Group Blog
All Blog
### ผักคะน้า ###
















ผักคะน้า

......

ชื่อสามัญ Kai-Lan (Gai-Lan), Chinese Broccoli,

 Chinese Kale ไก่หลันไช่ (จีนกวางตุ้ง) และ กำหนำ (จีนแต้จิ๋ว)

 เป็นผักที่มีต้นกำเนิดในทวีปเอเชีย เพาะปลูกมากในประเทศจีน

 ไต้หวัน ฮ่องกง มาเลเซีย รวมไปถึงประเทศไทย

ผักคะน้าเป็นผัก ที่สามารถปลูกได้ตลอดปี

ช่วงเวลาที่ดีที่สุดจะในช่วงเดือนตุลาคม – เมษายน

 มีระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวสั้น สายพันธุ์ที่นิยมปลูก

จะมีอยู่ด้วยกัน 3 สายพันธุ์ได้แก่

พันธุ์ใบกลม พันธุ์ใบแหลม พันธุ์ยอดหรือก้าน

เมื่อหาซื้อมาแล้วควรเก็บใส่ไว้ในกล่องหรือถุงพลาสติก

 มัดหรือปิดให้แน่น แล้วนำไปแช่ไว้ในช่องเก็บผัก ของตู้เย็น

 จะช่วยรักษาวิตามินในผัก ให้คงอยู่ได้มากที่สุด


คะน้า เป็นพืชผักใบเขียว ที่นิยมกันมาก

คุณค่าทางโภชนาการ ในคะน้าพบว่ามีวิตามินหลายชนิด

เช่น บีตา-แคโรทีน ช่วยลดความเสี่ยง

 ต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด

 และมะเร็งกระเพาะปัสสาวะ

โดยสารเบต้าแคโรทีน รวมกับวิตามินซี

 จะกลายเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ หรือสารต้านมะเร็ง

ที่มีประสิทธิภาพมาก และยังมีวิตามินซี

ช่วยเสริมสร้างเนื้อเยื่อให้ชุ่มชื้น

และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันโรค มีความแข็งแรงสมบูรณ์

นอกจากนี้ยังมีแคลเซี่ยม ช่วยเสริมสร้างกระดูกอีกด้วย

การรับประทานคะน้า 1 ถ้วย จะได้รับแคลเซียม

พอ ๆ กับการดื่มนม 1 แก้ว ทั้งยังให้โฟเลตและธาตุเหล็กสูง

ซึ่งสารทั้งสองชนิดนี้ จำเป็นต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง

 ป้องกันโรคโลหิตจาง และยังเหมาะ กับคุณแม่ตั้งครรภ์

 เพราะโฟเลตกับสาร indoles ที่มีอยู่ในคะน้า

 ยังป้องกันการพิการแต่กำเนิด ของทารก

 แต่ไม่ควรบริโภคมากเกินไป เนื่องจาก มีสาร Goitrogen

 ทำให้เกิดอาการท้องอืดท้องเฟ้อได้

ร่างกายขาด แร่ธาตุไอโอดีน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคคอพอก

 และยังไปยับยั้ง การสร้างฮอร์โมน ในต่อมไทรอยด์อีกด้วย

ซึ่งจะทำให้ร่างกายของเรานำไอโอดีนในเลือด

ไปใช้ได้น้อยกว่าปกติ

 ทางที่ดีที่สุด ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผัก ชนิดซ้ำๆเดิมๆ

 และควรเลือกรับประทานผัก ให้หลากหลาย

ร่างกายจะได้ประโยชน์มากที่สุด

สรรพคุณทางยา และก้านใบ บำรุงผิวพรรณ

บำรุงและรักษาสายตา ลดความเสี่ยง

ของการเกิดโรค จอประสาทตาเสื่อม

ป้องกันการเกิด โรคกระดูกพรุน

ลดความเสี่ยงของการเกิด โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

 มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งปอด

 และมะเร็งเต้านม เสริมสร้างเนื้อเยื่อ ระบบภูมิคุ้มกันโรคแข็งแรง

 ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟัน ต้านทานการติดเชื้อ

 สร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยบำรุงโลหิต

ช่วยเพิ่ม การไหลเวียนของโลหิต

ช่วยป้องกันการเกิด โรคกระดูกพรุน

ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยรักษาอาการไมเกรน

 ช่วยชะลอปัญหา ความจำเสื่อม ช่วยรักษาโรคหอบหืด

ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ ช่วยคลายการเกร็งตัว

ของกล้ามเนื้อหลอดลม ช่วยป้องกันโรคท้องผูก





























ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ




Create Date : 23 มิถุนายน 2558
Last Update : 23 มิถุนายน 2558 19:08:52 น.
Counter : 3478 Pageviews.

