|
| 1 | 2 | 3 | 4 |
5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 |
12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 |
19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 |
26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
ปลูกภาพบนนาข้าว

ภาพคลื่นยักษ์ที่คานะกาวะ (The Great Wave off Kanagawa) ผลงานเลื่องชื่อของ คะสึชิกะ ไฮกุไซ (Katsushika Hokusai) ศิลปินชื่อดังชาวญี่ปุ่น ภาพจากเวบ wikipedia.org
ประเดิมบล็อกศิลปะบล็อกแรกของปีด้วยงานศิลปะที่แปลกตาสักหน่อย เป็นงานนิเวศน์ศิลป์ที่ผสมผสานระหว่างงานศิลปะและการปลูกข้าวของคนญี่ปุ่น เพื่อน ๆ คงเคยได้ยินปรากฏการณ์ทุ่งข้าวโพดล้ม (crop circles) แต่งานนี้ต่างกันตรงที่คนตั้งใจออกแบบและลงมือทำกันเอง ก่อนอื่น ขออารัมภบทนิดนึง ทีแรกกะว่าจะอัพเรื่องที่เกี่ยวเนื่องด้วยวันพ่อต่อ (อัพบล็อกข้ามปีกันเลย ) ร่างบล็อกเกี่ยวกับโครงการศิลปะเทิดพระเกียรติในหลวงที่ชื่อว่า "นิทานแผ่นดิน" ไว้แล้ว นึกได้ว่าเคยอ่านเรื่องปลูกภาพบนนาข้าวที่อ่านเมื่อนานมาแล้ว ทั้งนิทานแผ่นดินและการปลูกภาพบนนาข้าวเป็นงานสร้างสรรค์นิเวศน์ศิลป์ในแนวคล้าย ๆ กัน ไปค้นนสพ.ที่เก็บไว้จนเจอ เอามาอัพลงบล็อกเรียกน้ำย่อยก่อน ชมภาพการปลูกภาพในนาข้าวแล้วทึ่งอย่างแรง ต้องชมคนคิดและชาวบ้านจริง ๆ ที่ร่วมแรงร่วมใจกันทำให้นาข้าวผลิรวงออกมาเป็นงานศิลปะอันงดงามแบบนี้ ต้องขออำภัยที่มีคำบรรยายภาพไม่ครบ หลายภาพไปแฮ้บมาจากในเวบ ส่วนใหญ่จะลงแต่รูป ไม่มีคำบรรยายค่ะ
บล็อกคุณปอนที่เพิ่งอัพล่าสุด
ทางเรา, ทางเขา
บล็อกเสพงานศิลป์ล่าสุด
เสพงานศิลป์ ๗๗


"คลื่นยักษ์นอกฝั่งคะนะงะวะ"
ตวัดปลายพู่กันบนผืนนาญี่ปุ่น จินตนา ปัญญาอาวุธ
ช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายนที่ผ่านมา (พ.ศ. ๒๕๕๔) ใครมีโอกาสเดินทางไปทางตอนเหนือของญี่ปุ่น คงจะได้เห็นความหัศจรรย์ของผืนนาที่กลายเป็นเฟรมขนาดใหญ่ให้กับเส้นสายลวดลายศิลปะ อันเกิดจากต้นข้าวหลากสีสัน

เบงเคอิ (Benkei) พระนักรบ (ซ้าย) และ มินาโมโตะ โยชิสึเนะ (Minamoto Yoshisune) หรือ อูชิวะคามารุ (Ushiwakamaru) (ขวา) นักรบที่มุ่งมั่นจะรวบรวมญี่ปุ่นเป็นปึกแผ่นให้จงได้ ทั้งคู่เป็นทั้งบ่าว-นายและสหายร่วมรบ
งานศิลปะบนผืนนานี้มีจุดเริ่มต้นจากชาวบ้านในหมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่งที่มีประชากรเพียงไม่กี่พันคน เห็นว่าข้าวมีความหมายและความสำคัญต่อพวกเขา จึงสร้างชื่อเสียงให้กับหมู่บ้านด้วยการใช้ข้าวมาสร้างสรรค์ผลงานจนกลายเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก

อินะกะดาเต (Inakadate) หมู่บ้านเล็ก ๆ ในจังหวัดอาโอะโมริ ( Aomori) ต้นกำเนิดแห่งศิลปะนาข้าว (rice-paddy art หรือ tanbo art) อยู่ห่างจากกรุงโตเกียว เมืองหลวงของญี่ปุ่นราว ๖oo กิโลเมตร หมู่บ้านแห่งนี้ริเริ่มโครงการศิลปะบนนาข้าวในปี ค.ศ. ๑๙๙๓ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชีวิตให้หมู่บ้าน ไอเดียนี้ผุดขึ้นมาระหว่างการประชุมคณะกรรมการประจำหมู่บ้าน ซึ่งมีการหยิบยกหลักฐานทางโบราณคดีวิทยาที่สำรวจพบว่า มีการปลูกข้าวในพื้นที่แถบนี้ราว ๒,ooo ปีมาแล้ว

เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองประวัติศาสตร์ ในฐานะที่เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนเขตที่มีการปลูกข้าวที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่นตอนเหนือ ชาวบ้านในหมู่บ้านจึงเริ่มสร้างสรรค์ศิลปะแขนงนี้ โดยใช้ทุ่งนาหน้าสำนักงานของหมู่บ้านเป็นสถานที่แสดงผลงาน

อากิโกะ นากายามะ หัวหน้าโครงการศิลปะบนนาข้าวของอินะกะดาเตะเล่าถึงความเป็นมาของโครงการว่า ความจริงแล้ว ความคิดนี้มาจากประวัติศาสตร์การปลูกข้าวของหมู่บ้าน โดยในปี ค.ศ. ๑๙๘๑ มีการก่อสร้างสร้างถนนใหม่ในหมู่บ้าน และมีการขุดพบนาข้าวที่มีอายุกว่า ๒,ooo ปี ซึ่งสร้างความภาคภูมิใจให้คนท้องถิ่นมาก ที่ได้รับรู้ว่ามีการปลูกข้าวในบริเวณนี้มานานแล้ว
"พวกเราจึงคิดว่าควรจะต้องนำข้าวมาทำอะไรบ้างเพื่อฟื้นฟูหรือทำให้บริเวณนี้มีชีวิตชีวามากขึ้น และนั่นจึงเป็นที่มาของโครงการ" อากิโกะ กล่าว

ศิลปะบนนาข้าวของชาวญี่ปุ่นแตกต่างกับปรากฏการณ์ทุ่งข้าวโพดล้ม (crpo circles) ในยุโรปซึ่งไม่มีใครอธิบายได้ว่ามันเกิดจากอะไร แต่ศิลปะบนนาข้าวของญี่ปุ่นเกิดจากใช้ความคิดสร้างสรรค์ โดยชาวบ้านละเจ้าหน้าที่หมู่บ้านใช้เวลาเป็นเดือนในการวางแผนว่าจะใช้ภาพอะไรเป็นผลงานประจำปี และต้องใช้ความแม่นยำในการคำนวณและความอดทนในการสร้างสรรค์งานด้วย

ในเดือนเมษายนของทุกปี คณะกรรมการหมู่บ้านจะประชุมกันเพื่อเลือกและตัดสินใจว่าปีนี้จะทำภาพอะไร หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ ๖ คนจะร่วมกันร่างภาพและวางแผนในรายละเอียด พวกเขาจะคำนวณและเลือกบริเวณที่พันธุ์ข้าวแต่ละสีจะถูกหว่านลงไปในนา จากนั้นก็พริ้นต์ภาพซึ่งเป็นแค่เลย์เอาท์ออกมาให้คณะกรรมการดู

ปัจจุบันกระบวนการสร้างสรรค์ศิลปะบนนาข้าวจะใช้พันธ์ุข้าว ๔ ชนิดที่มีสายพันธุ์และสีสันแตกต่างกัน เช่น เขียว ม่วง แดง และเหลือง หว่านลงบนทุ่งนาให้เป็นภาพวาดขนาดใหญ่ ช่วงเวลาที่เริ่มปลูกข้าวคือเดือนพฤษภาคม และเก็บเกี่ยวในเดือนกันยายน

ตอนแรกชาวบ้านในหมู่บ้านที่มีประชากรเพียง ๘,๗oo คนต่างลงมมือลงแรงช่วยกัน แต่หลังจากที่ศิลปะบนนาข้าวกลายเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ก็มีอาสาสมัครจากต่างเมืองเดินทางมาช่วยงานประจำปีนี้ด้วย

