Group Blog
All Blog
### ท้บทิมอัญมณีแห่งผลไม้ ###












ทับทิม:อัญมณีแห่งผลไม้

ประโยชน์ของทิบทิม เมล็ดทับทิมมีเนื้อหุ้มใสสีแดงเข้ม

เป็นประกายนั้น มองดูคล้ายพลอยแดงน้ำดีที่เจียระไนแล้ว

สมกับที่มีผู้ยกย่องทับทิมว่าเป็น “อัญมณีแห่งผลไม้”

นอกจากความงดงามแล้ว รสชาติของทับทิมยังดีเยี่ยมอีกด้วย

 น้ำคั้นจากผลทับทิมดื่มแล้วสดชื่นแก้กระหายน้ำได้ดีมาก

 เพราะมีทั้งน้ำตาลและกรดที่เป็นประโยชน์

โดยเฉพาะกรดแอสคอร์บิกหรือวิตามินซี

ซึ่งช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิดด้วย

เนื่องจากทับทิมเป็นต้นไม้ที่มีคุณสมบัติด้านสมุนไพรที่เด่นมากชนิดหนึ่ง

สามารถนำเอาส่วนต่างๆ มาทำยารักษาโรคได้หลายชนิด

เป็นที่รู้จักดีในกลุ่มคนหลายกลุ่มมาแต่โบราณกาล

เช่น ชาวอียิปต์ และชาวฟีนีเซี่ยน

เมื่อหลายพันปีมาแล้วก็ใช้ทับทิมเป็นสมุนไพร

ต่อเนื่องมาถึงกลุ่มชนอื่นๆ เช่นชาวอาหรับ

ใช้เปลือกรากทับทิมสดๆ ต้มน้ำ ใช้ดื่มถ่ายพยาธิตัวตืด

ใช้เปลือกผลทับทิม (ผสมกานพลูและฝิ่น)

รักษาโรคบิดและท้องร่วงอย่างแรง

เปลือกจากลำต้นทับทิม ต้มน้ำใช้ถ่ายพยาธิชนิดต่างๆ ร่วมกับยาถ่าย

ชาวฮินดู ใช้น้ำคั้นจากผลทับทิม และดอกทับทิม ปรุงยาธาตุ

ใช้สมานลำไส้ แก้ท้องเสีย เมล็ดทับทิมแก้ท้องเสีย ใช้บำรุงหัวใจ

ชาวไทย ทับทิมทั้งต้นหรือทับทิมทั้ง 5 ; ใช้เป็นยาระบาย

 หรือถ่ายพยาธิเส้นด้ายและตัวตืด

เปลือก ราก และเปลือกต้น ; ใช้ถ่ายพยาธิตัวตืด,

ไส้เดือน, เส้นด้าย และฝาดสมาน

ใบ ; สมานแผล แก้ท้องร่วง อมกลั้วคอ ทำยาล้างตา

ดอก ; ใช้ห้ามเลือด

เปลือกผล ; สมานแผล แก้บิด แก้ท้องร่วง (มีแทนนิน) ร้อยละ 22-25

เนื้อหุ้มเมล็ด ; แก้กระหายน้ำ แก้โรคลักปิดลักเปิด

น่าสังเกตว่า ชาวไทยใช้ประโยชน์จากทับทิมด้านสมุนไพร

มากกว่าชาติอื่นๆ และผลทับทิมในประเทศไทย

ได้รับความนิยมน้อยกว่าประเทศอื่นๆ

อาจเป็นเพราะว่าพันธุ์ทับทิมที่มีอยู่ในประเทศไทย

ยังมิใช่พันธุ์ที่ให้ผลคุณภาพดีเยี่ยมสำหรับการบริโภคเป็นผลไม้

หากชาวไทยนำพันธุ์ทับทิมคุณภาพดีเข้ามาปลูก

หรือปรับปรุงพันธุ์ทับทิมของเราให้ดีเท่าเทียมกับพันธุ์คุณภาพดี

ที่มีอยู่ในโลก เชื่อว่าคนไทยนิยมปลูก

และบริโภคทับทิมไม่น้อยกว่าผลไม้ชนิดอื่นๆ เป็นแน่


ขอบคุณข้อมูลจาก fb.  น้าอ้วนบ้านเกษตรพอเพียงเพจ





Create Date : 03 พฤษภาคม 2557
Last Update : 3 สิงหาคม 2557 14:18:26 น.
Counter : 2503 Pageviews.