0 comment
### ลูกชิด ###

























ลูกชิด ต้นตาว

.......

ลูกชิด กับลูกจาก มาจากต้นไม้คนละต้น

โดยลูกชิด มาจากต้นตาว หรือตาว

หรือคนใต้เรียกว่า ต้นชก หรือฉก

ซึ่งเป็นพืชตระกูลปาล์มชนิดหนึ่ง ผลของตาวจะออกเป็นทลาย

 เนื้อในเมล็ดเรียกว่า" ลูกชิด "

 ส่วน ลูกจาก มาจากต้นจาก ซึ่งเป็นพืชตระกูลปาล์มเช่นกัน

 แต่เป็นคนละสายพันธุ์ กับต้นตาว

 ใบจากมักนิยมนำมาห่อขนม ที่เรียกว่าขนมจาก

 ผลของต้นจากจะออกเป็นทลายเนื้อในเมล็ด เรียกว่า "ลูกจาก"

สามารถกินได้ทั้งแบบสด หรือเชื่อมก่อน

แต่เนื้อของลูกจาก จะมีลักษณะสีขาวขุ่นกว่าเนื้อลูกชิด

 เรื่องความอร่อยนั้น ก็ขึ้นอยู่ที่ความชอบ ของแต่ละคน

ตาว ชื่อสามัญ Sugar palm, Aren, Arenga Palm,

Areng palm, Black-fiber palm,

Gomuti Palm, Kaong, Irok

จัดอยู่ในวงศ์เดียวกับ ตาล จาก ลาน หวาย และมะพร้าว 

มีชื่อท้องถิ่น ตาว ชิด (ภาคกลาง), ตาว ต๋าว มะต๋าว (ภาคเหนือ)

 ฉก ชก ต้นชก (ภาคใต้) เตาเกียด เต่าเกียด (กาญจนบุรี)

โตะ (ตราด) กาชก (ชุมพร) ฉก (พังงา ภูเก็ต)

ลังค่าย หลังค่าย (ปัตตานี) โยก (สตูล) เนา (ตรัง)

ต่าว (เมี่ยน ขมุ ไทลื้อ คนเมือง) ต๋งล้าง (ม้ง)

 วู้ (กะเหรี่ยง) ต่ะดึ๊ (กะเหรี่ยงเชียงใหม่) หมึ่กล่าง (ลั้วะ)

ส่วนผล เรียกว่า ลูกชิด (กาญจนบุรี) ลูกตาว (อุตรดิตถ์)

ลูกต๋าว (น่าน) ลูกเหนา (ภาคใต้) ลูกชก

ต้นตาวจัดเป็นปาล์มชนิดหนึ่ง

ที่มีถิ่นกำเนิด และการกระจายพันธุ์อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

 ได้แก่ ประเทศไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ พม่า

ลาว อินโดนีเซีย และอินเดีย สำหรับในไทย พบขึ้นตามป่า

 ในเขตจังหวัดน่าน พิษณุโลก อุตรดิตถ์ แพร่ และตาก

 ในปัจจุบันมี จำนวนลดน้อยลงอย่างมาก

สาเหตุมาจากการที่ ป่าถูกทำลายและไม่มีการปลูกเพื่อทดแทน

๏ ผลชิดแช่อิ่มโอ้ เอมใจ
หอมชื่นกลืนหวานใน อกชู้
รื่นรื่นรสรมย์ใด ฤๅดุจ นี้แม่
หวานเลิศเหลือรู้รู้ แต่เนื้อนงพาลฯ

