆ ได้

การที่จะใจหลุดพ้นจากความทุกข์ต่างๆ ได้

 ใจจะต้องรู้จักวิธีปฏิบัติของพระอริยสัจ ๔

 ที่มีอยู่ ๔ ข้อด้วยกัน ตามพระอริยสัจแต่ละข้อ

กิจข้อที่ ๑ คือทุกข์ จะต้องทำยังไง

กิจของทุกข์ก็คือต้องรู้ว่าทุกข์คืออะไร

 ต้องรู้ว่าทุกข์นั้นเป็นอะไร ทุกข์อยู่ที่ไหน

 ทุกข์ปัญหา คืออะไรเป็นปัญหาอะไรเป็นทุกข์

 พระพุทธเจ้าก็ได้ทรงกำหนดแล้ว

ได้ศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว

 ว่าทุกข์ก็คือการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย

 การพลัดพรากจากสิ่งที่เรารัก

 การพบกับสิ่งที่เราไม่รักไม่ชอบ นั่นคือความทุกข์

 ถ้าเรายังเกิดยังแก่ยังเจ็บตาย เราก็ยังจะต้องทุกข์อยู่

 ถ้าเราไม่อยากจะทุกข์อยากจะหลุดพ้นจากความทุกข์

 เราก็ต้องหยุดเกิด เพราะว่าถ้าเราไม่เกิด

เราก็จะไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตาย ไม่พลัดพรากจากกัน

