Group Blog
All Blog
<<< "ขนมตาล" >>>








"ขนมตาล"


หลังจากเป็นคนสูงวัยและเริ่มมีเวลาว่างมากขึ้น 

 เธอจึงคิดทำโน่นทำนี่ตามที่ใจอยากจะทำ

โดยเฉพาะอาหารคาวหวานที่เธอชอบกิน

เมื่อก่อนเธอใช้เงินซื้อหามากินด้วยความสะดวกสบาย

  บางอย่างก็อร่อย บางอย่างก็งั้นๆ

  โดยเฉพาะขนมตาลนี้เธอชอบกินมากที่สุด

 เธอว่ามันหอมตาล เธอไม่เคยทำหรอกนะ

เคยแต่ซื้อกิน แต่ด้วยเธอว่างไง

 เมื่อมีโอกาสไปเยี่ยมลูกที่แปดริ้ว

   ตอนเช้าไปเดินลั้นลาที่ตลาดบ่อบัว

 ไปเจอลูกตาลสุก ชาวบ้านเก็บมาขาย

 สอบถามดูลูกละแค่ 15 บาท เท่านั้น ลูกใหญ่เชียวนะ

เธอจึงไม่รอช้าีจัดการซื้อมาลองทำทันที





จากนั้นก็เปิด Youtube หาวิธีทำขนมตาล

 ดูสักห้าหกตัวอย่าง แล้วก็สรุปได้ว่า

 การทำขนมตาลนั้นมันไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด

 แต่ทำไงได้ก็อยากลองทำนี่นา

  เลยลงมือทำโดยจัดการกับเจ้าลูกตาลก่อน 

 ล้างให้สะอาด แล้วปอกเปลือก

  ฉีกเนื้อนำมายีกับน้ำเอาเนื้อตาลออกให้หมด





เมื่อยีเสร็จแล้วก็จัดการนำตาลที่ยีแล้ว

ใส่ถุงผ้าขาวบางมัดปากถุงให้แน่นแล้วนำไปแขวน

เพื่อให้น้ำหยดออกให้หมด

ให้เหลือเแฉพาะเนื้อตาลเท่านั้น

  ก็ใช้เวลาคืนหนึ่งนั่นแหละ

  เฮ้อ... นึกถึงแม่ค้าขนมตาลแล้วน่าเห็นใจจริงๆ

ต่อไปจะไม่ทำแล้วจะซื้อกินดีกว่า

 มันไม่ยากแต่มันต้องใช้เวลา






เมื่อได้เนื้อตาลแล้ว ก็นำมาผสมกับแป้งข้าวเจ้า

  คลุกเคล้าให้เข้ากันในสัดส่วนแป้งกับเนื้อตาลเท่าๆกัน

  เมื่อแป้งกับเนื้อตาลเข้ากันดีแล้ว

ก็เริ่มเติมหัวกะทะทิละน้อย 

 พร้อมใส่น้ำตาลทรายลงไปด้วย 

 จัดการคลุกเคล้าให้เข้ากันและได้เนื้อแป้งที่เนียนนุ่ม

  จากนั้นก็ทิ้งไว้อีกครึ่งวันหลายๆชั่วโมงนั่นแหละ

แต่อย่าเอาเข้าตู้เย็นนะ

  แบบนี้ต้องการให้เกิดปฏิกริยายีสกำเนิด

 เพื่อให้ขึ้นฟูแน่นอน บางคนเขาก็ใช้ผงฟูนะ





เห็นความยุ่งยากในการทำหรือยัง ซื้อกินง่ายที่สุด

แต่ต้องเลือกซื้อเฉพาะร้านที่เขาทำขนมขายมานาน

จะได้กินขนมตาลที่อร่อยแน่

  สำหรับมะพร้าวทึนทึกที่ใช้ขูดโรยหน้านั้น

  เราไม่ได้ใช้หรอก

 เพราะเราซื้อมะพร้าวอ่อนจากแปดริ้ว

มากินประจำอยู่แล้ว

