Group Blog
All Blog
### ลูกอัมพวาหรือมะเปรียง ###

















ลูกอัมพวา หรือ มะเปรียง

..........

ชื่อสามัญ Namnam ชื่อท้องถิ่น ลูกคางคก นำนำ นางอาย

 ลูกอาย น้ำพวา มะเปลียว ผลไม้ที่มีชื่อเดียวกันกับ อำเภออัมพวา

 แต่ไม่ได้เป็นผลไม้ ประจำอำเภออัมพวา

ชาวพังงาเรียก ลูกหล่ำล่ำ หรือหล่ำล่ำ

แต่จังหวัดชายแดนทางภาคใต้

ในบางพื้นที่ ชาวบ้าน ลูก หมา นราธิวาส เรียก มะขามคางคก

 เนื่องจากผลมีผิวขรุขร ะเป็นคลื่น มีส่วนคล้ายกับผิวหนัง

 ของคางคก และมีรสเปรี้ยว จึงเรียกตามลักษณะ

และรสชาติ มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตอ.ต

พบแพร่กระจายไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เป็นไม้พื้นเมืองของมาเลเซีย สันนิษฐานว่า

 มีผู้นำเข้ามาจากชวา ในสมัยรัชกาลที่ 5


อัมพวาเป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ไม่เตี้ยและไม่สูงเกินไป

ความสูงของต้นประมาณ 7 เมตร เป็นพืชที่โตช้ามาก

 กว่าจะสูงถึง 7 เมตร ใช้เวลากว่า 10 ปี ลำต้น มีสีน้ำตาล

 ผิวไม่เรียบ ลักษณะของลำต้น ส่วนโคนค่อนข้างแบน

 คล้ายพูหรือกลีบซึ่งจะพบกับลำต้นใหญ่

ถ้าลำต้นเล็ก ยังไม่ปรากฏลักษณะเช่นนี้ เนื้อไม้เหนียว

กิ่งใหญ่จะเหนียวหักไม่ค่อยขาดง่าย

เมื่อตัดแต่งยอดจะแตกกิ่งก้านช้ามาก

หรือหยุดการเจริญเติบโตเพียงแค่นั้น

เนื่องจากเป็นพืชที่โตช้า

จึงทำให้มีทรงพุ่มต่ำอยู่ตลอด สวยแปลกตา

ผล มีลักษณะคล้ายไตหรือเมล็ดถั่ว

 แต่จะเหมือน กับขนมกะหรี่ปั๊บมากกว่า

ส่วนหัวและส่วนปลายขั้วเรียว ส่วนกลางของผล ค่อนข้างกลม

มีเปลือกบาง ลักษณะของผล ขรุขระเป็นคลื่น

ไม่เป็นระเบียบคล้ายกับรอยย่น ผลอ่อน

สีเขียวมีผงสีน้ำตาลติดอยู่ทั่ว ต่อเมื่อผลแก่ผงหยาบๆจะหายไป

 ผลยาว 7-10 เซนติเมตร กว้าง 3-5 เซนติเมตร

หนา 3-4 เซนติเมตร น้ำหนักต่อผล ประมาณ 200 กรัม

 ผลแก่มีสีเหลืองอ่อน เนื้อบางภายในผลกลวง

 เป็นโพรงเพราะเนื้อไม่ติดหุ้มเมล็ด

เมื่อเขย่าจะเกิดเสียงดัง จากการเคลื่อนตัวของเมล็ดในโพรง

 ผลที่แก่จัดจะมีเสียงจากการเขย่า

ผลแก่เมื่ออายุได้ 1 เดือนเศษ ถึง 2 เดือน

รสเปรี้ยว ผลสุกจะมีรสหวานอมเปรี้ยว

เวลาทานต้องปอกเปลือก ทานเฉพาะเนื้อ

และชั้นในจะเป็นเมล็ด ผลที่สุก ทานผลสด

ได้เช่นเดียวกับผลไม้อื่นๆ รูปทรงของผลไม่น่ารับประทาน

 รสชาติออกจะแปลกไป เนื้อกรอบ ถ้าสุกจะนิ่ม

 ทั้งกลิ่นและรสชาติคล้ายกับชมพู่สาแหรก

 ควรรับประทานขณะที่ยังสด หากทิ้งไว้ข้ามคืน ผิวจะเหี่ยว

เนื้อนิ่ม และออกรสเปรี้ยว ผลอัมพวาไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน

 เพราะเพียง 2-3 วัน ผลจะเริ่มเหี่ยวไม่น่าทาน

 ในประเทศมาเลเซีย การนำไปประกอบอาหาร

 และทำเป็นน้ำซอสผลไม้ ปรุงรส ใช้เป็นผลรวม กับผลไม้อื่นๆ

 เป็นสลัด ทำผลไม้แช่อิ่ม ผลอ่อนดองเก็บไว้

ทำเป็นอาหารคาวผัดกับพริก ต้มกับปลา

การใช้ประโยชน์จากต้น ปลูกเป็นไม้ดัดบอนไซ ได้

ไม่แพ้ไม้ดัดยอดนิยม






















 

 

ขอบคุณที่มาข้อมูล  fb.Siriwanna Jill

ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ




Create Date : 13 สิงหาคม 2558
Last Update : 13 สิงหาคม 2558 9:49:30 น.
Counter : 12008 Pageviews.

1 comment
### หน่อกะลา ###

























หน่อกะลา

 ........

ผักพื้นบ้าน ของ เกาะเกร็ด

ชื่อท้องถิ่น ข่าน้ำ กะลา เร่ว เร่วน้อยปุดกะลา พบแทบทุกภาค

บรรพบุรุษชาวมอญ รู้จักนำเอาหน่ออ่อนของต้นกะลา

 หรือข่าน้ำมาปรุงอาหารหลายเมนู

 นับตั้งแต่ใช้หน่อสด หรือลวกจิ้มน้ำพริก ต้มยำ

ยำหน่อกะลา ทำแกงส้มหน่อกะลา

นำมาหั่นเป็นฝอยทอด เป็นแบบขนมรังนกหน่อกะลา

 โดยจะนำ ต้นหน่อกะลา มาปอกเปลือกออก เหลือแต่เนื้อใน

 เมนูยอดนิยม "ทอดมันปลากรายหน่อกะลา"

