1 2 3 4 5 6 7
8 9 10 11 12 13 14
15 16 17 18 19 20 21
22 23 24 25 26 27 28
29 30
พิพิธภัณฑ์ครูศิลป์ พีระศรี
คอราโด เฟโรชี สุภาพบุรุษจากฟลอเรนซ์ Santa Lucia วันครูศิลป์ปีนี้ (๑๕ ก.ย.) อัพบล็อก วันศิลป์ พีระศรี ๒๕๕๖ บอกข่าวเพื่อน ๆ แล้วก็ตั้งใจจะไปด้วย โชคดีปีนี้งานตรงกับวันอาทิตย์ แล้วพอดีช่วงบ่ายจะไปดูคอนเสิร์ตที่หอประชุมมธ. กะว่าจะไปตั้งแต่เช้า แต่ดันติดธุระ กว่าจะแวะไปได้ก็บ่ายกว่าแล้ว คอนเสิร์ตเริ่มตอนบ่ายสอง มีเวลาเดินชมไม่นานนัก ในพิพิธภัณฑ์มีงานศิลปะชองทั้งครูศิลป์และศิลปินชั้นครูจัดแสดงมากมาย ไม่มีเวลาเลยเก็บภาพมาพอคร่าว ๆ (ขนาดคร่าว ๆ ภาพก็ยังเยอะ แฮะ แฮะ ) มีแต่รูปอย่างเดียวก็กระไรอยู่ ไปค้นข้อมูลในเวบ ถูกใจข้อเขียนของคุณ Asawin ในเวบ walkwaywhy.com แฮ้บมาลงทั้งกระบิเลย ขอขอบคุณไว้ตรงนี้ด้วยค่ะ บล็อกคุณปอนที่อัพล่าสุดโมโจกู ในวงแขนของแม่วงก์ อัพเดทงานนิทรรศการศิลปวัฒนธรรมได้ที่นี่ค่ะเสพงานศิลป์ ๕๗ ภาพจาก tongsu-tuping.blogspot.com พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ "ศิลป์ พีระศรี" อนุสรณ์ อาคารชั้นเดียวทรงทึบขนาดย่อม ที่อยู่ภายในกรมศิลปากร คงไม่เด่นสะดุดตาผู้คนมากนัก แต่ใครเล่าจะรู้บ้างว่าอาคารโบราณหลังนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นแห่งประวัติศาสตร์วงการศิลปะของสยามประเทศเลยทีเดียว ย้อนหลังกลับไป เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๖๖ หรือกว่า ๙o ปีที่แล้ว ชายหนุ่มอิตาเลียนผู้มีแววตามุ่งมั่น เต็มเปี่ยมด้วยพลังกายและพลังใจนามว่า คอราโด เฟโรชี ได้เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลมาสู่ประเทศไทยในฐานะข้าราชการช่างปั้น ก่อนจะอุทิศตนตลอด ๓๙ ปีบนแผ่นดินสยามประเทศนี้ในการถ่ายทอดวิชาความรู้ทางด้านศาสตร์ศิลป์ต่าง ๆ ให้กับวงการศิลปะไทย รวมไปถึงการวางรากฐานการศึกษาศิลปะอย่างมีแบบแผนให้แก่นักเรียนไทย จนทำให้ ศิลปินไทย" ผู้มีฝีมือมากมายถือกำเนิดขึ้นในช่วงเวลาต่อมาเต้นท์ด้านหน้าให้ลงทะเบียนเข้าชมงาน มีการ์ดและของที่ระลึกวางขาย เขาแจกดอกกุหลาบไหว้ครูด้วย แต่เดิม อาคารชั้นเดียวขนาดย่อมหลังนี้ ถูกใช้เป็น ห้องช่างปั้น ซึ่งเป็นห้องทำงานเพียงห้องเดียวตลอดชีวิตการทำงานในเมืองไทยของศิลปินชาวอิตาเลียนผู้นี้ และในเวลาต่อมา อาคารหลังนี้ ก็ยังได้ใช้เป็นสถานที่เรียนรู้งานของเหล่าลูกมือ หรือ บรรดาลูกศิษย์ของอาจารย์ฝรั่ง คอราโด เฟโรชี จนในที่สุด เมื่อชีวิตท่านได้ล่วงลับไป อาคารหลังนี้จึงได้ถูกยกระดับขึ้นมาเป็น พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานรำลึกถึงคุณงามความดีของท่านที่มีต่อวงการศิลปะของไทยพิพิธภัณฑ์แห่งความทรงจำ แด่ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี (๒๔๗๕-๒๕o๔) ผู้วางรากฐานศิลปสมัยใหม่ในประเทศไทย เปิด : วันจันทร์-ศุกร์ ๙.oo น.