Group Blog
All Blog
### กล้วยแขกหรือกล้วยทอด ###

10686859_611369022330670_5563478059699791332_n

กล้วยแขก หรือกล้วยทอด

…..

มีมานานตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยา

คำว่าแขก มีความหมายว่า

แปลก หรือไม่คุ้น หรือผู้ที่เยือน

กล้วยทอด หรือกล้วยแขก ประวัติและที่มา

ของกล้วยแขกทอด ไม่ทราบแน่ชัด

แต่กล้วยแขกน่าจะเป็นอาหาร

ที่มาจากวัฒนธรรมการปรุงอาหาร

ของชาวอินเดีย ซึ่งจะใช้การทอด

แตกต่างกับวัฒนธรรมการปรุงอาหารของไทย

ซึ่งใช้ต้ม ปิ้ง ย่าง เป็นหลัก

บ้างก็ว่าเป็นขนมที่ชาวโปตุเกส นำเข้ามา

ที่มาน่าจะคล้าย “ปีซัง โกเร็ง”

กล้วยทอดในมลายู ที่มีประวัติว่า

ชาวโปรตุเกสนำเผยแพร่

โดยนำกล้วยมาชุบแป้งทอด เพื่อเป็นอาหารเช้า

เดิมที เป็นอาหารแก้หิวของคนจน

แต่ปัจจุบัน “ปีซัง โกเร็ง” ถูกปรับภาพ

ให้เหมาะกับคนรวยด้วย

“กล้วยแขก” เพราะเป็นของว่างกินเล่น

คู่กับคนไทยมาช้านาน อร่อยและภูมิใจว่า

เป็นอาหารของคนไทย ชนิดหนึ่ง ซึ่งปรุงโดย

การนำกล้วยมาตัดเป็นแผ่นหรือหั่นคริ่ง

แล้วมาชุบน้ำแป้งซึ่งมีส่วนผสมของ

แป้งข้าวเจ้า มะพร้าวขูด, งา

ซึ่งนิยมนำมาคั่วก่อน เพื่อเพิ่มความหอม

น้ำตาล และกะทิ แล้วจึงนำไปทอด

ในกระทะที่มีน้ำมันร้อน

กล้วยแขก มีทีเด็ดความอร่อย

ของกล้วยทอดที่เหลือง

กรอบนอกนุ่มใน เคี้ยวกรุบกรับ

กล้วยน้ำว้าไม่สุกหรือดิบเกินไป

ฝานไม่บางหรือหนาเกินไป

นอกจาก กล้วยทอด มีการพลิกแพลง

นำ เผือก และมันมาทอด

แต่ไม่เรียกคำลงท้ายว่าแขก

10924767_611369062330666_6632846923051103223_n

ขอบคุณที่มา  fb.  Anna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพ

คัดลอกมาจาก...ตังเก ศรีราชา




Create Date : 18 มกราคม 2558
Last Update : 18 มกราคม 2558 11:12:32 น.
Counter : 2363 Pageviews.