หน่อกะลา เป็นพืชตระกูลเดียวกับข่า

 มีลักษณะเหมือนต้นข่าทั้งใบ และลำต้น แต่จะมีขนาดเล็กกว่า

 จัดอยู่ในพืชวงศ์ขิง มีเหง้าที่เป็นลำต้นอยู่ใต้ดิน

 และมีลำต้นบนดิน ต้นโตสูงประมาณ 3 เมตร

ลักษณะเป็นกอแน่น ชอบอยู่ในพื้นที่ ที่น้ำท่วมถึง

 มีแสงแดดส่อง เหง้าหน่อกะลา ใช้พอกแผลแก้ผื่นคันตามผิวหนัง

 ยับยั้งเชื้อราบนผิวหนัง ช่วยแก้อาการท้องอืด แน่นเฟ้อ

จุกเสียด และช่วยไล่ลมในร่างกายได้อีกด้วย


เหง้ากะลา มีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย หลายชนิด

ค่าความเข้มข้นต่ำสุด 2.64 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร

สามารถยับยั้งเชื้อ Staphylococcus aureus

ที่ปล่อยพิษ entero toxin อันเป็นสาเหตุ ทำให้อาหารเป็นพิษ

เกิดอาการอาเจียน ถ่ายอุจจาระเหลวไม่หยุด แต่ไม่มีไข้

 ทั้งยังยับยั้งเชื้อ Salmonella typhimurium

 ซึ่งเป็นท้องร่วงชนิดมีไข้ขึ้น เป็นขั้นบันได

มีอาการหนาวสั่นคล้ายโรคไทฟอยด์

เชื้อนี้เข้าสู่ร่างกาย ทางอาหารสุกๆดิบๆเช่นลาบ ส้มตำ ปูเค็ม ผักสด

 หรือไส้กรอก แฮม เบคอนที่ไม่อุ่นร้อน

รวมทั้งน้ำดื่มที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ

 เซื้อตัวนี้จะเข้าสู่ร่างกายไปฟักตัว ในเซลล์น้ำเหลืองของลำไส้เล็ก

ภายใน 48 ชั่วโมง อาจทำให้กระเพาะ หรือ ลำไส้เล็กทะลุ

หรือโลหิตเป็นพิษถึงขั้นเสียชีวิตได้

ยังพบว่าสาร Limonene ในเหง้ากะลายังสามารถต้าน

เชื้ออหิวาตกโรค เชื้อ Escherichia coli ได้ผลดี

ยับยั้งการระบาดของโรคอหิวาต์เทียม

นอกจากผลการรักษาโรค ในระบบทางเดินอาหารแล้ว

 ยังพบว่าสารสำคัญ จากส่วนลำต้นและใบของต้นกะลา

แสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงมาก

 และสูงกว่าฤทธิ์ของเหง้าพืชตระกูลข่า ชนิดอื่น

 สารสำคัญจากเหง้ากะลา ชื่อ Acetoxychavicol acetate

สามารถยับยั้ง เชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis

 ซึ่งเป็นเชื้อก่อวัณโรค รวมทั้งสามารถต้านเชื้อรา

บนผิวหนังได้หลายชนิดอีกด้วย

น้ำดองเหล้าเหง้า หรือต้นกะลา ความเข้มข้น 20 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร

สามารถทำให้พยาธิใบไม้ เป็นอัมพาตและตายภายใน 3 ชั่วโมง




































ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ




Create Date : 10 สิงหาคม 2558
Last Update : 10 สิงหาคม 2558 10:39:25 น.
Counter : 3267 Pageviews.

0 comment
### แคนตาลูป ###















แคนตาลูป

.........

ชื่อสามัญว่า Cantaloupe

ชื่อนี้มีที่มาจาก การนำแตงพันธุ์นี้ เข้าไปปลูกในอิตาลี

ที่เมือง Cantalupu ใกล้กับกรุงโรม

ต่อมาพระเจ้าชาร์ลที่ 8 นำไปปลูกในฝรั่งเศส

และเรียก "Cantaloupe "

อังกฤษนำไปปลูก เรียกชื่อตามภาษาฝรั่งเศส

มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย

คนอินดียและแอฟริการู้จักกิน แคนตาลูปมานานกว่า 4,000 ปีแล้ว

เข้ามาปลูกในเมืองไทยตั้งแต่เมื่อปี 2478

เมื่อก่อนเรียกว่า "แตงเทศ" หรือแตงฝรั่ง"

ด้วยรูปร่างลักษณะ คล้ายกับแตงไทย

 บางคนเรียก "แตงไทยฝรั่ง"

แต่ปลูกแล้วเป็นโรค จึงตายเป็นจำนวนมาก

จากนั้นได้มีการพัฒนา จนกระทั่งสามารถปลูก ได้ผลผลิตดี

 ปัจจุบันนี้แหล่งปลูกแคนตาลูปอยู่ที่ไทรโยค กาญจนบุรี

 และอำเภออรัญประเทศ สระแก้ว

 เกษตรกรในอรัญประเทศ เรียกว่า "แตงคุณหนู"

เพราะจะต้องคอยประคบประหงม ดูแลกันตลอด 60 วัน

ฤดูที่มีผลผลิตออกตลาด อยูในช่วงเดือนเมษายน

ต้นมีลักษณะเป็นไม้เถา ตามเถาและก้านใบมีขนนิ่ม

ใบเหลี่ยมมน ดอกสีเหลืองเกสรตัวผู้ และตัวเมียอยู่คนละดอก

ผลกลมรี ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 10-16 ซม.

