1 2 3 4 5
6 7 8 9 10 11 12
13 14 15 16 17 18 19
20 21 22 23 24 25 26
27 28 29 30
วันศิลป์ พีระศรี ๒๕๕๘
ภาพจาก kapook.com Santa Lucia วันนี้ (๑๕ ก.ย.) เป็นวันคล้ายวันเกิดของครูศิลป์ พีระศรี ทุกปีจะมีการจัดนิทรรศการและงานรำลึกถึงท่าน โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยศิลปากรที่ท่านเป็นผู้ก่อตั้ง ปีนี้ก็จัดหลากหลายนิทรรศการ บอกข่าวไว้ท้ายบล็อก ท่านใดสนใจงานไหนก็แวะไปชมได้ค่ะ บล็อกเกี่ยวกับครูศิลป์ที่เคยอัพไว้ครูศิลป์ พีระศรี Corrado Feroci ชีวประวัติครูศิลป์ พีระศรี พิพิธภัณฑ์ครูศิลป์ พีระศรี ๑๒o ปี ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี อาทิตย์นี้อัพเพลงฝรั่งเพราะ ๆ ให้ฟังค่ะ Vincent บล็อกคุณปอนล่าสุด อารมณ์รมณีย์ บล็อกเสพงานศิลป์ล่าสุด เสพงานศิลป์ ๒๓o คอราโด เฟโรชี สุภาพบุรุษจากฟลอเรนซ์ ถ่ายภาพนี้ไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ ครูศิลป์ปั้นอนุสาวรีย์ผู้กล้าหาญ ณ เกาะเอลบาก่อนเดินทางมาประเทศสยาม ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เดิมชื่อ CORRADO FEROCI เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๕ ณ เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยศิลปะ เมื่อเยาว์วัย ศ.ศิลป์ สนใจและยกย่องผลงานของไมเคิลแองเจโล และกิแบร์โต ในวิหาร Santa Maria del Flore เป็นอย่างมาก โดยตั้งใจว่าจะศึกษาและเจริญรอยตามศิลปินทั้งสองท่านนี้ ภาพจาก kapook.com เมื่อโตขึ้นได้เข้าศึกษาศิลปะที่ราชวิทยาลัยศิลปะแห่งนครฟลอเรนซ์ สำเร็จการศึกษาตั้งแต่อายุยังน้อยเพียง ๒๓ ปี ได้รับประกาศนียบัตรช่างเขียนช่างปั้นและเข้าสอบชิงตำแหน่งศาสตราจารย์ได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง ผลงานในวัยหนุ่มที่ได้รับยกย่องและมีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะของศิลปิน คือ ได้รับรางวัลชนะการประกวดออกแบบอนุสาวรีย์หลายครั้ง และเคยได้รับรางวัลต่าง ๆ จากรัฐบาลอิตาลีจอมพลป. พิบูลสงครามมาชมงานแสดงศิลปกรรมที่มหาวิทยาลัยศิลปากร ชีวิตในวัยหนุ่มของ ศ.ศิลป์ ไม่พอใจในสภาพชีวิตที่เป็นอยู่ในสังคมที่เจริญแต่เพียงด้านวัตถุในประเทศอิตาลีสมัยนั้น เมื่อได้ทราบข่าวว่ารัฐบาลแห่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ต้องการช่างปั้นชาวอิตาเลี่ยน เพื่อเข้ามารับราชการงานอนุสาวรีย์ในประเทศไทย จึงยื่นความจำนงพร้อมผลงานเข้าแข่งขันกับศิลปินอีกจำนวนมาก ในที่สุดรัฐบาลไทยได้เลือก ศ.ศิลป์ หรือ Prof. C. Feroci เข้ามารับราชการในประเทศไทยภาพจาก kapook.com ศ.ศิลป์ อายุ ๓๑ ปี ออกเดินทางโดยทางเรือจากประเทศอิตาลีถึงกรุงสยาม ในราวต้นเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๖๖ เข้ารับราชการในตำแหน่งช่างปั้นของกรมศิลปากร กระทรวงวัง เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคมปีเดียวกัน โดยมี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ศิลปินเอกแห่งกรุงสยามเป็นองค์อุปถัมภ์บรรยากาศการสอนในชั้นเรียน ในระยะแรกเป็นช่วงเวลาที่ ศ.ศิลป์ ต้องปรับตัวเองให้เข้ากับสังคมแวดล้อมและการเมือง อีกทั้งยังต้องสร้างผลงานให้เป็นที่ยอมรับของผู้มีอำนาจในสมัยนั้น ด้วยความมุ่งมั่นในการสร้างผลงาน รัฐบาลไทยจึงได้ยอมรับ ศ.ศิลป์ เรื่อยมา เช่น มอบหมายให้ปั้นพระบรมรูปรัชกาลที่ ๖ เท่าพระองค์จริง ปัจจุบันประดิษฐานในปราสาทพระเทพบิดร และปั้นพระรูปสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ฯลฯ ศ.