0 comment
### กินน้ำเต้าหู้ และน้ำมะพร้าวอ่อน ช่วยชะลอวัยทองแต่เสี่ยงโรคสมองเสื่อมหรือไม่ ###












กินเต้าหู้และน้ำมะพร้าวอ่อนช่วยชะลอวัยทอง

แต่เสี่ยงสมองเสื่อมหรือไม่?

เต้าหู้และน้ำมะพร้าวอ่อนจะมีฮอร์โมนเพศหญิงที่ชื่อฮอร์โมน

"เอสโตรเจน" ส่วนถั่วเหลืองมีสารอาหารที่เรียกว่า "ไฟโตเอสโตรเจน"

 ซึ่งให้ผลคล้ายฮอร์โมนเอสโตรเจนของเพศหญิง

ซึ่งยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนในการลดความเสี่ยงต่อสมองเสื่อม

โดยการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจนและไฟโตเอสโตรเจน

แต่การบริโภคในปริมาณมากเกินไป

อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

นอกจากนี้น้ำมะพร้าวยังมีเกลือโปแตสเซี่ยมและน้ำตาลสูง

 ดังนั้นจึงไม่เหมาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน

โดยฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นเบาหวานและไตเสื่อมร่วมด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก ภญ.รศ.ดร. จุฑามณี สิทธิสีสังข์

ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

#RamaChannel





Create Date : 10 เมษายน 2557
Last Update : 13 เมษายน 2557 15:34:04 น.
Counter : 1802 Pageviews.

0 comment
### ลดความอ้วนด้วยพริกไทยดำเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง ###












“พริกไทยดำ” เป็นหนึ่งในเครื่องเทศไทยที่ได้รับนิยมมาก

ทำอาหารไทยเมื่อใดก็เมื่อนั้นขาดกันเสียไม่ได้

กลิ่นหอมและรสชาติเผ็ดร้อนนิดๆ เร้าใจเสมอเมื่อได้ลิ้มรส

แต่เมื่อวันเวลาเปลี่ยนจากเครื่องเทศที่เคยใช้เพิ่มรสอาหาร

ได้ถูกนำมาบริโภคเพื่อความงามแทน ด้วยเชื่อว่า

จะช่วยเผาผลาญส่วนเกินของร่างกายออกมาได้

จะมีใครรู้บ้างว่าการกิน “พริกไทยดำ” ในปริมาณมากๆ ต่อเนื่องกัน

 เพื่อเสริมความงามนั้นเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง

ศ.ดร.วรนันท์ ศุภพิพัฒน์ จากสำนักวิจัยคณะแพทยศาสตร์

โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า

อาหารเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะผ่านการย่อย การดูดซึม

นำไปใช้ประโยชน์ต่อร่างกาย ทำให้ร่างกายเจริญเติบโต

เสริมสร้างร่างกาย รวมทั้งซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ

ผู้ที่ได้รับอาหารและโภชนาการที่ดี ร่างกายจะทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ

หากกินอาหารไม่ถูกส่วน หรือได้รับสารพิษ สารแปลกปลอม

วัตถุเจอปนอาหารมากเกินไป ทำให้ร่างกายไม่พัฒนา

เกิดโรคภัยไข้เจ็บ ฉะนั้นการบริโภคอาหารจึงควรมีสติ มิใช่กินตามปาก

ซึ่งอาหารที่คนบริโภคมี 2 แหล่งใหญ่ คือ พืชและสัตว์

มีสารอาหารสำคัญคือ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน เกลือแร่

นอกจากนั้นอาหารยังมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ แต่ไม่ใช่สารอาหาร

พบมากในธัญพืช ผัก ผลไม้ เช่น สารไฟโตเอสโตรเจน แคโรทีนอยด์

ใยอาหาร ซึ่งสารเหล่านี้มีข้อมูลทางวิชาการว่า

เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ลดการเป็นมะเร็ง

หากรับประทานในสัดส่วนที่เหมาะสมร่างกายจะแข็งแรง ไม่เจ็บไข้

ศ.ดร.วรนันท์ กล่าวว่า อาหารมีสารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย

และมีสารเป็นพิษต่อร่างกายด้วย เช่น ปลาปักเป้า

สร้างพิษเทโทรโดทอกซิน ทำลายการทำงานของเส้นประสาท

 ชาที่ปลายประสาทถึงเสียชีวิตได้ เห็ดพิษ เช่นเห็ดระโงกหิน

 ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน

หน่อไม้ มันสำปะหลัง มีไซยาไนด์ พบในรูป “ไกลโคไซ”

เนื่องจากไปรวมกับสารชนิดอื่น ๆ มันฝรั่ง มีสารพิษ “โซลานิน”

เกิดพิษต่อระบบประสาท มันฝรั่งที่ปอกเปลือกจะมีสารพิษนี้น้อยกว่า

และมันฝรั่งที่เริ่มเปลี่ยนเป็นสีเขียวอ่อนจะมีสารพิษนี้ปริมาณสูง

ยิ่งมันฝรั่งแตกหน่อมีรากงอกยิ่งมีสารพิษโซลานินสูงมาก

 ควรทิ้งไปทั้งลูก อย่าเฉือนออกแล้วนำส่วนที่เหลือมาบริโภค

เนื่องจากสารพิษซึมทั่วหัวมันฝรั่งแล้ว

นอกจากนี้ ในพริกไทยดำมีสาร “อัลคาลอยด์ ไพเพอร์ริน”

 เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนเป็นสารก่อมะเร็ง

ในกลุ่มของเอนไนโตรโซไพเพอร์ริดีน

“มะเร็งเกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลายชนิดร่วมกัน ทั้งปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม

เช่น สารเคมี รังสี ไวรัส พวกพยาธิใบไม้ตับทำให้เป็นมะเร็งท่อน้ำดี

 มะเร็งตับ วิถีการใช้ชีวิตสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า กินอาหารมีสารก่อมะเร็ง

ปัจจัยในร่างกายเราที่เลี่ยงไม่ได้เช่น กรรมพันธุ์ ระบบภูมิคุ้มกัน

ภาวะโภชนาการ ในคนอ้วนเสี่ยงมะเร็งระบบทางเดินอาหาร”



ศ.ดร.วรนันท์ กล่าวด้วยว่า

"สารก่อมะเร็งในกลุ่มของเอนไนโตรโซไพเพอร์ริดีน

เกิดจาก สาร “อัลคาลอยด์ ไพเพอร์ริน” ในพริกไทยดำ

ทำปฏิกิริยากับกลุ่มไนโตรเจน ควรลดหรืองดการบริโภคพริกไทยดำ

อย่างไรก็ตาม การบริโภคตามปกติในแต่ละวันจะได้รับสารนี้น้อยมาก

เพราะพริกไทยดำเป็นเพียงตัวชูรส เพิ่มรสชาติ

แต่สำหรับผู้ที่ใช้พริกไทยดำเพื่อเสริมความงาม

บริโภคครั้งละมาก ๆ เป็นเวลานานติดต่อกัน เป็นการสะสมสารเป็นพิษ

 มีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งสูง"

นอกจากนี้ ลูกหมาก ก็มีสารอัลคาลอยด์สูงเช่นกัน

โดยสารนี้ทำให้เนื้อเยื่อช่องปากอักเสบและเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งช่องปาก

ซึ่งปัจจุบันพบว่า ประเทศอินเดีย ปากีสถาน ไต้หวัน

ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ นิยมเคี้ยวหมากมากขึ้น

บางแห่งกลายเป็นกระแสแฟชั่นตามสมัยนิยม

การเคี้ยวหมาก 1 คำ ประกอบด้วยใบพลู ลูกหมาก ปูน ยาเส้น

และส่วนประกอบอื่น ๆ เพื่อเพิ่มรสชาติ

สารเหล่านี้กระตุ้นให้เกิดความระคายเคือง

จึงควรรณรงค์ให้ประชาชนทราบ

 และเป็นเรื่องดีที่ประเทศไทย ความนิยมเคี้ยวหมากลดลงแล้ว

ขอบคุณข้อมูลจาก ศ.ดร.วรนันท์ ศุภพิพัฒน์

จากสำนักวิจัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล

#‎RamaChannel‬







Create Date : 09 เมษายน 2557
Last Update : 10 เมษายน 2557 19:16:56 น.
Counter : 2326 Pageviews.