๏ ผลชิดแช่อิ่มอบ หอมตรลบล้ำเหลือหวาน
รสไหนไม่เปรียบปาน หวานเหลือแล้วแก้วกลอยใจ

ต้นตาว (ต้นชิด ต้นชก) จัดเป็นไม้อยู่ต้น แบบต้นเดี่ยวที่มีอายุยืน

 ลักษณะลำต้นตรงสูงชะลูด มีหลายขนาด

มีความสูงประมาณ 6-15 เมตร

 เส้นผ่านศูนย์กลางต้นราว 30-65 เซนติเมตร

ลำต้นมีขนาดใหญ่ กว่าต้นตาล ลำต้นมีสีน้ำตาลเข้ม จนเกือบดำ

 เป็นพืชขนาดใหญ่ ที่อยู่ในตระกูลปาล์ม

มักพบขึ้นตามป่าที่มีความชื้นสูง หรือตามริมแม่น้ำลำธาร

 หรือตามโขดหิน ใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับกัน

 ใบมีลักษณะเช่นเดียวกับใบมะพร้าว แต่จะใหญ่และแข็งกว่า

 โดยใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนและแหลม

 ส่วนโคนใบ เป็นรูปเงี่ยงใบหอก ขอบเรียบ ผิวใบหนา

หลังใบเป็นสีเขียวเข้มมันวาว ส่วนใต้ใบมีสีขาวนวล

 เมื่อใบแก่จะห้อยจนปิดคลุมลำต้น

การใช้ประโยชน์จากต้นตาว มีหลากหลายมาก

 เช่น ใบใช้มุงหลังคา กั้นฝาบ้าน ก้านใบนำมาเหลารวบทำไม้กวาด

 เส้นใยที่ลำต้นใช้ทำแปรงได้ ยอดอ่อนที่ขั้วหัวใช้กินแบบผักสด

 หรือดองเปรี้ยว เก็บไว้แกงส้มแกงกะทิ

ยอดอ่อนสามารถนำไปใช้ ประกอบอาหาร

ได้เหมือนยอดมะพร้าว ใบอ่อนเอามากินเป็นผักจิ้มได้

แกนในของลำต้นอ่อนเอาไปทำเป็นแกงใส่เนื้อสัตว์ต่างๆได้

ส่วนเส้นใยจากลำต้น นำมาทำหลังคาที่อยู่อาศัย

 ในอินโดนีเซีย ใช้ทำหลังคาตามศาสนสถาน

ต่างๆ และเอาลำต้นมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์

หรือใช้ทำเป็นอุปกรณ์การเกษตร ลำต้นในระยะที่เริ่มออกดอก

 จะมีแป้งสะสมอยู่ภายใน จึงมีผู้นำแป้ง

มาใช้ประโยชน์ได้คล้ายกับต้นสาคู ใบใช้ ตกแต่งงานรื่นเริง

 ในหมู่บ้าน หรือนำมาใช้สานตะกร้า

 ส่วนใบอ่อนนำมาใช้ทำเป็นมวนบุหรี่ ใช้ทำฟืน สำหรับก่อไฟ

 เส้นใยจากลำต้น ซึ่งจะมีความยาว และมีสีเทาดำ

 ในอินโดนีเซีย จะนำไปทำเป็นเชือก สำหรับใช้กับเรือประมง ฯลฯ

เนื้อในเมล็ดเรียกว่า ลูกชิด กินได้สด หรืออาจนำไปเชื่อมน้ำตาล

เพื่อให้ได้รสอร่อยขึ้น ในต่างประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์

นำน้ำจากช่อดอก มาทำน้ำตาล เหมือนที่บ้านเราทำน้ำตาลมะพร้าว

หรือน้ำตาลโตนด บางท้องถิ่นนำไปผลิต เป็นสุราพื้นบ้าน

หรือน้ำส้มสายชู ใช้ในครัวเรือนด้วย

 ในเมืองไทย นำน้ำหวานที่ได้จาก ลูกชิด

มากินได้เช่นเดียวกับน้ำตาลโตนด และยังนำไปทำน้ำส้ม

ที่เรียกว่า “น้ำส้มชุก”สำหรับการปรุงอาหาร หรือทำกระแช่

 หรือเอาส่วนที่เคี่ยวเป็น “น้ำผึ้งชุก” ไปหมักสำหรับทำสุรา




































 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพ

 




Create Date : 23 มิถุนายน 2558
Last Update : 23 มิถุนายน 2558 18:38:52 น.
Counter : 4710 Pageviews.