-๑๖.oo น. หยุดวันจันทร์-วันอาทิตย์ ก่อนเข้าไปชมด้านใน ให้ชมภาพห้องทำงานในวันธรรมดาก่อน ได้ภาพมาจากเวบ manager.co.th และสูจิบัตรงานนิทรรศการ ช่วงพ.ศ. ๒๔๗๖ โครงการโรงเรียนศิลปะได้ก่อตั้งขึ้นในบริเวณของกรมศิลปากร ซึ่งอาคารหลังนี้เองได้ถูกใช้เป็นห้องเรียนห้องแรกของกลุ่มเด็กหนุ่มผู้รักในงานศิลปะ ก่อนที่โรงเรียนประณีตศิลปกรรมจะได้ก่อตั้งขึ้นในปีต่อมา โดยมีอาจารย์ฝรั่ง คอราโด เฟโรชี เป็นผู้รับผิดชอบการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ซึ่งห้องเรียนในยุคแรก ๆ ก็ยังคงต้องใช้อาคารหลังนี้อยู่ จากนั้น มหาวิทยาลัยศิลปากร อันเป็นสถาบันศิลปะระดับอุดมศึกษาแห่งแรกในประเทศไทยก็ได้ถือกำเนิดขึ้นในพ.ศ. ๒๔๘๖ หลังจากคณะรัฐมนตรีสมัย ฯพณฯ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เล็งเห็นถึงการทุ่มเทและทำงานอย่างหนักของ โปรเฟสเซอร์คอราโด เฟโรชี ในการถ่ายทอดวิชาความรู้เพื่อสร้างบุคลากรทางศิลปะให้แก่ประเทศไทย ทว่า ช่วงเวลานั้นเป็นเวลาเดียวกับที่สงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้ลุกลามไปทั่วโลก ทำให้ท่านซึ่งเป็นชาวอิตาเลียนได้รับผลกระทบมาด้วย กล่าวคือ หลังจากที่อิตาลีได้ประกาศยอมแพ้แก่ฝ่ายพันธมิตร จึงส่งผลให้ชาวอิตาเลียนในเมืองไทยถูกญี่ปุ่นประกาศจับเป็นเชลยทั้งหมด ดังนั้น กรมศิลปากรจึงได้โอนสัญชาติของท่านมาเป็นไทย และเปลี่ยนชื่อเป็น ศิลป์ พีระศรี นับแต่ปี ๒๔๘๗ เป็นต้นมา เพื่อปกป้องท่านจากการถูกคุมตัวไปเป็นเชลยด้านนึงมีตู้โชว์จัดแสดงข้าวของเครื่องใช้ของครูศิลป์ แบบร่างจิตรกรรมในอุโบสถพุทธรัตนสถานพระบรมมหาราชวัง (๒๕o๓) เทคนิค : สีน้ำบนกระดาษ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ยังคงทุ่มเทแรงกายแรงใจในการถ่ายทอดความรู้ในการศาสตร์ศิลป์ทั้งหมดทั้งปวงให้แก่ลูกศิษย์ กาลเวลาผ่านไปรุ่นแล้วรุ่นเล่า แม้จะเกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจตามมาหลังจากสงครามโลก แต่ท่านก็มิได้ย่อท้อ และแม้ท่านจะได้รับทางเลือกพร้อมรายได้อย่างน่าพอใจจากอิตาลี อันจะทำให้ท่านสามารถใช้ชีวิตบั้นปลายกับครอบครัวได้ แต่ท่านก็เลือกที่จะอยู่เมืองไทยเพื่อสานต่องานศิลปะที่ท่านได้วางรากฐานไว้แต่แรกให้สืบต่อไป ครูศิลป์ในห้องทำงาน เดินเข้าไปอีกห้องนึง เป็นห้องทำงานของครูศิลป์ จัดแสดงของใช้ของครูและให้วางดอกไม้บูชาครู ตลอด ๓๙ ปี บนแผ่นดินสยาม ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้อุทิศทุกสิ่งทุกอย่างให้กับวงการศิลปะของไทย จนกระทั่งวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕o๕ ท่านเข้ารับการผ่าตัดโรคมะเร็งในลำไส้ และสองทุ่มของคืนวันนั้นเอง ท่านก็ลาจากวงการศิลปะของไทยและมหาวิทยาลัยศิลปากรที่ท่านสร้างมากับมือไปอย่างนิรันดร์เครื่องพิมพ์ดีดอักษรอังกฤษ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี จัดโต๊ะทำงานเหมือนเมื่อครั้งครูศิลป์ยังมีชีวิตอยู่ "จดหมายถึงคุณมาลินี" (Personal Letter to Madam Malini) จดหมายฉบับสุดท้ายซึ่ง ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เขียนถึง คุณมาลินี (ภรรยา) ๘ พ.