No. 1089 บ้านน้อย ในป่า (หาอาหาร EP. 5) |
|
 |
เราช่วยกัน ขนข้าวที่เกี่ยวติดฟางไป่ลานข้างบ้าน..บ่าที่เจ็บ ค่อย ๆ หายเจ็บในวันที่สี่แต่น่อง ขายังตึงเปรี๊ยะอาการเจ็บบ่าเบาลง |
ฟางข้าวสีเหลืองรวมไว้ใต้ต้นไม้ บนเนินดินหน้าบ้าน รอไว้ตากแดดจะได้นวดข้าวให้ร่วงจากรวงง่ายขึ้น |
|
วันนี้เราหยุดพัก นั่งนอนเล่นที่บ้าน...แสงแดดสาดลงถูกน้ำในลำห้วยที่ไหลเอื่อย ๆ เป็นประกายกับพริ้วน้ำ |
เสียงน้ำไหลดังเบาเบา ปลาตัวโตว่ายวิ่งไปมาในแอ่งกว้างใสสอาด |
น้ำ...พี่จะตัดผมให้ พี่พะก่อตะโกนบอก. |
ดีพี่ผมมันยาว หนวดไม่ดกขึ้นหรอมแหรมไม่หล่อ 555 ยาวรุงรัง.... ลงลุยน้ำในลำห้วยจุ่มหัวให้เปียกไปนั่งบนตอไม้  |
พี่พะก่อจับเส้นผมข้างหู แล้วเอามีดยับ(กรรไกร)เอาปลายกรรไกรทิ่มลงตัดปลายผม ขลิบผมจนบางรอบ ๆเส้นผมที่มัดไว้ตรง |
ท้ายทอยตัดออกเล็มตีนผมจนบาง. แล้วเอามือสางผมบนหัว..เส้นผมโผล่หลังฝ่ามือ ใช้กรรไกรตัดออกเสมอหลังมือดูกลมตามหัว |
|
ใช้มือลูบตบ ๆ เส้นผม...เคราที่มีนิดหน่อยขลิบออก หนวดยาวแต่ไม่หนา..น่าเกลียดมาก..ขลิบ ๆ ออก..กินข้าวจะได้ไม่ต้องแหวกออก |
ขอบคุณพี่พะก่อแล้วลงไปลำห้วยย่อตัวให้น้ำท่วมตัวหัวมุดในน้ำให้น้ำลำห้วยพัดเส้นผมที่ตัดออกไป |
โผล่ขึ้นมารู้สึกเบาหัวดี  ลูกมะซัก หรือ ลูกประคำดีควาย |
หยิบเอาลูกมะซักแห้งสีน้ำตาลแก่สี่ห้าลูกใส่แอ่งหินเล็ก ๆ โขลกด้วยหินกลมจนแตกแหลกวักน้ำใส่แอ่งขยี้จนเกิดฟอง ใช้่อุ้งมือ |
กอบทั้งน้ำที่เป็นฟองปนเศษมะซักขยี้เส้นผมไปมาจนทั่ว มุดน้ำท่วมหัวสระเส้นผมรู้เลยว่าสะอาด |
ยามเอามือปาดเส้นผม จะมีเสียงเอี๊ยดอ๊าด |
ลูกมะซักนี้ พี่พะก่อบอกว่าเพื่อนบ้านที่อยู่ห่างบนเราไป เรียกว่า ซะเหล่เด... เป็นลูกไม้ยืนต้นเมื่อเก็บมาตอนแก่ตากแดดจนแห้ง |
ลักษณะลูกกลมผิดบูดเบี้ยวขรุุขระ ขนาดหัวแม่มือผิวสีน้ำตาล เด็กชายก่ำไปเก็บมาจากบนดอยลูกลูกใส่หม้อดิน |
เราใช้ลูกมะซัก ทุบวักน้ำใส่ ชะโลมตัวให้ลื่นมันจะช่วย ชะล้างเหงื่อไคลออกได้ดี ใช้ซักผ้า |
|
คราวที่ผมเกี่ยวข้าวไร่บนดอยปวดเมื่อยตัว เนื้อตัวรุม ๆ คล้ายเป็นไข้ พี่พะก่อเอาเปลือกต้นมะซักมาต้มน้ำให้กิน ช่วยลดไข้แต่ต้อง |
ผสมเหล้าแช่ให้ผมกิน 2 วันก็หายระบม (จขบ.เรื่องใช้เปลือกเป็นยายังไม่ได้ค้นตำรา ก่อนใช้ควรปรึกษาเภสัชกร) |
พี่พะก่อ ผมจะตัดให้พี่เอาบ๋อ(เอาไหม) |
ไม่ต้องน้อง เอาไว้วันหลัง |