0 comment
### ลูกตาล ###





















ลูกตาล

 ....

ชื่อสามัญ Asian Palmyra palm, Palmyra palm,

 Brab palm, Doub palm, Fan palm, Lontar palm,

Toddy palm, Tala palm, Wine palm

จัดอยู่ในวงศ์ เดียวกับตาว จาก ลาน หวาย และมะพร้าว

 มีชื่อท้องถิ่นว่า ตาลนา ปลีตาล (เชียงใหม่),

 ตาล ตาลใหญ่ ตาลโตนด (ภาคกลาง),

โหนด ลูกโนด(ภาคใต้), ถาล (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน),

ถาน (ชาน-แม่ฮ่องสอน), ทอถู (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน),

 ท้าง (กะเหรี่ยง-เชียงใหม่), ตะนอด (เขมร),

ทะเนาด์ (เขมร-พระตะบอง)

ถิ่นกำเนิดทวีปแอฟริกา ขยายแพร่พันธุ์ จนมีอยู่ทั่วไป

ในเอเชีย เขตร้อน รวมทั้งประเทศไทยด้วย

ซึ่งพบทั่วไปของทุกภาคของประเทศ

และสามารถได้มากในภาคตะวันตก ในจังหวัดเพชรบุรี

สุพรรณบุรี อยุธยา และนครปฐม

ต้นตาลนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 สายพันธุ์หลักๆ

คือ "ตาลบ้าน" เป็นตาลที่มีจำนวนของเต้าจาว

 ในแต่ละผลประมาณ 1-4 เต้า

 และยังมีสายพันธุ์ย่อยอีก 3 สายพันธุ์ ได้แก่

ตาลหม้อ ผลใหญ่ ผิวดำคล้ำ ตาลไข่ ผลเล็กกว่า ผลมีสีขาวเหลือง

 และตาลจาก มีผลในทะลายแน่น คล้ายกับทะลายจาก

 "ตาลป่า" หรือ ตาลก้านยาว จะมีผลเล็ก มีผลเขียวคล้ำ

มีเต้าอยู่ 1-2 เต้า มีลำต้นเขียวสดและก้านใบยาว

 และไม่ค่อยเป็นที่รู้จักมากนัก

เราสามารถแยกแยะ ความแตกต่าง ระหว่างตาลไข่กับตาลหม้อ

ได้อย่างชัดเจนเมื่อเป็นผลโดยตาลไข่จะมีลูกเล็ก

 สีเหลืองตลอดทั้งผล ผิวมีประเป็นจุดๆ สีดำทั่วไป

ส่วนเนื้อเยื่อมีความชื้นมากและให้แป้งน้อย

ส่วนตาลหม้อ นั้นลูกจะใหญ่ บางทีอาจยาวได้ถึง 30 เซนติเมตร

 และวัดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ถึง 23 เซนติเมตร

 โดยผิวผลจะดำสนิทและมีสีเหลืองเล็กน้อย บริเวณก้นผลเท่านั้น

ส่วนเยื่อจะมีความชื้นน้อยและให้แป้งมาก

ต้นตาล หรือ ต้นตาลโตนด เป็นปาล์มต้นเดี่ยว ที่มีความสูงชะลูด

มีลำต้นใหญ่ และเนื้อแข็งแรงมาก

และเป็นปาล์ม ที่แยกเพศกันอยู่คนละต้น

มีลำต้นขนาดประมาณ 30-60 เซนติเมตร

 มีความสูงของต้นได้ถึง 25-40 เมตร

ลำต้นเป็นเสี้ยนสีดำ และแข็งมาก แต่ไส้กลางของลำต้น จะอ่อน

 ส่วนบริเวณโคนต้น จะมีรากเป็นกลุ่มใหญ่

ในขณะที่ต้นยังเตี้ยจะมีทางใบแห้ง

และติดแน่น เจริญเติมโตช้ามาก

 ต้องใช้เวลายาวนานกว่า 15 ปี จึงจะให้ผลผลิต

 ดอกเพศเมียและเพศผู้ของตาล จะอยู่แยกกันคนละต้น

ช่อดอกเพศผู้ลักษณะเป็นงวงยาว

ช่อดอกเพศเมีย ลักษณะเป็นทะลาย มีผลตามเล็ก ๆ

ติดอยู่ทะลายละ 1-20 ผล

ผลตาลจะเกิดเฉพาะต้นเพศเมียเท่านั้น

ช่อดอกของตาล ให้น้ำหวานได้ทั้ง ช่อดอกเพศผู้ที่เรียกว่า “งวง”

