Group Blog
All Blog
### ตำนานรักขนมโมจิ ###





















ตำนานรักขนมโมจิ

..............

ระหว่างหนุ่มแดนอาทิตย์อุทัย กับสาวไทย

 ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

โปรดเกล้าฯ ให้ข้าราชบริพารคนสนิท

ไปสืบหาขนมโมจิต้นตำรับชาวไทย มาให้เสวย

บรรดาทหารก็นำขนมโมจิ จากที่ต่าง ๆ มาถวาย

 แต่ก็ไม่ถูกพระทัย ไม่ใช่ขนมโมจิสูตรที่ตามหาอยู่

เรื่องมีอยู่ว่า ขนม Wagashi หรือขนมโมจิ

สูตรสงครามโลกครั้งที่ 2

กองทัพประเทศญี่ปุ่น มาตั้งฐานทัพใน จังหวัดนครนายก

 ซึ่งชาวบ้านในบริเวณตำบลศรีกะอาง ตำบลพิกุลออก

อำเภอบ้านนา และตำบลพรหมณี ตำบลเขาพระ

 อำเภอเมืองนครนายกได้นำสินค้าต่างๆมาค้าขายกับทหารญี่ปุ่น

 ที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าว ปัจจุบันคือพื้นที่ของ

โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าและบริเวณใกล้เคียง

 สินค้าที่ชาวบ้านนำมาจำหน่าย ส่วนใหญ่

จะเป็นสินค้า ประเภทผัก ผลไม้ และขนม


นางพันนา ซึ่งเป็นหญิงสาวชาวบ้านมีอายุประมาณ 18 ปี

ได้ทำขนมพื้นบ้าน เช่นไข่เหี้ย กล้วยทอด ซาลาเปาทอดขาย

จนได้รู้จัก กับทหารหนุ่ม ชาวญี่ปุ่นชื่อซาโต้

ได้สอนให้ทำขนมโมจิ ลักษณะของ ขนมโมจิที่ซาโต้สอน

เป็นขนมที่ทำจากแป้งข้าวเหนียว มีใส้เป็นถั่วแดงกวน

นำมาห่อหุ้ม แล้วนำไปต้มจนสุก

 หลังจากนั้นนำมาคลุก ด้วยแป้งเพื่อป้องกันไม่ให้ขนมติดกัน

รสชาดจะออกหวานนำนิดหน่อย

สาวชาวบ้านก็ทำขนมโมจิ ให้ทหารหนุ่มชิม

ซาโต้ ประทับใจมากและบอกว่า เป็นขนมโมจิที่อร่อยที่สุด

เท่าที่เคยทานมาเลยทีเดียว

 อีกทั้งยังบอกกับสาวพันนาว่า

ให้ถือว่าขนมโมจิ เป็นตัวแทนของเขา

ถ้าคิดถึงเมื่อใด ให้ทำขนมโมจิทานเพื่อระลึกถึงได้เสมอ

หลังจากนั้นไม่นาน กองทัพญี่ปุ่นก็ย้ายฐานทัพ ไปอยู่ที่อื่น

 ปล่อยให้สาวน้อยพันนา ทำขนมโมจิเฝ้ารอคนรัก

เนิ่นนานเข้าก็ยังไร้วี่แวว ของซาโต้

พันนาก็เลยทำขนมโมจิขาย ให้ชาวบ้านกินกัน

แต่แล้ววันหนึ่ง มีทหารไทยมาสั่งห้ามขาย ห้ามทำ

 และห้ามกินขนมโมจิ อีกต่อไป เพราะเป็นขนมญี่ปุ่น

จึงถือว่าเป็นขนมกบฏต่อชาติ

นับจากวันนั้น ขนมโมจิก็ค่อย ๆ

 เลือนหายไปจากความทรงจำ

จนปี 2547 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

ทรงทราบประวัติเรื่องขนมโมจิ จึงให้ทหารคนสนิทไปสืบหา

 ตำนานรักขนมโมจิ จนได้ทราบจากนายมานพ ศรีอร่าม

 ข้าราชการพัฒนาชุมชนว่า

สาวน้อยพันนา เป็นมารดาซึ่งมีอายุมากแล้วแต่ความทรงจำยังดี

 สามารถเล่าเรื่องราว ในอดีตได้เป็นอย่างดี

 พร้อมได้สอนให้บุตร และบุตรสะใภ้

ทำขนมโมจิ ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

ปัจจุบันคุณยายพันนาได้จากไปแล้ว

