มีนาคม 2568
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
31 มีนาคม 2568

: กะว่าก๋าแนะนำหนังสือ - คัมภีร์ 42 บท :


: คัมภีร์ 42 บท :
ต้นฉบับจีน : พระกาศยปมาตังคะและพระธรรมรัตน์
แปล : พระมหาอานนท์ อานนฺโท









ความสำคัญของ ‘คัมภีร์ 42 บท’ เล่มนี้
อาจนับเป็นจุดเริ่มต้นในการลงหลักปักฐานของพระพุทธศาสนา
จากอินเดียเข้าสู่ประเทศจีนเป็นครั้งแรกในราว 1900 ปีก่อน

เรื่องราวเริ่มต้นในยุคสมัยของพระเจ้าฮั่นหมิงตี้ ยุคฮั่นตะวันออก
พระองค์ได้สุบินหรือฝันเห็นเทวดามีวรรณะดั่งทององค์หนึ่งเหาะมายังพระตำหนัก
และได้รับการพยากรณ์ว่าเทวดาในสุบินองค์นั้น คือ ‘พระพุทธเจ้า’
ในเวลาต่อมาพระองค์จึงส่งคณะฑูตจำนวน 12 คน
ออกไปสืบหาพระพุทธศาสนายังกษาณประเทศ
(พื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ปัจจุบันคือประเทศปากีสถาน)
และกลับมายังประเทศจีนพร้อมกับคัมภีร์ และพระสูตรจำนวนหนึ่ง
รวมทั้งพระสงฆ์ชาวอินเดีย 2 รูป ได้แก่ พระกาศยปมาตังคะและพระธรรมรัตน์
เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในแผ่นดินจีน


ในระยะแรกเป็นที่น่าสนใจว่าชาวจีนในยุคนั้นมิได้ให้การต้อนรับแนวคิดใหม่ในทันที
เพราะเนื้อหาคำสอนในคัมภีร์นี้เน้นไปที่เรื่องของการปล่อยวางและการหลุดพ้น
โดยให้คนออกจากเรือนเพื่อแสวงหาความสงบสันโดษและโมกขธรรม
ขณะที่แนวคิดเดิมของลัทธิขงจื๊อและคัมภีร์เต้าเต๋อจิงนั้น
ยังคงมีความกลมกลืนกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการเมืองการปกครองของจีนมากกว่า

พระกาศยปมาตังคะและพระธรรมรัตน์ ได้ใช้ชีวิตอยู่ในประเทศจีนตราบจนมรณภาพ
ศึกษาวัฒนธรรม เรียนรู้ภาษา และลงมือทำการแปลพระสูตรคำสอนต่าง ๆ
จากภาษาอินเดียเป็นภาษาจีน มีการปรับเปลี่ยนภาษาถ้อยคำที่ใช้
เพื่อให้เข้าใจง่ายมากขึ้นสำหรับคนจีนทุกชนชั้นวรรณะ

จากนั้น ‘พุทธศาสนา’ ก็ได้หยั่งรากลึกลงในแผ่นดินจีน
เติบโตอย่างกลมกลืนไปพร้อมกับปรัชญาดั้งเดิมของจีนที่มีอยู่ก่อนอย่างเต๋า และขงจื๊อ
จนต่อยอดกลายเป็นเซ็น และมหายานซึ่งได้รับการยอมรับนับถือสูงสุดในเวลาต่อมา

คำสอน 42 บทนี้เมื่อเทียบเคียงกับคำสอนในพระสูตรบาลี
ก็พบว่ามีเรื่องราวและวิธีอธิบายธรรมตรงกันอยู่หลายบท

ผมยกบางคำสอนที่ชอบจากหนังสือเล่มนี้มาให้ทุกคนได้ลองอ่านกันด้วยครับ
























 




 

Create Date : 31 มีนาคม 2568
11 comments
Last Update : 31 มีนาคม 2568 4:59:13 น.
Counter : 581 Pageviews.
(โหวต blog นี้) 

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณmultiple, คุณกะริโตะคุง, คุณหอมกร, คุณนายแว่นขยันเที่ยว, คุณอาจารย์สุวิมล, คุณSleepless Sea, คุณtoor36, คุณThe Kop Civil, คุณtanjira, คุณร่มไม้เย็น, คุณnonnoiGiwGiw, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณปรศุราม, คุณสองแผ่นดิน, คุณปัญญา Dh, คุณSweet_pills

