|
| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |
13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 |
20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 |
27 | 28 | 29 | 30 | 31 | |
|
|
|
|
|
|
|
พระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร

พระรูปจาก group.wunjun.com
 | |  | |
รำลึกสมเด็จพระสังฆราชาธิคุณ
ปลาบปลื้มใจในสมเด็จพระสังฆราช ปุณโยภาสครบร้อยพระชันษา วันที่สามตุลาคมที่ผ่านมา นับเป็นหนึ่งบุญญาพระนวมินทร์
เพราะพระองค์คือพระอภิบาล หนึ่งในปรากฏการณ์รัตนโกสินทร์ สองประมุขสุขประศาสน์ราชธานินทร์ สองพระปิ่นคุณธรรมความงามดี
หนึ่งพระองค์ทรงธรรมนำพุทธจักร ทั้งเทศไทยใจจงรักเป็นสักขี พุทธศาสนิกชนบนปฐพี ยกย่องเป็นปูชนียประมุข
แปดสิบหกปีทองครองบรรพชิต คือลิขิตแห่งพระธรรมเพื่อนำสุข นำปวงชนปลูกปัญญาหนีป่าทุกข์ ละเข็ญขุกจากมืดมิดอวิชชา
สีสิบหกปีนำพระธรรมทูต พร้อมพระสูตรเผยแผ่พุทธศาสนา สร้างวัดไทยสองร้อยแห่งทั่วโลกา สมฉายาพระ ผู้เจริญดี*
ด้วยเกียรติคุณ วิปัสสนาธุระ จึ่งเป็น พระญาณสังวร สมศักดิ์ศรี ทรงแตกฉานหลายภาษาบรรดามี พร้อมพาทีพระลิขิตวิจิตรจำนรรจ์
พระนิพนธ์มากมายหลายบรรณบรรพ หลากตำรับร้อยแก้วร้อยกรองสรรพ์ พระมรดกจักดำรงไว้วงวรรณ เป็นอนันต์อำนรรฆค่าคงคุณธรรม
แล้ววันที่ไม่ปรารถนาก็มาถึง โลกตะลึงเกินข่าวลือที่ร้อยร่ำ เป็นความจริงยิ่งกว่าร้อยทุกถ้อยคำ น้ำเนตรพรำเพราะเคว้งคว้างกลางดวงใจ
หลายหลากพระบารมีที่โปรดโลก นำวิโมกขวิถีที่แจ่มใส เป็นวิมุตติมรรคาปุณยาลัย ชนซึ้งในพระเมตตาพระบารมี
ทรงอุทิศพลีพระองค์ธำรงศาสน์ พระอภิบาลพระปิ่นราชจักรีศรี เลิศพระจริยวัตรสังฆบดี เสด็จที่พระนิพพานนิรันดร์เทอญ (* พระฉายาสุวฑฺฒโน)
เกล้ากระหม่อม คณะผู้บริหารและบุคลากรแนวหน้า ราตรี ประดับดาว ร้อยกรอง นสพ.แนวหน้า ๒๗ ตุลาคม ๒๕๕๖
| |  | |  |
ช่วงนี้เป็นช่วงเศร้าของประเทศที่ต้องสูญเสียองค์สมเด็จพระสังฆราช ดูข่าวเห็นคนไปมีประชาชนไปเคารพพระศพถวายความอาลัยที่ตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศน์กันมากมาย นสพ.กรุงเทพธุรกิจลงเรื่องราวเกี่ยวกับพระตำหนักนี้ มาทำความรู้จักตำหนักเพ็ชรให้มากขึ้นกันค่ะ
สงฺขารานํ ขยํ กตฺวา สนฺตคามึ นมามิหํ เกล้ากระหม่อมขอถวายอภิสัมมานสักการะ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ด้วยเศียรเกล้า ขอนอบน้อมนมัสการพระองค์ผู้ทรงดับสิ้นสังขาร บรรลุถึงธรรมอันสงบระงับ
บล็อกเกอร์ไฮกุ
  
      
บล็อกคุณปอนอาทิตย์นี้ค่ะ
หมู่บ้านหล่ายดอย
บล็อกเสพงานศิลป์ล่าสุด
เสพงานศิลป์ ๖๓


พระรูปวาดจาก กระทู้พันทิป
พระตำหนักเพ็ชร ประชุมบำเพ็ญพระราชกุศลถวาย เรื่อง : วลัญช์ สุภากร ภาพ : ฐานิส สุคโต
รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง 'ตำหนักเพ็ชร' ด้วยสถาปัตยกรรมคล้าย 'บ้านขนมปังขิง' ต้นแบบบ้านสไตล์วิคตอเรียนในประเทศอังกฤษ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิด 'ราชวรวิหาร' ฝ่ายธรรมยุต ตั้งอยู่ริมถนนบวรนิเวศและถนนพระสุเมรุ ในท้องที่แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ ๓ ทรงสร้างขึ้นใหม่ในรัชกาลนั้นด้วยศิลปะไทยผสมจีน ทรงผูกพัทธสีมาเป็นครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. ๒๓๗๒ และเคยเป็นที่ปลงศพ เจ้าจอมมารดา(น้อย) เจ้าจอมของพระองค์เจ้าดาราวดี พระราชชายา ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๖๗-๒๓๗๕ (ปีระหว่างอุปราชาภิเษกและสวรรคตของสมเด็จพระบวรราชเจ้าพระองค์นั้น)

