Group Blog
All Blog
### เห็ดเข็มทอง ###















เห็ดเข็มทอง

.....

ชื่อสามัญว่า Enokitake, Beech Mushroom

หรือ Velvet Stem พบขึ้นทั่วไปในเขตหนาว

 เช่น จีน ญี่ปุ่น อเมริกา และออสเตรเลีย ชอบขึ้นกับ ไม้ที่ตายแล้ว

 และออกดอกในช่วงฤดูหนาว จึงนิยมเรียก Winter mushroom

สามารถขึ้นได้ในสภาพที่เย็นจัด ทนอยู่ในสภาพที่เป็นน้ำแข็ง

 จนน้ำแข็งละลาย ปกติในธรรมชาติ

จะมีดอกขนาดเล็ก และลำต้นสั้น

แต่ที่วางขาย ทั่วไปจะมีดอกเล็ก ลำต้นยาวเป็นกระจุก

 เนื่องจากเทคนิคการผลิต ในการบังคับ ให้ก้านดอกยาวขึ้น

เพื่อให้ได้ปริมาณและน้ำหนักที่ดี และสะดวกในการบรรจุจำหน่าย

หมวกเห็ดรูปร่างกลม มีขนาดเล็กก้านยาวเรียว

เกิดรวมกันเป็นกลุ่ม ดอกเห็ดในธรรมชาติ

มีสีเหลือง - ส้ม น้ำตาล - แดง หมวกเล็กลำต้นสั้น

คนญี่ปุ่น ทานเห็ดชนิดนี้มานาน หลายศตวรรษ

จนสามารถเพาะเห็ดจากท่อนไม้ แทนการเก็บเห็ดจากป่า

และได้รับการศึกษาค้นคว้าต่อ จน พบวิธี การเพาะเห็ด จากขี้เลื่อย

 และพัฒนาเรื่อยมา จนสามารถเพาะเห็ดเข็มทองได้ตลอดทั้งปี

 ภายใต้การควบคุมสภาพแวดล้อม ที่เหมาะสม

สรรพคุณทางยา กินเห็ดเข็มทองเป็นประจำ

จะช่วยให้รักษา โรคตับ โรคกระเพาะอาหาร

 และโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง

เห็ดเข็มทองมีสาร flammulin

สามารถยับยั้ง การเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

เยื่อบุช่องท้อง และมีคุณสมบัติในการกระตุ้น

ระบบภูมิคุ้มกันของสิ่งมีชีวิต

คุณค่าอาหาร เห็ดเข็มทอง 100 กรัม ให้พลังงาน 34 กิโลแคลอรี่

 ประกอบด้วย โปรตีน 2.4 กรัม โซเดียม 3 มิลลิกรัม

คาร์โบไฮเดรต 7 กรัม เส้นใย 2.6 กรัม
















ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ




Create Date : 12 พฤศจิกายน 2558
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2558 10:46:01 น.
Counter : 6812 Pageviews.

0 comment
### มะเฟือง ###












มะเฟือง

........

ชื่อสามัญ Star Fruit , Carambola, Star Apple

 จัดอยู่ในวงศ์กระทืบยอด ชื่อท้องถิ่น เฟือง

ถิ่นกำเนิดแถบศรีลังกาและมะละกา เป็นไม้พื้นเมือง

แถบอินโดนีเซีย อินเดีย และศรีลังกา

 นิยมปลูกในเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้

และบางส่วนของเอเชียตะวันออก

 ยังพบปลูกที่สาธารณรัฐโดมินิกัน บราซิล เปรู กานา

กายานา ซามัว ตองกา ไต้หวัน French Polynesia

คอสตาริกา และ ออสเตรเลีย

ฟลอริดาตอนใต้และฮาวาย สหรัฐฯ

มีแหล่งเพาะปลูกมะเฟืองเชิงพาณิชย์

มาเลเซียเป็นผู้ส่งออก มะเฟืองรายใหญ่ที่สุดของโลก

มะเฟือง ผลไม้ลักษณะเป็นทรงกระสวย เมื่อหั่นเป็นแนวขวาง

 จะเป็นรูปเหมือนดาวห้าแฉก สีผลเป็นสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีเหลือง

