|
| 1 | 2 | 3 |
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 |
|
|
|
|
|
|
|
Beauty In Bloom

มีภาพดอกไม้สีน้ำงาม ๆ มาให้ชมอีกแล้วจ้า เป็นผลงานของศิลปินวาดภาพดอกไม้ด้วยสีน้ำมือวางอันดับต้น ๆ ของประเทศ คุณพันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก รู้จักท่านจากหนังสือรวมผลงานที่มีคนให้พ่อมาเมื่อหลายปีก่อน เปิดดูแล้วตื่นตาตื่นใจกับฝีมือวาดภาพอันประณีตงดงาม เก็บรายละเอียดได้เหมือนจริงมาก ๆ ตอนหาข้อมูลเจอกระทู้ของย่าดาที่อัพภาพนิทรรศการไว้ ถึงได้รู้ว่าท่านเป็นศิษย์เอกของครูจักรพันธุ์ เสียดายที่ไม่ได้ข่าวนิทรรศการเลย ขออนุญาตแฮ้บภาพมาให้เพื่อน ๆ ชมกันเป็นบางส่วน ส่วนหนังสือชื่อ "Beauty in Bloom" เป็นหนังสือเล่มใหญ่(และหนักมาก) หนาสามร้อยกว่าหน้า ในเล่มมีภาพวาดงาม ๆ ตรึม เลือกไม่ถูกเลยว่าจะให้ชมภาพไหนดี ไม่แน่ใจว่ายังมีหนังสือวางขายหรือเปล่า เราสแกนใบสั่งซื้อหนังสือไว้ตรงท้ายบล็อก เผื่อว่าเพื่อนบล็อกท่านใดอยากได้ก็ลองติดต่อไปดูละกันค่ะ
คลิกอ่าน บล็อก และ กระทู้ ของย่าดา
บล็อกเสพงานศิลป์ล่าสุด
เสพงานศิลป์ ๑๘o เสพงานศิลป์ ๑๘๑
 |  |  | |

"When I paint flowers in watercolor. I find myself at my most happy in life"
"เมื่อผมวาดดอกไม้ด้วยสีน้ำ คือเวลาที่มีความสุขที่สุดในชีวิต"
ในบรรดาศิลปินสีน้ำ ถ้าเป็นภาพดอกไม้ เขาคนนี้นับเป็นศิลปินแถวหน้าเมืองไทย ด้วยฝีมือการรังสรรค์เส้นสีที่อ่อนพลิ้ว ราวกับเก็บทุกอารมณ์ในธรรมชาติของไม้ดอกนั้นมารวมอยู่ที่ปลายพู่กันแล้วถ่ายทอดลงบนกระดาษ
"พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก" เป็นที่รู้จักในฐานะศิลปินสีน้ำจากการเขียนภาพดอกไม้ประกอบในนิตยสารพลอยแกมเพชร ตั้งแต่เมื่อ ๑๗ ปีก่อน แม้จะมีผู้ที่ชื่นชอบผลงานภาพเขียนอยู่มากมาย แต่ไม่เคยเลยสักครั้งที่งานเหล่านั้นจะนำมาจัดแสดงเป็นนิทรรศการ เพราะหลายต่อหลายภาพที่เขียนยังไม่เสร็จดี สียังหมาด ๆ ด้วยซ้ำ ก็ถูกจับจองเสียแล้ว

บ่อยครั้งลูกค้าก็จะทำทีเปรยว่า ชอบดอกไม้สีม่วง หรือเขียนดอกบัวเสร็จเมื่อไหร่บอกนะคะ
ผลงานภาพเขียนของเขาส่วนใหญ่จึงมักเข้าไปอยู่ในคอลเล็กชั่นส่วนตัว บางภาพก็อยู่ในพิพิธภัณฑ์ต่างประเทศ ความที่เอาหัวใจเข้าไปจับ ใส่ใจในทุกรายละเอียดของดอกไม้ กระทั่งหนามของดอกกุหลาบทุกหนาม ขนของใบทุกเส้น ฯลฯ ทำให้ภาพดอกไม้ของเขาแตกต่างจากศิลปินสีน้ำคนอื่น ๆ เหนืออื่นใดคือ การเขียนสด ไม่มีการร่างก่อน ทำให้ดอกไม้ทุกดอกมีความนุ่มนวล อ่อนโยน เต็มไปด้วยความงดงามในแบบธรรมชาติ
สถาบันฮันต์ แหล่งรวบรวมภาพประเภทดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา ซึ่งตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยคาร์เนกี้ เมลลอน ที่เมืองพิตต์สเบิร์ก มลรัฐเพนซิลเวเนีย ซึ่งทุก ๓ ปีสถาบันแห่งนี้จะรวบรวมภาพดอกไม้จากศิลปินดัง ๆ ทั่วโลก จัดแสดงคอลเล็กชั่นภาพดอกไม้ไปทั่วสหรัฐอเมริกา จึงทาบทามให้เขาส่งภาพดอกไม้เข้าไปร่วมแสดงงาน ปีแล้วปีเล่า