เปลือกนอกแข็ง เนื้อชุ่มน้ำ ผลดิบเนื้อกรอบ เมื่อสุกเนื้อนิ่ม

 หอมหวาน สีของเนื้อแตกต่างกัน ตามสายพันธุ์

"เนื้อสีเขียวหรือเขียวขาว " พันธุ์ลูกผสมต่างประเทศ

มีทั้งผิวเรียบ และผิวลายตาข่าย

ผลสุกเปลือกสีเขียวครีมเหลือง และเหลืองทอง

เนื้อมีทั้งเนื้อกรอบและเนื้อนุ่มรสหวานและมีกลิ่นหอม

เช่น พันธุ์เจดคิว ฮันนี่ดิว ฮันนี่เวิลด์ และวีนัสไฮบริด เป็นต้น

"เนื้อสีส้ม" ผลมีทั้งผิวเรียบ และผิวลายเป็นตาข่าย

ผลสุกเปลือกสีครีมและสีเหลือง เนื้อมีทั้งเนื้อกรอบและเนื้อนุ่ม

รสหวานและมีกลิ่นหอม ค่อนข้างแรง

ได้แก่ พันธุ์ซันเลดี้ ท๊อบมาร์ค นิวเอ็มเมลลอน

และนิวเซนต์จูรี เป็นต้น

ผลแคนตาลูปยิ่งสุกกลิ่นยิ่งหอม รสชาติยิ่งหวาน

นำมากินเป็นผลไม้สด และทำเป็นน้ำผลไม้

การคัดเลือกแคนตาลูปที่สุกแล้ว ให้กินอร่อย ให้ชั่งน้ำหนักด้วยมือ

ลูกหนึ่งควรจะมีน้ำหนักประมาณ หนึ่งกิโลกรัมเศษ ๆ

จึงเรียกกว่ากำลังดี ลองเขย่าดู ถ้ามีเสียงน้ำอยู่ข้างใน

แสดงว่าล้มและสุกเกินไป กินไม่อร่อย

แคนตาลูปที่แก่ต้องผิวสวย ตึง ไม่เหี่ยวเป็นร่องเป็นหยัก

สีเหลืองเหมือนสีเปลือกไข่ไก่ถึอว่ากำลังดี

ลักษณะของแคนตาลูป จะฉ่ำน้ำ ที่สำคัญแคนตาลูป จะมีกลิ่นหอม

 มีฤทธิ์เย็น ช่วยขับปัสสาวะล้างพิษ

 มักรับประทานแคนตาลูป เพื่อช่วยขับน้ำนม

ให้กับสตรีหลังคลอดบุตร และช่วยแก้ไข้ลดความร้อน ในร่างกาย

มีวิตามินเอ ซึ่งมีผลเกี่ยวกับการเจริญเติบโต

และช่วยในการสร้างกระดูก เบตาแคโรทีน

 ผลการศึกษาพบว่าแคนตาลูปเป็น ผลไม้หนึ่งในสิบอันดับแรก

ที่มีวิตามินเอและเบตาแคโรทีนสูง ช่วยต้านอนุมูลอิสระ

ดีต่อสุขภาพและผิวพรรณ

ฝรั่งเชื่อมาแต่โบราณว่า กินแคนตาลูปแล้ว

 จะทำให้สายตาดี มีสติ คิด

วิตามินซีในแคนตาลูป ช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาว

ในร่างกายและลดการติดเชื้อ

ส่วนโพแทสเซียม ช่วยควบคุมความดันโลหิต

และการทำงานของกล้ามเนื้อ ดีต่อผู้เป็นโรคความดันโลหิตสูง

 ยังมีเส้นใยอาหารสูงและแคลอรีต่ำ จึงดีต่อระบบขับถ่าย

และเป็นผลไม้ ที่เหมาะสำหรับ ผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนักเป็นอย่างยิ่ง