 รสชาติจะออกเปรี้ยวแบบเผื่อน ๆ โดยมีทั้งรสเปรี้ยว และหวาน

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ แต่ละสายพันธุ์

ประเทศไทยปลูกมะเฟืองกันหลายสายพันธุ์

 ได้แก่ "มะเฟืองเปรี้ยว" เป็นพันธุ์ดั้งเดิม มีทั้งชนิดผลใหญ่และเล็ก

"มะเฟืองพันธุ์ไต้หวัน" ขนาดผลใหญ่พอประมาณ

 กลีบผลบาง ขอบบิด มีรสหวาน

"มะเฟืองพันธุ์กวางตุ้ง" มีสีขาวนวล

ขอบกลีบผลสีเขียว มีรสหวาน

"มะเฟืองพันธุ์มาเลเซีย" ผลมีขนาดใหญ่ เนื้อฉ่ำน้ำ

น้ำหนักมาก มีรสหวานอมเปรี้ยว

มะเฟือง กินเป็นผลไม้ และปรุงเป็นอาหาร

 ใช้เป็นเครื่องเคียงแหนมเนือง หรือ แปรรูปเป็นน้ำผลไม้

 "ใบอ่อน" กินเป็นผักได้ ต่างประเทศ นำมะเฟืองมาปรุงอาหาร

 และเครื่องดื่มหลายชนิด ในสลัดกุ้งก้ามกราม

 เป็นเครื่องเคียงอาหารเนื้อสัตว์

ใช้แทนสับปะรดในอาหาร จำพวกผัดผัก

และเมนูอาหารอบ ปรุงผลิตภัณฑ์เบเกอรี่

เช่น ทำแยม ทาร์ตและเค้ก และพบในเครื่องดื่มต่างๆ


มะเฟืองมีคุณสมบัติ ในการต้านออกซิเดชันสูง

 มีสารกลุ่มโพลีฟีนอล ซึ่งมีฤทธิ์ต้าน ออกซิเดชันมาก

สารสำคัญในกลุ่มนี้ ที่พบในมะเฟือง ได้แก่ กรดแอสคอบิก

 อีพิคาทีชิน และกรดแกลลิก ในรูปของแกลโลแทนนิน

สารสำคัญที่แสดงฤทธิ์ ต้านออกซิเดชันจากมะเฟือง

คือ โพรแอนโทไซยาไนดินในรูปของโมเลกุลคู่

โมเลกุล 3 4 5 (dimers, trimers, tetramers and pentamers)

ของคาทีชินหรืออีพิคาทีชิน มะเฟืองมีวิตามินซีมาก

 บรรเทาโรคเลือดออกตามไรฟัน มีปริมาณพลังงาน

น้ำตาลและเกลือโซเดียมต่ำ เหมาะกับการกินเพื่อควบคุมน้ำหนัก

 คุมน้ำตาลในเลือด หรือลดความอ้วน

มีกรดผลไม้มาก ใช้เป็นส่วนผสม ของเครื่องสำอาง

ชำระล้าง ผิวกายและป้องกันการเกิดสิว

ผลมะเฟืองสุกน้ำหนัก 100 กรัม จะอุดมไปด้วย

คาร์โบไฮเดรตถึง 6.7 กรัม โปรตีน 1 กรัม

 ธาตุโพแทสเซียม 133 mg. วิตามินซี 35 mg.

ธาตุฟอสฟอรัส 12 mg. ยังประกอบไปด้วย วิตามินบี5

 วิตามินบี9 (หรือกรดโฟลิก) ธาตุสังกะสี และ ไขมัน อีกด้วย

สำหรับผู้ที่รับประทาน ยาลดไขมัน ยาคลายเครียดอยู่

ไม่ควรทานมะเฟือง เนื่องจากมีฤทธิ์ ต่อต้านการทำงานของตัวยา

 และผู้ป่วยที่เป็นโรคไต หรือกำลังจะฟอกไต ก็ไม่ควรทาน

 เพราะมะเฟืองมีกรดออกซาลิกสูง ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการข้างเคียง