 ไม่ต้องพบกับสิ่งที่เราไม่ชอบ

นี่คือสิ่งที่เราต้องกำหนดรู้ ผู้ที่รู้ว่าทุกข์คืออะไร

แล้วต้องกำหนดรู้แบบไม่ให้ลืม คือให้รู้อยู่ตลอดเวลา

 ไม่ใช่รู้แบบสัญญา รู้แบบสัญญาก็รู้แบบวันนี้

 วันนี้ญาติโยมมาฟังธรรมมาได้ยินได้ฟังอริยสัจ ๔

 ได้รู้ว่าทุกข์คืออะไร รู้ว่าทุกข์คือ

การเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย

 การพลัดพรากจากกัน

การต้องพบกับสิ่งที่ไม่ปรารถนาทั้งหลาย

 แต่พอออกจากที่นี่ไปญาติโยมก็ลืมไป

 เพราะว่าไม่เอาไปกำหนดรู้ต่อ

 ต้องกำหนดรู้อย่างที่พระพุทธเจ้าทรงสอนพระอานนท์

 ที่ทรงสอนให้พระอานนท์เจริญมรณานุสติ

คือความตาย เธอทำได้วันละกี่ครั้ง

อานนท์ก็บอกว่าทำได้เพียงวันละสามสี่ครั้ง

 เช้ากลางวันเย็นและก่อนนอน

พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่านี้ยังไม่พอ ยังประมาท

ยังไม่ได้กำหนดรู้ทุกข์ตามกฎของพระอริยสัจ ๔

 ตามกิจของพระอริยสัจ ๔

ที่จะต้องกำหนดรู้ทุกข์อยู่ตลอดเวลา

ถึงจะเรียกว่าเป็นการกำหนดรู้ทุก

ถึงจะเรียกว่าเป็นการปฏิบัติกิจของพระอริยสัจ ๔

 ข้อที่ ๑ ก็คือให้กำหนดรู้ว่า

ทุกข์ก็คือการเกิดแก่เจ็บตาย เกิดแล้วก็ต้องตาย

 ไม่ให้หลงไม่ให้ลืม นี่คือกิจข้อที่ ๑

ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงบำเพ็ญได้ทรงปฏิบัติ

 ทุกข์ที่ต้องกำหนดรู้พระองค์ทรงตรัสว่า

ได้กำหนดรู้แล้ว โดยที่ไม่มีใครรู้มาก่อน

 ใครสั่งไม่มีใครสอน รู้ได้ด้วยตนเอง

รู้ว่าทุกข์นี้ต้องรู้ต้องกำหนดรู้ต้องไม่หลงไม่ลืม

 ถ้าหลงลืมเมื่อไหร่แล้วก็จะลืมทุกข์ไป

 เมื่อลืมทุกข์ก็จะลืมปัญหา

 เมื่อลืมปัญหาก็จะไม่แก้ปัญหานั่นเอง

นี่คือความหมายของการที่เราต้องกำหนดรู้ทุกข์

เราต้องกำหนดรู้ว่าปัญหาของพวกเราทุกคนนี้

ก็คือความทุกข์ แล้วความทุกข์คืออะไร

 ความทุกข์ก็คือการเกิดการแก่การเจ็บการตาย

 การพลัดพรากจากกัน

 การต้องพบกับสิ่งที่เราไม่ปรารถนากัน

นี่คือสิ่งที่เราจะต้องคอยเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

เพื่อไม่ให้หลงไม่ให้ลืม อย่างที่พระพุทธเจ้าทรงสอน

ให้พระอานนท์เรียนรู้ทุกข์ว่า

 เวลาเธอหายใจเข้าแล้วไม่หายใจออกก็ตาย

 เวลาหายใจออกแล้วไม่หายใจเข้าก็ตาย

ให้รู้อย่างนี้ทุกลมหายใจเข้าออก

 ให้รู้ว่าความทุกข์ก็คือความตาย

 ความตายก็จะเกิดได้ทุกเวลานาที

 อันนี้ถ้าเราไม่ลืมแล้วมันก็จะทำให้เรารู้ว่า

ปัญหาของเราอยู่ที่ตรงไหน

 อยู่ที่การเกิดการแก่การเจ็บการตาย

 มันก็จะทำให้เราต้องค้นหาสาเหตุของปัญหาต่อไป

 เมื่อเรารู้แล้วว่าปัญหาของเราคือความทุกข์

ก็คือการเกิดแก่เจ็บตาย

ขั้นที่ ๒ เราก็ต้องมารู้และมาทำกิจข้อที่ ๒ คือสมุทัย

ความจริงข้อที่ ๒ ความจริงอันประเสริฐข้อที่ ๒

เรียกว่าสมุทัย สมุทัยแปลว่าต้นเหตุของความทุกข์

 ทุกข์ไม่ได้อยู่เฉยๆ เกิดขึ้นมาเอง

ทุกข์มันเกิดเพราะมีเหตุทำให้มันเกิด

 เหมือนกับเสียงระฆัง อยู่ดีๆ มันไม่ดังขึ้นมาเอง

 ระฆังจะดังขึ้นมาได้

ต้องมีตัวอะไรไปกระทบกับตัวระฆัง

 เช่นเอาไม้ไปตีระฆัง

 พอไม้ไปตีระฆังเสียงระฆังต้องเกิดขึ้นมา

ถ้าต้องการให้ไม่มีเสียงระฆังเกิดขึ้นมา

ก็อย่าไปตีระฆัง

 เมื่อเราไม่ตีระฆังเสียงระฆังมันก็จะไม่เกิดขึ้นมา

ฉันใด ทุกข์มันก็มีเหตุที่ทำให้เกิดขึ้นมา

 คือการเกิดแก่เจ็บตายนี้มีเหตุทำให้มันเกิดขึ้นมา

 เหตุนี้พระพุทธเจ้าก็ทรงเป็นผู้ค้นพบไม่มีใครรู้มาก่อน

 ไม่รู้ว่าเหตุของการมาเกิดมาแก่มาเจ็บมาตายนี้

เกิดจากอะไร และไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรกับเหตุนี้

 มีพระพุทเจ้าเพียงพระองค์เดียวที่ทรงค้นพบว่า

 เหตุของความทุกข์ก็คือตัณหาความอยาก

๓ ประการด้วยกัน สมุทัยแปลว่าเหตุของความทุกข์

 ต้นเหตุของความทุกข์

ต้นเหตุของความทุกข์มีอยู่สามข้อด้วยกันคือ

 ตัณหาความอยาก ๓ ประการด้วยกัน

ตัณหาข้อที่ ๑ คือกามตัณหา

 ความอยากในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ

ความอยากอันนี้แหละที่ทำให้เราต้องมาเกิด

ต้องมามีร่างกาย

ถ้าเราอยากเสพรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ

 เราก็จะต้องมีตาหูจมูกลิ้นกาย

ถ้าไม่มีตาหูจมูกลิ้นกาย

เราก็จะเสพรูปเสียงกินรสโผฏฐัพพะไม่ได้

นี่คือเหตุที่ทำให้เรามาเกิดข้อที่ ๑ ก็คือกามตัณหา

 ความอยากในรูปเสียงกินรสโผฏฐัพพะ

ความอยากข้อที่ ๒ ที่ทำให้เรามาเกิด ก็คือภวตัณหา

ความอยากมีความสุขจากสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในโลกนี้