เดิมชื่อ 'วัดใหม่' ตั้งอยู่ใกล้กับ 'วัดรังษีสุทธาวาส' น่าจะได้รับพระราชทานชื่อวัดบวรนิเวศวิหารเมื่อ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงอาราธนา สมเด็จพระอนุราชาธิราส เจ้าฟ้ามงกุฎฯ ซึ่งทรงผนวชเป็นพระภิกษุประทับอยู่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาสในปัจจุบัน) เสด็จมาอยู่ครองเมื่อพ.ศ. ๒๓๗๙

พระตำหนักเพ็ชร
ในระหว่างที่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชอยู่ ทรงปรับปรุงวางหลักเกณฑ์ความประพฤติ ปฏิบัติของพระสงฆ์ให้เป็นไปโดยถูกต้องตามพระธรรมวินัย โดยมีพระสงฆ์ประพฤติปฏิบัติตามอย่างพระองค์เป็นอันมาก ในคราวที่พระองค์เสด็จมาครองวัด ก็ได้นำเอาการประพฤติปฏิบัตินั้นมาใช้ในการปกครองพระสงฆ์ ณ วัดนี้ด้วย เดิมเรียกพระสงฆ์คณะนี้ว่า 'บวรนิเวศาทิคณะ' อันเป็นชื่อสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร ต่อมาจึงได้ชื่อว่า 'คณะธรรมยุติกนิกาย' แปลว่าคณะสงฆ์ผู้ซึ่งปฏิบัติตามพระธรรมวินัย
จึงถือว่าวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นสำนักเอกเทศแห่งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายเป็นวัดแรก

สันหลังคาประดับด้วยปูนปั้นลายกระจัง
ต่อมาภายหลัง พระบาทสมเด็จมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่า 'วัดรังษีสุทธาวาส' ร่วงโรยมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวมกับวัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อพ.ศ. ๒๔๕๘ ปัจจุบันยังคงเรียกส่วนที่เป็นวัดรังษีสุทธาวาสมาเดิมว่า 'คณะรังษี' และทรงโปรดให้สร้างพระตำหนักเพิ่มเติม รวมเรียก 'คณะตำหนัก' หนึ่งในนั้นคือ ตำหนักเพ็ชร เป็นพระตำหนักเก่าแก่ และมีความสำคัญ

ตำหนักคอยท่า ปราโมช
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง ตำหนักเพ็ชร ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ถวายเป็นที่ทรงงานและท้องพระโรงแด่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส หรือสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑o แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๔ โดยมีการฉลองพระตำหนักแห่งนี้เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๕๗

ลวดลายเหนือบานประตู
ลักษณะสถาปัตยกรรม 'พระตำหนักเพ็ชร' มีดังนี้ - เป็นเรือนคอนกรีตชั้นเดียว - หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ - สันหลังคาประดับด้วยปูนปั้นลายกระจัง - หน้าบันประดับด้วยลายมหามงกุฎและวัชระ ล้อมรอบด้วยลายเครือเถา ด้านล่างลงมาเป็นชื่อตำหนัก - ซุ้มประตูหน้าต่างทำด้วยไม้ - คันทวยเป็นลายดอกไม้ - ฐานแต่ละช่องประดับด้วยซุ้มดอกไม้ปูนปั้น - เสาย่อเก็จประดับบัวหัวเสา - พื้นปูด้วยหินอ่อน

ระเบียงพระตำหนักเพ็ชร
ปัจจุบัน พระตำหนักเพ็ชรใช้เป็นสถานที่ประชุมกรรมการมหาเถรสมาคม ภายในห้องพระโรงเป็นที่ประดิษฐาน พระบรมรูปหล่อรัชกาลที่ ๔ ปั้นขึ้นมาเป็นต้นแบบขนาดเท่าพระองค์จริงเป็นองค์แรก ทำด้วยปูนปลาสเตอร์ ฝีมือช่างไทยสมัยรัชกาลที่ ๔ และได้กลายเป็นต้นแบบของพระบรมรูปหล่อต่าง ๆ ในเวลาต่อมา
นอกจากนี้ยังประดิษฐานพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระรูปสีน้ำมัน สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, ตู้พัดยศ พัดรอง ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงจัดด้วยพระองค์เอง