 หรือทำให้อาการทรุดหนัก เพิ่มมากขึ้นได้

พิษมะเฟือง เนื่องจาก มีกรดออกซาลิก ในปริมาณที่สูง

การได้รับสารนี้เข้าไปในร่างกายในปริมาณมาก

 สามารถเพิ่มโอกาส เป็นนิ่วในทางเดินปัสสาวะได้

จะทำให้เกิดการอุดตันในเนื้อไตและท่อไตทำให้ไตวายเฉียบพลันได้

ขึ้นอยู่ภาวะการขาดน้ำ ในร่างกายของเราด้วย

และการเกิดภาวะไตวาย ไม่ได้เป็นกันทุกราย

ผู้ป่วยที่ดื่มน้ำมาเฟือง หลังจากทำงานหนัก

และสูญเสียเหงื่อเป็นจำมาก จะยิ่งมีโอกาสเกิดโรคได้มากขึ้น

โดยมะเฟืองเปรี้ยว มีโอกาสเกิดโรค ได้มากกว่ามะเฟืองชนิดหวาน

 เนื่องจากมี กรดออซาลิก ที่มากกว่านั้นเอง

มะเฟืองเป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ทรงพุ่ม มีทั้งตั้งตรง และกึ่งเลื้อย

 เป็นไม้เนื้ออ่อน โตช้า สูงไม่เกิน 30 ฟุต

แกนกลางมีไส้ คล้ายฟองน้ำสีแดงอ่อน ลำต้นสีน้ำตาล

เปลือกลำต้นไม่เรียบ ใบประกอบ รูปใบมนรี ปลายใบแหลม

ขอบใบเรียบ ก้านใบสั้น ใบด้านบนเรียบด้านล่าง มีขนบาง

 ใบย่อยที่ปลายก้านมักใหญ่ ใบเรียงตัวแบบเกลียว

 ดอก ออกตามซอกใบเป็นช่อสั้นๆ มีสีชมพูอ่อน ไปจนถึงเกือบแดง

 ตรงกลางหลอดดอกมีสีเหลือง มีกลีบดอก 5 กลีบ

ปลายกลีบโค้งงอ โคนกลีบดอกจะมีสีเข้มกว่า ปลายกลีบ

ดอกมีกลิ่นหอม

ผลอวบน้ำมีรูปร่างแปลก ยาวได้ถึง 5 นิ้ว

ผลหยักเว้าเป็นร่องลึก 5 ร่อง ผลอ่อนสีเขียว สุกแล้วมีสีเหลืองใส

 เปลือกผลบางเรียบมัน ทานได้ มีเมล็ดรีสีน้ำตาล

สามารถกินได้ทั้งผลสุกและผลอ่อน


































ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ




Create Date : 02 พฤศจิกายน 2558
Last Update : 2 พฤศจิกายน 2558 11:40:18 น.
Counter : 3506 Pageviews.

0 comment
### กระโดน ###

















ชื่อสมุนไพร
กระโดน

ชื่ออื่นๆ
กระโดนโคก กระโดนบก ปุย (ใต้ เหนือ) ปุยกระโดน (ใต้);

 ปุยขาว ผ้าฮาด (เหนือ); หูกวาง (จันทบุรี);

 ต้นจิก (ภาคกลาง) พุย (เชียงใหม่) ขุย กะนอน

ชื่อวิทยาศาสตร์
Careya sphaerica Roxb.

ชื่อพ้อง
Careya arborea Roxb.

ชื่อวงศ์
Lecythidaceae


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ไม้ยืนต้น ขนาดกลาง ผลัดใบ สูง 10-20 เมตร