ในโลกของการเวียนว่ายตายเกิด ในไตรภพ

 ในโลกของมนุษย์ ในโลกของเทวดา

 ในโลกของพรหม มีความสุขที่เราอยากจะเสพกัน

 คือความอยากได้ความสุขเรียกว่าภวตัณหา

 เช่นอยากได้ลาภยศสรรเสริญ

 อยากได้ความสุขทางตาหูจมูกลิ้นกาย

หรืออยากได้ความสุขทางใจ

ที่เกิดจากการทำบุญทำทานทำความดี

 หรือเกิดจากการทำใจให้สงบ

 อันนี้เรียกว่าภวตัณหา ความอยากมีความสุข

อยากมีอยากเป็น จะทำให้เรา

ต้องกลับมาเกิดอยู่ในไตรภพอยู่เรื่อยๆ

ข้อที่ ๓ คือวิภวตัณหา ความอยากไม่ตาย

ความอยากไม่แก่ เพราะอยากจะอยู่ไปนานๆ

อยากจะหาความสุขในภพต่างๆ ไปนานๆ

 จึงเกิดความวิภวตัณหาขึ้นมา

คือความอยากไม่แก่ อยากไม่เจ็บ อยากตาย

พอตายก็จะไปหาร่างกายอันใหม่ไปเกิดใหม่

เพื่อไปหาความสุขใหม่ นี่คือต้นเหตุของความทุกข์

ต้นเหตุของการเกิดแก่เจ็บตาย

ต้นเหตุของการพลัดพรากจากกัน

ต้นเหตุของการต้องมาประสบพบกับสิ่งต่างๆ

ที่ไม่ปรารถนากัน ถ้าไม่ต้องการจะเกิด

ก็ต้องทำภารกิจข้อที่ ๒ นี้ให้ได้

ภารกิจข้อที่ ๒ นี้ต้องทำอย่างไร

 สมุทัย คือต้นเหตุของความทุกข์ ต้องละนั่นเอง

 ต้องหยุด เพราะว่าถ้าเราละแล้วทุกข์ก็จะไม่เกิด

 เหมือนเสียงระฆัง ถ้าต้องการให้เสียงระฆังหยุดไป

ก็อย่าไปตีระฆัง ถ้าไม่มีอะไรไปกระทบ

กับตัวระฆังแล้วเสียงระฆังก็จะไม่เกิดขึ้นมา

 ฉันใด ถ้าไม่ต้องการทุกข์

กับการเกิดการแก่การเจ็บการตาย

การพลัดพรากจากกัน

 การประสบพบกับสิ่งที่ไม่ปรารถนา

ก็ต้องละตัณหาทั้ง ๓ นี้ ละกามตัณหา

 ความอยากในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ

 ละภวตัณหา ความอยากมีความสุขจากสิ่งต่างๆ

ละวิภวตัณหา การอยากจะหนีจากความทุกข์ต่างๆ

 ที่ต้องประสบที่จะเกิดจากการมาเกิด

 นี่คือสมุทัย ถ้าไม่อยากจะมีทุกข์จะต้องละ ๓ นี้

 พระพุทธเจ้าก็ทรงได้ละแล้ว

ตัณหาที่จะต้องละได้ละแล้ว

 โดยที่ไม่มีใครรู้ไม่มีใครสอนไม่มีใครบอกมาก่อน

 ละด้วยตนเองรู้ด้วยตนเอง ว่าตัณหานี้จะต้องละ

ถ้าต้องการที่จะหยุดหรือกำจัดความทุกข์ให้หมดไป

 นี่คืออริยสัจ ความจริงอันประเสริฐข้อที่ ๒ คือสมุทัย

ความจริงอันประเสริฐ ข้อที่ ๓ นี้

พระองค์ทรงเรียกว่านิโรธ

นิโรธก็คือการดับของความทุกข์

 การทำให้ความทุกข์ทั้งหลายที่มีอยู่ในใจหมดไป

การทำให้การเกิดแก่เจ็บตายทั้งหลายหมดไปได้

เรียกว่านิโรธ ก็เกิดจากอะไร

 มีเหตุที่ทำให้เกิดขึ้นมาได้

 ภารกิจของนิโรธนี้ต้องทำอะไร

ก็ต้องทำให้มันแจ้งทำให้มันปรากฏขึ้นมา

 ทำให้การดับของความทุกข์ทั้งหลายปรากฏขึ้นมา

 อันนี้ก็เป็นภารกิจข้อที่ ๓ ในอริยสัจ

ในความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ

ความจริงอันประเสริฐข้อที่ ๓ คือนิโรธ

 คือการดับของความทุกข์ ต้องทำให้มันปรากฏขึ้นมา

 อย่าให้มันเป็นเพียงทฤษฎีอย่างที่เรารู้กันอยู่ตอนนี้

 เรารู้ว่าความทุกข์นี้ดับได้

 แต่เรายังทำให้มันดับไม่ได้

 เราต้องมาทำข้อนี้ให้ได้ก็คือ

ต้องทำให้ความทุกข์ดับไปให้ได้

 ถ้าเราทำให้ความทุกข์ดับไปได้

เราก็ทำภารกิจข้อที่ ๓ นี้ได้สำเร็จ

 ก็คือนิโรธต้องทำให้แจ้ง ทีนี้การที่เราจะทำให้นิโรธ

ให้แจ้งได้นี้มันไม่ได้ทำด้วยการเพียงแต่คิดเฉยๆ

 ความคิดเฉยๆ นี้ไม่สามารถ

ทำให้นิโรธปรากฏแจ้งขึ้นมาได้

การที่เราจะทำให้นิโรธแจ้งได้นี้

เราต้องมีอริยสัจข้อที่ ๔

 อริยสัจข้อที่ ๔ คืออะไร

อริยสัจ ข้อที่ ๔ คือมรรค

มรรคแปลว่าทางสู่การดับทุกข์

 การหลุดพ้นจากความทุกข์

ทางสู่การทำให้นิโรธแจ้งขึ้นมา

นี่คือเหตุที่เราต้องสร้างขึ้นมาให้ได้

 ภารกิจของมรรคคืออะไร ของอริยสัจ ๔

ข้อที่ ๔ คืออะไร มรรคต้องทำให้สมบูรณ์

ต้องสร้างมรรคขึ้นมาเหมือนกับเรา

จะ สมัยก่อนเราไม่มีทางเดิน

 ทางจากกรุงเทพไปเชียงใหม่

ถ้าอยากจะไปเชียงใหม่อย่างสะดวกรวดเร็ว

เราก็ต้องทำทางไป ไม่เช่นนั้น

สมัยก่อนเขาก็ต้องเดินกันไป

 เดินไปหรือไปทางเกวียน

ไปต้องใช้เวลาอันยาวนานกว่าจะไปถึง

 แต่ถ้าเราอยากจะไปถึงอย่างสะดวกรวดเร็ว

เหมือนสมัยนี้ เราก็สร้างทางกัน

พอเรามีทางแล้วเราก็ไปถึงจุดหมายปลายทาง

