No. 1086 บ้านน้อย กลางป่าใหญ่ (อาหารป่า..EP 2) |
|
ความเดิม...เพื่อนชื่อน้ำ เกิดอุบัติเหตได้รับบาดเจ็บที่หัว นอนสลบตัวพาดริมริมลำห้วยในป่าลึก รอยต่อพม่า คนพื้นเมืองสองคนพ่อลูก |
ได้อุ้มมามาอยู่บ้านช่วยรักษาแผล ให้กินอาหารจนร่างกายแข็งแรงแต่ต้องอยู่ด้วยกันไปก่อน เพราะไม่อาจจะเดินทางผ่าน |
ป่าและหมู่บ้านของชนกลุ่มน้อยสองสัญชาติได้ ซึ่งพวกนั้นระแวงคนทั่วไป |
บ้านน้อยในป่าอยู่ห่างไกลบ้านคนอื่นมาก แต่อาหารการกินไม่เดือดร้อนหาง่าย เพราะเขาปลูกข้าว ผัก ไก่ป่าและสัตว์ที่เป็นอาหาร |
มีอยู่ทั่วไป... ทั้งสามคนจึงช่วยกันทำงานหนักเป็นบางวัน |
|
จขบ. ได้ฟังจากเพื่อนผู้หลงป่าเล่าให้ฟังไว้นานมาก เป็นเรื่องการใช้ชีวิตในป่าแบบเรียบง่ายแต่น่าสนใจวิถีชีวิตในการมีชีวิตอยู่ |
จึงเรียบเรียงมาเล่า เพราะหลายคนบอกว่าอยากมีชีวิตอยู่ในป่า หาของป่ากินสบาย ๆ |
จขบ.อยากจะคัดค้านว่าไม่จริงเพราะ เคยอยู่ในป่ามาก่อน อยามอดก็อดมากไม่มีอะไรจะกิน ถ้าอยู่ในป่ากลางคืนคนเดียว |
ไม่สนุกเลย ...เรื่องนี้ จขบ.ยืนยันน่ากลัวมาก |
|
เช้ามืดได้ยินเสียงไก่ป่า ดังมาแต่ไกล เสียงน้ำไหลในลำห้วยข้างล่างความเมื่อยขบ ปวดหลังจากการเกี่ยวข้าวบนไหล่ดอย |
เมื่อวานเป็นวันที่สามเราสามคน จะเกี่ยวข้าวไร่ บนไหล่ดอยฝากเดียวกับกระทุ่อมที่ไปเรื่อย ๆ |
|
เก็บผ้าห่มผ้าฝ้ายหนา พับเป็นสี่เหลี่ยมเล็ก วางไว้บนหมอน แล้วไปทำธุระส่วนตัว ล้างหน้าปากที่ลำห้วยข้างล่าง |
อากาศเย็น ใช้มือจุ่มน้ำลูบผมให้ผมลู่เข้าเป็นระเบียบ ตั้งแต่มาอยู่ที่นี่ผมยาวมาก หนวดขึ้นไม่น่าดูยังกะโจร |
มากินข้าวเช้ากัน |
มีอะไรกินบ้าง พี่พะก่อ |
มีเนื้อกวางรมควัน กับน้ำพริกชี้ฟ้า มากินแล้วเราจะไปเกี่ยวข้าวต่อ |
ระยะหลังมานี้ พี่พะก่อพยายามพูดภาษาให้ผมเข้าใจง่ายขึ้น แต่สำเนียงยังแปร่ง ๆ น้องก่ำลูกชายพี่ยังพูดภาษาบ้านติ๊ก่อเหมือนเดิม |
พูดไทยทั่วไปไม่ถนัดเลย |
พี่พะก่อเล่าให้ฟั้งว่า พ่อส่งพี่พะก่อไปช่วยน้องของพ่อที่บ้านเวียงใต้ อ.ปาย..ห่างจากที่เราอยู่ต้องเดินไป 4 วัน.. |
ปลูกถั่วเหลือง ทำนาข้าว ที่นั่นเป็นพื้นที่ราบกว้าง ข้าวที่ปลูกเป็นข้าวเจ้าไม่ได้กินแบบคน เมืองอื่นที่กินข้าวเหนียว |
การแต่งตัวของคนบ้านเวียงใต้ ชายนุ่งเตี่ยวสะดอ ยาวครึ่งน่องเสื้อใช้สวมทางหัว มีรอยผ่าตรงคอเสื้อแขนสั้น |
หญิงนุ่งผ้าซิ่นยาวถึงตาตุ่ม เสื้อมีปก ผ่าตรงร่องอกยาวประมาณคืบไม่เหมือนบ้านที่เราอยู่ |