และช่อดอกเพศเมียที่เรียกว่า “จั่น” หรือ “ปลี”

โดยชาวสวนจะนวดงวง หรือจั่นเบา ๆ แล้วใช้มีดปาดปลาย

 เอากระบอกไม้ไผ่รองรับ น้ำหวานหรือ “น้ำตาลสด”

มีกลิ่นหอมหวาน แบบธรรมชาติ ซึ่งนอกจากจะต้มดื่ม

 เพื่อความสดชื่นและให้พลังงาน จากน้ำตาลธรรมชาติแล้ว

 ยังแปรรูปโดยการเคี่ยวให้งวด เป็นน้ำตาลปึกหรือน้ำตาลปิ๊บ

 ใช้ในการปรุงอาหาร ทั้งคาวหวาน ให้รสชาดหวานกลมกล่อม

 และหอมกว่าน้ำตาลทราย อาจนำไปหมักเป็นน้ำตาลเมา

 หรือนำไปกลั่นต่อ เป็นน้ำส้มสายชู

ช่อดอกเพศเมีย จะให้น้ำตาลได้มากกว่า ช่อดอกเพศผู้

แต่เมื่อถูกปาดเอาน้ำตาลแล้ว ช่อดอกเพศเมีย จะไม่เจริญไปเป็นผล

ลูกตาล เป็นผลไม้อย่างหนึ่ง ที่ไม่ค่อยถือเป็น ผลไม้

 สิ่งที่มาจาก ตาล นำมาทำอาหารไม่ว่าชนิดไหน ก็อร่อยทั้งนั้น

 เช่น น้ำตาลสด น้ำตาลปึก หัวตาลอ่อน ต้มจิ้มน้ำพริก

แกงหัวตาล ลูกตาลอ่อน หรือ เมล็ดอ่อน เฉาะสดๆ หวานหอม

 นำมาทำเป็นตาลลอยแก้วหรือ เชื่อมน้ำตาล

หั่นสด ๆใส่น้ำกะทิน้ำแข็ง นำเนื้อมากวน ทำพายลูกตาล ฯ

เมื่อลูกแก่ นำเนื้อตาลสุกที่เปลือก มาทำขนมตาล ขนมไข่ปลา

และเมล็ดแก่ เมื่องอก ผ่าออกมา ก็จะได้จาวตาล อร่อยมากหวานดี

โดยมากจะนำไปเชื่อม จาวตาลเชื่อม ก่อนจะนำมาเชื่อมได้

ต้องใช้มีดผ่าเปลือกแข็งๆ ออกมาแล้วแช่น้ำปูนใส

 ล้าง ขัดผิวด้วยใบตองแห้ง จึงนำไปเชื่อมไฟอ่อนๆ

 นานมาก ก่อนจะเสร็จ

ผลตาล กินได้ตั้งแต่ยังอ่อน โดยตัด “หัวตาล”

หรือเนื้ออ่อน ด้านที่ติดขั้วผล ปอกเปลือกสีเขียวอ่อนออก

 แล้วฝานบาง ๆ นำไปแช่น้ำเกลือ หรือน้ำมะนาว

 เพื่อคงความขาวนวล น่ากินไว้ ไม่ให้เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล

ก่อนจะนำไปประกอบอาหาร เมื่อผลตาลแก่ แต่ยังไม่สุก

เปลือกนอกแข็งสีดำ ภายในมีเมล็ดที่เรียกว่า “ลอนตาล”

หรือ “เต้าตาล” 2-4 เมล็ด ลักษณะอ่อนนุ่ม ใสเหมือนวุ้น

มีน้ำอยู่ข้างใน รสหวานหอม เรียกว่า “ลูกตาลอ่อน”

และด้วยความ ที่ต้องใช้วิธีเฉาะ ออกมาจากผล

จึงเรียกอีกชื่อว่า “ตาลเฉาะ”

