: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร :
: วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร :อรรถาธิบาย : พระสงฆ์จี้กง แปลและเรียบเรียง : อมร ทองสุก
ในบรรดาหนังสือพระสูตร “วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร” ที่ผมอ่านมา 3-4 เล่ม ผมว่าเล่มนี้อ่านยากที่สุด เข้าใจยากที่สุด ในความรู้สึกคือ อาจเพราะเป็นการแปลอย่างละเอียด มีเชิงอรรถแทบจะในทุกบท มีคำอธิบายศัพท์ต่าง ๆ มีคำอธิบายเนื้อหาเป็นจำนวนมาก
คุณอมร ทองสุกผู้แปล ใช้สำนวนแปลของท่านกุมารชีพ และมีคำอรรถาธิบายโดยพระสงฆ์จี้กง ซึ่งเป็นพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงในประเทศจีน
“วัชรปรัชญาปารมิตาสูตร” ได้รับการยอมรับนับถืออย่างสูง ในเหล่าผู้ปฏิบัติธรรมสายมหายาน ว่าเป็นพระสูตรที่แสดงธรรมในเรื่อง “ความว่าง” ได้อย่างหมดจดงดงาม
ผมใช้เวลาประมาณ 3 วันจึงอ่านหนังสือเล่มนี้จบ เขียนบทกวีซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากหลักธรรมภายในเล่ม รวมทั้งนำคำคมคำสอนที่ผมชอบจากหนังสือเล่มนี้มาฝากกันด้วยครับ
---------------------------------------------------------: รากแห่งความคิด :สิ่งทั้งปวง ล้วนเป็นมายา หากคิดว่าต้องมีสิ่งที่ได้ จึงจะเรียกว่าได้ ต้องมีธรรมที่ได้รับ จึงจะเรียกว่ามีธรรม นั่นยังเป็นเพียง ‘ปัญญาอาวรณ์’ คือเครื่องกั้นมิให้ตัวเราเข้าสู่ความรู้แจ้ง
จงพิจารณาร่างกาย ว่ามีความเสื่อมทรามเป็นที่ตั้ง เพื่อชะล้างความโลภ ความเห็นแก่ตัว
จงแผ่เมตตาไปยังสรรพสัตว์ เพื่อชะล้างความโกรธ ความเกลียด ในจิตของตน
จงพิจารณาเหตุและผลของการเกิดดับ เพื่อชะล้างความหลง ความเมามัว
จงพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง เพื่อชะล้างความยึดมั่นถือมั่นในตนเอง
จงพิจารณาลมหายใจ เพื่อชะล้างความฟุ้งซ่าน และความหลงผิดในจิตตน
เมื่อพิจารณาแล้วจึงได้รู้ว่า กายก็ไม่เที่ยง ความรู้สึกก็ไม่เที่ยง ความนึกคิดก็ไม่เที่ยง สิ่งทั้งหลายทั้งปวงก็ไม่เที่ยง
เมื่อทุกสิ่งไม่เที่ยง แต่อยากให้มันเที่ยง ก็เป็นทุกข์
เมื่อทุกสิ่งเป็นทุกข์ แต่อยากให้มันสุข ก็ยิ่งทุกข์
ทุกข์คลาย เมื่อคลายทุกข์ เมื่อเห็นว่าทุกข์นั้นเป็นของไม่เที่ยง เมื่อไม่เที่ยง ก็ไม่ทน เมื่อไม่ทน จึงดำรงอยู่เพียงชั่วขณะ แล้วในที่สุด ทุกข์นั้นก็คลายและค่อย ๆหายไป เมื่อจิตในขณะนั้นของเราเข้าใจและยอมรับความจริง อย่างที่มันเป็นชั่วขณะที่ทุกข์นั้นหายไป คือ ชั่วขณะที่ว่างจากตัวตนในชั่วขณะที่ว่างจากตัวตน จะมองเห็น ‘สัจจะ’ อย่างแจ้งชัด และนำไปสู่ความรู้แจ้ง การตระหนักใน ‘สัจจะ’ อย่างชัดแจ้ง ย่อมนำไปสู่การหลุดพ้น
สิ่งสำคัญ คือ ต้องรู้ว่า ‘ธรรมทั้งปวง’ เกิดขึ้นมาจากเหตุปัจจัย ทุกสิ่งที่ประสบ คือ ‘มายา’ อันไม่เที่ยง
เช่นนั้นแล้ว‘ความว่าง’คือ สิ่งที่สร้างสรรพสิ่ง และแม้จะสร้างสรรพสิ่ง ก็หาได้ยึดมั่นถือมั่นในสรรพสิ่งเหล่านั้นไม่ เพราะรู้แล้วว่าทุกสรรพสิ่งนั้นคือ ‘มายา’ เมื่อปล่อยวาง ‘มายา’ ทั้งปวงได้จนหมดสิ้น นี่คือ “ความว่างอันแท้จริง”
Create Date : 11 ธันวาคม 2567 |
Last Update : 11 ธันวาคม 2567 4:08:24 น. |
|
15 comments
|
Counter : 538 Pageviews. |
|
|
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณRananrin, คุณปัญญา Dh, คุณหอมกร, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณmultiple, คุณnonnoiGiwGiw, คุณThe Kop Civil, คุณtuk-tuk@korat, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณโฮมสเตย์ริมน้ำ, คุณปรศุราม, คุณชีริว, คุณสองแผ่นดิน, คุณhaiku |
โดย: Rananrin วันที่: 11 ธันวาคม 2567 เวลา:4:31:46 น. |
|
|
|
โดย: ปัญญา Dh วันที่: 11 ธันวาคม 2567 เวลา:6:07:17 น. |
|
|
|
โดย: หอมกร วันที่: 11 ธันวาคม 2567 เวลา:6:33:37 น. |
|
|
|
โดย: tanjira วันที่: 11 ธันวาคม 2567 เวลา:6:34:30 น. |
|
|
|
โดย: หอมกร วันที่: 11 ธันวาคม 2567 เวลา:6:49:31 น. |
|
|
|
โดย: multiple วันที่: 11 ธันวาคม 2567 เวลา:8:50:20 น. |
|
|
|
โดย: กะริโตะคุง วันที่: 11 ธันวาคม 2567 เวลา:15:01:09 น. |
|
|
|
โดย: ชีริว วันที่: 11 ธันวาคม 2567 เวลา:21:18:32 น. |
|
|
|
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 11 ธันวาคม 2567 เวลา:22:38:16 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 12 ธันวาคม 2567 เวลา:22:12:42 น. |
|
|
|
| |
แนวคิดปรัชญาแบบจีน ไม่แน่ใจเข้าใจถูกมั้ยนะคะ
แต่อ่านแล้วรับรู้ได้ว่า โลกนี้ล้วนแล้วแต่เคลือบด้วยมายา
หากจะทราบถึงแก่นแท้ ต้องศึกษาให้ลึกซึ้ง
อรุณสวัสดิ์ค่า