0 comment
### แกงขี้เหล็ก คนเป็นโรคตับควรระวัง ###



แกงขี้เหล็กให้ทั้งคุณและโทษ










แกงขี้เหล็กเป็นอาหารที่จัดได้ว่าเข้าข่ายอาหารโบราณ

ที่อีกไม่นาน คงมีเพียงภาพและคำบรรยาย

เก็บเป็นข้อมูลเท่านั้น

 คนที่รู้จักกินแกงขี้เหล็กในปัจจุบันนี้

มักจะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ชีวิตไม่น้อยกว่า 40 ปี

และส่วนใหญ่จะเป็นจังหวัดอื่น นอกกรุงเทพมหานคร

เหตุที่ว่าการปรุงแกงขี้เหล็กมีกรรมวิธีที่ค่อนข้างยาก

ต้องพิถีพิถัน จำได้ว่าเมื่อ 30-40 ปีที่แล้ว

ถ้าจะกินแกงขี้เหล็ก

เราจะรอให้ขี้เหล็กแตกใบอ่อน และดอก

ซึ่งต้องเก็บใบมารูด (หน้าที่ของลูก)

 เอาเฉพาะส่วนใบ หรือ ดอก

หรือทั้งใบและดอก จากนั้นเอาไปต้ม

 เทน้ำทิ้ง บีบกากให้แห้ง

แล้วต้มซ้ำ 2-3 ครั้ง จนจืด จึงเอาไปแกงได้

รสชาติของแกงขี้เหล็กนั้น

 เป็นที่ชื่นชอบเฉพาะหมู่ผู้สูงอายุเท่านั้น

เด็กๆที่ทำหน้าที่รูดใบจึงค่อนข้างเบื่อหน่าย

ที่ต้องช่วยเตรียมแทบตายแต่ไม่ชอบกิน

 แต่ก็แปลกนะ เมื่อเด็กๆเหล่านั้นรวมทั้งตัวผู้เขียนโตขึ้น

เป็นผู้สูงอายุ กลับหันมาชอบกินแกงขี้เหล็ก

เหมือนคนรุ่นก่อนๆมา

 ยุคถัดมา ไม่ต้องเตรียมใบขี้เหล็กเองแล้ว

เราจะเห็นใบขี้เหล็กต้ม วางขายในตลาดทั่วไป

แต่ปี 2555 กลับไม่ค่อยพบเห็นใบขี้เหล็กต้ม

 หรือ แกงขี้เหล็ก

จนน่าสงสัยว่าคนไทยเลิกกินแกงขี้เหล็กแล้วหรือ

แกงขี้เหล็กคือหนึ่งในแกงกะทิที่สำคัญในครัวไทย

มีรสชาติหวาน มัน เผ็ดเล็กน้อย เนื้อสัตว์ ที่ใส่ในแกง

 อาจเป็นปลาย่าง หรือ เนื้อหมูย่าง

ใบขี้เหล็กที่ต้มเสร็จแล้วนั้น ก่อนใส่ลงในแกง

แม่บ้านจะตำให้เป็นชิ้นหยาบ หรือละเอียด

ขึ้นอยู่กับความชอบของครอบครัว

อย่างไรก็ดีไม่ว่าชิ้นหยาบหรือละเอียด

 เราจะสังเกตุได้ว่า

วันรุ่งขึ้นเราก็จะถ่ายออกมาเป็นชิ้นๆ

 ทั้งนี้เป็นเพราะใบขี้เหล็กย่อยยาก

 จึงทำให้มีกากเยอะ ถ่ายได้ง่ายขึ้น

ที่จริงอันนี้เป็นภูมิปัญญาอันหนึ่ง

ที่ทำให้ได้กินผักปริมาณมาก

นอกเหนือจากการกินผักสด

ประมาณปีพ.ศ. 2540 มีการใช้ใบขี้เหล็กอ่อน

 บดเป็นผง ใส่แคปซูล

 กินเป็นยานอนหลับ พบว่าได้รับความสนใจ

และใช้กันมากพอสมควร

ต่อมาปี 2542 พบว่า

แคปซูลใบขี้เหล็กทำให้เกิดตับอักเสบ

เนื่องจากสารบาราคอลที่มีในใบ

จนทำให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

ประกาศยกเลิกการใช้เป็นยาเดี่ยว

อนุญาตให้ใช้เป็นยาตำรับเท่านั้น

จึงทำให้มีนักวิทยาศาสตร์หลายคนสงสัยว่า