  คราวนี้ลูกชายซื้อให้ลูกใหญ่เนื้อมะพร้าวเลยหนา

  เราจึงนำมาขูดแล้วผสมกับเกลือนิดหน่อย

ใช้โรยหน้าก่อนนำไปนึ่ง





เราไม่ได้ซื้อใบตองมากลัดทำกะทงเพราะลืม

ตามประสาความแก่ไม่เคยปรานีใคร 

 เราเลยใช้ถ้วยขนมถ้วยนึ่งแทน ก็ใช้ได้นะ

 นึ่งยี่สิบนาที แต่ต้องให้น้ำเดือดพล่านนะ

   นึ่งเสร็จก็ได้ผลอย่างที่เห็นนี่แหละ






ผลที่ได้รับจากการลองทำครั้งแรก

  เนื้อตาลยังไม่ฟูมากมายเป็นที่น่าพอใจนัก

 รสชาติก็พอใช้ได้ ไม่ขี้เหร่

   แต่ที่แน่ๆไม่ทำแล้วเพราะใช้เวลามากเกิน

 ซื้อกินดีกว่า ใช้เวลาสองวัน

ได้ขนมตาลแค่ 16 ถ้วยเท่านั้นเอง






Create Date : 26 กรกฎาคม 2561
Last Update : 26 กรกฎาคม 2561 17:15:19 น.
Counter : 3198 Pageviews.

1 comment
### ข้าวแช่ชาววัง ###



ข้าวแช่ชาววัง


................








ข้าวแช่ชาววัง

 อาหารคลายร้อน วันสงกรานต์ ......

 ข้าวแช่ มีต้นกำเนิดมาจากชาวมอญ

ที่ถือเป็นอาหารสำคัญ ในประเพณีวันสงกรานต์

 โดยวันที่ 13 เมษายนของทุก ๆ ปี หรือวันมหาสงกรานต์

จะต้องจัดข้าวแช่ครบชุด ไปถวายพระ

 และถวายแด่เทพีสงกรานต์ เพื่อความเป็นสิริมงคล

 และเมื่อชาวมอญอพยพเข้ามา

 ประเพณีข้าวแช่ในวันสงกรานต์

จึงตามติดมายังประเทศไทยด้วย

ข้าวแช่ หรือข้าวสงกรานต์ ชาวมอญเรียกว่า “เปิงด้าจก์”

 แปลว่า “ข้าวน้ำ” เปิง หมายถึงข้าว และ ด้าจก์ หมายถึงน้ำ

 ข้าวแช่มอญ เข้ามาวังเพราะ

สตรีมอญที่ เป็นเจ้าจอมหม่อมห้ามของเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน

 ปรุงข้าวแช่ขึ้นถวายเป็นอาหารเสวย

จึงกลายมาเป็น “ข้าวแช่ชาววัง”

ข้าวแช่ตำรับชาววังที่มีชื่อมาก เป็นของ ม.ล.เนื่อง นิลรัตน์

ผู้เคยทำงานอยู่ในห้องเครื่องต้น สมัยรัชกาลที่ 5

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ซึ่งพระองค์ก็ทรงโปรดเมนูข้าวแช่เสวยมาก

แต่ในช่วงนั้นข้าวแช่ยังเป็นอาหารชาววัง

ที่ชาวบ้านยังไม่รู้จักกันนัก

ถือเป็นคนแรกๆ ที่ทำข้าวแช่ออกสู่ตลาด

 และทำให้ข้าวแช่ชาววัง มีชื่อเสียงโด่งดังจนถึงปัจจุบัน

“รำพันพิลาป” ของสุนทรภู่ รัตนกวีสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์

 ได้กล่าวถึง “ข้าวแช่”