พี่น้ำ... บ่าต้องตัดหื่อป้อ(ไม่ต้องตัดให้พ่อ) ป้อเปิ่นจะหื่อน้า(พ่อจะให้น้า)แม่หญิงบ้านปู๊นตัด |
ไผ(ใคร) ตี่น้องก่ำว่า |
น้าแม่หญิงอยู่เลยดอยบ้านเฮาไปสองดอย ป่อเปิ้นจะเอามาเป๋นแม่คนใหม่ของ่กำ แม่นก่อป่อ(ถูกเปล่าพ่อ) |
บ่าต้องอู้(ไม่ต้องพูด) พี่พะก่อทำหน้าอาย ๆ |
|
หลังจากอาบน้ำสระหัว ก่ำก็ชวนไปจับปูดอย กับหาเขียดแลว |
ไปก็ไป. ก่ำต้องเตรียมอะไรบ้าง |
เอาข้องไปอย่างเดียวก็พอพี่น้ำ. |
|
เราเดินตามลำห้วยที่ทอดยาวลงข้างล่าง ผ่านรากไม้ที่โผล่เป็นตะปุ่มตะป่ำ ใบไม้ร่วงหล่นทับถมหนา เดินไม่นานก็พบหลึบลำห้วย |
ใบไม้ทับหนา น้ำแฉะเด็กชายก่ำ เอาไม้เขี่ยใบไม้ออก เจอปูชูก้ามร่อนออกมาสองสามตัว ก่ำใช้ไม้เขี่ยปูออกมาจับใส่ข้องที่แขวน |
ข้างตัว. เราเดินไปเรื่อย ๆ ก่ำเขี่ยใบไม้ออก ปูก็โผล่ตัวออก |
พี่น้ำ จับปูต๋วยเน่อ  |
ได้เลย…..เฮ้ยปูหนีบ |
ก่ำหัวเราะ. พี่ต้องแบมือคว่ำลงบนตัวปู กดลงแล้วจับปูจะหนีบบ่าได้เน่อ(หนีบไม่ได้) |
เลยทำอย่างที่ก่ำบอก ปูหนีบไม่ได้จริง วันนั้นจับปูสีดำได้เป็นส่วนใหญ่เป็นปูสีดำ มีก้ามสีชมพูได้บ้างแต่ไม่มากนัก  |
เขียดแลว(กบภูเขา)เราไม่พบคงต้องไต่ขึ้นดอยทางโน้นน่าจะมี ก่ำเคยจับได้ วันนี้เอาปูแค่นี้เนาะ |
เออ พี่ก็ว่า ชักเมื่อยน่องแล้ว กลับบ้านกัน. |
|
ถึงแอ่งน้ำหน้าบ้าน ก่ำเอาข้องใส่ปู จุ่มน้ำส่ายไปส่ายมา จนสะอาดเปิดข้องเก็บเศษใบไม้ที่ปนออกทิ้งล้างอีกครั้ง |
หิ้วปูขึ้นตลิ่งไปที่ตูบ(กระท่อม) เก็บข้องใส่ปูไว้ใกล้ฝาครัว |
ก่ำใช้ไม้เขี่ยขี้เถ้าใช้ปากเป่าเห็นถ่านยังแดงอยู่นิด เอาเศษไม้เกี๊ยะวางครู่เดียวก็เกิดเปลวไฟวางเศษไม้กับฟืนสุมจนติด |
ใช้หม้อดินวางเทน้ำเปล่าใส่ไปครึ่งหม้อ  ใช้มือหยิบผงเกลือสีดำคล้ำโปรยลงน้ำ  หยิบน้ำตาลอ้อยมาขูดเป็นฝอยบาง ๆ โปรย |
ลงไปอีก 1 ก้อนใช้ไม้พายเล็กคนไปมาแล้วปิดฝารอให้เกลือน้ำตาลละลายน้ำเดือดดีแล้วก็ ราไฟ จับฟืนออก |
|
ทำอาหารเย็นง่าย ๆ ตั้งหม้อดินใส่น้ำไป 1 ขัน เดินไปหลังบ้านแหวกกอตะไคร้มา 2 ต้นลอกเปลือกล้างน้ำ |
ใช้มีดอีโต้ตบไปสองที แล้วสับเป็นสองท่อนยาว 2 ข้อนิ้วโยนใส่หม้อดิน |
ดึงพริกชี้ฟ้าแก่แห้งที่ผูก ไว้ในครัว 4 เม็ดล้างด้วยน้ำให้ฝุ่นเขม่าไฟออก ใช้มีดบางตัดพริกออกเป็นสองท่อนใส่ในหม้อดิน |
ตามด้วยเกลือผงสีคล้ำไปด้วยปิดฝาหม้อจนไอร้อนพุ่งออกมา |
เอาเนื้อฟาน(เก้ง)แห้งรมควัน ชิ้นขนาดฝ่ามือก่ำ 3 ชิ้นใช้มีดบางปาดเป็นชิ้นยาวตามเส้นของเนื้อใส่ในหม้อดินปิดฝา จนไอน้ำเดือดพุ่ง |