 

ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์ เป็นเรื่องจริงแท้แน่นอนเลยนะครับ

ถึงแม้ความรักจะทำให้เกิด ความสุขในช่วงแรก แต่ความทุกข์ก็จะต้องตามมาไม่ช้าก็เร็วนะครับ

ช่วงแผ่นดินไหว เห็น รพ ทุกทีโกลาหลกันน่าดูเลยนะครับ
ยิ่งถ้าหมอกำลังผ่าตัด ช่วยชีวิตคนไข้อยู่นี่
จะเป็นสถานการณ์ที่ต้องตัดสินใจยากมากเลยนะครับ

ขั้นตอนการตรวจไส้เลื่อน เป็นอย่างนั้นจริงๆนะครับ
คนขี้อาย คงทำใจลำบากหน่อย
ส่วนอาจารย์เต๊ะ ถือ คติ อายครูไม่รู้วิชา
อายภรรยา ก็อดสนุกนะครับ
แล้วถ้ามาอายหมอ นี่ก็ไม่ได้รักษาแน่นอนครับ 555
แล้วตกลงหลานหมิงอยู่เที่ยวต่อมั้ยครับนี่

 

โดย: multiple 31 มีนาคม 2568 7:52:53 น.  

 

วันนี้มาหลังอาจารย์คุณก๋า
แต่มาก่อนคุณธัญไม่รู้จะแวะมามั๊ย
เล่มนี้อ่านเข้าใจง่ายหน่อยนะคุณก๋า

 

โดย: หอมกร 31 มีนาคม 2568 8:54:31 น.  

 

สวัสดี จ้ะ น้องก๋า

"คัมภีร์ 42 บท" บล็อกนี้ ได้ประวัติความเป็นมาของหนังสือ
เล่มนี้ด้วยและน่าจะถือว่า เป็นหนังสือของพุทธศาสนาเล่มแรกที่เข้า
ไปเผยแผ่ในประเทศจีน ถึงจะไม่ได้รับการต้อนรับในช่วงแรก ๆ เพราะแนวการสอนเน้นแตกต่างกัน ของจีน เขาน่าจะเรียกว่า ลัทธิ
มากกว่าศาสนา นะ เน้นเรื่องความกตัญญู เน้นเรื่องธรรมชาติ
มีความกลมกลืนกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมการเมืองการปกครองของจีนมากกว่าแนวของพุทธที่ เน้นเรื่อง การปล่อยวางและการหลุดพ้น
โดยให้คนออกจากเรือนเพื่อแสวงหาความสงบสันโดษและโมกขธรรม
แต่ด้วยความสามารถของธรรมทูตทั้งสองทีไปเผยแผ่ศาสนาพุทธ
ทำให้ ศาสนาพุทธเกิดในประเทศจีนอย่างหยั่งลึก เป็นเซน เป็น
พุทธนิกายมหายาน นั่นเอง

จากตัวอย่างในคำภีร์ 42 บทที่ยกมา เป็นหลักพุทธอย่างชัด
เจนเลย เช่น ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์ ทุกสิ่งในโลกด้วยอนิจจัง ฯลฯ

โหวดหมวด แนะนำหนังสือ

 

โดย: อาจารย์สุวิมล 31 มีนาคม 2568 11:36:08 น.  

 

สัวสดีครับพี่ก๋า

แสดงว่าหนังสือเล่มถือถือว่าเป็นการอธิบายหลักคำสอนได้อย่างถูกต้องชัดเจน ไม่เติมแต่งบิดเบียนแน่นอนครับครับ
แต่น่าจะอ่านง่าย ย่อยง่ายกว่าพระสูตรมากแน่ๆ ครับ

จากบล๊อก

ซ่ำแซะนี่น่าจะเป็นที่คนฝั่งที่ติดกัมพูชาเค้าพูดกันครับ
พอทำงานกับคนหลายๆ ภาค ก็จะได้ศัพท์ใหม่มาเรื่อยๆ
ยม นี่ผมก็มาได้ตอนทำงานนะครับ 555555 แต่คนเหนือรู้อยู่แล้ว

ฝั่งไนท์คงไม่มีอะไร 100% ครับ
แต่ใกล้ชิด สนิทด้วย เพื่อสนิทกันจะได้ทำงานกันสะดวก สบายใจขึ้น
ผมว่าน้องมิ้นท์ก็รู้แหละ แต่ไอ่นี่อาจจะตรงไทป์จริง ๆ

 

โดย: จันทราน็อคเทิร์น 31 มีนาคม 2568 13:47:45 น.  