“ฤดูร้อนก่อนเก่าทำข้าวแช่

น่าชมแต่เครื่องกับสำรับฉัน

ช่างทำเป็นดอกจอก และดอกจันทน์

งามจนชั้นกระชายทำเหมือนจำปา

มะม่วงดิบหยิบดูจึ่งรู้จัก

ช่างน่ารักทำเป็นเช่นมัจฉา”

ข้าวแช่ที่เราคุ้นเคยกันดี ก็คือ ข้าวแช่เสวย อาหารชาววัง

 จะเป็นข้าวแช่ที่กับข้าวหลายอย่างด้วยกัน

 มีกะปิทอด ที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ

ของกับข้าวแช่ชาววัง จะดูกันว่าข้าวแช่ของใคร

 ที่มีฝีมือ ต้องพิจารณากันที่ลูกกะปิทอดนี้เอง

ถัดมาก็มีพริกหยวกสอดไส้ ปลายี่สนผัดหวาน

 เนื้อเค็มฝอยผัดหวาน หัวหอมสอดไส้

 ผักกาดเค็มผัดหวาน ปลาแห้งผัดหวาน

หมูสับกับปลากุเลา กับข้าวเหล่านี้ ถือว่าเป็นเครื่องเคียง

ที่นิยมรับประทาน กับข้าวแช่

การทำข้าวแช่ สูตรชาววัง

ต้องเลือกสรรพันธุ์ข้าวสารที่ดีที่สุด

นำไปซาวล้างถึง 7 ครั้งให้สะอาดบริสุทธิ์

 จากนั้นจึงนำมาแช่ กับน้ำเย็นลอยดอกไม้ให้กลิ่นหอม

ใส่ไว้ในหม้อดิน แล้วค่อยตักมาใช้

 หรือไม่ก็จัดข้าวแช่ ใส่สำรับกระเบื้องเคลือบ

 วิธีนี้จะทำให้น้ำเย็นชื่นใจ

และเครื่องเคียงที่นิยมรับประทานแกล้มกับข้าวแช่

 คือผักสดแกะสลัก อย่างสวยงาม

ข้าวแช่ตำรับเมืองเพชรบุรี...... เป็นที่รู้จักกันอย่างมาก

 เนื่องมาจากการแปรพระราชฐาน

ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4

ที่ทรงเสด็จมาประทับ ที่พระราชวังพระนครคีรี (เขาวัง)

 ในครั้งนั้นมีเจ้าจอมมารดากลิ่น (ซ่อนกลิ่น)

เชื้อสายมอญทางเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี)

 ที่หลบหนีพม่า มาครั้งกรุงธนบุรี

ได้ติดตามพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ไปถวายราชการ

ข้าวแช่ของเจ้าจอมมารดากลิ่น ได้รับการถ่ายทอด

 ไปยังห้องเครื่อง บ่าวไพร่สนมกำนัลได้เรียนรู้

 และแพร่หลายไปยังสามัญชน ย่านเมืองเพชรบุรีในที่สุด

ข้าวแช่ชาววัง กับข้าวแช่เพชรบุรี มีความแตกต่างกัน

 ในเรื่องของความปราณีต และความสวยงาม

 ข้าวแช่เพชรบุรี มีเอกลักษณ์เฉพาะ

ที่จะมีแค่ 3 อย่าง ไชโป้ว ปลาหวาน และกะปิ

 โดยกะปิของเพชรบุรี จะต่างจากชาววัง

ตรงที่กะปิของเพชรบุรี จะมีความแข็ง กรอบเพราะใส่ถั่วลิสง

 และจะไม่มีผักแบบตำรับชาววัง

ซึ่งผักก็มีส่วนสำคัญ ทานกะปิก็ต้องมีกระชายกินแนม





















ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill - New
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ




Create Date : 10 เมษายน 2559
Last Update : 10 เมษายน 2559 12:12:50 น.
Counter : 3030 Pageviews.

0 comment
### แปะก๊วย ###






















แปะก๊วย

......

