No. 1178 ค้างแรมเหมืองแร่เก่า (เก็บตก) อัพบล๊อกทุก พฤหัสบดี / จันทร์  คุณปรีดี เพื่อนที่เคยไปเหมืองปิล๊อกไปแบบ ดิบ ๆ ต้องนอนในเบิร์มนานมาแล้ว..ที่ผมจะไปเที่ยวสบายกว่า |
คือเหมืองแร่สมศักดิ์แถวปิล๊อคนั่งรถลงหุบเขายาก..ถ้าขับรถลงเอง |
|
แต่ที่เรานั่งเป็นรถขับเคลื่อนสี่ล้อยกสูง...ถ้าจะไปค้างเหมืองแร่มีรถบริการชำนาญมารับส่งฟรี |
 |
สังเกตเห็นคุณอำนาจขับรถผ่านถนนที่ลื่นจากดินและหินมีร่องน้ำอยู่กลางถนน |
เขาขับให้ล้อรถลงรอยรถเดิมอย่างชำนาญ... ผมเคยขับเข้าไร่ที่จันทบุรีบ่อยใช้วิธีนี้เหมือนกันคือให้ล้อวิ่ง |
รอยเดิมไว้ก่อนไม่สร้างรอยใหม่เด็ดขาดเพราะข้างนอกดูแข็ง..แต่ข้างล่างอ่อนนิ่มรถเป๋ไถลลื่นตกข้างทางแน่นอน (ภาพแทน) ที่คล้ายกับจันทบุรีคือดินอ่อนนุ่มลื่นไถลตกหล่ม  แต่ถนนไปเหมืองแร่สมศักดิ์ป้าเกล็น ไม่ถึงขนาดนี้ถนนแข็งมีหินขับสบายกว่าใครจะไปไม่ต้องห่วง |
นั่งเขียนบล๊อคในห้องพักแสงอาทิตย์ลดลง.. ไม่นานแสงไฟฟ้าในห้องสว่างขึ้นทดแทน..ช่างรีสอร์ทเหมืองแร่จะไปเปิดท่อน้ำใหญ่ |
บนเขื่อนคอนกรีตที่ขวางลำห้วย ท่อเหล็กทอดยยาวกว่า 100 เมตร |
 |
ภาพข้างบนจะเห็นท่อเหล็ก น่าจะเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 เซ็นติเมตรพุ่งแรง น้ำดันพัดกังหันเครื่องกำเหนิดไฟฟ้า แสงสว่าง |
ถ่ายวิดิโอไกลหน่อยมองได้ลาง ๆ ใช้สแน๊ปภาพวิดิโอมาให้ดูด้วย...  ..  ป้าเกล็นนิสเดินมาเชิญไปทานอาหาร  |
ที่ปรุงใหม่ร้อน ๆ ด้วยตนเอง.เดินตามไปที่ห้องอาหารใหญ่ไปถึงยังไม่มีใครเลยถือโอกาศคุยกับป้าเกล็นชาวออสซี่ ที่จาก |
บ้านเกิดนานแล้วป้าใจดีมากถามอะไรตอบได้หมด แม้จะนึกภาษาไทยไม่ออกก็พูดปะกิดแทนค่อยยังชั่ว |
นัยตาป้าน่าจะเริ่มฟ้าฟางไม่ชัดแต่แววตาอ่อนโยนน่ารัก |
|
เลยเข้าเช็คคลังความรู้การทำเหมืองหลายแห่ง ความจำเริ่มกลับมาฉนั้นป้าเกล็นมีความจำดีกว่าผมแน่นอน 555 |
คุณปรีดี มีลือพรเพื่อนที่เคยทำงานด้วยกันที่พิษณุโลกได้เข้ามาอ่านงานเขียนผม |
ถามว่ามีภาพเก่าเมื่อครั้งปั่นจักรยานไปเที่ยวเหมืองปิล๊อคสนใจเปล่า |
สนใจมากเลย 555  |
เลยได้ภาพที่เพื่อนส่งมาพร้อมทั้งเล่ารายละเอียดให้ด้วย...เห็นภาพก็นึกถึงที่ป้าเกล็นนิสเล่าว่าเหมือง |
