|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 |
8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 |
15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 |
22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 |
29 | 30 | |
|
|
|
|
|
|
|
นิทรรศการจิตรกรรมไทย

ภาพจากบล็อก อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์
อัพเรื่องไทย ๆ ในหมวดศิลปะมาสองบล็อกติดกัน ขออัพเรื่องศิลปะไทยต่ออีกสักบล็อก แต่อัพช้าเกินอีกแล้ว ตอนที่อัพบล็อกหอศิลป์เจ้าฟ้า เมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา บอกข่าวนิทรรศการที่จัดในที่เดียวกัน ๓ งาน จะอัพบล็อกชวนไปชมแต่ไม่ทัน ทั้งสามนิทรรศการหมดเขตไปเรียบร้อยแล้ว
บล็อกนี้ให้ชมสองนิทรรศการ งานแรกชื่อว่า "เฟื้อ หริพิทักษ์ : ชีวิตและผลงานคัดลอกจิตรกรรมไทยประเพณี" อีกงานคือ "จิตรกรรมบนแผ่นไม้ศาลาการเปรียญวัดรวกบางบำหรุ" ส่วนงานสุดท้ายเป็นภาพวาดจีน ไหน ๆ งานก็หมดเขตไปแล้ว ขออนุญาตอัพบล็อกแบบเรื่อย ๆ มาเรียง ๆ มีเวลาค่อยอัพให้ชมภาพอีกละกันน้า 
บล็อกอาจารย์เฟื้อที่เคยอัพไว้ค่ะ
อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ ผลงานภาพวาดอาจารย์เฟื้อ
บล็อกคุณปอนอาทิตย์นี้
เสน่ห์เมืองนนท์
บล็อกเสพงานศิลป์ล่าสุด
เสพงานศิลป์ ๑๑๓


เฟื้อ หริพิทักษ์ ภูมิศิลปินอนุรักษ์จิตรกรรมไทยแมกไซไซ เขียนโดย พลาดิสัย สิทธิธัญกิจ
ต้องขอขอบคุณหอศิลปแห่งชาติ กรมศิลปากรที่นำผลงานของอาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์มาจัดแสดงให้ชมกัน ด้วยเหตุที่อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ได้รับการยกย่องเป็นครูใหญ่ในวงการศิลปะ และได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการสาธารณะ เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๖ นั้น อาทิตย์นี้จึงขอตามรอย ภูมิศิลปินอนุรักษ์ที่ภาพเขียนไทยที่มีผลงานอันเป็นคุณแก่ชาติ ด้วยอาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ เกิดในเดือนนี้คือวันที่๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๓ ที่จังหวัดธนบุรี หลังจากได้เรียนชั้นประถมศึกษาที่วัดสุทัศน์ และชั้นมัธยมที่โรงเรียนวัดราชบพิธ และโรงเรียนวัดเบญจมบพิตรตามลำดับแล้ว จึงเข้าทำงานที่วิทยาลัยช่างศิลป์ กรมศิลปากร และพ.ศ. ๒๔๘๓ ได้เดินทางไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยวิศวะภารติ ประเทศอินเดีย กลับมาจึงเข้ารับราชการเป็นอาจารย์สอนศิลปะรุ่นแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร
๑

๒

๓
๔

ภาพคัดลอกจิตรกรรมภายในเจดีย์ วัดเจ็ดแถว จ.สุโขทัย เทคนิค Tempera on wood ค.ศ. ๑๙๕๒
๕

ภาพคัดลอกจิตรกรรมภายในเจดีย์ วัดเจ็ดแถว จ.สุโขทัย เทคนิค Tempera on wood ค.ศ. ๑๙๕๒
ด้รับทุนไปศึกษาต่อที่ประเทศอิตาลี เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ ตลอดเวลานั้นอาจารย์เฟื้อได้สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมจนได้รับการยกย่องเป็นศิลปินชั้นเยี่ยมสาขาจิตรกรรม ด้วยความสนใจในศิลปะไทยของอาจารย์เฟื้อ นั้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๗ อาจารย์ได้เดินทางไปเขียนภาพที่ จังหวัดเชียงใหม่ และ ลำพูน นอกจากงานสร้างสรรค์ศิลปกรรมแล้ว ยังได้รับมอบหมายจาก ศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี ให้ทำการสเก็ตภาพศิลปวัตถุ เพื่อนำมาใช้สอนนักศึกษาด้วย กล่าวได้ว่าเป็นครั้งแรกที่อาจารย์ได้ทำการศึกษาศิลปะของไทยอย่างเป็นระบบ ต่อมาเมื่อได้ไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอินเดีย ที่นั่น ได้มีการปฏิรูปศิลปะโดยที่โน้มน้าวจิตใจชาวอินเดีย มิให้ละทิ้งลักษณะประจำชาติ และใช้วิธีการส่งคนที่มีความรู้ความสามารถไปคัดลอกภาพเขียนที่มีคุณค่าตามแหล่งต่าง ๆ ของประเทศมาติดตั้งไว้ให้ศึกษากันอย่างใกล้ชิด ทำให้ท่านคิดได้ว่า นักศึกษาศิลปะของประเทศไทยศึกษาศิลปะของชาติต่าง ๆ มากมาย แต่ไม่เคยรู้จักของดีในประเทศตนเลย ควรที่จะได้ทำการศึกษาค้นคว้าศิลปะไทยอย่างจริงจัง เพื่อที่จะหาแนวทางสำหรับสร้างสรรค์งานจิตรกรรมขึ้นมาใหม่
๖