โดยได้รับพระราชทานเพลิงศพ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

ขนมโมจิสูตรสงครามโลกครั้งที่ 2

จะมีความแตกต่างจาก ขนมโมจิไทย

เป็นขนมหวานญี่ปุ่นเรียกรวมกันว่า Wagashi

มีมานานตั้งแต่สมัยนะระ หรือประมาณ 1,300 ปีมาแล้ว

 แต่เฟื่องฟูสุดๆในช่วงเอโดะ ปี ค.ศ. 1603-1867

โดยเฉพาะในเมืองเกียวโต

และแต่ละร้านแข่งกันขายแข่งกันคิดขนมใหม่ๆ

 จนกลายเป็นต้นตำรับของขนมญี่ปุ่น

ถึงจะได้ชื่อว่าเป็นขนมหวานประจำชาติ

แต่ชาวญี่ปุ่น ก็ไม่ได้ทาน Wagashi กันบ่อย

 เพราะนิยมทานผลไม้ กันมากกว่า

ส่วนวากาชินี้จะทานเป็นของว่าง และในโอกาสพิเศษ

เมื่อมีพิธีการต่างๆเช่น พิธีแต่งงาน หรือพิธีชงชา

แรงบันดาลใจของพ่อครัวแม่ครัว

ในการสร้างสรรค์ขนม Wagashi นั้นก็ได้มาจากธรรมชาติ

 ต้นไม้ ดอกไม้ การเปลี่ยนแปลง ของฤดูกาล

 เช่น ฤดูใบไม้ร่วงจะทำ ขนมคิคุโกะโระโมะรูปดอกเบญจมาศ

ส่วนฤดูหนาวก็ทำยูคิโมจิ หรือโมจิหิมะ


























ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ




Create Date : 02 พฤษภาคม 2558
Last Update : 2 พฤษภาคม 2558 10:59:17 น.
Counter : 2073 Pageviews.

0 comment
### ขนมกลอย ###

















กลอย

......




 กลอยเป็นพืชที่มีหัวอยู่ใต้ดิน เช่นเดียวกับเผือก

 ต้องรู้วิธีปรุงที่ถูกวิธีด้วย

 กลอยจัดเป็นพืช จำพวกคาร์โบไฮเดรท

คนในชนบทหรือชาวป่าชาวเขา

มักขุดหัวกลอย มาต้มกิน หรือหุงรวมกับข้าว

 ส่วนคนเมืองนิยม นำไปปรุงเป็นของหวานหลากหลายชนิด

 เช่น กลอยคลุกน้ำตาล กับมะพร้าว

กลอยนึ่งปนกับข้าวเหนียวมูน ข้าวเหนียวกลอยหน้าสังขยา

 หรือโรยน้ำตาลปนเกลือและงา

เป็นส่วนผสมของ แป้งชุบกล้วยแขก

 กลอยแผ่น ข้าวเกรียบกลอย แกงบวดกลอย

 และที่ขาดกลอย เป็นส่วนผสมเสียมิได้เลยคือถั่วทอด

ขนมขึ้นชื่อของจังหวัดสุโขทัย


หัวกลอยนั้นมีสารพิษที่เรียกว่า Dioscorine

 พิษชนิดนี้มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง

ซึ่งมีผลต่อการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5

 คือ ตา หู จมูก ลิ้น การสัมผัสทางกาย

 ดังนั้น คนที่รับประทานกลอย ที่มีสารพิษเข้าไป

จึงมักมีอาการคันที่ปาก ลิ้น คอ คลื่นไส้ อาเจียน

 และเมื่อประสาทส่วนกลางบีบหัวใจ

จะทำให้เกิดอาการมึนเมา วิงเวียน ใจสั่น ตาพร่า อึดอัด

 และเป็นลมได้ในที่สุด

ผู้ที่ได้รับพิษจะมีอาการรุนแรง ไม่เท่ากัน

ขึ้นอยู่กับปริมาณสารพิษ และความต้านทานของแต่ละคน

การกำจัดพิษออกจากหัวกลอย วิธีการทั่วไป คือ

ปอกเปลือกหัวกลอยให้สะอาด หั่นเป็นแว่น

 แต่ละแว่นหนาประมาณ 1 – 1.5 ซม.

ให้นำชิ้นกลอยที่หั่นแล้ว ลงไปในภาชนะหนาประมาณ 10 ซม.

 โรยเกลือให้ทั่ว ทิ้งไว้ 1-2 ซม.