ปิล๊อคสมัยก่อนแห้งแล้งป่าโกร๋นเพราะมีผู้ขอสำรวจหาแร่ดีบุกหลายสิบหลายเมื่อได้รับสัมปทานป่าเลยเสียหายมาก |
 |
ภาพข้างบนนี้ประมาณปี 2535 คุณสมศักดิ์กับป้าเกล็นนิสทำเหมืองแล้ว |
ภาพปิล๊อคคุณปรีดีกับเพื่อนปั่นจักรยานไปเที่ยวและไปขอค้างในค่ายทหารในเบิร์มหรือหลุมหลบภัย(ลูกปืน) คือภาพแรก |
เลยเหมืองของป้าเกล็นไปน่าจะเป็นบ้าน อีต่อง เปล่าพูดไม่สุุภาพนะ 555 หมู่บ้านอยู่ใกล้ชายแดนพม่า |
เห็นภาพคุณปรีดีใส่กางเกงจักรยานเมื่อปี 2535 แสดงว่าปั่นจักรยานมานานกว่าผมเยอะ(ผมเข้าวงการปั่นปี 2549)ใส่หมวก |
จักรยานน่าจะเป็นหมวกแบบดาวน์ฮิลล์ด้วย |
ระยะนั้นทหารพม่ากับกะเหรี่ยงยิงกันไปมา คงจะวิวาทเรื่องพื้นที่ป่าเขามีการลักลอบขุดหาแร่แล้วแล้วคุณสมศักดิ์ป้าเกล็นนิส |
ทำเหมืองไม่แย่กว่าหรือ |
น่าจะมีคนตายอยู่บ้างแต่ตายจากเป็นไข้ป่ามาลาเรียมากที่สุด |
ป้าเกล็นเล่าว่า คนงานในเหมืองมีกว่า 500 คน |
ทำงาน 3 กะคือทำตลอดยี่สิบสี่ ชม. เวลาเป็นใข้ป่าก็จะให้กินยาถ้าไม่ดีขึ้นจะหามไปสถานีอนามัยปิล๊อคฉีดยาคนที่ฉีดยา |
น่าจะไม่ใช่หมอแต่ก็โอเคเพราะไม่มีอะไรดีไปกว่านี้ |
|
ความที่ผมอยากรู้ว่าป้าอายุเท่าใดจะถามตรง ๆ ก็ดูจะเสียมารยาทเลยเลี่ยง ๆ ถามว่าคุณสมศักดิ์ถ้าอยู่ ณ วันนี้อายุเท่าใด |
ป้าเกล็นตอบว่า ถ้าอยู่ก็ 81 ปี คุณสมศักดือายุมากกว่าป้า 3 ปีผมคำนวนแล้วป้าอายุ 78 ปีดูแข็งแรงรับแขกสบาย |
 |
ที่แขกอีกกลุ่ม 5 คนมาทานอาหารเย็น..แม่บ้านโฮมสเตย์ก็ยกอาหารมาให้กลุ่มผมกับอีกกลุ่มระหว่างนั้นผมก็ดูภาพ |
คุยป้าเป็นระยะ  |
ป้านั่งคุยด้วยบอกว่า เป็นบาร์บีคิวแบบออสเตรเลีย ผมกินหลายไม้รสชาติซี่โครงหมู เค็มหวานนิดจากซี่โครงเนื้อนุ่มอร่อย  |
ป้าคงเห็นผมชอบบาร์บีคิวมั้งบอกว่าหยิบไปกินต่อที่ห้องได้เลยนะคะ |
แต่ไม่ไหวละครับอิ่มมาก |
บาร์บีคิวภาพบน..น่องไก่ส่วน...ที่ผมกินมากซี่โครงหมู 4 ไม้จนเขินเลยแอบเอาไม้เสียบเปล่าวางข้างคนอื่นแทน  |
เมื่อก่อนเหมืองมีต้นไม้เยอะเปล่าครับป้า |
ต้นไม้มีน้อย..โกร๋นมีร่องน้ำที่ขุ่นเขาใช้น้ำฉีดล้างแร่ ตอนป้ามาครั้งแรกอายุ 23 ปีมาจากออสเตรเลียตามคุณสมศักดิ์มา |
อยู่ลำบากป้าเลยไปสอนภาษาที่กรุงเทพ แล้วก็มาเหมืองแร่บ้าง |
 |