เปลือกต้นสีดำ หรือสีน้ำตาลดำหนา แตกล่อนเป็นแผ่น

มีกิ่งก้านสาขามาก เนื้อไม้สีแดงเข้มถึงสีน้ำตาลแกมแดง

เรือนยอดเป็นพุ่มกลม แน่นทึบ เปลือกหนา แตกล่อน

 ใบเดี่ยว เรียงสลับเวียนเป็นกลุ่มตามปลายกิ่ง รูปไข่กลับ

กว้าง15-25 เซนติเมตร ยาว 30-35 เซนติเมตร

ปลายใบมน มีติ่งแหลมยื่น ฐานใบสอบเรียว

ขอบใบหยักเล็กน้อยตลอดทั้งขอบใบ ผิวใบทั้งสองด้านเกลี้ยง

เนื้อใบหนา ค่อนข้างนิ่ม ก้านใบอวบ ยาว 2-3 เซนติเมตร

 หน้าแล้งใบแก่ท้องใบเป็นสีแดง แล้วทิ้งใบเมื่อออกใบอ่อน

ยอดอ่อนเป็นสีน้ำตาลแดง เส้นแขนงใบข้างละ 8-15 เส้น

เส้นใบย่อยแบบร่างแห ชัดเจนทางด้านล่าง

ก้านใบยาว 1.5-4 เซนติเมตร เกลี้ยง ใบก่อนร่วงมีสีแดง

 ดอกขนาดใหญ่ ช่อแบบกระจะ สั้นมาก มี 2-6 ดอก

 ออกตามปลายกิ่งที่ไม่มีใบ ดอกลักษณะคล้ายเป็นดอกเดี่ยว

กลีบดอก 4 กลีบ รูปขอบขนาน แยกกัน

ปลายกลีบ และขอบกลีบสีเขียวอ่อนโคนกลีบสีชมพู

 กลีบดอกยาวประมาณ 1-5 นิ้ว โคนกลีบดอกเชื่อมกันเป็นรูประฆัง

 ร่วงง่าย ดอกบานกลางคืน และมักร่วงตอนเช้า

ใบประดับกลม หรือรี 3 ใบ กลีบเลี้ยง 4 กลีบ แยกกัน

ยาว 8-10 มิลลิเมตร สีเขียวอ่อน หนา ค่อนข้างมน

เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก ยาว 4-5 เซนติเมตร

สีขาว ก้านเกสรยาวเรียงตัวกันแน่นเป็นพู่

 โคนก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นวงสีแดงอ่อน

เกสรที่สมบูรณ์อยู่ข้างใน จานฐานดอกรูปวงแหวน

 ขอบนูนขึ้น เกสรเพศเมียมีรังไข่ใต้วงกลีบ

รูปกระสวยกลับ มี 4 ช่อง แต่ละช่องมีออวุลจำนวนมาก

 เกสรเพศเมียติดคงทน ก้านเกสรเพศเมียยาว 4-6 เซนติเมตร

 ผลรูปกลม หรือรูปไข่ มีเนื้อ สีเขียว ค่อนข้างแข็ง

กว้างประมาณ 5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6.5 เซนติเมตร

 ผิวเรียบ เปลือกหนา ที่ปลายผลมีส่วนของกลีบเลี้ยงติดทน

และก้านเกสรเพศเมียติดที่ปลายผล

ผลสดมีสีเขียวพอสุกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

ภายในผลมีเมล็ดเป็นจำนวนมาก เมล็ดแบน เป็นรูปไข่ สีน้ำตาลอ่อน

 กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.5 เซนติเมตร

พบขึ้นทั่วไปตามป่าเบญจพรรณ และป่าเต็งรัง

ออกดอกช่วงเดือนมกราคม ถึงเมษายน

 ออกผลราวเดือนกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายน

ยอดอ่อนใช้รับประทานเป็นผักจิ้มได้สดๆ มีรสฝาด

เปลือกใช้ต้มย้อมผ้าให้สีน้ำตาลแดง

 ได้เส้นใยที่ได้จากเปลือกใช้ทำเชือก ทำเบาะรองหลังช้าง

 ทำกระดาษสีน้ำตาล


















สรรพคุณ

ยาพื้นบ้านอีสาน ใช้ เปลือกต้น แก้น้ำกัดเท้า

แก้โรคกระเพาะอาหาร สมานแผลภายใน

ตำรายาไทย ใช้ เปลือกต้น รสฝาดเมา แช่น้ำดื่ม

แก้ปวดท้อง ท้องเสีย แก้พิษงู แก้อักเสบจากงูกัด