จนกระทั่งวันนี้ในวัยแซยิด พันธุ์ศักดิ์ เตรียมส่งงานสีน้ำไปจัดแสดงที่สถาบันฮันต์ รวมทั้งสิ้น ๒o ภาพ แต่ก่อนที่ภาพสีน้ำผลงานของเขาทั้ง ๒o ภาพนี้จะไปแสดงให้กับชาวเมืองลุงแซมได้ชื่นชม ภาพชุดนี้จะจัดแสดงอวดสายตาชาวไทย ที่ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ ในโอกาสครบรอบ ๗๖ ปี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะศิษย์เก่าสถาปัตย์ จุฬาฯ รุ่น ๒๕๑๑ ศ.ดร.บัณฑิต จุลาสัย คณบดีคณะสถาปัตยกรรม จุฬ่าลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า
"คณะสถาปัตย์มีหน้าที่ผลิตสถาปนิก แต่ก็มีศิษย์เก่าที่ทำงานด้านอื่นๆ ที่ไม่ใช่วงการแสดงและประสบความสำเร็จมากมาย จึงตั้งใจที่จะทำโครงการเชิดชูผลงานนิสิตเก่า เป็นคนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมีชื่อเสียงแต่อยู่ในแวดวงของเขา เช่น ทินนาถ นิสาลักษณ์ (ผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบ) มือดีไซน์ที่จิม ทอมป์สัน, ดลชัย บุณยะรัตเวช นักโฆษณามือหนึ่ง ฯลฯ

ประจวบกับที่ พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก กำลังเตรียมงานชุดนี้เพื่อส่งไปแสดงที่สหรัฐอเมริกาในเดือนธันวาคมนี้พอดี จึงมีการทาบทามเข้าโครงการนี้เป็นคนแรก ขณะเดียวกันก็นับเป็นครั้งแรกของการแสดงนิทรรศการผลงานภาพเขียนชิ้นเด่น ๆ ตลอดช่วงชีวิต ๑o ปีของการทำงานที่ผ่านมา รวมทั้งสิ้นกว่า ๗o ภาพ ใน นิทรรศการภาพสีน้ำ ชุด "Beauty in Bloom" จัดแสดงวันที่ ๑๒-๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๒ ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพฯ (ปิดวันจันทร์)
พันธุ์ศักดิ์ เล่าถึงเส้นทางก่อนจะประสบความสำเร็จในฐานะศิลปินสีน้ำวันนี้ว่า...เป็นคนจังหวัดชลบุรี บ้านอยู่ศรีราชา ตั้งแต่ยังเรียนอยู่ชั้นมัธยมต้นก็ตั้งความหวังไว้ว่าจะต้องเข้าเรียนจุฬาฯ ให้ได้
"ผมมาจากศรีราชา ตอนนั้นมุ่งแต่จะเข้าจุฬาฯ อย่างเดียว เพราะเรียนสายวิทย์มา และรู้แต่ว่ามีที่สถาปัตย์ จุฬาฯ ที่เดียวมีสอนวาดเขียน เพิ่งมาทราบตอนหลังว่าที่ศิลปากรก็มีสอนเหมือนกัน" เขาเล่าพร้อมกับหัวเราะกับความไม่รู้ของตนเอง