วิตามินบี 6 ที่มีอยู่มากในแคนตาลูปสำคัญ ต่อการเผาผลาญอาหาร

และการสร้างพลังงาน ทั้งโฟเลตที่มีส่วนช่วยขยาย

ในการผลิตเม็ดเลือด และสำคัญต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์

 วิตามินบี 6 และโฟเลตนี้ จะสามารถลดระดับสาร Homocysteine

 ที่ สัมพันธ์กับการเกิดโรคหัวใจ และโรคอัลไซเมอร์

ดังนั้น วิตามินบี 6 และโฟเลตในแคนตาลูป

จึงลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคได้

ปริมาณสารอาหาร ในแคนตาลูป ขึ้นอยู่กับฤดูกาลด้วย

 แคนตาลูปในฤดูกาล จะมีสารอาหารจำพวกวิตามินบี 1 ,บี 2

โฟเลต วิตามินซี และโครเมียมสูงกว่า ในแคนตาลูปนอกฤดูกาล

 วิธีเลือกซื้อแคนตาลูปที่ดี ควรเลือกลูกที่น้ำหนักพอเหมาะ

 ไม่มีรอยช้ำ ขั้วผลมีรอยปริเล็กน้อย ให้ชั่งน้ำหนักด้วยมือ

ลูกหนึ่งควรจะมีน้ำหนักประมาณ หนึ่งกิโลกรัมเศษ

จึงเรียกกว่ากำลังดี ลองเขย่าดู

ถ้ามีเสียงน้ำอยู่ข้างใน แสดงว่าล้มและสุกเกินไป กินไม่อร่อย

 แคนตาลูปที่แก่ได้ที่ ต้องผิวสวย ตึง ไม่เหี่ยวเป็นร่องเป็นหยัก

 สีเหลืองเหมือนสีเปลือกไข่ไก่ถึอว่ากำลังดี

CR Internet

การเก็บรักษานั้น ควรวางไว้ที่อุณหภูมิห้อง

เพราะจะเสียคุณค่าทางอาหาร

และเป็นการเพิ่มจำนวนเชื้อ ก่อโรคที่ติดมากับผลแคนตาลูปได้

 ควรใช้พลาสติก สำหรับห่ออาหารหุ้มให้เรียบร้อย

 แล้วนำไปแช่ตู้เย็น


























ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ




Create Date : 08 สิงหาคม 2558
Last Update : 8 สิงหาคม 2558 12:06:24 น.
Counter : 5828 Pageviews.

0 comment
### มะก่อ ###




















มะก่อ

....

เป็นไม้ในวงศ์ก่อ ชื่อท้องถิ่น มะก่อ ก่อหนาม ก่อดาน (พังงา)

 ก่อตี๋ ก่อผา ก่อหนามแหลม ก่อหยุม (เชียงใหม่)

ขึ้นตามป่าดิบเขา ป่าไม้ก่อ เป็นป่าที่พบทั่วไป

บนภูเขาทางภาคเหนือ และพบเป็นกลุ่มๆ

บนภูเขาหินทราย ทางภาคอิสาน

 ตั้งแต่ระดับความสูง 900 เมตรขึ้นไป

ป่าไม้ก่อส่วนใหญ่เป็นป่ารุ่นสอง

เกิดจากการฟื้นตัว ของป่าดิบเขาต่ำ

ที่ถูกแผ้วถางทำไร่เลื่อนลอย

 ป่าไม้ก่อมีลักษณะโครงสร้าง

ที่แตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่เป็นอย่างมาก

แต่องค์ประกอบของ ไม้ยืนต้นในป่าไม้ก่อ มักจะคล้ายกัน

 ส่วนใหญ่ประกอบด้วยพรรณไม้วงศ์ไม้ก่อ (Fagaceae)

 ชาหรือเมี่ยง (Theaceae) และอบเชย (Lauraceae)

บางครั้งเรียกป่าชนิดนี้ว่า Oak-tea-laurel forest


ต้นก่อ เป็นไม้ผลัดใบไม่มียาง เปลือกต้นหนา

ติดผลเป็นกลุ่ม ใกล้ปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก สีครีมอมเหลือง