ชื่อสามัญ Ginkgo Biloba ถิ่นกำเนิดมาจากประเทศจีน

 จัดเป็นสมุนไพรที่ มีสรรพคุณหลากหลาย

 ชื่อตามความหมายแปลว่า "ลูกไม้สีเงิน"

ซึ่งดั้งเดิม ในภาษาจีนเรียกว่าต้น "หยาเจียว"

ซึ่งแปลว่า ตีนเป็ด จากลักษณะใบ

ต่อมามีการเรียกชื่อผลแทนว่าลูกไม้สีเงิน หรือ ลูกไม้สีขาว

 เนื่องจากผลจะมีสีเงิน และ สีขาว ภาษาญี่ปุ่นจะเรียกว่า อิโจว

 มีรากจากคำว่าตีนเป็ด หรือ คินนัน

ความหมายคล้ายกับ ภาษาจีนคือลูกไม้สีเงิน

 สำหรับในภาษาอังกฤษ ก็นิยมเรียกว่า กิงโกะ

 หรือ maidenhair tree หรือ ชาวฝรั่งเศส เรียกว่า

 ต้นสี่สิบมงกุฏทอง ชื่ออื่น ต้นไม้แห่งความหวัง

 แพนด้าแห่งอาณาจักรพืช ต้นไม้อิสรภาพ

"แปะก๊วย" คนส่วนใหญ่ จะนึกถึงเม็ดสีเหลือง ในบะจ่าง

 แปะก๊วยนมสด แปะก๊วยต้มน้ำตาล

 แต่ใบแปะก๊วย" มีประโยชน์มากกว่าผล

"ใบแปะก๊วย" มีลักษณะเป็นใบสีเขียวแยกเป็น 2 กลีบ

 คล้ายใบพัด มีลักษณะพิเศษ คือจะผลัดใบ ไม่พร้อมกันทุกต้น

แต่เมื่อผลัดใบแล้ว ใบจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง

 ร่วงจากต้นภายในไม่กี่วัน

ถูกนำไปใช้ประโยชน์ ทางการแพทย์ครั้งแรก ตั้งแต่ปี ค.ศ.1436

 เกือบ 600 ปีที่แล้ว ในสมัยราชวงศ์หมิง

ปัจจุบัน ใบแปะก๊วย เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย

 ทั้งในเอเชีย ยุโรป หรือสหรัฐ เพราะเชื่อกันว่าเป็นยาอายุวัฒนะ

ใบแปะก๊วย เมื่อนำไปสกัด ด้วยตัวทำละลาย

 จะได้สารสกัด Bioflavonoids มีฤทธิ์้ต้านการเกิดอนุมูลอิสระ

 ซึ่งทำให้เกิดโรคมะเร็งได้

และยังมีสรรพคุณช่วยป้องกัน การเกิดโรคเบาหวานขึ้นตา

ป้องกันการเกิดแผลเรื้อรัง ในผู้ป่วยเบาหวาน

 ส่วนผู้ป่วยโรคหอบหืด หากรับประทาน "ใบแปะก๊วย"

ก็สามารถป้องกัน การหดตัวของกล้ามเนื้อ หลอดลมได้

 หรือ อาการปวดขา การทาน "ใบแปะก๊วย"

ก็ยังช่วยเพิ่มการไหลเวียน ของเลือดไปยังประสาทมือและเท้า

 ลดอาการปวดต่าง ๆ ได้เช่นกัน

ใบแปะก๊วย ยังสามารถช่วยป้องกัน อาการผิดปกติของการหายใจ

Asthma & Acute Mountain Sickness : AMS ได้

แต่ แป๊ะก๊วยแคปซูน จัดว่าเป็นยาอันตราย

มีขายในเฉพาะ ร้านขายยาแผนปัจจุบันเท่านั้น

 บางประเทศ ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ ถึงจะซื้อมารับประทานได้