แล้วเขาก็ได้เป็นลูกพระเกี้ยวสมใจ แต่...
"ผมเรียนถาปัตย์ พอได้อนุปริญญาแล้วถึงรู้ว่า มันไม่ใช่ ไม่ชอบ เลยย้ายไปอยู่ออกแบบอุตสาหกรรม (Industrial Design) เพราะมีสอนเพ้นติ้งด้วย เรียน ๔ ปี คะแนนก็ใช้ได้ สนุกกับงานกิจกรรม แต่ไม่เคยใช้วิชาการที่เรียนมาออกแบบอาคาร นอกจาก "บอกแบบ" คือบ้านที่อยู่เอง ซึ่งเป็นบ้านเก่าๆ ที่แม่ปลูกไว้ที่ศรีราชา"
...บ้านหลังที่อาจเรียกได้ว่าเป็นสถานที่อบรมบ่มเพาะความเป็นตัวตนทั้งหลายทั้งปวงของศิลปินสีน้ำคนนี้ พันธุ์ศักดิ์ ย้อนอดีตให้ฟังถึงความผูกพันกับไม้ดอกนานาพันธุ์ว่า มีจุดเริ่มมาจากคุณย่า
"สมัยเด็กคุณย่าจะให้เก็บดอกไม้ถวายพระเป็นประจำ ใช้ให้พับดอกบัว ร้อยมะลิด้วยก้านไม้กวาด จำได้ว่าคุณย่าจะปลูกดอกมะลิไว้ที่ลานหลังบ้านที่ศรีราชา และใช้น้ำล้างปลารดต้นมะลิ ต้นมะลิของย่าจึงออกดอกสะพรั่งจนต้องเก็บมาถวายพระอยู่บ่อย ๆ"
ศ.ดร.บัณฑิต จุลาสัย คณบดีสถาปัตย์ จุฬาฯ
สิ่งเหล่านี้เป็นความเคยชินที่ค่อย ๆ กลายเป็นผูกพัน...

พวงมาลัยสุดสวยที่ประดิษฐ์ประดอยด้วยตัวเองเพื่อมอบให้ครูจักรพันธุ์
ความทรงจำของพันธุ์ศักดิ์หมุนกลับไปสมัยเด็กอีกครั้ง ตอนนั้นเขาเรียนอยู่ชั้นประถม ๕-๖ ที่โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา ในวิชาวาดเขียน คุณครูให้เขียนภาพมาส่ง เด็กชายพันธุ์ศักดิ์เลือกเขียนภาพดอกแพงพวยฝรั่ง "จำได้เลยว่าเป็น แพงพวยฝรั่ง ๒ ดอก มีก้านดอกและใบประดับอีก ๓ ใบ"
ปรากฏว่าเขาได้คะแนนเต็มสิบ จากคุณครูที่ไม่เคยให้คะแนนเต็มกับเด็กนักเรียนคนไหนมาก่อน นั่นเป็นครั้งแรกของการเขียนภาพสีน้ำและได้รับคำชื่นชม แต่เขาก็ไม่ได้ติดใจอะไร ภาพนั้นก็ไม่ได้เก็บไว้ด้วยซ้ำ วันเวลาล่วงผ่าน กระทั่งเรียนจบแล้ว เขาเข้าทำงานในแวดวงโฆษณาอยู่ ๒ ปี จึงมีโอกาสได้ไปช่วยงานที่บ้านอาจารย์จักรพันธุ์ โปษยกฤต ทำตุ๊กตาพอร์ซเลน พันธุ์ศักดิ์บอกว่า เวลาที่ใส่งานพอร์ซเลนเข้าไปในเตาเผา ทำอะไรไม่ได้เลย นอกจากนั่งเฝ้าอยู่หน้าเตา เขาจึงใช้เวลาว่างระหว่างนั้นเขียนรูปดอกไม้ช่อเล็กช่อน้อยไปตามเรื่อง ตามคำแนะนำของอาจารย์จักรพันธุ์ที่ว่า อย่าอยู่เฉย ๆ และกลายเป็นช่วงเวลาของการฝึกปรือฝีมือการเขียนภาพของเขาโดยไม่รู้ตัว