แล้วทำไมแกงขี้เหล็กที่เรากินกัน

จะเป็นพิษต่อตับด้วยหรือไม่

หลังจากการทดลองหาปริมาณของบาราคอล

ในใบขี้เหล็กที่ต้มน้ำทิ้ง 2 ครั้ง พบว่า

สารบาราคอลเหลืออยู่เพียง 10% เท่านั้น

ไม่ทำให้เกิดพิษต่อตับแต่ประการใด

อีกทั้งด้วยพฤติกรรมการกินแกงขี้เหล็ก

 ไม่ได้กินติดต่อกันทุกวัน

เหมือนกับการกินเป็นยา นั่นเป็นคำตอบว่า

ทำไมคนกินแกงขี้เหล็กแล้วไม่เป็นอะไร

กินแกงขี้เหล็กอาจไม่ได้ทำให้นอนหลับสบาย

อย่างที่หลายคนเข้าใจ

เพราะในกระบวนการทำแกงขี้เหล็กให้ปลอดภัย

ต้องต้มน้ำทิ้งเสียก่อน เพื่อให้ความขม เฝื่อนลดลง

 ฤทธิ์และความเป็นพิษก็ลดลงด้วย

แต่ถึงอย่างไรแกงขี้เหล็ก ทำให้ถ่ายง่าย สะดวก

ยอดอ่อนและใบขี้เหล็ก 100 กรัม 

มีเบตาคาโรทีน 1.4 มิลลิกรัม 

ใยอาหาร 5.6 กรัม 

แคลเซียม 156 มิลลิกรัม.

ฟอสฟอรัส 190 มิลลิกรัม 

ธาตุเหล็ก 5.8 มิลลิกรัม 

โปรตีน 7.7 กรัม 

คาร์โบไฮเดรต 10.9 กรัม 

ให้พลังงาน 87 กิโลคาลอรี

ในขณะที่ดอกขี้เหล็ก 100 กรัม มีสารอาหารน้อยกว่า

 เช่น มีเบตาคาโรทีน 0.2 มิลลิกรัม ใยอาหาร 9.8 กรัม

แคลเซียม 13 มิลลิกรัม. ฟอสฟอรัส 4 มิลลิกรัม

ธาตุเหล็ก 1.6 มิลลิกรัม โปรตีน 4.9 กรัม

คาร์โบไฮเดรต 18.7 กรัม .ให้พลังงาน 98 กิโลคาลอรี

จึงอยากชักชวนให้ผู้ใหญ่รุ่นปัจจุบัน

 หันกลับมากินแกงขี้เหล็ก แกงแห่งภูมิปัญญา

 ทำให้มีทางเลือกในการบริโภคที่มากขึ้น

อร่อยปาก สบายท้อง สุขภาพดี

แต่อย่าลืมถามผู้ปรุงก่อนว่า

ใบขี้เหล็กที่ใช้ต้มน้ำทิ้งแล้วหรือยัง

จะได้ประโยชน์ในการกิน

โดยไม่มีพิษแอบแฝงให้กังวลใจต่อไป 

...............................

ขอบคุณข้อมูลจาก

รองศาสตราจารย์ รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล

ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

#RamaChannel






Create Date : 08 เมษายน 2557
Last Update : 30 พฤษภาคม 2559 11:41:26 น.
Counter : 2273 Pageviews.

0 comment
### น้ำพริกแกงหลากหลายชนิดช่วยต้านมะเร็ง ###



น้ำพริกแกงมัสมั่นช่วยต้านมะเร็งสูงสุด









แกงมัสมั่นไทยคว้าอันดับ 1 ของ 50 สุดยอดอาหารอร่อยที่สุดในโลก

โดยนับผลจากการโหวตผ่านเฟซบุ๊กโพลของซีเอ็นเอ็นโก

โดยยกให้แกงมัสมั่นไทยเป็นราชาแห่งอาหาร

เพราะมีทั้งความเผ็ดร้อนของเครื่องเทศ หอมมันจากกะทิ

หวานและอร่อย เป็นรสชาติกลมกล่อมที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว

เครื่องแกงมัสมั่นมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง

รองศาสตราจารย์ ดร.แก้ว กังสดาลอำไพ นักวิชาการด้านอาหาร

จาก สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณะ

ได้ทำการวิจัยศึกษาผลของพริกแกงไทยที่คนไทยนิยมบริโภค

 จำนวน 10 ชนิด คือ พริกแกงเหลือง พริกแกงมัสมั่น เครื่องต้มข่า

พริกแกงป่า พริกแกงส้ม พริกแกงเผ็ด พริกแกงกะหรี่ พริกแกงพะแนง

พริกแกงเขียวหวานและเครื่องต้มยำ

ในความสามารถต้านฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์ของสารก่อมะเร็ง

 โดยนำน้ำพริกแกงแต่ละชนิดในปริมาณที่หลากหลายมาศึกษา

ในสัตว์ทดลอง (แมลงหวี่) พบว่า

น้ำพริกแกงทุกชนิดไม่มีฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์

ในทางตรงกันข้ามน้ำพริกแกงดังกล่าวกลับมีฤทธิ์ในการยับยั้ง

การก่อกลายพันธุ์ของสารยูรีเทนซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง

โดยพบว่าพริกแกงมัสมั่นสามารถยับยั้งการก่อกลายพันธุ์ได้สูงที่สุด

รองลงมาคือน้ำพริกแกงเหลือง และน้ำพริกแกงพะแนง

นอกจากการวิจัยเรื่องเครื่องแกง นักวิชาการจากสถาบันโภชนาการ

 ได้วิจัยศึกษาภาวะพร่องเหล็กในคนไทย

ทั้งนี้วิถีชีวิตของคนไทยในชนบทห่างไกลยังบริโภคอาหาร

ที่มาจากพืช และผักพื้นบ้านที่มีคุณสมบัติเป็นสมุนไพรด้วย เป็นหลัก

จึงจำเป็นต้องพึ่งพาธาตุเหล็กจากพืชมากกว่าเนื้อสัตว์

พบว่าเครื่องเทศสำคัญในการปรุงอาหารไทยเกือบทั่วภูมิภาคคือ พริก

รวมทั้งขมิ้นที่บริโภคมากในภาคใต้

ซึ่งพืชทั้งสองชนิดมีสารโพลิฟีนอลเป็นองค์ประกอบสูง

และสารดังกล่าวสามารถจับธาตุเหล็กในพืช

ทำให้ร่างกายของเราดูดซึมธาตุเหล็กได้น้อยลง

ผลจากภาวะพร่องเหล็กดังกล่าวจึงเป็นสาเหตุหนึ่ง

ที่นำไปสู่การเกิดโรคโลหิตจางได้ ทำให้ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ

 เนื่องจากธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบของกล้ามเนื้อ

เมื่อร่างกายได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอ

จะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ

ด้วยตระหนักในความสำคัญของปัญหา

 ดร.ศิริพร ตันติโพธิ์พิพัฒน์ อาจารย์ฝ่ายมนุษย์โภชนาการ

สถาบันโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล

จึงได้ศึกษาประเมินผลการบริโภคเครื่องเทศและผักสมุนไพร

ซึ่งนิยมใช้ปรุงในอาหารไทยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการดูดซึมธาตุเหล็ก

โดยทำการสำรวจและเก็บข้อมูลในด้านชนิดและปริมาณเครื่องเทศ

และผักสมุนไพรที่รับประทานในหนึ่งมื้ออาหาร

ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดขอนแก่น

ซึ่งมีผู้เก็บข้อมูลไว้แล้วบางส่วน ใช้แบบจำลองของการย่อย

ซึ่งมีลักษณะคล้ายระบบการย่อยอาหารในกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็ก