ได้อย่างง่ายดายและรวดเร็ว

 ฉันใด เราต้องการทำให้นิโรธแจ้ง

ทำให้ความทุกข์ดับไปหมด

เราก็ต้องสร้างมรรคขึ้นมา

 มรรคก็คือ ธรรมที่จะทำให้

เราสามารถดับความทุกข์ได้

 ดับความทุกข์ด้วยอะไร ดับความทุกข์

ด้วยการไปละต้นเหตุของความทุกข์นั่นเอง

 ก็คือไปละสมุทัย เมื่อไปละสมุทัย

ก็จะทำให้นิโรธปรากฏขึ้นมา

 นี่คือการทำงานที่เกี่ยวข้องกันของพระอริยสัจ ๔

ดังนั้นเราต้องรู้จักภารกิจ

ของพระอริยสัจ ๔ ทั้ง ๔ ข้อ

 ข้อที่ ๑ ทุกข์เราต้องกำหนดรู้อยู่ตลอดเวลา

เพื่อไม่ให้หลงไม่ให้ลืม ไม่ให้ลืมปัญหาของเรา

ตอนนี้พวกเราลืมปัญหาของเรา

 ปัญหาที่ไม่กลับไปสนใจกับปัญหา

ที่ไม่ใช่ปัญหาที่ไม่ใช่ปัญหา

 ปัญหาที่เป็นปัญหากลับลืม

ก็เลยไม่มาแก้ปัญหาที่เป็นปัญหา

 ไปแก้ปัญหาที่เป็นปัญหา ปัญหาที่ไม่เป็นปัญหา

 ปัญหาที่ไม่เป็นปัญหาคืออะไร คือเงินทองขาดมือ

 เงินทองไม่พอใช้ ก็ไปหาเงินทอง

ไม่มีที่เที่ยวก็ไปหาที่เที่ยวกัน

 ไม่มีของซื้อของเล่นก็ไปหาซื้อของเล่นกัน

 อันนี้ไม่ใช่เป็นปัญหา เราลืมปัญหาของเรา

 ปัญหาที่ทำให้เราต้องมาทุกข์กัน

อย่างไม่มีวันสุดสิ้นสุด

 ปัญหาที่เขาเรียกว่าปัญหาตกค้าง

 ตกค้างมาหลายแสนล้านชาติแล้ว

 ไม่เคยคิดถึงปัญหาอันนี้ มัวแต่ไปแก้ปัญหา

ที่ไม่ใช่เป็นตัวปัญหาที่แท้จริง

 เป็นลูกเป็นหลานของปัญหา

 แต่ตัวพ่อแม่ปู่ย่าตายายของปัญหาตัวนี้ไม่ไปแก้

ถ้าแก้ตัวต้นปัญหาได้

ตัวปัญหาลูกๆ ที่พวกเราพยายาม

แก้กันนี้มันก็จะไม่มี ถ้าไม่มีพ่อไม่มีแม่มันก็ไม่มีลูก

 ทุกวันนี้เรามาแก้ปัญหาของลูกของปัญหากัน

 ลูกของปัญหาก็คือหาความสุขที่ไหนดีกัน

 หาแฟนหาเงินหาทอง หายศหาตำแหน่งกัน

 อันนี้เรียกว่าไม่ใช่เป็นตัวปัญหาที่แท้จริง

 ตัวเป็นปัญหาที่แท้จริงก็คือตัวเกิด

เพราะถ้าไม่เกิดแล้ว

มันจะต้องมีปัญหายาวเหยียดตามมา

 มีความแก่ความเจ็บความตายตามมา

มีความทุกข์จากการขาดแคลน

 มีความทุกข์จากการสูญเสียอะไรต่างๆ

 ตามมาเป็นพวงไปเลย ถ้าตัดยอดตัดต้นมันได้

ปัญหาที่เป็นพวงมันก็จะไม่ตามมา

ฉะนั้น เราอย่าลืมตัวปัญหา

 ปัญหาก็คือการเกิด เมื่อเกิดแล้ว

จะต้องมีการแก่การเจ็บการตาย

ดังนั้น พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เราละลึกถึงปัญหา

 ปัญหาตัวเกิดมันเกิดมาแล้วมันไม่เป็นปัญหาแล้ว

 ตัวที่เป็นปัญหาก็คือตัวที่มันรอเราอยู่

 ก็คือตัวความตาย ให้เราอย่าลืมตัวความตาย

 ให้เรานึกถึงความตาย

ความแก่ความเจ็บที่มันรอเราอยู่

 ที่มันจะเป็นปัญหากับเรา

ที่เราจะต้องมาแก้กันให้ได้

 เมื่อเรารู้แล้วว่าปัญหาของเราก็คือการเกิด

 เพราะมาเกิดแล้วเราจะต้องตาย

ถ้าเราระลึกถึงความตายได้

เราก็จะระลึกถึงการเกิดได้

 รู้ว่าไอ้การที่เราจะต้องตายนี้

เพราะมันเกิดจากการที่เรามาเกิดนี่เอง

 เมื่อเราไม่ต้องการที่จะตายไม่ต้องการที่จะเจ็บ

ไม่ต้องการที่จะแก่ เราก็ต้องอย่ามาเกิดกัน

 เราก็ต้องไปแก้ต้นเหตุที่ทำให้เรามาเกิดกัน

 พอเราไม่ลืมปัญหาของเราแล้ว

เราก็จะมาทำมาแก้ปัญหาของเรา

 ปัญหาของเราก็คือ

การละตัณหาความอยากนี่เอง

 เพราะความอยากนี่แหละ

เป็นตัวที่จะทำให้เรามาเกิดกัน

 เราก็ต้องมาละกามตัณหา

 ภวตัณหา และวิภวตัณหา

 นี่คือภารกิจข้อที่ ๒ ตัณหานี้ต้องละให้ได้

 เพราะถ้าละได้แล้วเราก็จะทำกิจข้อที่ ๓ ได้สำเร็จ

กิจข้อที่ ๓ เกิดจากการที่เราละตัณหาทั้ง ๓ นี้ได้

ละเหตุที่ทำให้เกิดความทุกข์ขึ้นมา

เมื่อไม่มีเหตุทำให้เกิดความทุกข์

 ทุกข์ก็จะต้องดับไปเหมือนเสียงระฆัง

 ถ้าเรารำคาญกับเสียงระฆัง

เพราะเด็กมันมาตีอยู่ตลอดเวลา

 เราก็ไปห้ามเด็กบอกว่า หนูหยุดตีระฆังได้แล้ว

เสียงมันดัง พอเด็กหยุดตีเสียงระฆังก็หายไป.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

..........................

ธรรมะบนเขา

วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๑







ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 05 กรกฎาคม 2561
Last Update : 5 กรกฎาคม 2561 10:29:08 น.
Counter : 401 Pageviews.