ค. ๒๕o๕ ก่อนถึงแก่กรรม ๑๔ พ.ค.๒๕o๕ อุปกรณ์เครื่องเขียนและโต๊ะทำงาน ภายในอาคารเล็ก ๆ หลังนี้ ได้แบ่งออกเป็น ๒ ห้องด้วยบังตาไม้ ห้องแรกได้รับการจัดวางประติมากรรมต่าง ๆ อันเป็นผลงานการปั้นของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี รวมถึง ผลงานอันมีชื่อเสียงของบรรดาลูกศิษย์ของท่าน อาทิ ผลงาน เสียงขลุ่ยทิพย์ โดย เขียน ยิ้มศิริ , ต้นไม้แห่งชีวิต โดย อนิก สมบูรณ์ และ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี โดยสนั่น ศิลากร เป็นต้น นอกจากนี้ ก็ยังมีเครื่องเขียนและเครื่องใช้ รวมถึงเครื่องแต่งกายของ ศาสตราจารย์ศิลป์ เมื่อครั้งยังมีชีวิตมาจัดแสดงด้วย ไม่ว่าจะเป็นหลอดสี ทีแปรง รวมถึงจานสีที่ยังหลงเหลือร่องรอยของสีที่แห้งกรังติดก้นจาน ล้วนแล้วแต่ชวนให้ผู้พบเห็นรู้สึกถึงกลิ่นสีและกาวแป้ง หรือแม้แต่ แว่นกรอบดำหนาเตอะ ที่สะท้อนบุคลิกของความมุ่งมั่น ทุ่มเทของผู้สวมใส่ได้เป็นอย่างดี เมื่อเดินผ่านบังตาไม้เข้าสู่ภายในอีกห้องหนึ่ง จะพบตู้หนังสือที่รวบรวมตำราศิลปะต่าง ๆ และโต๊ะทำงานของท่านที่จัดวางอุปกรณ์การเรียนการสอนอย่างมีระเบียบ ในขณะที่พื้นที่กลางห้องเป็นโต๊ะขนาดยาว จัดแสดง พิมพ์ดีดโบราณ ซึ่งครั้งหนึ่งได้รับใช้ ศาสตราจารย์ศิลป์ เมื่อครั้งยังมีชีวิต รวมถึงเครื่องเล่นแผ่นเสียงที่ท่านได้เคยเปิดฟังเป็นนิจ กาลเวลาเลยล่วง ชีวิตผู้คนล้มหายตายจากก็มาก หากสิ่งที่ยังคงยืนยงตลอดมา คือ ผลงานและคุณงามความดี เฉกเช่นสิ่งที่ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้สร้างไว้ให้กับวงการศิลปะของประเทศไทย พร้อมกับประโยคคุ้นหูที่ว่า ARS LONGA VITA BREVIS : ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น ซึ่งก็จริงตามที่ท่านกล่าวไว้ เพราะแม้ว่า ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี จะจากโลกนี้ไปนานแล้ว แต่ผลงานและคุณูปการของท่านที่มอบให้แก่วงการศิลปะของไทยยังคงยืนยาวมาจนถึงปัจจุบัน(ซ้าย) "มาลินี พีระศรี" (๒๕๓๘) ศิลปิน ศิลป์ พีระศรี เทคนิค สำริด หล่อจากต้นแบบปลาสเตอร์ ขนาดสูง ๓๘ ซ.ม. (ขวา)"ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี" (๒๕o๙) ศิลปิน สนั่น ศิลากรณ์ เทคนืค สำริด ขนาดสูง ๔๕ ซ.