ตลอดจนเครื่องใช้ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ก่อน ๆ เช่น กลักใส่เครื่องใช้ประจำพระองค์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์, กล่องงาแกะสลักรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ด้านบนแกะสลักเป็นรูปพญานาคพ่นน้ำ ล้อมรอบพระราชลัญจกร ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้านข้างแกะเป็นรูปพญานาคพ่นน้ำขดกลับกันน ๒ ตัว เป็นอาทิ
พระตำหนักเพ็ชร ตั้งอยู่ทางขวามือเมื่อเข้าจากทางหน้าวัด เดิมเคยเป็นที่ตั้ง 'โรงพิมพ์' ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อครั้งทรงครองวัดนี้ สำหรับพิมพ์บทสวดมนต์และหนังสือพุทธศาสนาอื่นๆ แทนหนังสือใบลาน โดยใช้ตัวพิมพ์เป็นอักษรอริยกะที่ทรงประดิษฐ์ขึ้นใหม่


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระโกศกุดั่นใหญ่ ทำด้วยไม้แกะสลักลวยลายทรงแปดเหลี่ยม ฝายอดทรงมณฑป ปิดทองล่องชาด ประดับกระจกสี (สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑) พร้อมฉัตร ๓ ชั้น เครื่องประกอบเกียรติยศ ถวายเป็นพระเกียรติยศสูงสุดแด่ สมเด็จพระสังฆราช อัญเชิญไว้ภายในท้องพระโรงพระตำหนักเพ็ชร
หลังจาก 'สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ' สิ้นพระชนม์แล้ว พระตำหนักเพ็ชรเป็นที่ตั้งพระศพ ที่ประชุมบำเพ็ญพระราชกุศลถวาย
เช่นเดียวกับในยามนี้ หลังจาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สิ้นพระชนม์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ เวลา ๑๙.๓o น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานพระศพสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ไว้ ณ พระตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร และถวายเกียรติตามราชประเพณีทุกประการ ทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทด้วยความเศร้าสลดพระราชหฤทัยอย่างยิ่ง จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไว้ทุกข์ในพระราชสำนักจาก ๑๕ วัน เป็น ๓o วัน นับตั้งแต่วันศุกร์ที่ ๒๕ ตุลาคม ๒๕๕๖ ถึงวันเสาร์ที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๖

ภาพจาก กระทู้พันทิป
ภาพและข้อมูลจาก นสพ.กรุงเทพวันอาทิตย์ ๒๗ ต.ค. ๒๕๕๖ naewna.com banmuang.co.th manager.co.th bangkokbiznews.com
บล็อกนี้อยู่ในหมวดศิลปะค่ะ
บีจีจากคุณเนยสีฟ้า ไลน์จากคุณญามี่กรอบจากคุณ ebaemi
Free TextEditor
Create Date : 31 ตุลาคม 2556 |
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2556 16:29:32 น. |
|
32 comments
|
Counter : 7098 Pageviews. |
 |
|
|
โดย: haiku วันที่: 31 ตุลาคม 2556 เวลา:9:56:06 น. |
|
|
|
โดย: sawkitty วันที่: 31 ตุลาคม 2556 เวลา:15:36:04 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 31 ตุลาคม 2556 เวลา:22:33:37 น. |
|
|
|
โดย: diamondsky วันที่: 1 พฤศจิกายน 2556 เวลา:0:47:58 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 1 พฤศจิกายน 2556 เวลา:6:53:19 น. |
|
|
|
โดย: nulaw.m (คนบ้า(น)ป่า ) วันที่: 1 พฤศจิกายน 2556 เวลา:11:31:20 น. |
|
|
|
โดย: เกศสุริยง วันที่: 1 พฤศจิกายน 2556 เวลา:15:00:24 น. |
|
|
|
โดย: tui/Laksi วันที่: 1 พฤศจิกายน 2556 เวลา:17:53:27 น. |
|
|
|
โดย: เกศสุริยง วันที่: 1 พฤศจิกายน 2556 เวลา:17:55:16 น. |
|
|
|
โดย: schnuggy วันที่: 2 พฤศจิกายน 2556 เวลา:1:41:50 น. |
|
|
|
โดย: haiku วันที่: 2 พฤศจิกายน 2556 เวลา:9:19:57 น. |
|
|
|
โดย: tui/Laksi วันที่: 2 พฤศจิกายน 2556 เวลา:10:31:00 น. |
|
|
|
โดย: ป้าคาล่า วันที่: 3 พฤศจิกายน 2556 เวลา:10:19:17 น. |
|
|
|
โดย: sawkitty วันที่: 3 พฤศจิกายน 2556 เวลา:16:45:40 น. |
|
|
|
โดย: **mp5** วันที่: 3 พฤศจิกายน 2556 เวลา:19:04:58 น. |
|
|
|
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 พฤศจิกายน 2556 เวลา:6:31:25 น. |
|
|
|
โดย: พรหมญาณี วันที่: 4 พฤศจิกายน 2556 เวลา:11:05:48 น. |
|
|
|
โดย: เกศสุริยง วันที่: 4 พฤศจิกายน 2556 เวลา:21:28:30 น. |
|
|
|
โดย: haiku วันที่: 4 พฤศจิกายน 2556 เวลา:21:53:14 น. |
|
|
|
โดย: อุ้มสี วันที่: 5 พฤศจิกายน 2556 เวลา:10:12:00 น. |
|
|
|
|
|
|
|
ขออำภัยที่หายศีรษะอีกแล้ว