ที่ต้นไม้ที่เขียวเยอะ..ป้าปลูกจึงเขียวชะอุ่ม...มีบริษัทใหญ่หลายบริษัทมาร่วมกันปลูกป่าที่ภูเขาลูกอื่นด้วย |
เห็นวิธีการแล้วเหนื่อย ดูภาพบ้านเล็กในป่าใหญ่ของป้าเกล็นประกอบไปก่อนนะครับเป็นภาพปัจจุบัน |
เหมืองแร่ดีบุกที่ตำบลปิล๊อกบูมประมาณปี 2509  |
คนสนใจเมื่อแน่ใจว่า มีแร่เพียงพอจะทำกำไรแก่ผู้ลงทุน ก็จะยื่นขอประทานบัตรเหมืองแร่ที่ออก พรบ.ในปีพศ.2511 |
ร.ม.ต. จะออกประทานบัตรใบละ 300 ไร่ ใช้ขุดหาได้ไม่เกิน 25 ปี |
ดีบุก..เรารู้จักชื่อกันมานานแสนนาน แต่ไม่ค่อยรู้ว่า นำไปใช้อะไรได้บ้าง |
 |
1. ดีบุก + ตะกั่ว = ตะกั่วบัดกรี (น่ากลัวเนาะ)  |
2. ดีบุก + ทองแดง = ทองบรอนซ์ เราชินกับ หล่อพระ  |
3. ดีบุก + ทองแดง + พลวง = โลหะชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์ (ค่อยดีหน่อย) |
ประโยชน์มีอีกเยอะ เพราะดีบุก  |
1. ทนการกัดกร่อน 2. ไม่เป็นสนิม 3. ไม่เป็นพิษแก่ร่างกาย 4. ผสมกับโลหะอื่นได้ดี 5. เคลือบโลหะอื่นทำภาชนะทำอาหาร |
เห็นได้ชัด พวกฝาน้ำอัดลม กระป๋องปลาทูน่า ซาร์ดีน  |
การขุดหา แร่ดีบุก คงจะทำเงิน ให้แก่ เจ้าของเหมืองที่ลงทุน ด้วยเงินมหาศาล |
และแน่นอน...กรมทรัพยกรในขณะนั้นต้องได้รับเงินค่าสัมปทานสำรวจแร่เป็นผู้จัดการขาย เป็นคนตั้งราคาขาย ทำเงินเข้า |
รัฐบาลไม่น้อยเลยการขุดหาแร่ดีบุกภาคใต้กับกาญจนบุรีตำบลปิล๊อกรุ่งเรืองเป็นอย่างมาก  |
ประเทศไทยต้องเข้าเป็นภาคีดีบุกโลกเพื่อควบคุมราคามิให้ต่ำหรือสูงเกินกว่าโลกจะรับได้แต่ประเทศที่มีสิทธิมีเสียงมาก |
ประเทศนั้นคือ จีนแผ่นดินใหญ่ เขามีมากกว่าประเทศอื่น |
 |
ทานอาหารเยอะเกินไป หุ หุ..ป้าเกล็นเดินไปเยี่ยมแขกโต๊ะอื่นด้วยผมอิ่มแล้วแต่ไปตักเค็กกินอีกหน่อย 555 |
อิ่มก็กลับไปห้องพักรอบกายมืด เสียงหยาดฝนตกกระทบใบมะม่วง..ครู่เดียว  |
ไฟฟ้าดูจะสว่างขึ้นกว่าเดิม คนอื่นน่าจะหลับมีคนใช้ไฟน้อยก็เป็นได้ เลยนอนฟังเสียงลำห้วยไหลเบา ๆ |
...นัยตาเริ่มหรี่หลับไป.. |
|
ขอบคุณเพื่อนผู้เอื้อเฟื้อภาพ (re.496) |
st ผู้เข้าชม 2,498,227. |
ขอบคุณเพื่อนผู้แวะมาเยือน กรุณาเม้นท์/ทิ้งร่องรอยนิด ผมจะได้กลับไปเยี่ยมตอบแทนถูกครับ |
|
Diarist |
ตามมาอ่านเก็บตกด้วยคะ..
เหมืองแร่ในเมืองไทย ไม่ค่อยมีแล้วนะคะ
อาจจะมีแต่ แต่หลายคนไม่รู้คะ