แล้วใส่ชิ้นกลอยลงไป ทำสลับกับเกลือ

 จนกว่าจะหมดทิ้งไว้ค้างคืน

 วันรุ่งขึ้นให้นำกลอย ที่หมักออกมาล้างน้ำจนสะอาด

จากนั้นใส่ชิ้นกลอย ที่ล้างแล้ว

ลงไปในถุงผ้าดิบหรือผ้าขาวบาง นำของหนักทับไว้

เพื่อไล่น้ำเบื่อเมาของกลอย ออกให้หมด

ต่อไปให้นำชิ้นกลอย จากถุงผ้าเทกลับลงไป ในภาชนะเดิม

แล้วใส่น้ำให้ท่วมเนื้อกลอย ทิ้งไว้ค้างคืน

รุ่งเช้าจึงนำชิ้นกลอย มาล้างให้สะอาด

และทำซ้ำเช่นเดิม ประมาณ 5- 7 วัน

จึงจะปลอดภัยจากสารพิษ

และนำมาบริโภค หรือปรุงอาหารได้

หรือจะผึ่งแดดให้แห้ง เก็บตุนไว้

เมื่อจะบริโภค จึงนำชิ้นกลอยมาแช่น้ำ

สมัยก่อนชาวบ้านนิยมนำกลอย ไปแช่ในลำธารประมาณ3 – 4 คืน

 และในระหว่างแช่ไว้ ต้องหมั่นคนกลอย ที่แช่เอาไว้

จนกว่ากลอย จะรสชาติจืด จึงนำไปนึ่งหรือปรุงอาหาร

กลอยแบ่งตามลักษณะของลำต้นและ ตามสีในเนื้อหัวกลอยคือ

 กลอยข้าวเจ้า ลักษณะของเถาและก้านใบสีเขียว

 ส่วนกลอยข้าวเหนียว เถาเป็นสีน้ำตาลอมดำ

เมื่อนำหัวกลอยมาปอกเปลือก และหั่นเป็นแว่นบาง ๆ

 กลอยข้าวเจ้ามีเนื้อสีขาวนวลและเนื้อหยาบกว่ากลอยข้าวเหนียว

ซึ่งมีสีเหลืองอ่อนถึงเหลืองเข้ม เนื้อเหนียว

และรสชาติดีกว่ากลอยข้าวเจ้า

ดังนั้นคนจึงนิยมรับประทานกลอยข้าวเหนียวมากกว่า

 กลอยทั้งสองมีพิษ พอๆกันใช้เป็นยาฆ่าแมลง

กลอยจะมีพิษมาก ในช่วงที่กลอยออกดอก

 คือช่วงหน้าฝนประมาณเดือนสิงหาคม – ตุลาคม

 และจะลดลงเมื่อกลอย เริ่มลงหัวในช่วงฤดูร้อน

ประมาณเดือนเมษายน"




























ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพ




Create Date : 01 พฤษภาคม 2558
Last Update : 1 พฤษภาคม 2558 10:25:54 น.
Counter : 14661 Pageviews.

0 comment
### ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว ###

















·

.


ข้าวเหนียวแดง ข้าวเหนียวแก้ว

..................

 ขนมไทยประจำวันสงกรานต์

เป็นขนมไทยที่ต้องใช้วิธีการกวน ต้องออกแรงมาก

ชาวบ้านจึงอาศัย วันรวมญาติ อย่างวันสงกรานต์

เมื่อทำเสร็จแล้วก็จะนำไปทำบุญกัน ในวันสงกรานต์

จึงเปรียบเสมือนเป็นตัวแทน ของความสามัคคีในครอบครัว

เอกลักษณ์ของ "ข้าวเหนียวแดง "