ห้ามรับประทานสารสกัดจากใบแปะก๊วยร่วมกับยาแอสไพรินเด็ดขาด

 หรือสารป้องกันการเกิดลิ่มเลือดต่าง ๆ

เพราะอาจทำให้มีเลือดออกที่ตาขาวได้

และสำหรับหญิงตั้งครรภ์ หรือผู้ป่วย

ที่เป็นโรคความดันต่ำ หรือสูงกว่าปกติ ก็ไม่ควรทาน






















ขอบคุณที่มา fb. Siriwan Jane
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ




Create Date : 20 กันยายน 2558
Last Update : 20 กันยายน 2558 15:45:25 น.
Counter : 4210 Pageviews.

0 comment
### สาเก ###























สาเก

.....

ชื่อสามัญ Breadfruit, Bread nut Tree

สาเกพันธุ์ทั่วไปที่ไม่มีเมล็ด

ส่วนสายพันธุ์ที่มีเมล็ด จะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า

 “ขนุนสำปะลอ”

ต้นสาเก มีสายพันธุ์มากกว่า 120 สายพันธุ์

มีการเพาะปลูก กันมานานมากกว่า 3,000 ปีแล้ว

ในเกาะมาวีและเกาะกาวาย คือแหล่งสะสม

ต้นสาเกสายพันธุ์ต่างๆ ไว้หลายสายพันธุ์

โดยปลูกเอาไว้ให้ชม กันมากที่สุดในโลก

สาเกเป็นไม้ผลที่ออกลูกดก ในหนึ่งฤดู

ต้นสาเกอาจออกผลราว 200 ผล

สายพันธุ์ที่ปลูกในบ้านเรานั้น จะแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก

 สาเกพันธุ์ข้าวเหนียว ให้ผลใหญ่ ผลสุกเนื้อเหนียว

 นิยมปลูกทั่วไป หรือปลูกไว้ทำขนมสาเก ,

 และสาเกพันธุ์ข้าวเจ้า ให้ผลเล็กกว่า เนื้อหยาบร่วน

 ไม่เป็นที่นิยมปลูก และไม่ค่อยนำมารับประทานมากนัก


สาเกมีคาร์โบไฮเดรต เป็นองค์ประกอบสูง

สามารถให้พลังงาน แก่ร่างกายได้ เมื่อนำมาอบจึงมีกลิ่น

 คล้ายขนมปังอบใหม่ เป็นที่มาของชื่อ “Breadfruit”

มีโปรตีนช่วยซ่อมแซม ส่วนที่สึกหรอของร่างกาย

 มีเส้นใยอาหาร ซึ่งดีต่อระบบขับถ่าย

รวมถึงมีวิตามินซี ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

 และยังช่วยกระตุ้น ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

 โดยการเสริมสร้างการทำงาน ของเซลล์เม็ดเลือดขาว

 นอกจากนี้สาเก ยังมีสารอาหารที่ดีอย่างแคลเซียม

โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส และแมกนีเซียมอีกด้วย

คนไทยมักนำสาเก มาเชื่อมแล้วราดน้ำกะทิ กินเป็นขนมหวาน

 การทำสาเกเชื่อมให้อร่อย ต้องเริ่มจาก เลือกผลสาเก

ที่ไม่อ่อนไม่แก่ จนเกินไป เมื่อปอกเปลือก

 และเอาแกนกลางออกแล้ว ให้แช่ ในน้ำปูนใสก่อน

 เพื่อไม่ให้เนื้อเละ หรือเมื่อปอกเปลือกแล้ว

อาจบีบน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อย

 เพื่อไม่ให้เนื้อสาเกเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ

นอกจากนี้จะทำแกงบวด หรือหั่นบาง ๆ แล้วทอดกรอบ

 เพื่อเป็นขนมขบเคี้ยวก็ได้

ส่วนความเชื่อแต่โบราณว่า สาเกเป็นของแสลง

สำหรับคนเป็นกามโรค หรืออาจทำให้อาการของโรคแย่ลงนั้น

ยังไม่มีการศึกษายืนยันไว้ อย่างชัดเจน

สรรพคุณ ผล ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ

ช่วยควบคุมอัตราการเต้น ของหัวใจ และความดันโลหิต

ช่วยป้องกันโรคความจำเสื่อม หรืออัลไซเมอร์

 ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน

กระดูกผุในหญิงวัยหมดประจำเดือน


มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่โพลีนีเซีย

และเป็นผลไม้พื้นเมือง ของหมู่เกาะในมหาสมุทรอินเดียตอ.