0 comment
### ข้าวเม่าคลุก ###

1781992_610875929046646_8513474888378475896_n

ข้าวเม่าคลุก


ขนมโบราณอีกชนิดหนึ่งที่หาทานยากแล้วค่ะ

ส่วนประกอบไม่มีอะไรมาก

มีแค่ข้าวเม่ากับมะพร้าว ข้าวเม่าใช้ข้าวเม่าที่ใหม่

จะทำให้ขนมที่ได้หอมน่าทานมาก


10419987_610876009046638_7734626559565058144_n

เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทำอาหารพื้นบ้าน

ข้าวเม่าคลุกนิยมทานกับกล้วยไข่

บางคนก็ชอบ กล้วยหอม

10942639_610876185713287_4618437116496343948_n

สมัยโบราณ การจะได้รับประทานข้าวเม่า

จะต้องรอให้ถึงเดือน 10 จึงได้รับประทาน

เนื่องจากต้นข้าวที่ปักดำไว้ จะออกรวง

ให้ทำข้าวเม่าได้ ในช่วงเดือนนี้

ปัจจุบันมีการพัฒนาปรังปรุงการทำข้าวเม่า

มาเป็นข้าวเม่าคลุกเพื่อจะมีรับประทานตลอดปี

หลังทำนาเสร็จแล้ว ผ่านเวลาสักระยะหนึ่ง

ขึ้นอยู่กับว่า เริ่มดำนาเร็วหรือช้า นั่นเอง

หรือขึ้นอยู่กับ ข้าวที่แก่พอทำข้าวเม่า นั่นแหละ

ข้าวเม่า คือข้าว ที่ถูกตำ หรือทุบ จนเม็ดข้าวแบน

ซึ่งทำจากข้าวเหนียว ที่ไม่อ่อนเกินไป ไม่แก่เกินไป

ข้าววัยแรกรุ่น ที่เลยระยะน้ำนมแล้ว

ข้างในเปลือกข้าว เริ่มแข็งตัวเป็นเม็ด มีสีขาว

และห่อหุ้มด้วยเยื่อบางๆ สีเขียว

ซึ่งเยื่อสีเขียวนี่แหละเมื่อข้าวแก่

จะกลายเป็นสีน้ำตาล และกลายเป็นรำ

อันเป็นแหล่งรวมของวิตามินหลายชนิด

 ในสมัยก่อนการตำข้าวเม่า ก็จะใช้ครกตำข้าว

ช่วยกันฝัด ช่วยกันตำ

ประเพณีการตำข้าวเม่า เป็นประเพณี

ที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว

มีทั้งการร้องรำ แข่งขันการตำข้าวเม่า

อย่างสนุกสนานรื่นเริง

เมื่อทำนาเสร็จแล้ว ผ่านเวลาสักระยะหนึ่ง

จนลมเหนือล่อง เข้าทำนองออกพรรษา

ก็ประมาณช่วง เดือนตุลาคม ถึง พฤศจิกายน

ขึ้นอยู่กับว่า เริ่มดำนาเร็วหรือช้านั่นเอง

หรือขึ้นอยู่กับ ข้าวที่แก่พอทำข้าวเม่า

ข้าวเม่าเป็นอาหารหวานอย่างหนึ่งของคนไทย

ที่ประกอบอาชีพทำนา

ชาวนารู้จักทำข้าวเม่า กันมาตั้งแต่ครั้งโบราณ

โดยใช้เมล็ดข้าวเจ้าหรือข้าวเหนียว

ที่มีรวงแก่ใกล้จะเก็บเกี่ยวได้ นำมาคั่ว ตำ

แล้วนำไปรับประทานได้เลย ถ้าทำสุกใหม่ๆก็จะนิ่ม

หรือบางคนก็จะนำไปคลุกเคล้า

ด้วยน้ำตาลทราย มะพร้าวและเกลือ

รับประทานแทนขนมหวาน

10929928_610875975713308_8219200860199268190_n

ปัจจุบัน การตำข้าวเม่า

กำลังจะสูญหายไปจากชาวนาไทย

การตำข้าวเม่ามักจะทำ ในเวลากลางคืน

ในระหว่างคั่วข้าวเม่าบนเตาไฟ

จะมีประเพณีการเล่นของหนุ่มสาว

โดยนำเอามะพร้าวทึนทึกขว้างไปที่เตาไฟ

ทำให้ภาชนะที่ใช้คั่วข้าวเม่าแตกกระจายหรือบุบบู้บี้

จะทำให้บรรยากาศสนุกสนาน

คนขว้างที่แอบอยู่ในมุมมืด จะวิ่งหนี

ผู้ที่กำลังทำข้าวเม่าก็จะช่วยกัน

วิ่งไล่จับเอาตัวมาทำโทษ โดยเอาดินหม้อทาหน้า

หลังจากนั้น ก็จะช่วยกันตำข้าวเม่า

โดยใช้ครกไม้ตำข้าวเปลือก และสากไม้

มาช่วยกันตำให้เป็นข้าวเม่า

ในปัจจุบัน การตำข้าวเม่า เปลี่ยนจากตำ

เป็นสีข้าวจากโรงสี สำหรับสีข้าวแทนครกกระเดื่อง

จึงกลายเป็น วิธีทำข้าวเม่าแบบใหม่

ที่เสร็จเร็วกว่า ใช้ครกกระเดื่อง

โดยเมื่อคั่วข้าวเม่าเสร็จแล้ว

ก็นำไปฝากทางโรงสีข้าวให้สีให้ก็ได้ข้าวเม่าแล้ว

ซึ่งทำให้ประเพณีการตำข้าวเม่าลดความสำคัญลง

ดังนั้นจึงควรอนุรักษ์ประเพณีตำข้าวเม่า

ไว้ให้คนรุ่นหลังได้เห็นถึงความสำคัญ

ของประเพณีที่มีมาช้านาน

ซึ่งประเพณีการตำข้าวเม่าถือเป็นประเพณีหนึ่ง

ที่ก่อให้เกิดความสนุกสนาน

เป็นประเพณีที่เชื่อมความสัมพันธ์อันดี

ของคนในครอบครัว ให้มีความอบอุ่น

เกิดความสามัคคีกันในชุมชน

ขอบคุณที่มา  fb.  Anna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพ

คัดลอกมาจาก...ตังเก ศรีราชา




Create Date : 17 มกราคม 2558
Last Update : 17 มกราคม 2558 13:05:22 น.
Counter : 1562 Pageviews.