ในปี ค.ศ. ๒oo๖ หมู่บ้านนี้ใช้คนราว ๗oo คนในขั้นตอนการปลูก ส่วนช่วงเก็บเกี่ยวมีชาวบ้านและอาสาสมัครต่างเมืองจำนวน ๙oo คนมาช่วยงาน ซึ่งสามารถเก็บข้าวได้ถึง ๒ ตัน ข้าวที่เก็บเกี่ยวได้ถูกนำมาแบ่งสรรให้กับคนที่มาช่วยงานทั้งหมด

ในช่วง ๙ ปีแรกของโครงการ ภาพที่เจ้าหน้าที่ประจำหมู่บ้านและชาวบ้านร่วมด้วยช่วยกันสร้างคือ ภาพภูเขาอิวะกิ (Mount Iwaki) ของจังหวัดอาโอะโมริ พร้อมข้อความว่า "อินะกะดาเตะ...หมู่บ้านแห่งวัฒนธรรมข้าว" และใช้พันธุ์ข้าวเพียง ๓ ชนิดที่มีสีเหลือง ดำ และเขียว หว่านลงบนนาข้าวที่มีขนาด ๒,๕oo ตารางเมตร ต่อมาการออกแบบภาพค่อย ๆ พัฒนาเป็นภาพที่มีดีไซน์ที่ซับซ้อน มีธีมของภาพและเป็นภาพที่มีชีวิตชีวามากขึ้น

ในปี ค.ศ. ๒oo๕ เจ้าของที่ดินหลายแห่งยินยอมให้สร้างงานศิลป์บนทุ่งนาของพวกเขาที่มีขนาดใหญ่ถึง ๑๕,ooo ตารางเมตร ชาวบ้านจึงนำผลงานของศิลปินชื่อดังอย่าง ชาระกุ (Sharaku) และ อูตะมาโระ (Utamaro) เจ้าของภาพพิมพ์แกะไม้หรืออุกิโยะเอะ (ukiyo-e) ศิลปะญี่ปุ่นในสมัยเอโดะ (Edo) ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ ๑๗ ถึง ๒o มาสร้างสรรค์เป็นศิลปะบนนาข้าว

ภาพอุกิโยเอะส่วนมากจะเป็นภาพภูมิทัศน์ เรื่องราวจากประวัติศาาสตร์ ภาพจากบทละคร โดยเอกลักษณ์ของภาพประเภทนี้คือความสำราญ ในตอนนั้นขั้นตอนการร่างภาพและกำหนดว่าบริเวณใดจะใช้ข้าวพันธุ์และสีอะไร ทำด้วยมือและวาดลงบนกระดาษ

อีก ๑ ปีต่อมาก็เริ่มมีการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยออกแบบด้วย เพื่อช่วยย่นระยะเวลาการทำงานและสามารถเพิ่มรายละเอียดของภาพให้มากขึ้นด้วย นอกจากนั้นยังมีการเพิ่มชนิดพันธุ์ข้าวเป็น ๔ ชนิด มีทั้งสีเหลือ ม่วง แดงเข้ม และเขียว

ภาพที่ถูกเลือกมาเป็นแบบก็มีความซับซ้อนและหลากหลายมากขึ้น โดยมีการเลือกใช้ภาพวาดของเทพเจ้า ๒ องค์คือ ฟูจิน (Fujin) เทพเจ้าแห่งสายลม และ ไรจิน (Raijin) เทพเจ้าแห่งพายุ ของศิลปินชื่อดังอย่าง ทาวาระย่า โซทะสึ (Tawaraya Sotatsu) นอกนั้นก็มีภาพนักรบซามูไร ภาพโมนาลิซ่า พระเจ้านโปเลียน และตัวการ์ตูนชื่อดังของญี่ปุ่น เป็นต้น

ศิลปะที่ชาวอินะกะดาเตะร่วมกันสร้างเป็นงานศิลป์ที่มีขนาดใหญ่มาก และสามารถมองเห็นได้จากที่สูงเท่านั้น ทางหมู่บ้านจึงสร้างหอคอยที่มีความสูง ๒๒ เมตรเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวให้สามารถขึ้นไปชื่นชมความงามของศิลปะบนนาข้าวได้