 และมหาสมุทรแปซิฟิกตอ.

และต่อมาได้แพร่หลาย ไปยังหมู่เกาะอินดีสตะวันตก

 ซึ่งปลูกอย่างแพร่หลายในภูมิภาคเขตร้อน

จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 10-20 เมตร

 ลำต้นสีน้ำตาลปนเทา ทุกส่วนของสาเก จะมียางขาวๆ

ลักษณะของผลกลมรี ผลมีสีเขียวอมเหลือง

 ลูกคล้ายขนุน แต่จะลูกเล็กกว่า มีความกว้าง

ประมาณ 15-20 เซนติเมตร

 ส่วนเนื้อในเป็นสีเหลืองซีดหรือขาวและไม่มีเมล็ด

ผล รสหอมหวาน เนื้อสาเก อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต

 ให้พลังงานสูง นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม วิตามินเอ

 และวิตามินบี มีสรรพคุณป้องกันการเกิดโรคหัวใจ

 ความจำเสื่อม และโรคกระดูกผุ

ในผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน

 สาเกได้นำมาผลิตแปรรูป นำสารสกัดมาเป็นส่วนผสม

ของครีมบำรุงผิว เครื่องสำอางค์

ส่วนของดอกใช้ทำเป็นยาไล่ยุง

















ขอบคุณที่มา fb, Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าขอบภาพทุกภาพ




Create Date : 04 มิถุนายน 2558
Last Update : 4 มิถุนายน 2558 11:37:29 น.
Counter : 3601 Pageviews.

0 comment
### ขนมมัศกอด ###


















ขนมมัศกอด

........

ขนมไทยที่มีมาตั้งแต่โบราณ ลักษณะมีสีเหลืองนวล หอม
๏ มัศกอดกอดอย่างไร น่าสงสัยใคร่ขอถาม
กอดเคล้นจะเห็นความ ขนมนามนี้ยังแคลง
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พระราชนิพนธ์กาพย์เห่เรือชมเครื่องคาวหวาน


"มัศกอด" คือ "ฮะหรั่ว" ชนิดหนึ่ง

 โดยขนมกวนทุกชนิดของชาวเปอร์เชีย

คล้าย ๆ กับ jam ของฝรั่ง ต้นตำรับของขนม "อาลัว"

ฮะหรั่วทำจากแป้งข้าวเจ้า ที่ได้จากการนำข้าวสาร ไปแช่ น้ำ

 ที่เจือผสมเวลาโม่ ใช้น้ำอบดอกมะลิ ดอกกระดังงา

และควันจากเทียนอบ เมื่อได้น้ำแป้งแล้ว นำมากวนกับกะทิ

 และน้ำตาล ในกระทะทองเหลือง ถ้าใช้น้ำตาลทรายขาวผสม

 ก็จะต้องใช้กะทิคั้น จากมะพร้าวขาว ที่ปอกผิวแล้ว

 เรียกว่า "ฮะหรั่วขาว" แต่ถ้าใช้น้ำตาลปึกกวนจะใช้กะทิจากมะพร้าว

 ที่ไม่ได้ปอกผิว สีสันที่ได้จะออกไป ทางสีน้ำตาล

 เรียกว่า "ฮะหรั่วแดง" เวลาทำบุญ ต้องทำ ทั้งสองชนิดคู่กัน

ฮะหรั่วทั้งสองแบบ บางทีก็เรียกรวมว่า "ฮะหรั่วกะทิ"