0 comment
<<< "อานิสงส์ของศีล " >>>









“อานิสงส์ของศีล”

อานิสงส์ของศีลก็มีหลายอย่างด้วยกัน

คือหนึ่ง ถ้าเราไม่ไปทำร้ายผู้อื่น

ก็จะไม่มีใครมาทำร้ายเรา

 ถ้าเราไม่ไปลักทรัพย์ของผู้อื่น

ก็จะไม่มีใครมาลักทรัพย์ของเราไป

นี่คือกฎแห่งกรรม

ทำกรรมอันใดไว้จะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น

 แล้วถ้าเราตายไป ถ้าเรารักษาศีล ๕ ได้

เราก็จะรักษาความเป็นมนุษย์ไว้ได้

 เราก็ยังไม่ต้องไปเป็นเดรัจฉาน

 แต่ถ้าเราไม่สามารถรักษาศีล ๕ ได้

 เวลาตายไปเราก็จะไปเกิดเป็นเดรัจฉาน

 เพราะใจของเรานี้ได้กลายเป็นเดรัจฉานไปแล้ว

ด้วยการกระทำบาปของเรานั่นเอง

นี่ก็คือเรื่องของการรักษาศีล เราเริ่มต้นที่ศีล ๕ ก่อน

 เพราะว่ายังมีศีลที่สูงกว่าศีล ๕ ที่เราต้องพัฒนาขึ้นไป

 ถ้าเราอยากจะสร้างความสุขใจให้มีมากขึ้น

 ยิ่งรักษาศีลได้มากขึ้นเท่าไหร่

ก็จะมีความสุขใจเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น

 เพราะจะลดการกระทำที่ทำให้ใจเราไม่สุขนั่นเอง

 ทำให้ใจเราวุ่นวาย เช่นจากการรักษาศีล ๕

 เราก็เพิ่มเป็นการรักษาศีล ๘

การรักษาศีล ๘ ก็จะทำให้เรางดการกระทำเพิ่มขึ้น

อีกสามข้อหรือสี่ข้อ

ข้อที่ ๓ จากการไม่ประพฤติผิดประเวณี

 ก็จะมาถือการไม่มีการร่วมเพศกัน

 เว้นจากการร่วมเพศกัน เรียกว่าอพรหมจริยาเวรมณี

 การไม่ร่วมหลับนอนกับผู้อื่น

 การไม่ร่วมหลับนอนดีกว่าการร่วมหลับนอนอย่างไร

 ก็เพราะว่าเวลาถ้าเราร่วมหลับนอนเราก็จะติด

 เราก็อยากจะมีคนมาร่วมหลับนอนกับเรา

 และถ้าต่อไปเกิดไม่มีใครมาร่วมหลับนอนกับเรา

 เราก็จะเหงาเราก็จะว้าเหว่ เราก็จะไม่มีความสุข

 แต่ถ้าเราหัดหลับนอนคนเดียวได้

ไม่ต้องร่วมหลับนอนกับผู้อื่น

เราก็จะไม่ต้องมาเดือดร้อน

ไม่ต้องมามีความรู้สึกว้าเหว่เวลาที่เราไม่มีคู่นอน

ไม่มีเพื่อนนอนด้วย

การละเว้นแบบนี้กลับดีกว่าการไปทำ

 เพราะการกระทำนี้มันจะต้องมีวันหนึ่งวันใด

ที่เราจะไม่มีคู่ครองไม่มีผู้ที่จะมาร่วมหลับนอนกับเรา

 พอไม่มีผู้ที่มาร่วมหลับนอนกับเรา

ถ้าเราเคยร่วมหลับนอนเราก็จะรู้สึกเหงา

รู้สึกว้าเหว่ไม่มีความสุข แต่ถ้าเราหัดนอนคนเดียว

ไม่ต้องมีคู่นอน เราก็จะไม่เดือดร้อน

เวลาที่เราไม่มีคู่มานอนกับเรา

นี่ก็คือยกตัวอย่างว่าทำไมเราถึงไม่ควรกระทำ

กิจกรรมที่ศีล ๘ ห้าม เพราะจะทำให้เรามีความสุขมากขึ้น

มีความทุกข์น้อยลงนั่นเอง

ไม่ร่วมหลับนอนกับผู้อื่น ไม่รับประทานอาหารเย็น

 ไม่รับประทานอาหารหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว

 ถ้าเราเคยรับประทานอาหารอยู่อย่างต่อเนื่อง

ไม่ว่าจะเป็นเวลาไหน เวลาใดที่เราเกิดรับประทานไม่ได้

หรือไม่มีอาหารให้เรารับประทาน เราก็จะรู้สึกเดือดร้อน

รู้สึกไม่สบายใจไม่มีความสุข

 แต่ถ้าเรามาหัดรับประทานอาหารเพียงเที่ยงวัน

 ไม่รับประทานอาหารหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว

ต่อไปเวลาที่เราไม่มีอาหารรับประทาน

เราก็จะไม่เดือดร้อน

 เพราะเรารู้จักวิธียับยั้งห้ามใจของเรา

ไม่ให้ไปอยากรับประทานอาหาร

 อันนี้ก็เป็นประโยชน์ที่เราจะได้รับจากการถือศีลข้อที่ ๖

 คือรับประทานอาหารหลังจากเที่ยงวันไปแล้ว

 ข้อที่ ๗ ก็คือการละเว้นจากการไปเที่ยว

ตามสถานบันเทิงต่างๆ ไปดูมหรสพ

 ละเว้นจากการเสริมสวยความงามทางร่างกาย

ด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์ที่สวยงาม

ด้วยเครื่องสำอางค์ด้วยการทำเผ้าทำผม

ด้วยการใช้น้ำมันน้ำหอมอะไรต่างๆ

 อันนี้มันเป็นความสุขชั่วคราว

 แล้วถ้าเกิดวันไหนเราไม่สามารถทำได้

เราก็จะเกิดความทุกข์ใจขึ้นมา

 ถ้าเรามาหัดยุติการหาความสุขแบบนี้

 เราทำไป ต่อไปเราไม่ต้องไปเที่ยวเราก็มีความสุขได้

 อยู่บ้านเฉยๆ อยู่วัดเราก็อยู่ได้

 แต่ถ้าเรายังหาความสุขจากการไปเที่ยว

ไปดูมหรสพบันเทิงต่างๆ ต้องเสริมความงาม

ด้วยการแต่งเนื้อแต่งตัว

 ถ้าต่อไปเราไม่สามารถทำได้เราก็จะทุกข์มาก

 แต่ถ้าเรามาหัดทำใจงดทำกิจกรรมเหล่านี้ได้

 ต่อไปเราก็จะไม่เดือดร้อน

เวลาที่เราแก่เวลาที่เราเจ็บเราก็จะไม่รู้สึกเดือดร้อน

กับการที่เราไม่สามารถที่จะไปเที่ยวไปดูไปฟังอะไรได้

 ไม่สามารถแต่งเนื้อแต่งตัว

เสริมสวยความงามให้กับร่างกายได้

 เราก็จะไม่รู้สึกเดือดร้อนอะไร

นี่ก็คือประโยชน์ที่จะเกิดจาก

การที่เรารักษาศีลเพิ่มมากขึ้นไปเรื่อยๆ

 นอกจากศีล ๘ แล้ว ก็มีศีล ๑๐ ศีล ๑๐

แล้ว ก็มีศีล ๒๒๗ ศีลของพระภิกษุ

 เป็นข้อห้ามต่างๆ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องไปยุ่งเกี่ยว