พี่พะก่ออยู่ได้ แปดปีได้เรียนหนังสือนิดหน่อย โตเป็นหนุ่ม พ่อพากลับมาอยู่บ้าน ช่วยทำไร่ข้าว จับปลาปลูกข้าวโพด |
|
เราเกี่ยวข้าวพาดกับ ตอซังข้าว..ได้ส่วนหนึ่งมัดต้นข้าวที่เกี่ยวเป็นฟ่อนใช้เชือกกล้วยพาดไว้กับตอซังข้าวเกือบทั้งวันหยุดกินข้าวพัก |
|
เหนื่อยเป็นระยะ..อาทิตย์เริ่มคล้อยต่ำลง ไหล่ดอย อากาศเย็นลงทุกขณะ หมอกเริ่มปกคลุมทั่วหุบเขา |
เย็นนี้ผมแสดงฝีมือ แกงผักเสี้ยว ที่ก่ำไปเก็บมาตอนกลางวัน ใช้พริกแห้ง 4 เม็ดใส่เกลือปอกหอมแดง 5 หัวใส่ครกไม้ตำพอแหลก |
เอาถั่วเน่าแผ่นที่ค่อนข้างเหม็นปิ้งไฟอ่อนกลิ่นหอมฟุ้ง ใส่ครกตำคลุกเคล้ากันจนนัว |
ใช้หม้อดินตั้งบนเตาให้ร้อน ตักน้ำพริกลงรวนให้หอม ควันฟุ้งแล้วเติมน้ำไปนิดพอขลุกขลิก ฉีกเนื้อกวางแห้งเป็นเส้นยาว ๆ โปรย |
ใส่ในหม้อ คนไปมาแล้วปิดฝาสักครู่ (ข้างล่างภาพแทน) |
พอน้ำเริ่มเดือด เอายอดผักเสี้ยว(ชงโค) โปรยใส่ในหม้อ คนอีกนิดหยิบมะเขือส้ม(มะเขือเทศลูกเล็ก) เปรี้ยวปาดผ่าครึ่งโยนใส่ |
ไป 5 ลูก คนแกงด้วยป๊าก(กระจ่า) แล้วปิดฝาเป็นอันเสร็จ |
ก่ำ ช่วยยกข้าวเจ้าในหม้อดินที่หุงเผื่อตอนเช้าไปวางที่แคร่ไม้ไผ่น้าบ้าน กลิ่นแกงผักเสี้ยว(ชงโค) ใส่เนื้อกวางแห้งส่งกลิ่นหอมคลุ้ง |
รสหวานของผัก ความเค็มของถั่วเน่าแผ่นปิ้ง เนื้อกวางที่เหนียวนุ่มพอดี ตักชิมแล้ววางไม่ลงกินข้าวหมดหม้อน้ำแกงไม่เหลือ |
น้ำ...แก๋งผักลำแต้ ๆ (พี่พะก่อชมว่าผมทำแกงอร่อย) |
แหมมีคนชม ก็ต้องยิ้ม..... |
พี่น้ำ เยี๊ยะ(ทำ)แกงลำแต้ ๆ ก่ำกินน้ำแกงจนหมด....ก่ำพูดชม |
ผมไม่เคยแกงเลย แต่มีชายคนหนึ่งบอกว่า ถ้าจะให้ความหวานของใบผักออกมาให้ใส่ตอนน้ำเดือดจัด |
ให้เป็นสีเขียวตลอดวัน ให้ใส่มะนาวหรือของเปรี้ยวไปก่อนยกลงผักจะหวานไม่ขม วันก่อนเห็นพี่พะก่อแกงเลยแปลงวิธีการนิดหน่อย |
แต่ก็จำไม่ได้ว่า ชายนั้นเป็นใคร. |
บางครั้งการจำอะไรไม่ได้ดีเหมือนกัน ไม่รู้แม้แต่ชื่อ บ้านอยู่ไหนรู้สึกรำคาญตัวเองนิด ๆ แต่ก็ไม่ทุกข์ใจ |
|
แสงตะเกียงน้ำมันหมูป่าที่จุด ส่งแสงวับแวบรอบสลัวเกือบมืด หมอกลอยเป็นแผ่นบนลำห้วยที่ไหลส่งเสียงดังจุ๋งจิ๋ง |
น้ำค้างจากหมอกหนาเริ่มรวมตัวเป็นหยาดน้ำหนาวเย็น เป่าตะเกียงให้ดับ |
เรากลับบ้านนอนห่มผ้าและแล้วก็ผลอยหลับ ไปอย่างมีความสุข |
|
เสียงไก่ป่าตีปีกส่งเสียงดังก้องลำห้วยเหนือตัวบ้าน พี่พะก่อขยับตัวลุกออกไปนอกตัวบ้าน เงียบหายไปเลยลุกเดินลงตลิ่ง |
ไปริมน้ำวักน้ำเย็นล้างหน้าล้างปาก หยิบกิ่งข่อยที่ตัดซุกไว้กับตอไม้ทุบเบา ๆ บิดจนขาดแล้วอ้าปากถูฟันไปมา น้ำความชื้นจากกิ่งข่อย |