 เวลากวนจะใช้ไฟไม่แรงมาก ไม่เช่นนั้นขนมจะติดกระทะและไหม้

กวนจนข้นขึ้นมันเงา แป้งกับกะทิจับตัวเป็นลูก

 เทลงถาดขณะร้อน ๆ พอขนมเย็นตัว จะนุ่มตึงมือ

ตัดเป็นชิ้นพอคำ รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน

ฮะหรั่วกะทิไม่หวานแหลม แต่เน้นให้มีกลิ่นหอมนำ หวานตาม

ที่สำคัญขนมจะต้องนุ่ม

ฮะหรั่วอีกประเภทหนึ่ง ที่เวลากวน ใช้น้ำมันเนยแทนกะทิ

กวนค่อนข้างยาก เมื่อจวนสุกจะใส่ "มะด่ำ"* หรือเมล็ดอัลมอนด์บุบ

 ปนไปในเนื้อขนมด้วย รสชาติจะหอมเนยเป็นพิเศษ

 เรียกฮะหรั่วชนิดนี้ว่า "ฮะหรั่วเนย" หรือ "ฮะหรั่วมัศกอด"

บางคนเรียกว่า "ฮะหรั่วมัสกัด"

ชื่อ มัศกอด นั้น มาจากชื่อเมือง มัสกัต (Muscat)

เมืองท่าบริเวณปากอ่าวโอมาน ในอดีต

 หากจะเดินทางจากประเทศเปอร์เชีย (อิหร่านในปัจจุบัน)

 จะต้องเดินทางโดยทางเรือ ผ่านอ่าวเปอร์เชียออกอ่าวโอมาน

จอดเรือพักที่เมืองมัสกัต แล้วจึงออกสู่มหาสมุทรอินเดีย

ขนมนี้ไม่ว่าจะชื่ออะไรก็ตาม เสน่ห์ของมันอยู่ที่เวลากิน

จะต้องห่อด้วยแผ่นลุดตี่ ซึ่งยังเล่าค้างอยู่อีกชนิดหนึ่ง

ที่ต้องกินควบกับฮะหรั่ว

"ลุดตี่" ที่ว่านี้ทำจากแป้งข้าวเจ้าเช่นกัน

โดยนำน้ำแป้งมาเกรอะ หรือทับน้ำออกให้เหลือเฉพาะเนื้อแป้ง

นำมานวดจนเป็นเนื้อเดียวกัน

 นำก้อนแป้งนี้ไปต้มในน้ำเดือดพอสุก

 จากนั้นนำมานวดอีกครั้ง จนเนื้อแป้งเนียนนุ่ม

แบ่งแป้งออกเป็นก้อนกลม ๆ ขนาดพอเหมาะ

แล้วบดด้วยไม้บดแป้ง ที่ทำจากปล้องไม้ไผ่สั้น ๆ

 แผ่เป็นแผ่นกลม สมัยปู่ย่าตายาย

จะแผ่แป้งบนก้นขันลงหินที่คว่ำอยู่ รองแป้งด้วยใบตอง

 คลึงแผ่แป้งจนได้ขนาดเท่ากับก้นขันลงหิน

 แล้วจึงนำไปปิ้ง บนกระทะร้อนจนสุกเสมอกัน

เราเรียกแผ่นแป้งชนิดนี้ว่า "ลุดตี่"

นำมาห่อฮะหรั่ว ก็จะได้ขนมที่รสกลมกล่อมไม่หวานเกินไป

๏ ลุดตี่นี้น่าชม แผ่แผ่นกลมเพียงแผ่นแผง
โอชาหน้าไก่แกง แคลงของแขกแปลกกลิ่นอาย




















ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพ




Create Date : 03 มิถุนายน 2558
Last Update : 3 มิถุนายน 2558 19:42:17 น.
Counter : 5194 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