 

ชื่อคัมภีร์ 42 ยังพอจะได้ยินบ้างในยุคนี้ครับ แต่ผมได้ยินจากในหนังจีนกำลังภายใน 555

ถึงจะพุทธเหมือนกันแต่คนละสาย แต่ก็ดูจะมีจุดร่วมนะครับ

ที่ใดมีรักที่นั่นมีทุกข์ ในไซอิ๋วชอบพูดคำนี้กันมาก

 

โดย: คุณต่อ (toor36 ) 31 มีนาคม 2568 15:38:02 น.  

 

สวัสดีตอนบ่ายๆเลยค่ะก๋า

ทางเหนือเป็นยังไงบ้างคะ
ตอนนี้กทม. บางจุดน่าห่วงเรื่องตึกหลายๆแห่ง

น้องป่านไปออฟฟิตเมื่อเช้า แต่พอบ่ายเขาให้ WFH ได้ค่ะ
น้องเลยกลับมาคอนโดแล้ว ที่คอนโดก็ยังคงไม่น่าห่วงมากนักค่ะตอนนี้

 

โดย: tanjira 31 มีนาคม 2568 15:57:32 น.  

 

สวัสดีตอนเย็นครับคุณก๋า

มาอ่านรีวิวหนังสือครับ
วันนี้ได้รู้ประวัติที่พุทธศาสนาได้เริ่มต้นในจีนครับ

 

โดย: Sleepless Sea 31 มีนาคม 2568 16:15:09 น.  

 

ชอบตรงอันสุดท้ายนะครับ ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์

 

โดย: The Kop Civil 31 มีนาคม 2568 16:29:07 น.  

 

สวัสดีครับคุณก๋า

เป็นหนังสือสายธรรมที่อ่านไม่ยาก และทำให้เข้าใจ ตระหนักชีวิตขึ้นครับ จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ผ่านมาก็เพิ่มความรู้สึกที่ว่า วันข้างหน้าไม่แน่นอน ทำวันนี้ให้ดีที่สุด และเอาใจใส่คนใกล้ตัวให้ดีครับ

 

โดย: มาช้ายังดีกว่าไม่มา 31 มีนาคม 2568 20:24:21 น.  

 

พระกาศยปมาตังคะและพระธรรมรัตน์ 1900 ปี
สุดท้ายคือพ้นทุกข์

ค่าฝุ่นไม่เกิน วิ่งครับ พายุฝนฤดูร้อนเข้าบางพื้นที่

 

โดย: สองแผ่นดิน 31 มีนาคม 2568 22:55:12 น.  

 

สวัสดีค่ะคุณก๋า

เมื่อปราศจากความรัก ย่อมไม่มีความทุกข์โศก
เมื่อไม่ทุกข์โศกก็ไม่มีความกลัว

เป็นจริงตามนี้ค่ะคุณก๋า
ตัวอย่างใกล้ตัวก็กลัวคนที่เรารักเจ็บป่วย เกิดอันตราย
อย่างวันที่เกิดแผ่นดินไหว น้องสาวทำงานบนตึกสูง
พอรู้ว่าลงมาปลอดภัยก็สบายใจค่ะ

คุณก๋าคงปลอดภัยดีนะคะ รวมถึงบ้านและร้านด้วย
ขอบคุณคุณก๋ามากค่ะที่เจิมบล็อกให้
ฝันดีคืนนี้นะคะ

 

โดย: Sweet_pills 1 เมษายน 2568 0:45:30 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


กะว่าก๋า
Location :
เชียงใหม่ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 395 คน [?]




มองฉันอีกครั้ง
เธออาจเห็นฉัน
หรืออาจไม่เห็นฉัน

ฉันแค่แวะผ่านทางมา
และอาจไม่หวนกลับมาทางนี้อีกแล้ว

เราเคยรู้จักกัน
และมันจะเป็นเช่นนั้นตลอดไป

มองดูฉันอีกครั้ง
เธออาจเห็นฉัน
และฉันอาจมองไม่เห็นเธอ.





[Add กะว่าก๋า's blog to your web]