รสชาดหวานหอม มีสีสันที่สวยงาม

และด้วยรสสัมผัส ที่กรุบกรอบเล็กน้อย ของตัวข้าวเหนียว

อีกทั้งกลิ่นหอมของน้ำตาลไหม้

ถ้าน้ำตาลปี๊บก็จะหอมอร่อยมากหน่อย

ปกติข้าวเหนียวแดง จะใช้กะทิเป็นส่วนผสมด้วย

การนึ่งข้าว ไม่ควรนึ่งนานจนทำให้เม็ดข้าวบาน

 เพราะจะทำให้ข้าวเหนียวแดงแฉะ

ข้าวเหนียวแดงที่อร่อย เมล็ดข้าวต้องไม่แข็ง

ซึ่งขึ้นอยู่กับขั้นตอน การเคี่ยวน้ำตาล

และการใส่ข้าวเหนียวลงไปกวน

หากกวนนานจนแห้งน้ำตาลจะรัดตัว

ทำให้ข้าวเหนียวแข็งได้


"ข้าวเหนียวแก้ว " ที่ทำมาจากข้าวเหนียว

กวนหรือผัดกับกะทิ ที่เคี่ยวกับน้ำตาลทราย

ลักษณะตัวข้าวเหนียว จะยังเป็นเม็ดเรียวสวยขึ้นเงา

 ไม่นุ่มจนเกินไป มีรสหวานมัน หอมใบเตย

ข้าวเหนียวแก้ว มีสีต่างๆ เป็นสีจากธรรมชาติ

เช่น ใบเตย ดอกอัญชัน มักนิยมทำ

ช่วงเทศกาลงานบุญต่างๆ เช่น งานแต่งงาน

ประเพณีปอยหลู่ข้าวหย่ากู๊

หรือ การทำบุญข้าวเหนียวแดง

























ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ




Create Date : 27 เมษายน 2558
Last Update : 27 เมษายน 2558 11:01:43 น.
Counter : 9854 Pageviews.

0 comment
### กรอบเค็ม ครองแครงกรอบ ###













กรอบเค็ม ครองแครงกรอบ

.................

ขนมไทยโบราณ ที่มีลักษณะเป็นแบบแห้ง

 โดยการเอาไปทอดจนกรอบ

" ขนมครองแครงกรอบ"

ที่นิยมทำในปัจจุบันมี 2 ชนิดคือ

ที่มีลักษณะ เป็นแผ่นพื้นผิวเป็นซี่ๆ

เป็นเกรียวคล้ายก้นหอย

ในสมัยก่อนจะใช้กาบหอยแครง เป็นตัวพิมพ์กดทับแป้ง

ให้เป็นรอยเส้นตามรูปของเปลือกหอย

แต่ปัจจุบันใช้แม่พิมพ์ที่เป็นไม้เจาะเป็นร่องๆ

 หรือเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมบางเคลือบน้ำตาลเหนียวข้น

 ส่วนผสมหลักๆ แล้วจะมีเหมือนกัน

 แล้วนำไปทอดในน้ำมันร้อนๆ แล้วทิ้งไว้ให้กรอบ

 แล้วนำไปฉาบด้วยนํ้าตาล

ที่ผสมกระเทียม รากผักชี พริกไทยและเกลือ

ที่เคี่ยวจนเหนียวข้น

รสชาดของขนมครองแครงกรอบ จะพิเศษกว่าขนมไทยอื่นๆ

 เพราะมีรสเผ็ดเล็กน้อยจาก พริกไทย

 และมีกลิ่นหอมของกระเทียม กับรากผักชี อีกด้วย


"กรอบเค็ม" จะแตกต่างจาก "ครองแครง"

 ครองแครงจะขึ้นรูปเป็นเปลือกหอยม้วน ๆ

 ส่วนกรอบเค็มใช้่วิธีตัดแป้งเป็นทรงสี่เหลี่ยม

 ทำขอบแป้งให้เป็นหยัก เป็นริ้ว

ส่วนผสมทุกอย่างเหมือนกัน

กรอบเค็มสมัยก่อนนั้น

ของดั้งเดิมนั้นเนื้อขนม จะกรอบแต่นุ่มอยู่ในที

ร่วนเล็กน้อย ไม่แข็งกระด้าง























ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพ




Create Date : 24 เมษายน 2558
Last Update : 24 เมษายน 2558 10:03:57 น.
Counter : 7839 Pageviews.

0 comment
### ขนมอินทนิลอัญชัน ###












 

ขนมอินทนิลอัญชัน

...........



ส่วนประกอบ

น้ำกะทิ 1 ถ้วย
น้ำตาลทราย 1/4 ถ้วย
เทียนอบขนม 1 อัน
แป้งมันสำปะหลัง 1 ถ้วย
น้ำดอกอัญชัน 4 ถ้วย

วิธีทำ

1. นำน้ำกะทิผสมน้ำตาลทราย คนให้เข้ากัน

2. อบควันเทียน 4 ครั้ง แล้วพักว้

3. นำแป้งมันสำปะหลัง ผสมน้ำดอกอัญชันเอาไปตั้งไฟ

 คนจนกว่าแป้งจะสุก

4. ตักแป้งเป็นชิ้นเล็กๆ หล่อในน้ำเย็น

นำส่วนกะทิและตัวแป้งผสมกัน เติมน้ำแข็งเล็กน้อย

รับประทาน คลายร้อนได้

ขอบคุณที่มา fb.#สมุนไพรอภัยภูเบศร









Create Date : 22 เมษายน 2558
Last Update : 22 เมษายน 2558 14:33:14 น.
Counter : 4883 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