เปลือกนอกสีเขียวมีหนามแหลม กะลาสีน้ำตาล

 เนื้อในสีขาวครีม รสมัน นำเมล็ดมาคั่ว หรือต้มให้สุก

 เพื่อรับประทานเนื้อในเมล็ด มีกรดไขมันโอเมกา 3

 ที่ช่วยบำรุงสมอง มีหลายพันธุ์ ทั้งเล็ก-ใหญ่


















ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ




Create Date : 07 สิงหาคม 2558
Last Update : 7 สิงหาคม 2558 13:03:55 น.
Counter : 8340 Pageviews.

1 comment
### ลูกยอ ###
















ยอ หรือ ลูกยอ (บ้าน)

 .................

ชื่อสามัญ Great morinda, Tahitian noni,

Indian mulberry, Beach mulberry

ชื่อท้องถิ่น Noni (ฮาวาย) Meng kudu (มาเลเซีย)

Ach (ฮินดู) ตาเสือ มะตาเสือ (ภาคเหนือ)

 ยอ แย่ใหญ่ (แม่ฮ่องสอน) ยอบ้าน (ภาคกลาง)

 ยอ เป็นไม้ที่ขึ้นทั่วไปตามป่า คนโบราณนิยมปลูก คู่บ้าน

ถือเอาชื่อ เป็นเคล็ด ขึ้นได้ดีในดินแทบทุกชนิด

 แต่จะเจริญเติบโตดี ถ้ามีความชุ่มชื้นพอสมควร

มีผู้เรียก ชื่อผลยอในภาษาอังกฤษ cheese fruit

หรือ vomit fruit เนื่องจากมีกลิ่นฉุนเมื่อสุก

ผลยอ เป็นผลรวม คล้ายรูปไข่ และเหมือนมีตารอบผล

ความยาวของผลอยู่ระหว่าง 4-7 เซนติเมตร

เมื่อผลยังอ่อนมีสีเขียว แล้วค่อยเปลี่ยน

เป็นสีเหลืองไปจนเกือบขาวเมื่อสุก

 แม้ผลยอจะมีกลิ่นแรงและรสขม

แต่ก็มีการบริโภคผลยอกันมากทั้งดิบ ๆ หรือปรุงแต่ง

 บางหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิค กินผลยอเป็นอาหารหลัก

ชาวเอเชีย ตอ.ต.และชาวพื้นเมืองออสเตรเลีย

กินผลยอดิบจิ้มเกลือ หรือปรุงกับผงกระหรี่

เมล็ดของยอ คั่วรับประทานได้


ยอ เป็นพืชพื้นเมือง ในแถบ Polynesia ตอนใต้

 มี 2 ชนิด คือ ยอบ้าน และยอป่า ที่ พบบ่อยคือ ยอบ้าน

ยอเป็นไม้ยืนต้น มีใบสีเขียว มีดอกออก เป็นช่อที่ซอกใบ

 ลักษณะของผลยาวรี ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกจะเป็นสีขาวนวล