"ตอนคุณแม่เสีย ผมไปอเมริกา ซึ่งปกติผมเป็นสมาชิกที่ "แคลิฟอร์เนีย วอเตอร์คัลเลอร์ แอสโซซิเอชั่น" (CWA) อยู่แล้ว แต่พอดีปีนั้นที่ซานฟรานซิสโกมีงานแสดง ฟลาวเวอร์ โชว์ ซึ่งบรรดาสมาชิกจะนำรูปไปแสดง ได้เห็นรูปที่เขียนในแนวพฤกษศาสตร์ จึงรู้ว่าแบบนี้สิคือวิถีที่เราอยากเขียน พอดีที่นั่นมีเปิดคอร์สสอนพอดี และคนที่สอนก็เป็นประธานของ "อเมริกัน โซไซตี้ ออฟ โบตานีเคิล อาร์ติสต์" (ASBA) ก็เลยสมัครเข้าไปเรียนทั้ง ๕ คอร์ส คอร์สละ ๑ อาทิตย์ หมดคอร์สปั๊บก็ได้เวลากลับกรุงเทพฯ พอดี"
นอกจากจะได้เรียนรู้การเขียนดอกไม้ในแนวพฤกษศาสตร์สมใจ สิ่งที่ได้ตามมาคือ การที่พันธุ์ศักดิ์ได้สร้างความประทับใจในฝีมือการเขียนภาพแบบเหมือนจริงตามธรรมชาติ ที่ไม่ได้ถูกปรุงแต่งของเขาให้กับทางสมาคมได้ประจักษ์ และเป็นที่มาของการทาบทามขอภาพไปจัดแสดงในครั้งนี้
"ผมเขียนแต่สีน้ำอย่างเดียว เก็บรายละเอียดทั้งหมด แต่เน้นความงามตามธรรมชาติ ไม่ได้เน้นด้านวิทยาศาสตร์ ทำมามากจนสามารถเอาชนะทางด้านเทคนิค สามารถถ่ายทอดความเป็น ๓ มิติ ลงบน ๒ มิติของสีน้ำได้ อย่างกุหลาบเพิ่งมากล้าเขียน ๒ ปีนี่เอง หลังจากฝึกมาสิบกว่าปี เพราะมันมีความซับซ้อน และอีกอย่างคือ วิธีการของผม "ไม่ได้ร่างก่อน" ลงสดเลย ผมใช้สีน้ำเป็นเครื่องมือบอกเล่าถึงสิ่งที่ผมชอบ เขียนดอกไม้ใกล้ตัว ดอกที่ชอบ ส่วนมากเป็นดอกไม้ที่บ้านศรีราชา ดอกไม้ที่บ้านอาจารย์จักรพันธุ์ เป็นการใช้เวลาของผมที่มีความสุข ไม่ได้ต้องการบันทึกอะไรทั้งนั้น พอเขียนเสร็จก็ให้อาจารย์จักรพันธุ์เป็นคนติชมแนะนำ"

ศิลปินสีน้ำคนนี้ เล่าถึงประสบการณ์ที่ได้จากการเขียนภาพจากภาพถ่าย กับการเขียนภาพจากตัวแบบจริงว่า ต่างกันมาก
"วาดจากของจริงสนุกกว่ากันมาก เพราะไม่ว่าจะเป็นผิวของผลไม้แต่ละชนิด ขนของใบไม้แต่ละประเภท ทำให้เราต้องแก้ปัญหาตลอดเวลา ซึ่งก็ไม่ใช่ช่อไหนก็เขียนได้ มันอยู่ที่เรามององค์ประกอบ แน่นเกินไปก็ไม่สวย อย่างพวงคราม ผมเขียนเยอะ เพราะชอบ แต่การเลือกช่อมาเขียนก็ต้องเลือก รวมทั้งจังหวะของดอกด้วย
อย่างบัวตูมมันมีความแข็งกว่าทิวลิป แต่เวลาเขียนออกมา ยังไงก็ไม่แข็ง มันอยู่ที่ความรู้สึกของเราที่มีต่อดอกไม้และถ่ายทอดออกมา อย่างความด่างของธรรมชาติที่แต่ละดอกแต่ละช่อมีไม่ซ้ำกัน รวมทั้งกลีบ ใบที่กำลังจะทิ้งขั้วไม่ทิ้งขั้วเพราะมันแห้ง บังเอิญผมไปจับมาเขียน ผมถึงบอกว่ารูปของผมจับใจคนที่เสน่ห์ของธรรมชาติ แต่ตอนหลังพอกลับมาเขียนภาพจากรูปถ่ายมันจะสนุกแล้วทีนี้ เพราะเราเขียนจากของจริงมา ๑o กว่าปีแล้ว รู้จักการแทนค่าสี เพื่อเป็นการผลักระยะให้เกิดมิติของภาพ"
เหล่านี้ล้วนแล้วแต่ได้จากการสั่งสมประสบการณ์มาอย่างยาวนานและสม่ำเสมอ ถ้าอยากจะเขียนภาพดอกไม้ให้ได้สวย พันธุ์ศักดิ์แนะว่า กฎเหล็กข้อหนึ่งคือ ต้องเขียนให้เยอะ ๆ

ภาพและข้อมูลจาก หนังสือ Beauty in Bloom กระทู้Beauty In Bloom โดย พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก
| |  | |  |








Rosa 380 x 525 mm.

Rosa 450 x 600 mm.

Rosa 450 x 600 mm.

Rosa 450 x 600 mm.

Rosa 450 x 600 mm.

Grasshopper - Nelumbo neuifera 400 x 600 mm.