ม. "คิด" ศิลปิน ชลูด นิ่มเสมอ เทคนิค หล่อปูนปลาสเตอร์ "ความบริสุทธิ์แห่งธรรมชาติ" ศิลปิน ชลูด นิ่มเสมอ เทคนิค ไม้แกะสลัก รางวัลเหรียญเงินการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๔๙๙ ถึงตรงนี้ เมื่อได้เห็นเครื่องพิมพ์ดีดของท่านที่ยังใส่กระดาษค้างไว้อยู่ ก็ชวนให้นึกถึงคำพูดอมตะที่ท่านได้พร่ำสอนเสมอ ว่าอย่าได้คั่งค้างสิ่งใดไว้ เพราะ ...พรุ่งนี้ก็สายไปเสียแล้ว แม้ผมจะใช้เวลาภายในอนุสรณ์สถานแห่งนี้เพียง ๒o นาที แต่สิ่งที่ได้กลับมาจากการซึมซับและระลึกถึงความเป็น ศิลป์ พีระศรี ก็ทำให้ผมรู้สึกประทับใจในตัวของท่านเป็นอย่างมาก จะมีชาวต่างชาติสักกี่คนกันเชียวที่เข้ามามีบทบาทและสร้างรากฐานความเจริญในด้านใดด้านหนึ่งให้กับประเทศไทยเช่นนี้ดีใจจริง ๆ ที่ผมได้มารำลึกถึงท่านแล้ว ณ อนุสรณ์สถานแห่งนี้ ก่อนที่...วันพรุ่งนี้จะสายเกินไป บทกลอนที่ท่านอังคารเขียนไว้อาลัยครูศิลป์ ลายมือสวยมาก ๆ ข้อมูลจากเวบ walkwaywhy.com บล็อกนี้อยู่ในหมวดศิลปะค่ะ บีจีและไลน์จากคุณญามี่ Free TextEditor
Create Date : 30 กันยายน 2556
Last Update : 1 ตุลาคม 2556 8:23:41 น.
33 comments
Counter : 13815 Pageviews.
โดย: haiku วันที่: 30 กันยายน 2556 เวลา:23:59:33 น.
โดย: เกศสุริยง วันที่: 1 ตุลาคม 2556 เวลา:10:55:49 น.
โดย: pantawan วันที่: 1 ตุลาคม 2556 เวลา:13:19:12 น.
โดย: ข้ามขอบฟ้า วันที่: 1 ตุลาคม 2556 เวลา:18:39:27 น.
โดย: **mp5** วันที่: 1 ตุลาคม 2556 เวลา:22:19:59 น.
โดย: อุ้มสี วันที่: 1 ตุลาคม 2556 เวลา:22:44:03 น.
โดย: haiku วันที่: 1 ตุลาคม 2556 เวลา:23:02:33 น.
โดย: diamondsky วันที่: 2 ตุลาคม 2556 เวลา:4:35:42 น.
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 2 ตุลาคม 2556 เวลา:6:30:35 น.
โดย: ถปรร วันที่: 2 ตุลาคม 2556 เวลา:8:10:04 น.
โดย: พรหมญาณี วันที่: 2 ตุลาคม 2556 เวลา:9:40:03 น.
โดย: ป้าคาล่า วันที่: 2 ตุลาคม 2556 เวลา:10:12:55 น.
โดย: pantawan วันที่: 2 ตุลาคม 2556 เวลา:19:16:54 น.
โดย: เกศสุริยง วันที่: 2 ตุลาคม 2556 เวลา:19:56:52 น.
โดย: ชีริว วันที่: 2 ตุลาคม 2556 เวลา:21:39:37 น.
โดย: nulaw.m (คนบ้า(น)ป่า ) วันที่: 2 ตุลาคม 2556 เวลา:22:21:06 น.
โดย: เป็ดสวรรค์ วันที่: 3 ตุลาคม 2556 เวลา:0:43:19 น.
โดย: haiku วันที่: 3 ตุลาคม 2556 เวลา:22:35:52 น.
โดย: nulaw.m (คนบ้า(น)ป่า ) วันที่: 3 ตุลาคม 2556 เวลา:22:57:13 น.
โดย: คุณต่อ (toor36 ) วันที่: 3 ตุลาคม 2556 เวลา:23:38:05 น.
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 ตุลาคม 2556 เวลา:6:31:05 น.
โดย: ป้าคาล่า วันที่: 4 ตุลาคม 2556 เวลา:9:23:11 น.
โดย: sawkitty วันที่: 4 ตุลาคม 2556 เวลา:15:15:03 น.
โดย: tui/Laksi วันที่: 4 ตุลาคม 2556 เวลา:20:26:15 น.
โดย: haiku วันที่: 5 ตุลาคม 2556 เวลา:0:14:24 น.
โดย: nuboonme วันที่: 7 ตุลาคม 2556 เวลา:15:37:21 น.