กับการกระทำต่างๆ ที่ไม่เกิดประโยชน์อะไร

 มีแต่จะเกิดโทษแก่จิตใจทำให้ใจวุ่นวายไปเปล่าๆ

 ถ้าเลิกทำการกระทำต่างๆ เหล่านี้ได้

ใจก็จะมีความสุขเพิ่มมากขึ้น.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

................................

ธรรมะบนเขา

วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑






ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 02 กรกฎาคม 2561
Last Update : 2 กรกฎาคม 2561 9:37:19 น.
Counter : 465 Pageviews.

0 comment
<<< "วัตถุทาน วิทยาทาน ธรรมทาน " >>>








“วัตถุทาน วิทยาทาน ธรรมทาน”

เราจึงควรมาศึกษาวิธีสร้างบุญ ๑๐ ประการนี้

 เช่น ๑ การทำทาน

 เรียกว่าทำอย่างไรถึงจะเรียกว่าทำทาน

ทำทานก็คือให้สิ่งที่เรามีอยู่

 ไม่จำเป็นจะต้องหาสิ่งที่เราไม่มีเอามาให้

 อันนี้ไม่ใช่เป็นการทำทาน

ทำทานหมายถึงให้เราทำในสิ่งที่เรามีเหลือมีเกิน

 มีสิ่งที่เป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการมีก็ได้

เก็บไว้ก็ไม่ได้ใช้อะไรตายไปก็เอาไปไม่ได้

 ให้เอาสิ่งนี้ไปทำบุญทำทาน

เราจะได้ไม่ต้องมีอะไร

ต้องมาคอยดูแลรักษามากจนเกินไป

การมีอะไรมากๆ แทนที่จะมีความสุข

กลับทำให้เราไม่มีความสุข

 เพราะเราจะต้องมาคอยกังวล

เกี่ยวกับการดูแลรักษาสิ่งของต่างๆ

 ถ้าเราให้ผู้อื่นเขาไป

 แล้วเขาได้รับประโยชน์มันก็ดีกว่า

 เป็นการได้ประโยชน์สองต่อ

 ผู้รับก็ได้ประโยชน์ผู้ให้ก็ได้ประโยชน์

 เพราะไม่ต้องมาคอยกังวลกับของที่ให้ไป

ไม่ต้องรอคอยดูแลรักษา และก็ทำให้ใจมีความสุข

เพราะเป็นการทำบุญ สิ่งที่เราสามารถจะให้ได้

ก็มีอยู่ ๓ อย่างด้วยกัน

คือ ๑ ข้าวของเงินทอง เรียกว่าวัตถุทาน

ถ้าเรามีข้าวของเงินทองที่เราไม่ได้ใช้

 ที่เราไม่จำเป็นที่จะต้องเก็บเอาไว้

 เราก็เอาไปบริจาคทำบุญทำทาน

ให้แก่ผู้ที่เขาทุกข์ยากเดือดร้อนกว่าเรา

 เช่นมีเสื้อผ้ามากเกินไปเต็มตู้รกตู้

ไม่รู้ว่าจะไปเก็บที่ไหน

 ถ้าไปซื้อตู้มาก็ต้องเสียเงินเพิ่มอีก

 แล้วเดี๋ยวพอมีตู้เก็บเดี๋ยวก็อยากจะซื้ออีก

 ก็ซื้อไปโดยที่ไม่ได้ทำให้เกิดความสุขใจขึ้นมา

 ความสุขที่ได้ก็เป็นความสุขเดี๋ยวเดียว

 ได้ตอนที่ซื้อมา แต่พอหลังจากซื้อมาแล้ว

มันก็ไม่มีความหมายอีกต่อไป

สู้เอาของที่มันล้นตู้นี้เอาไปให้คนที่เขาไม่มี

 คนที่เขาขาดแคลน คนยากคนจน

คนที่ไม่มีเสื้อผ้าใส่เอาไปบริจาค

 อย่างนี้เรียกว่าวัตถุทาน

 จะเป็นข้าวของก็ได้ เป็นเงินทองก็ได้

 เงินทองที่เราใส่บาตรให้เป็นค่าน้ำค่าไฟ

เงินทองที่เราให้ขอทาน ให้ญาติสนิทมิตรสหาย

 ให้บิดามารดา อันนี้ก็ถือว่า

เป็นการทำทานทั้งนั้น เป็นการทำบุญ

การทำบุญนี้ไม่ได้หมายความว่าต้องทำกับพระ

แต่เป็นประเพณีธรรมเนียมนิยมที่จะใช้คำว่าบุญ

 เวลาให้ของกับพระเราเรียกว่าบุญ

 แต่เวลาที่เราให้ของผู้อื่น

ที่ไม่ใช่เป็นพระเราเรียกว่าทำทาน

 แต่ความจริงมันเป็นการทำบุญมันเป็นการทำทาน

 ทานแปลว่าให้ เป็นการให้ เราให้ของใคร

ก็ถือว่าเราได้ทำทาน ไม่ว่าเราจะทำกับพระ

กับผู้ไม่ใช่เป็นพระ ก็เรียกว่าเป็นการทำทาน

 แล้วผลที่เกิดจากการทำทานคือความสุขใจ

นี้ก็เรียกว่าบุญนี่เอง

ดังนั้น การทำบุญทำทานนี้

มีความหมายอันเดียวกัน

 ทานคือแปลว่าการให้

 เป็นเหตุ ส่วนบุญคือเป็นผล

 คือความสุขใจ เราจะให้กับใคร

เราก็ได้ความสุขใจเหมือนกัน

ให้กับพระเราก็ได้ความสุขใจ

ให้กับผู้ที่ไม่ใช่พระ