0 comment
### ขนมถ้วยฟู ###

 

 

10934028_610438895757016_7634827746734307109_n

ขนมถ้วยฟู

ขนมมงคลของจีน เรียกว่า ฮวดโก้ย

มีความหมาย “เจริญงอกงาม รุ่งเรื่องเฟื่องฟู”

ชาวไทยเชื้อสายจีนในเมืองไทยมักนิยมทำ

สืบทอดกันมาแต่ บรรพบุรุษ

ในวันไหว้เจ้า ไหว้ตรุษจีน เช้งเม้ง

หรือ พิธีมงคลอื่นๆ ก็จะใช้กัน

จึงเป็นอีกขนมหนึ่งที่ขาดไม่ได้ในงานมงคล

ในงานแต่งงานนิยมทำขนมถ้วยฟูเป็นสีแดง

ใช้ไหว้เจ้าหรืองานมงคลต่างๆนิยมใช้สีชมพู

ใช้ในงานอวมงคล หรือไหว้บรรพบุรุษ

ที่ล่วงลับไปแล้ว นิยมใช้สีขาว

ปัจจุบัน ดัดแปลง มีหลากหลายสีมากขึ้น

ทำจากสีผสมอาหารบ้าง สีธรรมชาติบ้าง

หน้าตาขนมถ้วยฟู จะคล้ายๆกับขนมปุยฝ้าย

คือหน้าแตกสามหรือสี่แฉก

แต่ความแตกต่างคือส่วนผสม

แป้งขนมถ้วยฟู ใช้แป้งข้าวเจ้าค่ะ

ขนมปุยฝ้ายของไทย ใช้แป้งสาลี

ส่วนผสมก็ต่างกัน

ขนมถ้วยฟู เป็นขนมนึ่งหน้าแตก

ที่ทำมาจากแป้งข้าวเจ้า น้ำตาล น้ำ

และ หัวเชื้อ ส่วนผสมที่ลงตัว

จะทำให้แป้งขนมถ้วยฟูขยายตัวฟูขึ้นมา

และความพอดีของ ปริมาณน้ำในลังถึง

กับ ความร้อนสม่ำเสมอ ของไฟในเตา

มีส่วนสำคัญช่วยให้ขนมถ้วยฟู

หน้าแตกได้ 3 ถึง 4 แฉกทั่วถึงทุกถ้วย

10389480_610438945757011_3971333287473615235_n

ขอบคุณที่มา  fb. Anna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพ

คัดลอกมาจาก...ตังเก ศรีราชา




Create Date : 16 มกราคม 2558
Last Update : 16 มกราคม 2558 10:45:57 น.
Counter : 2215 Pageviews.

0 comment
### ขนมบัวลอยไข่หวาน ###

 

 

10919025_609985669135672_5603687706039622987_n

ขนมบัวลอยไข่หวาน

 ขนมบัวลอยทำด้วยแป้งข้าวเหนียว

สามารถดัดแปลงโดยใส่อาหารอื่นลงไปในแป้ง

เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหาร

เช่น ใส่ไข่ลงไปก็เรียกบัวลอยไข่หวาน

ผสมเผือกลงไปในแป้ง เรียกบัวลอยเผือก

ผสมฟักทองลงในแป้งเรียก บัวลอยฟักทอง

หรืออาจผสมสีธรรมชาติ

เช่น เขียวจากใบเตย สีแดงจากดอกกุหลาบ

สีน้ำเงินจากดอกอัญชัน

ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นขนมบัวลอยหลายสี

10451890_609986885802217_3858381055135933604_n


ในบางโอกาสอาจใช้สาคูเม็ดเล็ก

มานวดกับน้ำร้อนพอปั้นได้

เช่นเดียวกับแป้ง เรียกว่าสาคูบัวลอย

ตำนานบัวลอย

อดีตกาลนานมาแล้วมีสตรี ตั้งท้อง

ต้องการที่จะช่วยแบ่งเบาภาระผัว

โดยการทำขนมขาย

เมื่อผัวไปทำงานก็จะทำขนมบัวลอย

ใส่เรือแล้วพาย ไปขายในคลอง

ชาวบ้านที่จะซื้อก็จะตะโกน

“บัวลอยจ้า..บัวลอยมาทางนี้หน่อย”

บัวลอยที่มีความอร่อยจนติดอกติดใจชาวบ้าน

จนใครๆก็เรียกเธอว่า “บัวลอย”

10525820_609988089135430_4524084059452925179_n

วันหนึ่งเมื่อผัวกลับจากทำงาน

ไม่เห็นเมียสุดที่รัก จึงพายเรือตามหานางบัว

พร้อมกับร้องตะโกนว่า “บัวลอย บัวลอย”