เก็บมะดันชายน้ำ 3 ลูกปาดด้วยมีดลงไปใช้พายไม้คนปิดฝากไว้แล้วราฟืนออก |
เตรียมกับข้าวมื้อเย็นกันต่อ |
|
ก่ำน้ำเกลือใส่น้ำอ้อย...จะเทใส่ปูหรือยัง อุ่น ๆ แล้ว |
ยัง ๆ รอให้น้ำมันเย็น...พรุ่งนี้ค่อยทำปูดอง |
|
เวลาว่าง ชวนกันไปหาฟืนในป่าบนดอยตัดมาเก็บเรียงไว้ข้างครัว |
ตัดกิ่งไม้ขนาดข้อมือ ยาวสองศอก เราจะเลือกกิ่งไม้แห้งไม่ตัดกิ่งสดบ้าง ช่วยกันมัดแบกลากลงมาจากดอย บางทีก็แบกลงมา  |
ผ่านต้นหญ้าที่สูงจะเกี่ยวจะล้มหลายครั้ง |
ปีนี้ เราได้ไม้หลัว(ฟืน) มาก คงจะพอใช้ได้สี่ห้าเดือน จะพอดีกับหน้าฝนที่กิ่งไม้มันเปียก พี่พะก่อบอก |
ชีวิตในป่า ค่อนข้างสบายเป็นบางครั้ง บางครั้งก็หนักมาก.... |
เวลาร้อน ก็อาบน้ำ หิวข้าวก็กินจนอิ่ม ง่วงนอนล้มตัวนอนหัวถึงหมอนฟังเสียงน้ำในลำห้วยไหลแล้วก็ผลอยหลับไป |
อาหารการกิน ของเราสามคน จะหมุนเวียนเปลี่ยน |
กันไป มีแกงไก่ป่าใส่ผัก. แกงผักกูด. แกงผักเสี้ยว ผักฮ้วนหมูที่ขมนิด ๆ ไปเก็บดอกสะแลเป็นต้นไม้สูงปานกลางดอกสะแล |
อยู่ในป่าทำอาหารกินกันง่าย ๆ ซ้ำ ๆ ดูพี่พะก่อกับทำเองส่วนใหญ่จะเป็นแกงเผ็ดแต่เผ็ดไม่มาก น้ำพริกแกงมีใส่แค่ พริก เกลือ |
มะเขือเทศ หัวหอม กระเทียม ถั่วเน่า (ข้างล่าง นัตโตะแบบญี่ปุ่น)  ภาพข้่างล่างถั่วเน่าไทย( จขบ.)ทำสะอาดไม่ได้เน่าตามชื่อ เมื่อผสมบางอย่างสีจะคล้ำหรือทำเป็นแผ่นก็มีกลิ่นถ้ายังไม่ปิ้งไฟหรือยังไม่ได้ผัดกลิ่นแรง พอ ๆ กับกะปิ  ผลไม้ชูรสก็ มะนาว มะขาม มะดัน พริก |
สังเกตรสน้ำแกงจะเปลี่ยนไปตาม รสของผัก ปลาสด ปลาย่างรมควัน เนื้อกวางเนื้อฟาน สด/รมควัน |
พี่พะก่อไป พม่ารสอาหารเขาเป็นแบบเราเปล่า |
อ๋อ.. เขาใส่คล้าย ๆ ของเรา แต่เขาทำรสกลาง ๆหมดไม่ไปทางไหน หุ หุ น้ำแกงจะข้น...แต่บ้านเราในป่าหรือปายที่พี่เคยอยู่เครื่องคล้าย |
กันแต่ของเรามีรสนำ..บางอย่างพวก เผ็ด เปรี้ยวโดด ๆ ขึ้นมา..มีกลิ่นมะนาวออกมา |
ผมเองยังสงสัยว่า อาหารป่า ๆ เครื่องแกงจะเหมือน ๆ กันทุกวันจะมีเปลี่ยนก็รสผัก พอกินข้าวทีไรข้าวหมดหม้อทุกวัน |
น่าจะความเหนื่อยสุด ๆ ออกกำลังทำงานจนหมดแรงทำให้หิวจัด อะไร ๆ ก็อร่อย |
แต่มีบางอย่างที่คิดไม่ออก ว่าง ๆ จะถามพี่พะก่อ |
|
ขอบคุณเพื่อนผู้เอื้อเฟื้อภาพ (re 09) |
st ผู้เข้าชม 2,249,438. |
ขอบคุณเพื่อนผู้แวะมาเยือน กรุณาเม้นท์/ทิ้งร่องรอยนิด ผมจะได้กลับไปเยี่ยมตอบแทนถูกครับ |
|
Diarist |
|