 เช่น ญาติพี่น้อง บิดามารดา

 บุคคลที่ตกทุกข์ได้ยากเดือดร้อน

 เช่น ขอทาน ให้เราก็ได้บุญเหมือนกัน

 เราก็ได้ความสุขใจเหมือนกัน

หรือแม้แต่ให้สัตว์เดรัจฉาน

เราก็ได้ความสุขใจเหมือนกัน

 เช่น เห็นหมาจรจัดไม่มีข้าวกิน

เราก็หาข้าวให้มันกิน

 อย่างนี้เราก็ได้ความสุขใจ

เราได้ให้ข้าวแก่สุนัขไป

 คำว่าทานนี้แปลว่าการให้ ให้ในสิ่งที่เรามี

 ถ้าเราไม่มีไม่จำเป็นที่จะต้องไปหามาให้

 อันนี้ไม่ใช่เป็นการให้

 เป็นการสร้างกิเลสขึ้นมาด้วยความอยาก

อยากจะให้ เมื่อไม่มีจะให้

จะไปหาเงินหาทองจากคนนั้นคนนี้

 ไปขอเงินคนนั้นคนนี้มาทำบุญทำทาน

 อย่างนี้ไม่ใช่เป็นการทำบุญทำทาน

 เพราะเป็นการสร้างกิเลส สร้างความโลภ

 สร้างความอยาก ที่จะทำให้เกิดความทุกข์ใจ

 เพราะเวลาเราไปขอเงินใคร

แล้วเกิดเขาไม่ให้เรา

 เราก็จะเสียใจ หรือเราก็จะโกรธ

คนที่เราไปขอเงินได้

ดังนั้น ถ้าเราไม่มีให้ก็ไม่ต้อง

ให้ทำบุญอย่างอื่นได้

 หรือให้อย่างอื่นที่เรายังมีที่จะให้ได้

 สิ่งที่ยังมีที่เราจะให้ได้ก็มีอีกสองอย่าง ถ้าเรามี

อย่างที่ ๒ ที่เราให้ได้ก็คือ

ความรู้ที่เราได้เรียนรู้มา

เช่น ถ้าเรามีความรู้เรียนจบปริญญา

เราก็มีความรู้ในวิชาต่างๆ ภาษาอังกฤษ

วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์

ถ้าเราอยากจะทำทานเราก็ทำได้

โดยการให้ความรู้เหล่านี้

แก่นักเรียนที่ต้องการความรู้

 เช่น สอนพิเศษให้กับนักเรียน

ที่ต้องการเสริมความรู้

 เรียนที่โรงเรียนอาจจะไม่เข้าใจ

ก็อยากจะมาเรียนเพิ่มเติม ถ้าเรามีเวลาว่าง

เราก็สอนเด็กเหล่านี้ได้โดยที่ไม่คิดเงินทอง

ไม่คิดค่าใช้จ่าย ให้ความรู้ฟรีๆ

อันนี้เราเรียกว่าวิทยาทาน การให้ความรู้แก่ผู้อื่น

 ถ้าเราไม่มีเงินแต่เรามีความรู้และเรามีเวลาว่าง

เราก็จะสามารถทำทานได้

ทานชนิดนี้เรียกว่าวิทยาทาน

แล้วสิ่งที่เราจะให้ได้อีกอย่างหนึ่งก็คือ ธรรมะ

ถ้าเรามีธรรมะเช่นเราไปวัดบ่อยๆ

 เราได้รับหนังสือจากทางวัดไปอ่าน

 อ่านแล้วเราเห็นว่ามีคุณมีประโยชน์

 อ่านแล้วทำให้เรามีความสุขใจ

สามารถทำให้เราลดความทุกข์ใจ

ลดความกังวลใจต่างๆ ได้

 ถ้าเรามีคนที่เขาทุกข์ใจไม่สบายใจ

 เราจะแบ่งหนังสือธรรมะเหล่านี้ให้กับเขาไปก็ได้

 การให้หนังสือธรรมะแก่ผู้อื่นก็เป็นการให้ธรรมะ

 เรียกว่าธรรมทาน

 ก็เป็นการทำบุญทำทานอย่างหนึ่ง

 เพราะจะทำให้ผู้ที่เขาได้รับธรรมะนั้น

บรรเทาความทุกข์ใจ

ความเดือดเนื้อร้อนใจลงไปได้

หรือถ้าเราไม่มีหนังสือแต่เรามีความรู้

เพราะว่าเราได้ปฏิบัติตาม

คำสอนของพระพุทธเจ้า

 เราได้ทำบุญทำทาน เราได้รักษาศีล

เราได้ภาวนา แล้วเราเห็นผล

ที่เกิดจากการทำบุญทำทาน รักษาศีล ภาวนา

 ว่าทำให้ใจเรามีความสุขบรรเทาความทุกข์ใจได้

เราก็สามารถเอาไปสอน

ไปบอกพูดให้เขามีทุกข์ใจได้

 แต่การจะสอนต้องรอให้เขามาถามเราก่อน

มาขอความช่วยเหลือจากเราก่อน

 ถ้าเขาไม่มาขอก็ไม่ควรที่จะไปสอนเขา

 เพราะเขาอาจจะไม่ยินดีที่จะฟังก็ได้

ฉะนั้น การจะสอนธรรมะ

หรือการจะให้อะไรกับใคร

เราก็ต้องดูว่าผู้รับเขาพร้อม

ที่จะรับสิ่งที่เราให้เขาหรือไม่

 ถ้าเขาไม่พร้อมเขาไม่เอาเขาไม่ต้องการ

ก็อย่าให้เขาดีกว่า เพราะจะเสียของเปล่าๆ

 เช่นหนังสือธรรมะดีๆ ที่เราเห็นว่าดี

 แต่คนอื่นถ้าเขาไม่สนใจก็ไม่ต้องเอาไปให้เขา

 ไว้ให้เขาสนใจก่อนให้เขาถามถึงก่อน

แล้วเราก็ให้เขาจะดีกว่า

เพราะถ้าเราให้เขาตอนที่เขาไม่ยินดี