Nelumbo nucifera - Thumbergia grandifiora บัวหลวง 450 x 600 mm.

Duranta erecta - Nelumbo nucifera 450 x 600

Nelumbo nucifera - Plumeria rubra 450 X 600 mm.

Nelumbo nucifera - April 27, 1994 450 X 600 mm.

Nelumbo nucifera - April 12, 1994 400 X 500 mm.


Lunaria annua 263 x 263 mm.

Cymbopogon ciratus - Lagerstroemia speciosa 400 x 500 mm.

Vanda coerulea 450 x 600 mm.

Cattleya 450 x 600 mm.

Vanda - Rhynchostylis coelestis / December 10, 1996 560 x 760 mm.

Hibiscus - Petrea volubilis - Strophanthus gratus 450 x 600 mm.

Bauhinia tomentosa - Clerodendrum thomsoniae - Hibiscus / March 7, 1998 450 x 600 mm.

Beetle - Thunbergia erecta / May 29, 2997 300 x 450 mm.

Alphinia purpurata - Butterfly / April 9, 1997 300 x 450

Fladiolus / October 22, 1995 300 x 450 mm.

Punita granatum 380 x 525 mm.

Calamus rotang - Rosa chinensis 450 x 600 mm.

Capsicum frutescens - Capsicum annuum - Murraya paniculata 450 x 600 mm.

Capsicum frutescens - Murraya paniculata 400 x 500 mm.

Carissa carandus

Llansium domesticum - Pseuderanthemim andersonii 450 x 600 mm.

Averrhoa carambola 300 x 450 mm.

Antigonon leptonus - Garcinia mangostana / December 3, 1993 400 x 500 mm.



บล็อกนี้อยู่ในหมวดศิลปะ
บีจีและไลน์จากคุณญามี่ กรอบจากคุณ lozocat
Free TextEditor
Create Date : 15 มกราคม 2558 |
Last Update : 16 มกราคม 2558 19:50:29 น. |
|
28 comments
|
Counter : 27959 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: haiku วันที่: 15 มกราคม 2558 เวลา:0:07:10 น. |
|
|
|
โดย: nulaw.m (คนบ้า(น)ป่า ) วันที่: 15 มกราคม 2558 เวลา:0:57:49 น. |
|
|
|
โดย: sirivinit วันที่: 15 มกราคม 2558 เวลา:9:07:20 น. |
|
|
|
โดย: sirivinit วันที่: 15 มกราคม 2558 เวลา:9:08:11 น. |
|
|
|
โดย: Sweet_pills วันที่: 16 มกราคม 2558 เวลา:0:48:59 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 16 มกราคม 2558 เวลา:1:14:24 น. |
|
|
|
โดย: กิ่งฟ้า วันที่: 17 มกราคม 2558 เวลา:21:42:25 น. |
|
|
|
โดย: กิ่งฟ้า วันที่: 17 มกราคม 2558 เวลา:21:43:02 น. |
|
|
|
โดย: haiku วันที่: 17 มกราคม 2558 เวลา:23:13:12 น. |
|
|
|
โดย: multiple วันที่: 18 มกราคม 2558 เวลา:5:10:22 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 18 มกราคม 2558 เวลา:6:34:01 น. |
|
|
|
โดย: กิ่งฟ้า วันที่: 18 มกราคม 2558 เวลา:7:30:04 น. |
|
|
|
โดย: พี่นาถ (sirivinit ) วันที่: 18 มกราคม 2558 เวลา:8:53:27 น. |
|
|
|
โดย: Tui Laksi วันที่: 18 มกราคม 2558 เวลา:10:25:07 น. |
|
|
|
โดย: พรหมญาณี วันที่: 18 มกราคม 2558 เวลา:15:15:29 น. |
|
|
|
โดย: ถปรร วันที่: 18 มกราคม 2558 เวลา:21:01:42 น. |
|
|
|
โดย: ญามี่ วันที่: 19 มกราคม 2558 เวลา:10:12:40 น. |
|
|
|
โดย: มี้เก๋ + ป๊าโอ๋ = ซีทะเล (kae+aoe ) วันที่: 19 มกราคม 2558 เวลา:12:02:42 น. |
|
|
|
โดย: Sweet_pills วันที่: 19 มกราคม 2558 เวลา:22:58:37 น. |
|
|
|
โดย: เป็ดสวรรค์ วันที่: 20 มกราคม 2558 เวลา:0:19:15 น. |
|
|
|
โดย: กวาง IP: 182.232.168.31 วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา:11:50:46 น. |
|
|
|
|
|
|
|