 ใช้เป็นยาสมาน ใช้สมานแผล แก้เคล็ดเมื่อย 

 ใบ รสฝาด ใช้รักษาแผลสด โดยนึ่งให้สุกใช้ปิดแผล

 หรือปรุงเป็นน้ำมันสมานแผล

ดอก รสสุขุมบำรุงร่างกายหลังคลอดบุตร

แก้หวัด แก้ไอ ทำให้ชุ่มคอ 

 ผล รสจืดเย็น ช่วยย่อยอาหาร บำรุงหลังคลอด

 ดอก และน้ำจากเปลือกสด ใช้ผสมกับน้ำผึ้ง กินเป็นยาแก้หวัด แก้ไอ

 ทำให้ชุ่มคอ และเป็นยาบำรุงสำหรับสตรีหลังคลอดบุตร

ใบอ่อน และยอดอ่อน รับประทานสดเป็นผักจิ้ม มีรสฝาด

 ต้น ผสมกับเถายางน่อง และดินประสิว เคี่ยวให้งวด ตากแห้ง

ใช้ปิดแผลมีพิษ ปิดหัวฝี เมล็ด รสฝาดเมา เป็นพิษ

ข้อควรระวัง

เมล็ดเป็นพิษ รากมีพิษ ใช้เบื่อปลา

 ส่วนใบและยอดอ่อนมีปริมาณกรดออกซาลิค (oxalic acid)

ในปริมาณค่อนข้างสูงอาจเป็นสาเหตุเบื้องต้น

ของการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ




















ขอบคุณที่มา Phargarden . com
ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 




Create Date : 25 ตุลาคม 2558
Last Update : 25 ตุลาคม 2558 11:08:23 น.
Counter : 2605 Pageviews.

1 comment
### ขี้เหล็ก ###














ขี้เหล็ก

......

ชื่อสามัญ Siamese senna, Siamese cassia,

 Cassod tree, Thai copperpod จัดอยู่ในวงศ์ถั่ว

ชื่อท้องถิ่น ขี้เหล็กแก่น ขี้เหล็กบ้าน ผักจี้ลี้ ยะหา

ขี้เหล็กใหญ่ ขี้เหล็กหลวง ขี้เหล็กจิหรี่

เดิมเป็นไม้ในบริเวณเอเซีย ในประเทศไทย มีปลูกทุกจังหวัด

ส่วนของดอกและใบขี้เหล็ก ใช้เป็นอาหาร

 ในหลายประเทศ ไทย พม่า อินเดีย และมาเลเซีย

 จัดเป็นอาหารพื้นบ้าน ขนานแท้ของไทย

ที่นับวันจะมีคนกินเป็นน้อยลง

เนื่องจากเป็นผัก ที่มีรสขม ชื่อไม่น่ากิน

ทั้งดอกตูมและใบอ่อน มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก

เส้นใยอาหาร เบตาแคโรทีน และมีวิตามินสูง

ดอกขี้เหล็กถือว่า มีวิตามินสูงสุดในบรรดาผักพื้นบ้านไทย

 คือสูงถึง 484 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม

ของส่วนที่กินได้ นับเป็นผักที่ช่วยสร้างภูมิต้านทาน

 ป้องกันหวัดในหน้าฝน ได้เป็นอย่างดี

ดอกและใบของขี้เหล็ก มีรสขม

ก่อนจะปรุงเป็นอาหาร ต้องนำไปต้ม

และคั้นน้ำออก ประมาณ 2-3 ครั้ง

กระบวนการต้มนี้ ทำให้วิตามินซีและวิตามินบีหลายชนิด

ในใบขี้เหล็ก แทบไม่หลงเหลืออยู่

เคล็ดลับการต้มให้จืดเร็ว เพื่อสงวนคุณค่าสารอาหารไว้

คือให้ใส่ลูกมะแว้งต้น หรือมะเขือพวงลงไป

ในหม้อต้มขี้เหล็ก ขณะน้ำเดือด ต้มสักครู่แล้วรีบตักขี้เหล็กขึ้น

 ล้างด้วยน้ำเย็น ก่อนนำไปปรุงอาหาร

ตำราการแพทย์แผนไทย ใช้แก้อาการท้องผูก

 ใช้แก้อาการนอนไม่หลับ ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ บำรุงโลหิต