ภาพคัดลอกจิตรกรรมฝาผนังตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดพุทไธสวรรย์ จ.พระนครอยุธยา เทคนิค Tempera on wood ค.ศ. ๑๙๕๑
๗

ภาพคัดลอกจิตรกรรมฝาผนัง วัดพุทไธสวรรย์ จ.พระนครอยุธยา เทคนิค Tempera on wood ค.ศ. ๑๙๕๑
๘

ภาพพระพุทธบาทกลางน้ำ คัดลอกจากจิตรกรรมภายในตำหนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดพุทไธสวรรย์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เทคนิค Tempera on canvas ค.ศ. ๑๙๕๑
ด้วยเหตุที่ อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ เป็นผู้สนใจศึกษาศิลปะอย่างมุ่งมั่นและลึกซึ้ง จึงได้ค้นหาแนวทางสร้างสรรค์การแสดงออกทางด้านจิตรกรรมให้มีลักษณะเฉพาะตน จนสามารถถ่ายทอดสภาพแวดล้อม บรรยากาศ แสงเงา ประกอบกับความคิดคำนึงเรื่องสีสัน ที่เป็นลักษณะตามสายสกุลศิลปะยุโรป (อิตาลี)โดยการใช้ฝีแปรงที่ฉับพลัน ดังผลงานจิตรกรรมเช่น จิตรกรรมทิวทัศน์เมืองเวนิชที่อิตาลี ทิวทัศน์เมืองเชียงใหม่ ภาพเหมือนคุณยายของฉัน และภาพศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นต้น แม้ว่าอาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ จะเสียชีวิตไปแล้วเมื่อ วันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๖ ทุกคนก็ยังระลึกถึงอาจารย์และผลงานอันวิเศษ นับถืออาจารย์ว่าเป็นศิลปินที่ประเสริฐสุดแห่งยุคนฤมิตรกรรมเรียกว่ามีความเป็นเลิศเทียบได้จิตรกรเอกในนานาชาติ
๙

๑o

๑๑

คัดลอกจิตรกรรมจากพระอุโบสถ วัดใหญ่สุวรรณาราม จ.เพชรบุรี เทคนิค Tempera on wood ค.ศ. ๑๙๕๓
๑๒

คัดลอกจิตรกรรมจากพระอุโบสถ วัดใหญ่สุวรรณาราม จ.เพชรบุรี เทคนิค Tempera on wood ค.ศ. ๑๙๕๓
๑๓

คัดลอกจิตรกรรมจากพระอุโบสถ วัดใหญ่สุวรรณาราม จ.เพชรบุรี เทคนิค Tempera on wood ค.ศ. ๑๙๕๓
แต่ด้วยเหตุอาจารย์ยอมสละเอตทัคคะนั้น หันมาทำงานอนุรักษ์จิตรกรรมไทยในอดีตโดยทุ่มเทชีวิตและจิตใจให้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นการสืบสานกระแสธารทางวัฒนธรรมของสยามที่สำคัญยิ่ง ดังปรากฏจากงานอนุรักษ์ภาพเขียนในหอไตรวัดระฆังโฆษิตาราม ซึ่งเป็นนิเวศสถานเดิมของพระยาราชวรินทร์ บุคคลเจ้าของตำหนักนี้ต่อมาได้เป็นพระปฐมราชวงศ์จักรีคือ รัชกาลที่๑ นั่นเอง หากไม่มีเฟื้อ หริพิทักษ์แล้ว การอนุรักษ์อย่างสง่างามจะไม่ปรากฏได้เลยหอไตรแห่งนี้จึงเป็นจุดที่ทำให้ศิลปกรรมในที่อื่น ๆ ได้รับการอนุรักษ์ไว้ไม่ถูกทอดทิ้งให้เสื่อมโทรมไปดังนั้นงานอนุรักษ์ภาพเขียนไทยให้สมสมัยสืบไปนั้นจึงเป็นเกียรติยศของบ้านเมือง ที่ยังมีความงาม ควบคู่ไปกับความดี และความจริง ของสังคม
๑๔
๑๕
๑๖
๑๗