ลูกตาลอ่อนจะให้ คาร์โบไฮเดรต วิตามินเอและซี เหล็ก

 แคลเซียม รวมถึงฟอสฟอรัส

 ผลตาลแก่และสุกเต็มที่ จะมีกลิ่นหอมแรง

เนื้อหุ้มเมล็ดสีเหลืองส้ม ที่ใช้ทำขนมตาล

บ่งบอกว่ามีเบตาแคโรทีน

 ซึ่งมีมากถึง 615 ไมโครกรัม ต่อเนื้อตาลสุก 100 กรัม

รวมทั้งโปรตีน ไขมัน วิตามินซี แคลเซียม

 คาร์โบไฮเดรต ฟอสฟอรัส และเส้นใยอาหาร

 ส่วนเมล็ดข้างใน เมื่อเพาะให้รากงอกจะกลายเป็น “จาวตาล’

 ที่ให้ฟอสฟอรัสและวิตามินซี

ส่วนต่าง ๆ ของตาลมีสรรพคุณทางยา

เช่น ลูกตาลอ่อน กินแล้วช่วยลดความร้อน ในร่างกาย

 ลดเสมหะ และบรรเทาอาการไอ

ช่อดอกเพศเมีย ต้มน้ำดื่มแก้เด็ก เป็นตานขโมย

 แก้พิษตานซาง ขับพยาธิ แก้ร้อนใน แผลในปาก

ช่อดอกเพศผู้ ต้มน้ำดื่มเป็นยาบำรุงกำลัง ยาขับปัสสาวะ
































ขอบคุณข้อมูลจาก fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ




Create Date : 22 มิถุนายน 2558
Last Update : 22 มิถุนายน 2558 11:49:44 น.
Counter : 4231 Pageviews.

0 comment
### สับปะรด ###




















สับปะรด

....

ชื่อสามัญ Pineapple ชื่อท้องถิ่น แนะ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)

 ขนุนทอง ยานัด ย่านนัด (ใต้) บ่อนัด (เชียงใหม่)

เนะซะ (กะเหรี่ยงตาก) ม้าเนื่อ (เขมร)

มะขะนัด มะนัด (เหนือ) หมากเก็ง (เงี้ยว-แม่ฮ่องสอน)

 สับปะรด (กรุงเทพฯ) ลิงทอง (เพชรบูรณ์)

ถิ่นกำเนิดมาจากทวีปอเมริกาใต้

สับปะรด มีความ ทนทานต่อสภาพแวดล้อม ได้ดี

 และจัดเป็นผลไม้เศรษฐกิจ

แหล่งปลูกที่สำคัญๆมักจะอยู่ใกล้ทะเล

 เช่น ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ชลบุรี

หรืออุตรดิษถ์ ลำปาง พิษณุโลก

พันธุ์ที่นิยมปลูกในบ้านเรา มีหลายสายพันธุ์

เช่น พันธุ์ปัตตาเวีย สัปปะรดศรีราชา ผลใหญ่

 เนื้อฉ่ำสีเหลืองอ่อน พันธุ์อินทรชิต หรือพันธุ์พื้นเมือง

 พันธุ์ภูเก็ต ผลเล็กเปลือกหนา เนื้อสีเหลือง หวานกรอบ

 พันธุ์นางแล พันธุ์น้ำผึ้ง เนื้อจะเข้มเหลือง รสออกหวานจัด

สับปะรด จัดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ

ประโยชน์ของสับปะรด มีอยู่หลากหลาย

 เพราะอุดมไปด้วยแร่ธาตุ และวิตามินจำนวนมาก

ซึ่งได้แก่ คาร์โบไฮเดรต วิตามินซี วิตามินบี1

วิตามินบี2 วิตามินบี3 วิตามินบี5 วิตามินบี6 กรดโฟลิก

 ธาตุแคลเซียม ธาตุโพแทสเซียม ธาตุแมกนีเซียม

 ธาตุแมงกานีส ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก ธาตุสังกะสี

ถือว่ามีประโยชน์ต่อร่างกายและสุขภาพ เป็นอย่างมาก

 และสรรพคุณ ทางสมุนไพรนั้น ช่วยรักษา โรคบิด

 โรคนิ่ว ช่วยบรรเทาอาการแผล เป็นหนอง ขับปัสสาวะ

สรรพคุณ ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง

 รับประทานสับปะรดวันละหนึ่งชิ้น

จะช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินซี

ที่สำคัญ วิตามินช่วยในการทำงาน ของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

และยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง

 เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกาย ติดเชื้อและต่อสู้กับเชื้อโรค

เป็นการเพิ่มแรงต้านทานโรคให้แก่ร่างกาย

 แต่ในผู้ที่มีเลือดจางไม่ควรกินมากนัก

ช่วยในการย่อยอาหาร สับปะรดมีกากใยอาหาร

ซึ่งมีความสำคัญกับการย่อยอาหาร ช่วยลดคอเลสเตอรอล

 ควบคุมน้ำตาล ในเส้นเลือด และช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็ง

 เพราะในสับปะรดมีเอนไซม์ ตามธรรมชาติ

ที่มีชื่อว่า “บรอมีเลน” สามารถช่วยย่อยอาหารได้

ทั้งในภาวะเป็นกรดและด่าง จึงเหมาะมาก

ช่วยย่อยในกระเพาะ ซึ่งเป็นกรด

หากกินสัปปะรดหลังอาหารเป็นประจำ

จะช่วยในเรื่องของ ระบบขับถ่ายด้วยนะ

 ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี สับปะรดมีสารแอนตี้ออกซิแดนท์

 เช่น วิตามินซี เบต้าแคโรทีน และแมงกานีส

ที่จะช่วยป้องกันอันตราย จากอนุมูลอิสระ

ที่จะทำลายโครงสร้าง ของ เซลล์

และอาจทำให้เป็นโรคหัวใจ และอัมพฤกษ์ อัมพาต

 นอกจากนี้ ยังมีความสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอีกด้วย

ป้องกันความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง

โดยเฉพาะมะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งเต้านม

 เพราะสับปะรด มีสารแอนตี้ออกซิแดนท์

ที่ช่วยป้องกันการเติบโตของเซลล์ร้าย ในปอด

 ป้องกันมะเร็งรังไข่ ช่วยให้เหงือกแข็งแรง

เนื่องจาก มีวิตามินสูงที่จะช่วยป้องกันความเสี่ยง

จากโรคเหงือกได้ ช่วยยับยั้งการอักเสบ

เอนไซม์ Bromelain ในสับปะรดจะช่วยยับยั้งการอักเสบ

 ชาวอเมริกาใต้โบราณ ใช้สับปะรดเป็นยารักษาโรคผิวหนัง

 และรักษาบาดแผล

สำหรับสุภาพสตรี ที่มีอาการปวดประจำเดือน

อาการอักเสบ จากริดสีดวงทวาร

หรือผู้ป่วยอาการที่เกี่ยวข้อง กับเส้นเลือดดำ โรคกระดูก

 ข้ออักเสบ รูมาตอยด์ เก๊าท์ หากรับประทานสับปะรด เป็นประจำ

 จะช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ได้

รวมไปถึงสมานแผลให้ทุเลาได้เร็วขึ้นด้วย

ประโยชน์ของสับปะรด ทานเป็นผลไม้ หรือนำมาปรุงเป็นอาหาร

 เช่น แกงคั่วสับปะรด ขนมจีนซาวน้ำ

 ผัดเปรี้ยวหวาน แปรรูปเป็นสับปะรดกระป๋อง

 ทำเป็นสับปะรดกวน แปรรูป ทำ น้ำส้มสายชู

ไอศกรีม ไวน์ แยมและเยลลี่

ใบสับปะรด นำมาแปรรูปเป็นผ้าใยสับปะรด

 ชาวฟิลิปปินส์ นิยมนำมาทำเป็นผ้าพื้นเมือง

 ใช้ทำเป็นกระดาษใบสับปะรด หรือเชือก

เปลือกสับปะรด ส่วนตาของสับปะรดนั้น

อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณค่า

 จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็น อาหารของโค หรือจะอบแห้ง

เป็นส่วนผสมหลักๆของอาหารสัตว์

นำมาทำเป็นน้ำหมัก ปุ๋ยชีวภาพได้ด้วย

การรับประทานที่ถูกวิธี เอาเกลือแกงทาให้ทั่ว หลังปอกเปลือก

 และเอาตาออกแล้ว หรือ แช่ในน้ำเกลืออ่อน ๆ ประมาณ 2-3 นาที

 นอกจากจะทำให้รสชาดดีขึ้นแล้ว

ยังเป็นการทำลายสารจำพวก Glycoalkaoid

และเอ็มไซม์บางชนิด ที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้หลังรับประทาน

































ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ




Create Date : 18 มิถุนายน 2558
Last Update : 18 มิถุนายน 2558 12:01:36 น.
Counter : 3842 Pageviews.