รสแปลกฝาดนิดผสมกับน้ำที่อมไว้ ใช้นิ้วชี้ถูกฟันกับกระพุ้งแก้มถูไปมาจนทั่วบ้วนทิ้ง |
วักน้ำล้างปากจนรู้สึกว่า สะอาด... พี่พะก่อ สอนล้างปากด้วยกิ่งข่อย ไม้ที่หาง่ายในแอ่งดอยทำให้นึกได้ว่า เมื่อก่อนเราใช้แปรงสีฟัน |
แต่ก็เคยอ่านหนังสือว่า ตุ๊เจ้า(ภิกษุ) ชราในชนบทใช้ทำความสะอาดฟันและปาก |
|
ไต่ตลิ่งขึ้นไปนั่งแคร่ไม้ไผ่หน้าบ้าน ครู่เดียวแสงแรกของวันสาดผ่านต้นไม้ใหญ่ ใบไม้ก็มาถึง พี่พะก่อเดินถือเคียวมา 2 อันชวน |
เดินลุยลำห้วยไปอีกฝั่ง ไปเกี่ยวข้าวดอยที่ปลูกไว้ รวงสีเหลืองทองห้อยย้อยสู่ดิน ก่อนกินข้าวเช้า |
เราสองคนช่วยกันเกี่ยวข้าวไว้กิน ไหล่ดอยปลูกข้าวค่อนข้างชัน ต้องค่อย ๆ ไต่เดิน |
|
ก้มตัวเกี่ยวข้าว พอเกี่ยวได้กอ ตวัดข้าวไปข้างหลังพาดไว้กับ ตอซังพาดไว้เฉียงตัวนิดหนึ่ง |
สังเกต ดูแล้วพี่พะก่อปลูกข้าว โดยขุดหลุมบนที่ลาดเชิงดอยห่างกันประมาณศอกผู้ใหญ่ บางหลุมห่างเลี่ยงก้อนหินตอไม้ ไม่ได้ |
ปลูกเป็นแนวอย่างที่เคยเห็นแต่นึกไม่ออกว่าที่ไหน |
(ภาพแทน) |
เราเกี่ยวข้าวไป จนกระทั่งแดดเริ่มกล้าแรง.... เด็กก่ำ จะหิ้วกระบอกไม้ไผ่สีคล้ำคล้ายถูกควันไฟรมหอมไต่ดอยมาส่งให้ดื่ม |
หอม. ยามน้ำไหลลงลำคอ.เย็นชื่นใจ |
ท้องเริ่มหิวอยากกินข้าว แต่น้อยกว่าความเจ็บเมื่อย เอวลำตัวที่ก้มเกี่ยว ตะวัดรวงข้าวที่มีฟางข้าวสีเหลืองติดไปวางไว้กับตอ |
ข้าวที่เกี่ยวออกไปแล้ว ใจนึกถึงกับข้าว จะกินอะไรดีตอนเช้า |
ปะ หยุดเกี่ยว ลงไปพักกินข้าวกันก่อน ค่อยมาเกี่ยวต่อตอนแลง(เย็น) พี่พะก่อเอ่ยปากชวน |
ดีครับพี่กำลังหิวข้าว เราทำอะไรกินดี |
ก็กินแบบแกงที่เหลือเมื่อวาน... ไหวเปล่า |
คำพูดแบบนี้คุ้น ๆ ยามอยู่ที่บ้าน...แต่บ้านเราอยู่ไหนนี่ซิ... เลยตอบว่า ครับพี่ |
|
ขอบคุณเพื่อนผู้เอื้อเฟื้อภาพ |
st ผู้เข้าชม 2,241,633. |
ขอบคุณเพื่อนผู้แวะมาเยือน กรุณาเม้นท์/ทิ้งร่องรอยนิด ผมจะได้กลับไปเยี่ยมตอบแทนถูกครับ |
|
Diarist |
อรุณสวัสดิ์ครับพี่ไวน์
ทักษะชีวิตเหมือนจะง่าย
แต่พอจะใช้งานจริง
ยากมาก
เหมือนที่พี่ไวน์เล่าว่า
ในป่ามีของกินเยอะมาก
แต่ใช่จะหามาง่ายๆ
ล่าสัตว์ จับปลา
คนไม่เคยทำ
ยังไงก็ทำไม่เป็น
ต้องฝึกนานเลยกว่าจะทำได้
ผักหญ้าชนิดไหนกินได้ไม่ได้
อันนี้ก็ต้องรียนรู้จริงๆครับถึงจะกินได้ปลอดภัย
ผมเพิ่งทราบจากบล็อกพี่เลยครับ
ว่าน้ำมันหมูป่าสามารถนำมาจุดตะเกียงได้ด้วย
สุดยอดเลยครับ