โครงการนี้นอกจากจะทำให้หมู่บ้านกลายเป็นที่รู้จักของคนมากขึ้นแล้ว ยังประสบความสำเร็จในแง่ของการสร้างรายได้ให้หมู่บ้านด้วย เพราะปัจจุบันมีนักท่องเที่ยวราว ๒oo,ooo คนหลั่งไหลมาที่หมู่บ้านเพื่อชมผลงานศิลปะจากธรรมชาติ

ช่วงที่เหมาะที่สุดที่จะมาชมความงดงามของงานศิลป์ที่นี่คือเดือนสิงหาคม - กันยายน ซึ่งจะเห็นนักท่องเที่ยวเข้าแถวต่อคิวยาวเพื่อขึ้นไปบนหอคอยชมความงดงามของงานศิลปะฝีมือชาวบ้าน
"นักท่องเที่ยวที่เห็นงานของพวกเราเป็นครั้งแรกมักจะนึกว่าเป็นการใช้สีลงบนนาข้าว ผมดีใจมากที่เห็นผุ้คนมากมายมาชมทุ่งนาของเรา เพราะที่หมู่บ้านอินะกะดาเตะ ชีวิตของชาวบ้านมีความผูกพันกับนาข้าวอย่างใกล้ชิด" อากิโอะซึ่งรับผิดชอบโครงการนี้มาเป็นเวลามากกว่า ๑o ปีกล่าว
โครงการศิลปะบนนาข้าวของอินะกะดาเตะเป็นโครงการที่สร้างชื่อเสียงให้กับหมู่บ้านแห่งนี้

ภาพและข้อมูลจาก นสพ.กรุงเทพธุรกิจ เสาร์สวัสดี ๒๒ ต.ค. ๒๕๕๔ cbc.ca kotaku.com thedoq.com buzzfeed.com bangkokbiznews.com mihai-apostu.blogspot.com


ภาพจาก onlyhdwallpapers.com
หมายเหตุ
"ทัศนียภาพ ๓๖ มุมของภูเขาฟูจิ" เป็นภาพชุดอุกิโยะที่มีชื่อเสียงที่สุดในบรรดาภาพอุกิโยะชุดต่างที่สร้างกันขึ้นมา นอกจากนั้นก็ยังมีภาพเขียนในหัวข้อเดียวกันนี้ที่เขียนโดยจิตรกรอื่นอีกหลายท่าน เช่นภาพชุดชื่อเดียวกัน -- "ทัศนียภาพ ๓๖ มุมของภูเขาฟูจิ (ฮิโระชิเงะ)" โดยฮิโระชิเงะผู้เป็นจิตรกรภาพอุกิโยะผู้มีชื่อเสียงอีกคนหนึ่ง และภาพชุดต่อมาของโฮะกุไซเองในชื่อ "ทัศนียภาพ ๑oo มุมของภูเขาฟูจิ" ภูเขาฟูจิเป็นหัวข้อที่นิยมเขียนกันในจิตรกรรมญี่ปุ่นมาเป็นเวลานาน เพราะความสำคัญของภูเขาทั้งทางด้านวัฒนธรรมและศาสนา ความสำคัญนี้สืบมาจาก "ตำนานคนตัดไผ่" (The Tale of the Bamboo Cutter) ที่บรรยายถึงเทพเจ้าที่ทิ้ง "ธาตุชีวิต" (elixir of life) ไว้บนยอดเขา ภูเขาฟูจิเชื่อกันว่าเป็นแหล่งความลับของความเป็นเป็นอมตะ ซึ่งเป็นหัวใจของสิ่งที่ครอบงำจิตใจของโฮะกุไซเอง