ศิลป์ ประสงค์ที่จะใช้บุคลากรที่เป็นคนไทยในการทำงานศิลปะ เมื่อมีโอกาสจัดสร้างอนุสาวรีย์ ได้ฝึกฝนกุลบุตร กุลธิดาของไทยให้ได้ศึกษาเรียนรู้วิชาการปั้น และการหล่อโลหะขนาดใหญ่ ซึ่งนับเป็นยุคแรกที่ได้มีการจัดสร้างอนุสาวรีย์บุคคลสำคัญขึ้นในประเทศไทย"พระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์" พระพุทธรูปยืนปางลีลาขนาดใหญ่ ประดิษฐาน ณ ใจกลางพุทธมณฑล ปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ศาสตราจารย์ศิลป์ ได้ย้ายมาเป็นช่างปั้น สังกัดกองประณีตศิลปกรรม กรมศิลปากร กระทรวงธรรมการ ระหว่างนั้นได้เริ่มสอนศิลปะแก่ผู้สนใจโดยเฉพาะทางด้านประติมากรรม ทั้งทางด้านทฤษฎี และปฏิบัติ ศิษย์รุ่นแรก ๆ ส่วนใหญ่มาจากโรงเรียนเพาะช่าง เมื่อทางราชการเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษาทางด้านศิลปะจึงให้ ศ.ศิลป์ เป็นผู้วางหลักสูตรและตำรา ในปี พ.ศ. ๒๔๗๗ กรมศิลปากร ได้จัดตั้งโรงเรียนประณีตศิลปกรรม โดยมี ศ.ศิลป์ เป็นผู้อำนวยการและเป็นผู้สอนวิชาศิลปะทั้งทางด้าน ทฤษฎี และปฏิบัติภาพจาก kapook.com โรงเรียนประณีตศิลปกรรมได้ยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ จนถึงปัจจุบัน นับเป็นโรงเรียนสอนศิลปะสากลแห่งแรกของประเทศสยามและเอเชียอาคเนย์ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยศิลปากรเป็นสถาบันการศึกษาอุดมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการมุมทำงานส่วนตัวของครูศิลป์ ภายในพิพิธภัณฑ์ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ ศ.ศิลป์ มีผลงานทางด้านเอกสารทางวิชาการ ตำรา และบทความมากมาย ซึ่งล้วนแต่ให้ความรู้ทางศิลปะ พยายามชี้ให้เห็นคุณค่าของศิลปะ เช่น ทฤษฎีของสี ,ทฤษฎีแห่งองค์ประกอบ-ศิลป์, คุณค่าของจิตรกรรมฝาผนัง, ศิลปะและราคะจริต, อะไรคือศิลปะ, ภาพจิตรกรรมไทย, พรุ่งนี้ก็สายเสียแล้ว ฯลฯ ตลอดเวลาที่ ศ.ศิลป์ เดินทางเข้ามารับราชการและใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทย ได้ทุ่มเทความรัก ความรับผิดชอบให้แก่งานราชการอย่างมหาศาล แม้ว่าจะอยู่ในฐานะของชาวต่างชาติก็ตาม ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ศ.ศิลป์ได้โอนสัญชาติเป็นไทย และเปลี่ยนชื่อเป็นไทย พ.ศ. ๒๕o๒ สมรสกับคุณมาลินี เคนนี และใช้ชีวิตอยู่ในประเทศไทยตลอดอายุของตนเอง ศ.ศิลป์ ถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจและโรคเนื้องอกในลำไส้ที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อคืนวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕o๕ สิริรวมอายุได้ ๖๙ ปี ๗ เดือน ๒๙ วัน ระยะเวลาที่ ศ.ศิลป์ ได้อุทิศตนให้แก่ราชการไทยเป็นเวลาทั้งสิ้น ๓๘ ปี ๔ เดือน มหาวิทยาลัยศิลปากร ร่วมกับกรมศิลปากร สมาคมนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยศิลปากร และสโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร จัดงานวันศิลป์ พีระศรี ประจำปี ๒๕๕๘ ๑๒๓ ปี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี โดย ฯพณฯ นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน ในวันอังคารที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๕๘ เวลา ๙.oo น. ณ ลานอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ กรุงเทพฯ ภาพจาก manager.co.th การจัดงานประกอบด้วยการตักบาตร การวางช่อดอกไม้ การแสดงปาฐกถาศิลป์ พีระศรี ครั้งที่ ๒o ประจำปี ๒๕๕๘ โดยศาสตราจารย์เกียรติคุณพิษณุ ศุภนิมิตร ศิลปิน นักประพันธ์ นักวิจารณ์ศิลปะ หัวข้อ สุภาพบุรุษจากฟลอเรนซ์ สู่กลิ่นสีแดนหิมวันต์ การเสวนาเล่าเรื่อง ๗๒ ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร กับวังถนนหน้าพระลาน โดยนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยศิลปากร การฉายภาพยนตร์สั้นที่ได้รับรางวัลจากการประกวดภาพยนตร์สั้น ครั้งที่ ๓ หัวข้อ ศิลปะกับชีวิต เรื่อง กวีวัธน์ และพิธีรำลึกถึงศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ณ บริเวณอนุสาวรีย์ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ภาพจาก twitter-psgartgallery นอกจากนี้ยังมีการจัดการแสดงนิทรรศการศิลปะของคณะวิชา และหอศิลป์ ประกอบด้วย คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ นิทรรศการศิลปกรรมของคณาจารย์คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ครั้งที่ ๓๒ หัวข้อ แรงบันดาลใจจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างวันที่ ๑๕ กันยายน ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๘ ณ หอศิลป์ PSG Art Gallery คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ ภาพจาก thaiday.com คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ นิทรรศการสถาปัตยปริวรรต ๒๕๕๘ หัวข้อ ๖o ปี สถาปัตย์ ศิลปากร ระหว่างวันที่ ๑๕ กันยายน ๒ ตุลาคม ๒๕๕๘ ณ หอศิลปะสถาปัตยกรรมพระพรหมพิจิตร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะมัณฑนศิลป์ นิทรรศการผลงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ประจำปี ๒๕๕๘ หัวข้อ รุ่งอรุณแห่งความสุข ระหว่างวันที่ ๑๕ ๓o กันยายน ๒๕๕๘ ณ หอศิลปะและการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ ภาพจาก thaiday.com หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นิทรรศการ ศิลป์ สู่ ศิษย์ ระหว่างวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๘ ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ เป็นนิทรรศการที่ว่าด้วยบริบททางสังคมการเมืองที่มีผลและความสัมพันธ์กับโลกศิลปะในประเทศไทย กับความจริงที่ว่า เมื่อสังคมเปลี่ยน ศิลปะก็แปรเปลี่ยนตาม โดยย้อนประวัติศาสตร์ไปตั้งแต่ช่วงสมัยที่คอร์ราโด เฟโรจี (Corrado Feroci) หรือศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เข้ามารับราชการในกรมศิลปากร (ในฐานะช่างปั้น) กับผลงานประติมากรรม อนุสาวรีย์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวพันกับสังคมการเมืองในยุคนั้น จนเมื่อผ่านยุคสมัยที่อุดมการณ์ทางการเมืองมีผลต่อการสร้างสรรค์งานศิลปะ มาสู่ยุคที่ปราศจากพันธนาการทางอำนาจการเมือง ศิลปะจึงสามารถสร้างสรรค์ได้โดยบริสุทธิ์เกิดเป็นศิลปะนามธรรม นำเสนอผ่านผลงานศิลปะที่โดดเด่นมากในยุคนั้น คือ ศิลปะภาพพิมพ์ ซึ่งฉายภาพพัฒนาการงานสร้างสรรค์ที่ซ่อนบริบททางการเมืองและสังคม และนำมาเป็นส่วนหนึ่งของศิลปินผู้สร้างได้อย่างน่าสนใจ ผ่านผลงานภาพพิมพ์จากรุ่นครู สู่รุ่นศิษย์ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานประชาสัมพันธ์ โทร: o๒-๘๔๙-๗๕๓๘, o๒-๘๔๙-๗๕๖๔ E-mail: su-pr@su.ac.th Facebook.com/Silpakorn.PRข้อมูลจาก thaiday.com gotomanager.com ๑๒๓ ปี ศ.ศิลป์ พีระศรี "สุภาพบุรุษจากฟลอเรนซ์ บล็อกนี้อยู่ในหมวดศิลปะ บีจีจากคุณเนยสีฟ้า ไลน์จากคุณญามี่Free TextEditor
Create Date : 15 กันยายน 2558
Last Update : 15 กันยายน 2558 23:16:15 น.
13 comments
Counter : 4496 Pageviews.
โดย: หอมกร วันที่: 16 กันยายน 2558 เวลา:8:34:01 น.
โดย: Tui Laksi วันที่: 16 กันยายน 2558 เวลา:10:23:27 น.
โดย: พรหมญาณี วันที่: 16 กันยายน 2558 เวลา:14:36:57 น.
โดย: ดอยสะเก็ด วันที่: 16 กันยายน 2558 เวลา:23:10:22 น.
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 17 กันยายน 2558 เวลา:0:02:22 น.
โดย: pantawan วันที่: 17 กันยายน 2558 เวลา:0:07:02 น.
โดย: พรหมญาณี วันที่: 18 กันยายน 2558 เวลา:8:22:21 น.
โดย: ภาวิดา (คนบ้านป่า ) วันที่: 19 กันยายน 2558 เวลา:19:26:03 น.
โดย: sawkitty วันที่: 22 กันยายน 2558 เวลา:7:32:22 น.
เพลงไพเราะได้อารมณ์มากเลยค่ะ