แต่ก็ไม่พบแม้แต่เรือ หลังจากนั้นไม่นาน

ก็มีคนพบศพลอยไปติดอยู่

ที่ท่าเรือของวัดในคลอง

ความเชื่อของคนไทยที่ว่า

ถ้าตายท้องกลมผีจะเฮี้ยน

จึงไม่ได้มีการเผาแต่แค่ฝังเอาไว้

และมีบางคนมาขอหวย

ปรากฎว่าถูกจนโด่งดัง

แต่แล้วเช้าวันหนี่งศพของนางบัวก็หายไป

คาดว่าเจ้ามือหวย คงมาทำการขุดศพเอาไปทิ้ง

และสะกดวิญญาณไว้

เป็นเรื่องที่เล่าต่อๆกันมาของคลองบางกอกน้อย

และได้มีการนำมาทำเป็นเพลง

ดังเพลง บางกอกน้อย

ที่ ครู ศรเพชร ศรสุพรรณ ได้นำมาขับร้อง

ขอบคุณที่มา  fb.Anna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพ

คัดลอกมาจาก....ตังเก ศรีราชา




Create Date : 15 มกราคม 2558
Last Update : 15 มกราคม 2558 10:58:37 น.
Counter : 1903 Pageviews.

0 comment
### ขนมน้ำตาลชัก น้ำตาลปั้น ###

 

 

10303773_609568442510728_3478462299612824233_n

 

 

 

 

ขนมน้ำตาลชัก น้ำตาลปั้น

 ขนมโบราณ ในงานวัด

ที่คนขายจะนั่งปั้นขึ้นรูปด้วยมือ

ไม่ว่าจะเป็นตัวสัตว์ หรือดอกไม้รูปแบบต่างๆ

 มาถึงปัจจุบันนับวันจะหายากขึ้นทุกที

กรรมวิธีในการทำ เริ่มง่ายๆจาก

นำน้ำตาลทราย แบะแซ และ น้้ำ

ใส่หม้อหรือกะทะเคี่ยวด้วยไฟ

จากนั้นเทออกใส่ภาชนะที่ถูกแบ่งเป็นช่องๆ

ใส่สีผสมอาหารลงไปช่องละสี

เพียงเท่านี้เราก็จะได้น้ำตาลปั้นสีต่างๆตามที่ต้องการ

ปั้นขึ้นรูปด้วยมือเป็นตัวสัตว์ ผลไม้

ตัวการ์ตูนต่างๆมากมาย

10377163_609568545844051_2369101433390251039_n

บ้างก็ใช้กดจากแม่พิมพ์

มีทั้งแบบเป่าลม และไม่เป่าลม

 ตัดด้วยกรรไกร แต่ก่อนปั้น

ต้องนำมาอังไฟให้อุ่น

ให้น้ำตาลปั้นก็จะนิ่ม อ่อนตัว

ขนมน้ำตาลปั้น เป็นของคู่กันกับงิ้ว

ซึ่งจะตั้งขายอยู่หน้าโรงงิ้ว

โดยคนจีนแต้จิ๋วเป็นผู้นำเข้ามาขายในประเทศไทย

มีชุดอุปกรณ์ที่พับเก็บได้ ในตัวเดียวกัน

สะดวกตอนขนย้ายเวลาไปขายตามสถานที่ต่างๆ

ประกอบด้วย เก้าอี้นั่ง เตาทองเหลือง 4 ช่อง

เอาไว้ใส่น้ำตาลเคี่ยว 3 สี คือ

ขาว หรือน้ำตาล แดง และเขียว

นอกจากนี้ ยังมีที่สูบลม แม่พิมพ์แบบต่างๆ

ที่สมัยก่อนจะทำจากดินเผา

ปัจจุบัน คนสมัยใหม่ให้ความสำคัญ

กับเรื่องสุขภาพเป็นพิเศษ

จึงไม่นิยมให้ลูกซื้อกิน เพราะกลัวฟันผุ

ถ้าพ่อแม่ที่เคยเป็นเด็กในยุคขนมน้ำตาลปั้น

หากช่วยกันแนะนำอย่างถูกต้อง

เด็กรุ่นใหม่ก็จะได้รู้จักขนม ในสมัยพ่อแม่

รวมไปถึงความรู้เรื่องภูมิปัญญาของคนโบราณ

ที่สามารถนำเอาน้ำตาลมาเคี่ยว

จนปั้นเป็นรูปแบบต่างๆ ที่หลากหลาย

ใช้ความอดทน และความพยายามที่สูงมาก

ทั้งหมดนี้ถือเป็นแบบการสอน

และตัวอย่างที่ดีให้ กับเด็กยุคใหม่ได้

ขอบคุณที่มา  fb.  Anna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพ

คัดลอกมาจาก...ตังเก ศรีราชา




Create Date : 14 มกราคม 2558
Last Update : 14 มกราคม 2558 10:49:11 น.
Counter : 1862 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