จากนั้นจึงทำการคัดเลือกพืชอาหารที่น่าสนใจจำนวน 2 ชนิด

ได้แก่ พริกและขมิ้น โดยเริ่มจากการนำพริกขี้หนูและขมิ้นชัน

มาคำนวณหาปริมาณของสารโพลิฟีนอลจากพืชทั้งสองชนิด

ในระดับที่คนทั่วไปสามารถบริโภคได้

ผลการประเมินการบริโภคพริกขี้หนู พบว่า

มีการใช้สารโพลิฟีนอลจากพริกปริมาณ 25 มิลลิกรัมต่อมื้อ

ถ้าพิจารณาเป็นพริกสดจะมีปริมาณ 14 กรัม

ส่วนผลการคำนวณปริมาณการปรุงอาหารด้วยขมิ้น

อยู่ในระดับ 50 มิลลิกรัมต่อมื้อ

จากนั้นจึงนำมากำหนดรายการอาหารทดลอง

โดยนำพริกสดไปผสมลงในน้ำซุป ส่วนขมิ้นนำไปหุงกับข้าวสวย

ผลการทดสอบทั้งสองระยะ พบว่า
อาหารที่มีขมิ้นเป็นส่วนประกอบ

ไม่มีผลในการยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็กแต่อย่างใด

แม้การทดสอบดังกล่าวจะมีปริมาณของสารโพลิฟีนอล

จากขมิ้นชันมากถึง 50 มิลลิกรัม ซึ่งมากกว่าปริมาณสารโพลิฟีนอล

ในพริกกว่าเท่าตัว ผลการวิจัยข้างต้นจึงชี้ว่า

การกินอาหารที่ปรุงแต่งรสชาติด้วยพริก โดยมีผักเป็นส่วนประกอบหลัก

เนื้อสัตว์ หรือ ไข่แดง มีผลขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหาร

ที่ร่างกายได้รับจากพืช ส่วนการกินอาหารที่ปรุงแต่งรสชาติด้วยขมิ้น

ไม่มีผลในการขัดขวางกระบวนการดูดซึมธาตุเหล็กแต่อย่างใด

ผลการวิจัยดังกล่าวนับเป็นข้อมูลที่ช่วยในการปรุงแต่ง

และเลือกบริโภคอาหาร โดยเฉพาะผู้ที่นิยมปรุงอาหาร

ซึ่งมีพืชผักเป็นส่วนประกอบหลักและชื่นชอบรสเผ็ด

จำเป็นต้องลดความจัดจ้านของรสชาติลง

เนื่องจากธาตุเหล็กยิ่งดูดซึมได้น้อยถ้ากินร่วมกับพริก

ในส่วนของผู้ที่กินอาหารมังสวิรัติเป็นอาหารหลัก

ถ้ารับประทานอาหารที่มีพริกเป็นส่วนประกอบของอาหารมาก ๆ

จะมีผลต่อการดูดซึมธาตุเหล็ก

จึงควรกินอาหารที่เป็นแหล่งของธาตุเหล็กเพิ่มเติม

เช่น ไข่เนื่องจากไข่แดงมีธาตุเหล็กสูง

แต่ถ้าไม่กินไข่ก็อาจจะมีผลกระทบได้

แต่ไม่จำเป็นต้องวิตกกังวลมากเกินไปนัก

เนื่องจากหากเรากินอาหารมังสวิรัติมาเป็นระยะเวลานาน ๆ

กลไกในร่างกายจะมีการปรับตัวให้สามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนั้นยังมีอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความสามารถ

ในการดูดซึมธาตุเหล็ก ด้วยการกินอาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินซี

เนื่องจากวิตามินซีมีคุณสมบัติช่วยสนับสนุนการดูดซึมธาตุเหล็ก

ฉะนั้นการเลือกกินอาหารที่มีวิตามินซีสูง ๆ ร่วมด้วย เช่น ส้ม มะนาว

 เป็นส่วนประกอบก็ช่วยได้ เช่น อาหารประเภทยำต่าง ๆ ก็น่าจะช่วยได้

แต่ต้องคำนึงด้วยว่ามะนาวที่ใช้ต้องเป็นมะนาวสด

และกินทันทีหลังประกอบอาหารเสร็จเพื่อป้องกันการสูญเสียวิตามินซี

ขอบคุณข้อมูลจาก ดร.ศิริพร ตันติโพธิ์พิพัฒน์

อาจารย์ฝ่ายมนุษย์โภชนาการ

สถาบันโภชนาการมหาวิทยาลัยมหิดล

#‎RamaChannel








Create Date : 07 เมษายน 2557
Last Update : 9 เมษายน 2557 9:49:06 น.
Counter : 1357 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