 และลดความดัน ใบขี้เหล็กมีสาร Anthraquinones

ที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ และเป็นยาระบายอ่อน ๆ

ส่วนใบอ่อนและดอกตูมมีสาร Anhydrobarakol

ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง

ช่วยให้รู้สึกสงบ คลายเครียด และหลับง่ายขึ้น

ขี้เหล็ก เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 8-15 เมตร

 ลำต้นมักคดงอ เปลือกมีสีเทาถึงน้ำตาลดำ

แตกเป็นร่องตื้น ๆตามยาว แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแคบ

ส่วนลักษณะของผลขี้เหล็ก มีลักษณะเป็นฝักแบน

กว้าง 1.4 เซนติเมตร ยาว 15-23 เซนติเมตร

มีความหนามีสีน้ำตาล มีเมล็ดหลายเมล็ด

เสริมนิดนะคะและอย่าลืม คนที่เป็นโรคตับ

และไวรัสตับอักเสบทุกตัวไม่ควรกินขี้เหล็กนะคะ

  เพราะเขามีฤทธิ์เดชทำร้ายตับได้ค่ะ 

 ส่วนคนไม่เป็นโรคเกี่ยวกับตับ รับประทานเต็มที่ไปเลยค่ะ

































ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ




Create Date : 23 ตุลาคม 2558
Last Update : 23 ตุลาคม 2558 10:10:09 น.
Counter : 2620 Pageviews.

0 comment
### สมุยหอม ###















สมุยหอม หมุย

 .....

 ชื่อสามัญ Lime Berry ชื่อท้องถิ่น หฺมฺรุยหอม หฺมฺรุยเทศ

 หัสคุณ ชะมัด สมัดใหญ่ หมอน้อย กาจับหลัก มะห้อ

จี้ปุกตัวผู้ สาบฮิ้น จัดอยู่ในวงศ์ส้ม

ภาคใต้นิยมนำยอดอ่อน และดอก มาเป็นผักเหนาะ

กินกับแกงไตปลา น้ำพริก และขนมจีน กินกับน้ำบูดู

ยอดอ่อน และดอก มีโปรตีน แคลเซียม เหล็ก วิตามินเอ

 และวิตามินซี คนไทยโบราณ จะนำ รากมาฝน

ผสม กับสุราขาว 35 ดีกรี พอกแผลที่ถูกงูกัด

และใช้ใบและราก ต้มกับน้ำสะอาด ดื่มแก้ปวดท้องและบำรุงหัวใจ

มีเส้นใย 14.2 กรัม ซึ่งใยอาหารในผัก ทำให้ร่างกาย

ขับถ่ายอุจจาระได้เร็วขึ้น ท้องไม่ผูก

ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

และทำให้การดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดช้าลง

 ส่งผลให้ลดระดับการใช้อินซูลิน

นอกจากนี้ใยอาหารบางชนิด ยังช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล

 ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

แบต้าแคโรทีน 5,390 ไมโครกรัม

นอกจากนี้ ยังมีโปรตีน แคลเซียม เหล็ก วิตามินเอ

และวิตามินซีอีกด้วย

สมุย เป็นพืชก่ำกึ่ง ระหว่างผักและพืชสวน

 เนื่องจากลำต้นเป็นไม้ยืนต้นสูง

เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง

ใบประกอบแบบขนนก ใบย่อย รูปไข่ขอบขนานยาว

ปลายแหลมสีเขียวอ่อน มีกลิ่นหอมคล้ายการบูร

รสหอมร้อน ยอดและใบอ่อนคล้ายกับมะกอก

ผิวใบเกลี้ยงเป็นมันวาว ดอกเล็กเป็นช่อออกที่ปลายกิ่ง

ผลกลมสีเขียวอ่อน มีขนปกคลุม เมื่อสุกสีส้ม อมชมพู

 ผิวใส ฉ่ำน้ำ ออกเป็นพวงโต รสเปรี้ยวมัน

หมุยมี 2 ชนิด หมุยบ้าน และหมุยป่ารสชาดแตกต่างกัน

หมุยป่า มีรสขม และ กลิ่นจะหอม กว่าหมุยบ้าน


























ขอบคุณที่มาจาก fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ




Create Date : 22 ตุลาคม 2558
Last Update : 22 ตุลาคม 2558 10:24:42 น.
Counter : 2449 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