0 comment
### ดอกแค ###




















ดอกแค

......

ชื่อสามัญ Agasta, Sesban, Vegetable Humming bird,

Humming bird tree, Butterfly tree, Agati

 ชื่อท้องถิ่น แคขาว แคแดง แคดอกขาว

ดอกแคแดง แคดอกแดง (กรุงเทพ-เชียงใหม่)

แค แคบ้าน ต้นแค แคบ้านดอกแดง ดอกแคบ้าน (ภาคกลาง)

 แคแกง ถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย

หรือ ในแถบเอเชีย ตอ.ต.

แค จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ถึงขนาดกลาง

แตกกิ่งก้านสาขามาก ไม่เป็นระเบียบ

มีความสูงประมาณ 3-10 เมตร เนื้อไม้อ่อน

 ที่เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลปนเทา เปลือกหนาและมีรอยขรุขระ

 แตกเป็นสะเก็ด สามารถเจริญเติบโตได้ทั่วไปในเขตร้อนชื้น


แค เป็นพืชที่ปลูกง่าย สมัยก่อนชอบปลูกไว้ทำเป็นรั้วบ้าน

ปลูกตามคันนา หรือปลูกไว้ริมถนน

ส่วนใหญ่จะนำ ดอกแค มาทำอาหาร

แกงส้มดอกแค นอกจากจะอร่อยแล้ว

ยังมีประโยชน์ และมีสรรพคุณทางยาอีกด้วย

ส่วนที่นิยมนำมาทานนั้น จะเป็นบริเวณยอดอ่อน ดอกอ่อน

 ใบอ่อน และฝักอ่อนซึ่งจะออกในช่วงฤดูฝน

ส่วนดอกอ่อน จะออกในช่วงฤดูหนาว

ดอกแค 100 กรัม หรือ 1 ขีด ให้พลังงานต่อร่างกาย

10 กิโลแคลอรี มีเส้นใยอาหาร แคลเซียม ฟอสฟอรัส

 เหล็ก แคโรทีน วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง

 และวิตามินซี

สรรพคุณช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง

ห่างไกลโรคมะเร็ง มีดวงตาที่สุขภาพดี

และผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส ไร้ริ้วรอยเหี่ยวย่น

ชะลอความแก่ชราได้อีกนาน

หากรับประทานดอกแคและยอดแคอย่างสม่ำเสมอ

ดอกแคและยอดแค เป็นผักที่มีคุณสมบัติ

ในการต่อต้านความชราได้อย่างดีเยี่ยม

เพราะดอกแคและยอดแคมีสารอาหารที่มีส่วนสำคัญ

 ในการต่อต้านสารอนุมูลอิสระ ให้กับร่างกาย

ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินบี1 2 3 วิตามินซี เบต้าแคโรทีน

 แคลเซียม ฟอสฟอรัสและธาตุเหล็ก

 สารอาหารทั้งหมดนี้ มีคุณสมบัติในการชะลอความแก่

และทำให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง ปราศจากโรคภัย

ดอกแค ลักษณะของดอกคล้ายดอกถั่ว

ออกดอกเป็นช่อบริเวณซอกใบ 2-3 ดอก ดอกมีกลิ่นหอม

 ดอกเป็นสีขาวหรือสีแดง มีก้านเกสรตัวผู้สีขาวอยู่ 60 อัน

 กลีบเลี้ยงเป็นรูประฆังหรือรูปถ้วย

ดอกแค หากไม่ชอบรส ขม ให้เด็ดเกสรดอกแค

ที่อยู่ข้างในของดอก มีสีเหลืองออกเสียก่อน

จึงนำมาทำอาหาร   โบราณว่ากินแกงส้มดอกแคแก้ไข้หัวลม
























ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ




Create Date : 17 มิถุนายน 2558
Last Update : 17 มิถุนายน 2558 10:29:14 น.
Counter : 2049 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