ความสนใจในศิลปะไทยของอาจารย์เฟื้อ เริ่มตั้งแต่ประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๗๗ เมื่อท่านได้เดินทางไปเขียนภาพที่ จังหวัดเชียงใหม่ และ ลำพูน ในครั้งนั้น นอกจากงานสร้างสรรค์ศิลปกรรมแล้ว ท่านยังได้รับมอบหมายจาก ศาสตราจารย์ ศิลป พีระศรี ให้ทำการสเก็ตภาพศิลปวัตถุ เพื่อนำมาใช้สอนนักศึกษาด้วย กล่าวได้ว่าเป็นครั้งแรกที่ท่านได้ทำการศึกษาศิลปะของไทยอย่างเป็นระบบ ต่อมาเมื่อท่านได้เดินทางไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอินเดีย ที่นั่น ได้มีการปฏิรูปศิลปะโดยที่โน้มน้าวจิตใจชาวอินเดีย มิให้ละทิ้งลักษณะประจำชาติ และใช้วิธีการส่งคนที่มีความรู้ความสามารถไปคัดลอกภาพเขียนที่มีคุณค่าตามแหล่งต่าง ๆ ของประเทศมาติดตั้งไว้ให้ศึกษากันอย่างใกล้ชิด ทำให้ท่านคิดได้ว่า นักศึกษาศิลปะของประเทศไทยศึกษาศิลปะของชาติต่าง ๆ มากมาย แต่ไม่เคยรู้จักของดีในประเทศตนเลย ควรที่จะได้ทำการศึกษาค้นคว้าศิลปะไทยอย่างจริงจัง เพื่อที่จะหาแนวทางสำหรับสร้างสรรค์งานจิตรกรรมขึ้นมาใหม่
๑๘

๑๙


ผลงานของอาจารย์เฟื้อ ภาพจาก เฟซบุคพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
๒o

๒๑

๒๒

๒๓

ผลงานการอนุรักษ์ของอาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ นั้นได้ทำการสำรวจโดยคัดลอกจิตรกรรมฝาผนังตามวัดสำคัญที่เป็นโบราณสถานเก็บไว้เป็นหลักฐานแห่งมรดกทางประวัติศาสตร์ศิลปะของชาติ ซึ่งมีผลงานซ่อมแซมภาพจิตรกรรมสำคัญในวัดทั่วประเทศไทยทั้งสิ้น ๒๓,๐๐๐ วัด ผลงานที่สำคัญก็คือการบูรณะปฏิสังขรณ์หอไตรปิฎก วัดระฆังโฆสิตาราม
อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ ได้กล่าวอย่างจับใจว่า ข้าพเจ้าทำศิลปะด้วยใจรัก เลื่อมใสและจริงใจ มิได้ทำไปเพราะอามิส ข้าพเจ้าทำศิลปะเพื่อศึกษาค้นคว้าหาความจริงในความงามอันเร้นลับอยู่ภายใต้สภาวะธรรมฯ ผลงานอันเกิดจากกำลังกาย กำลังความคิด และกำลังใจของข้าพเจ้า ขอน้อมอุทิศให้ท่านอาจารย์ทั้งหลายของข้าพเจ้า วรรคทองของศิลปินผู้เป็นครูใหญ่ผู้นี้ เป็นลักษณะการของคนทำงานศิลปเพื่อแผ่นดินโดยแท้ สมกับการเป็นภูมิศิลปินของแผ่นดินศิลปินรางวัลแมกไซไซ สมดังที่ศจ.ศิลป์ พีระศรี ได้ชื่นชมศิษย์ผู้นี้และรับรองว่าเป็นศิลปินที่มีฝีมือชั้นเยี่ยมของประเทศ
๒๔

ภาพจากบล็อก อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์
ข้อมูลจาก คอลัมน์ "ภูมิบ้้าน ภูมิเมือง" นสพ.แนวหน้า ๒๗ เม.ย. ๒๕๕๗ naewna.com

ให้ชมอีกนิทรรศการต่อเลยค่ะ เป็นศิลปะไทยเหมือนกัน ภาพไม่เยอะเท่าไหร่ อัพไว้ในบล็อกเดียวกันเลย ห้องข้าง ๆ กันจัดแสดงจิตรกรรมบนแผ่นไม้ ศาลาการเปรียญวัดรวกบางบำหรุ เป็นจิตรกรรมที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ และ ๔ ถึงลวดลายโดยมากจะเลือนไปเยอะ แต่ก็นับว่าเป็นบุญตาที่ได้เห็นจริง ๆ ค่ะ 
๒๕