ท่านคะสึชิกะ ไฮกุไซ
ภาพที่มีชื่อเสียงที่สุดในชุดนี้คือภาพ "คลื่นยักษ์นอกฝั่งคะนะงะวะ" ที่อาจจะแปลตรงตัวจากภาษาญี่ปุ่นว่า "นอกฝั่งคะนะงะวะ ด้านหลังของคลื่น" ที่เป็นภาพเรือสามลำที่กำลังผจญกับคลื่นยักษ์ที่ดูเหมือนจะซัดเรือทั้งสามให้กลืนหายเข้าไปในก้อนคลื่นได้ ภาพนี้มีภูเขาฟูจิอยู่ไกลลิบในฉากหลัง โดยทั่วไปแล้ว คลื่นในภาพนี้กล่าวกันว่าเป็นคลื่นสึนามิ แต่อันที่จริงแล้วก็อาจจะเป็นเพียงคลื่นขนาดใหญ่เท่านั้น
ภาพแต่ละภาพในชุดนี้ขั้นแรกสร้างโดยการวาดภาพลงบนกระดาษก่อน ที่นำไปใช้เป็นแบบในการแกะพิมพ์ไม้ที่ใช้ในการทาหมึกสีต่างๆ ที่ประทับบนกระดาษเพื่อให้ได้ภาพที่ต้องการ ความซับซ้อนของงานของโฮะกุไซอยู่ที่การใช้สีต่างๆ ที่ทำให้ต้องสร้างพิมพ์สำหรับสีทุกสีตามที่ต้องการในภาพ
(ภาพและข้อมูลจากวิกิพีเดีย)
บล็อกนี้อยู่ในหมวดศิลปะค่ะ
บีจีจากคุณเนยสีฟ้า ไลน์จากคุณ Hawaii_Havaii กรอบจากคุณ ebaemi
Free TextEditor
Create Date : 11 มกราคม 2557 |
Last Update : 14 มกราคม 2557 18:36:04 น. |
|
28 comments
|
Counter : 11770 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: tui/Laksi วันที่: 12 มกราคม 2557 เวลา:9:42:45 น. |
|
|
|
โดย: ดาวริมทะเล วันที่: 12 มกราคม 2557 เวลา:12:25:34 น. |
|
|
|
โดย: **mp5** วันที่: 12 มกราคม 2557 เวลา:19:51:20 น. |
|
|
|
โดย: nulaw.m (คนบ้า(น)ป่า ) วันที่: 12 มกราคม 2557 เวลา:23:34:58 น. |
|
|
|
โดย: เป็ดสวรรค์ วันที่: 14 มกราคม 2557 เวลา:12:52:44 น. |
|
|
|
โดย: haiku วันที่: 14 มกราคม 2557 เวลา:19:29:33 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 14 มกราคม 2557 เวลา:23:43:09 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 15 มกราคม 2557 เวลา:6:28:04 น. |
|
|
|
โดย: ญามี่ วันที่: 15 มกราคม 2557 เวลา:9:30:01 น. |
|
|
|
โดย: อาคุงกล่อง วันที่: 15 มกราคม 2557 เวลา:10:15:30 น. |
|
|
|
โดย: อาคุงกล่อง วันที่: 15 มกราคม 2557 เวลา:10:16:09 น. |
|
|
|
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 15 มกราคม 2557 เวลา:14:01:38 น. |
|
|
|
โดย: multiple วันที่: 15 มกราคม 2557 เวลา:14:55:39 น. |
|
|
|
โดย: กิ่งฟ้า วันที่: 15 มกราคม 2557 เวลา:15:26:16 น. |
|
|
|
โดย: tui/Laksi วันที่: 15 มกราคม 2557 เวลา:22:11:59 น. |
|
|
|
โดย: เกศสุริยง วันที่: 15 มกราคม 2557 เวลา:22:55:24 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 16 มกราคม 2557 เวลา:6:16:32 น. |
|
|
|
โดย: nulaw.m (คนบ้า(น)ป่า ) วันที่: 16 มกราคม 2557 เวลา:10:14:27 น. |
|
|
|
โดย: ดาวริมทะเล วันที่: 16 มกราคม 2557 เวลา:15:22:43 น. |
|
|
|
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 16 มกราคม 2557 เวลา:18:27:28 น. |
|
|
|
โดย: haiku วันที่: 16 มกราคม 2557 เวลา:22:35:08 น. |
|
|
|
|
|
|
|
เป็นงานสร้างสรรค์ศิลปะบนนาข้าว....ที่ยอดเยี่ยมค่ะ
อยากให้เมืองไทยมีคนคิดทำแบบนี้บ้างจัง
นอกจากสร้างรายได้ให้หมู่บ้านจากนักท่องเที่ยว
ยังมีชื่อเสียงไปทั่วโลกอีก ...น่าเป็นแบบอย่างงานสร้างสรรคื็ที่ดีนะค่ะ
ขอบคุณมากค่ะที่เก็บรวบรวมศิลปะบนนาข้าวมาไว้ให้ชื่นชมด้วยกัน
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้
ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
haiku Art Blog