เขาก็อาจจะเอาไปวางไว้เฉยๆ

 เขาจะไม่เอาไปอ่านไปศึกษา

 เขาจะไม่ได้ประโยชน์อะไร

และการให้ของเราก็ไม่เป็นประโยชน์

ควรจะรู้จักให้ไม่ว่าจะให้อะไรก็ตาม

 ให้เงินให้ทอง ให้ข้าวให้ของ ให้วิชาความรู้

 ให้ธรรมะก็ต้องดูผู้รับว่า

 เขาสมควรที่จะรับอย่างไหน

 เขาควรจะรับมากรับน้อยอย่างไร

ถ้าให้โดยที่ไม่ได้ใช้เหตุใช้ผลนี้

ประโยชน์ก็อาจจะไม่เกิด

และแทนที่จะเกิดประโยชน์ก็อาจจะเกิดโทษได้

ดังนั้น การให้ก็ต้องใช้เหตุใช้ผล

ใช้ความรอบคอบ

 ใช้สติ ใช้ปัญญา ถึงจะเกิดประโยชน์

ถึงแม้ว่าการให้ของเรา

จะเกิดความสุขกับใจเราก็ตาม

 แต่ถ้าเรามารู้ที่หลังว่าเราให้เขาแล้ว

ไปเกิดเป็นโทษกับเขา

 เราก็อาจจะเกิดความเสียใจขึ้นมาได้

นี่คือเรื่องของทาน มี ๓ ชนิดด้วยกัน

 มีวัตถุทาน มีวิทยาทาน และมีธรรมทาน.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

...............................

ธรรมะบนเขา

วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

“สิ่งที่สำคัญที่สุด”







ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 30 มิถุนายน 2561
Last Update : 30 มิถุนายน 2561 5:52:59 น.
Counter : 683 Pageviews.

0 comment
<<< " อภัยทาน " >>>









“อภัยทาน”

มีทานอีกอย่างหนึ่ง อันนี้ไม่รู้ว่าเป็นทานหรือเปล่า

 แต่จะขอลองพูดดู ก็คือ อภัยทาน คือการให้อภัย

เวลาผู้ที่ใครเขามาทำให้เราเสียหาย

ทำให้เราเดือดร้อนทำให้เราเสียใจ

 แล้วเราให้อภัยเขาไม่ถือโทษโกรธเคืองเขา

 ความทุกข์ใจของเราก็จะหายไป

ความสบายใจก็จะกลับมา แต่ถ้าเราไม่ให้อภัย

 เรามีความโกรธเกลียดเคียดแค้น

อาฆาตพยาบาทขึ้นมา

เราก็อาจจะไปทำร้ายเขา เมื่อไปทำร้ายเขาแล้ว

ก็อาจจะเกิดเรื่องเกิดราวตามมา

 เราทำร้ายเขาเขาก็จะกลับมาทำร้ายเรา

 เราไปทุบตีเขาเขาก็จะมาทุบตีเรา

 เขามาทุบตีเราเราก็จะไปฆ่าเขา

 อย่างนี้ก็จะเกิดปัญหาตามมา

 เกิดความทุกข์เกิดความวุ่นวายใจตามมา

 แต่ถ้าเราให้อภัยได้

 ถือว่าเหตุการณ์มันก็ผ่านไปแล้วมันเกิดแล้ว

 เขาพูดหรือทำอะไรมันก็พูดไปแล้วทำไปแล้ว

 ความเสียหายก็เกิดขึ้นแล้ว

 ถ้าเรายุติไว้ตรงนั้นด้วยการให้อภัยเรื่องมันก็จบ

 แต่ถ้าเราไม่ยุติเดี๋ยวก็เป็นเรื่องบานปลายขึ้นมา

 แล้วใจเราจะไม่มีความสุข

ถ้าเราให้อภัยได้ใจเราก็จะสงบ ใจเราก็จะหายทุกข์

ใจเราก็จะสบาย อันนี้ก็เป็นการให้อีกอย่างหนึ่ง

 คือ การให้อภัย การให้อภัยไม่ถือโทษโกรธเคืองกัน

 อาจจะคิดว่าเป็นการใช้หนี้เก่าไปก็ได้

เราคงไปพูดหรือไปทำอะไรไม่ดีกับเขา

 เขาเลยต้องกลับมาพูดหรือมาทำอะไรไม่ดีกับเรา

 เมื่อเขามาทำก็ถือว่าเป็นการใช้หนี้กันไป

 ใช้กรรมกันไป อย่าไปก่อหนี้ก่อกรรมใหม่

ด้วยการไปพูดหรือไปทำอะไร

ที่ทำให้เขาไม่พอใจขึ้นมาอีก นี่ก็คือวิธีทำบุญ.

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

..............................

ธรรมะบนเขา

วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑

“สิ่งที่สำคัญที่สุด”







ขอบคุณที่มา fb. พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
ขอบคุณเจ้าของภาพค่ะ




Create Date : 30 มิถุนายน 2561
Last Update : 30 มิถุนายน 2561 5:28:47 น.
Counter : 502 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  37  

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