 มีเนื้อนุ่ม ในผลมีเมล็ดจำนวนมากมีสีน้ำตาล

สำหรับรสชาติ จะออกรสเผ็ด และมีกลิ่นแรง

การทาน นำลูกยอสุกงอม จิ้มเกลือ กับน้ำตาล

หรือเอาลูกยอมาทำส้มตำ

 หรือฝานผลยอแก่ เป็นแว่นตากแดดให้แห้ง บด

เป็นผงละลายน้ำร้อนดื่ม ครั้งละ 2 ช้อนชา

ยอใช้ประโยชนได้ทั้งต้น ไม่ว่า ใบ ผล ลำต้น ดอก เมล็ด หรือราก

 ดั้งเดิมมามีผู้นำยอไปใช้ประโยชน์

ใบสด ใช้ห่อเนื้อทำให้เนื้อมีรสยอ ใช้ทำอาหาร เช่น ห่อหมก

ใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ หรือเลี้ยงตัวหนอนไหม

 แก้แผลพุพอง รักษาอาการปวดศีรษะ

น้ำสกัดใบยอ รักษาความดันโลหิตสูง

เลือดออกที่เกิดจาก กระดูกร้าว แก้ปวดท้อง

เบาหวาน เบื่ออาหาร ทางเดินปัสสาวะอักเสบ

ช่องท้องบวม ไส้เลื่อน อาการขาดวิตามินเอ

ลูกยอจัดเป็นยาสมุนไพร ที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย

ในเรื่องการช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน

ลูกยอสุกเป็นยาชั้นเลิศ ในการช่วยขับลม และช่วยย่อยอาหาร

หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานผลยอ

เพราะจะมีผลโดยตรงต่อระบบการหมุนเวียนของเลือดในครรภ์

 และอาจทำให้แท้งได้

ลูกยอ อุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุ

ที่มีประโยชน์ ต่อร่างกายหลากชนิด

 ประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร วิตามินเอ

วิตามินซี วิตามินบี3 ธาตุแคลเซียม ธาตุเหล็ก

 ธาตุโพแทสเซียม ธาตุโซเดียม เป็นต้น

ถ้าคั้นเอาแต่น้ำลูกยอ จะเหลือแต่วิตามินซี

ลูกยอยังมีสารอื่น ๆอีกด้วย เช่น กรดไขมัน ลิกนิน

โพลีแซคคาไรด์ ฟลาโอนอยด์ อีริดอยด์

สโครโปเลติน อัคคาลอยด์





































ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ขอบคุณเจ้าของภาพทุกภาพค่ะ




Create Date : 06 สิงหาคม 2558
Last Update : 6 สิงหาคม 2558 10:58:22 น.
Counter : 1815 Pageviews.

0 comment
1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  

tangkay
Location :
ชลบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 55 คน [?]



(•‿•✿) พออายุเลยเลขหกฉันยกเครื่อง
มอบทุกเรื่องที่เคยรู้คู่ความเห็น
มอบประสบการณ์ผ่านพบจบประเด็น
ไม่ยากเย็นเรื่องความรู้ตามดูกัน
ฉันคนเก่าเล่าความหลังยังจำได้
แต่ด้วยวัยที่เหลือน้อยค่อยสร้างสรร
ยอมรับเรื่องเนตโซเชียลเรียนไม่ทัน
อย่าโกรธฉันแค่สูงวัยแต่ใจจริง
ด้วยอายุมากมายอยากได้เพื่อน
หลากหลายเกลื่อนทุกวัยทั้งชายหญิง
คุยทุกเรื่องแลกเปลี่ยนรู้คู่ความจริง
หลากหลายสิ่งฉันไม่รู้ดูจากเธอ ....
สิบปีผ่านไป.......
อายุเข้าเลขเจ็ดไม่เผ็ดจี๊ด
เคยเปรี้ยวปรี๊ดก็ต้องถอยคอยเติมหวาน
ด้วยเคยเกริ่นบอกเล่ามาเนิ่นนาน
ก็ยังพาลหมดแรงล้าพากายตรม
ด้วยชีวิตผ่านมาพาเป็นสุข
ยังสนุกกับการให้ใจสุขสม
อยากบอกเล่ากล่าวอ้างบางอารมณ์
แม้คนชมจะร้องว้า....ไม่ว่ากัน
ปัจจุบันเขียนน้อยค่อยเหินห่าง
ระบบร่างเปลี่ยนแปลงเหมือนแกล้งฉัน
เราคนแก่ตามแก้ไม่ค่อยทัน
ยักแย่ยันค่อยศึกษาหาข้อมูล
แต่ด้วยคิดถึงแฟนคลับกระชับมิตร
จึงต้องคิดตามต่อไปไม่ให้สูญ
ส่งความรู้คู่ธรรมะทวีคูณ
เพื่อเพิ่มพูนให้รู้กันฉันสุขใจ