๒๖

๒๗

๒๘

ชื่อภาพ : พุทธประวัติ ตอนทรงทอดพระเนตรเห็นเทวทูตทั้ง ๔ และทอดพระเนตรพระนางพิมพาและพระราหุล อายุสมัย : รัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ - รัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๔๑๑) เทคนิค : สีฝุ่นบนแผ่นไม้
๒๙

๓o

๓๑

๓๒

ชื่อภาพ : พุทธประวัติ ตอนเสด็จออกบิณฑบาตในกรุงกบิลพัสดุ์ อายุสมัย : รัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ - รัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๔๑๑) เทคนิค : สีฝุ่นบนแผ่นไม้
๓๓

ชื่อภาพ : พุทธประวัติ ตอนเสวยพระกระยาหารมื้อสุดท้าย ที่บ้านนายจุนนะ อายุสมัย : รัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ - รัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๔๑๑) เทคนิค : สีฝุ่นบนแผ่นไม้
๓๔

๓๕

๓๖

ชื่อภาพ : ลวดลายประดับ ลายดอกพุดตาน อายุสมัย : รัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ - รัชกาลที่ ๔ (พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๔๑๑) เทคนิค : สีฝุ่นบนแผ่นไม้
๓๗

๓๘

๓๙

ตบท้ายด้วยภาพที่เราวาดเอง เคยเอามาอวดตอนที่เล่นบล็อกใหม่ ๆ เห็นภาพคัดลอกของครูเฟื้อข้างล่างนี้แล้วนึกได้ เอามาอวดอีกรอบ ตอนนั้นวาดจากภาพที่ถ่ายเอกสารจากหนังสือ เป็นองค์ที่อยู่ซ้ายมือ ไม่ได้ลอกแบบออกมาเหมือนเป๊ะ วาดลายเสริมเองนิดหน่อยค่ะ


บล็อกนี้อยู่ในหมวดศิลปะจ้า
บีจีจากคุณยายกุ๊กไก่ กรอบจากคุณ lozocat และคุณ ebaemi
Free TextEditor
Create Date : 30 มิถุนายน 2557 |
Last Update : 30 มิถุนายน 2557 23:25:01 น. |
|
33 comments
|
Counter : 15757 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: haiku วันที่: 30 มิถุนายน 2557 เวลา:23:27:56 น. |
|
|
|
โดย: บูรพากรณ์ วันที่: 1 กรกฎาคม 2557 เวลา:9:06:13 น. |
|
|
|
โดย: tui/Laksi วันที่: 1 กรกฎาคม 2557 เวลา:16:15:35 น. |
|
|
|
โดย: lovereason วันที่: 1 กรกฎาคม 2557 เวลา:17:38:01 น. |
|
|
|
โดย: sawkitty วันที่: 1 กรกฎาคม 2557 เวลา:17:51:51 น. |
|
|
|
โดย: ฝากเธอ วันที่: 1 กรกฎาคม 2557 เวลา:21:06:30 น. |
|
|
|
โดย: เริงฤดีนะ วันที่: 1 กรกฎาคม 2557 เวลา:22:00:17 น. |
|
|
|
โดย: haiku วันที่: 1 กรกฎาคม 2557 เวลา:22:09:30 น. |
|
|
|
โดย: **mp5** วันที่: 1 กรกฎาคม 2557 เวลา:22:15:00 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 2 กรกฎาคม 2557 เวลา:6:16:06 น. |
|
|
|
โดย: mambymam วันที่: 2 กรกฎาคม 2557 เวลา:8:16:37 น. |
|
|
|
โดย: เนินน้ำ วันที่: 2 กรกฎาคม 2557 เวลา:14:51:05 น. |
|
|
|
โดย: เกศสุริยง วันที่: 2 กรกฎาคม 2557 เวลา:19:22:06 น. |
|
|
|
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 2 กรกฎาคม 2557 เวลา:23:29:40 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 3 กรกฎาคม 2557 เวลา:6:07:43 น. |
|
|
|
โดย: haiku วันที่: 3 กรกฎาคม 2557 เวลา:10:09:14 น. |
|
|
|
โดย: nulaw.m (คนบ้า(น)ป่า ) วันที่: 3 กรกฎาคม 2557 เวลา:19:35:26 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 3 กรกฎาคม 2557 เวลา:22:39:17 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 กรกฎาคม 2557 เวลา:6:47:49 น. |
|
|
|
โดย: ป้าคาล่า วันที่: 4 กรกฎาคม 2557 เวลา:8:02:08 น. |
|
|
|
โดย: nulaw.m (คนบ้า(น)ป่า ) วันที่: 4 กรกฎาคม 2557 เวลา:20:24:51 น. |
|
|
|
โดย: haiku วันที่: 5 กรกฎาคม 2557 เวลา:16:10:31 น. |
|
|
|
|
|
|
|