1 2 3
4 5 6 7 8 9 10
11 12 13 14 15 16 17
18 19 20 21 22 23 24
25 26 27 28 29 30 31
อุกฤษณ์ ทองระอา
ปกหนังสือ "กินรี" ฉบับเดือน ธ.ค. ๒๕๓๙ ในหลวง VIDEO เดือนก่อนจัดห้อง รื้อกองหนังสือแล้วเจอหลายเล่มที่ถูกใจ เก็บไว้นานจนลืม เล่มที่เอามาอัพบล็อกนี้เป็นหนึ่งในนั้น ชื่อหนังสือ "กินรี" ของการบินไทย ได้มาตั้งแต่ปี ๓๙ โน่นแน่ะ เห็นหน้าปกแล้วรีบเก็บเลยค่ะ เป็นพระบรมสาทิสลักษณ์ของในหลวง ฝีมือคุณอุกฤษณ์ ทองระอา ชอบลายเส้นและสไตล์การวาดของคุณอุกฤษณ์มากกกกก วาดได้งดงามและมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร โดยเฉพาะภาพคนที่วาดด้วยสีน้ำ โทนสีของภาพดูนุ่มนวลเนียนตาดีเหลือเกิน อย่างเช่น พระบรมสาทิสลักษณ์ที่หนังสือกินรีอัญเชิญมาลงในเล่ม พร้อมบทสัมภาษณ์คุณอุกฤษณ์ เนื้อหาค่อนข้างยาวหน่อยและเก่ามาก (ก็สัมภาษณ์มาเกือบยี่สิบปีแล้วนี่เนอะ ) นั่งจิ้มดีดอยู่เป็นนานสองนาน อยากให้สาวกคุณอุกฤษณ์ได้อ่านกันค่ะ เคยอัพเรื่องแกลลอรีของคุณอุกฤษณ์ลงในบล็อกเสพงานศิลป์ แฮ้บมาจากเวบผู้จัดการ แปะลิงค์ต้นฉบับให้ตามไปอ่านได้ที่นี่ค่ะ CROSS GALLERY OF ART ฐานที่มั่นของ ... อุกฤษณ์ ทองระอา บล็อกเพลงอาทิตย์นี้อัพเพลงเพราะ ๆ ของคุณชรินทร์ค่ะสาวนครชัยศรี บล็อกเสพงานศิลป์ล่าสุดเสพงานศิลป์ ๒๒๓ รัชกาลที่ ๕ ปกนิตยสาร HI-CLASS ความงามเป็นวิสัยของธรรมชาติ ผีเสื้อเห็นความงามของดอกไม้ คนเห็นความงามจากเรื่องราวของคน เมื่อใดก็ตามที่คนใช้ความคิดความอ่าน เข้าไปแตะต้องให้เป็นดีเห็นงามตามคิด สิ่งนั้นจะกลายเป็นศิลปะ เพราะศิลปะเกิดจากความคิด มิใช่เป็นไปตามวิสัยของธรรมชาติอุกฤษณ์ ทองระอา เด็กหนุ่มหน้าใสคนนี้ แม้ว่าระดับของความชัดเจนของผลานจะมิใช่ศิลปะบริสุทธิ์ (Pure Art) แต่งานศิลปะประยุกต์ (Applied Art) ของเขากลับได้รับการจับตามองจากผู้คนในแวดวงศิลปะ ว่าเป็นผู้ที่ก้าวเดินบนถนนสายนี้อย่างองอาจ เพียงเวลา ๕ ปี นับจากการเริ่มต้นเขียนภาพประกอบธรรมดา วันนี้ผลงานของเขาร่วม ๆ ๒oo ชิ้น ได้ชี้ให้เห็นว่าจุดเริ่มต้นของเขามีทิศทาง"ผมมุ่งมั่นที่จะทำจุดนี้ให้เป็นงานศิลปะระดับสากล ตั้งแต่่ผมเริ่มเขียนรูปจนถึงปัจจุบัน ผมเห็นข้อแตกต่างว่า ผมสามารถทำความเข้าใจในโลกของมืออาชีพได้ แต่ผมคิดว่านั่นไม่ใช่ข้อตัดสิน" สถาบันการดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย กราบบังคมทูลเชิญให้ทรงดำรงตำแหน่งสมาชิกกิตติมศักดิ์ และทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายประกาศนียบัตรสมาชิกกิตติมศักดิ์ ณ สถาบันการดนตรีและศิลปะแห่งกรุงเวียนนา อุกฤษ์ ทองระอา เป็นคนพูดน้อยคำ ไม่ชมชอบการเปิดตัวกับใคร นอกจากมีความสุขในฐานะนักเขียนภาพประกอบ เขาไม่ใส่ใจกับภาพพจน์ของศิลปิน แม้จะถูกมองว่าผลงานภาพประกอบ เป็นงานของช่างฝีมือเท่านั้น"คนที่ทำงานภาพประกอบต้องทำด้วยใจรัก ผมจึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการแบ่งแยก เพราะผมกำลังทำในสิ่งที่ผมรัก และผมมีความสุขของผม" บรรทัดฐานตายตัวของคนเขียนภาพประกอบคือเงื่อนไขของระยะเวลาที่เข้ามาเกี่ยวข้อง การทำอะไรหลาย ๆ อย่างตามใจคิดนั้นย่อมทำไม่ได้ แต่วิธีทำอย่างไรให้งานนั้นลุล่วงไปได้ ด้วยเงื่อนไขของเวลานั่นเป็นเรื่องที่น่าท้าทายพระบรมสาทิสลักษณ์ที่เคยเป็นปกนิตยสาร อุกฤษ์ ทองระอา เริ่มต้นจากการขอฝากตัวเป็นนักเขียนภาพประกอบคอลัมน์ โดยไม่สนใจค่าเรื่อง เริ่มจากการเขียนด้วยเส้นดินสอ แรเงาให้น้ำหนักและมิติของภาพ เขาไม่เคยเรียนศิลปะจากสถาบันสอนศิลปะระดับสูง ๆ แต่ความใฝ่ใจเก็บรายละเอียดของภาพ และจัดวางองค์ประกอบได้ลงตัว ทำให้เขาค่อย ๆ ขยับตัวเองขึ้นมาใช้สีน้ำเขียนภาพปกพ็อกเก็ตบุ๊ค เล่มแล้วเล่มเล่าจนกระทั่งมีผลงานมากมาย"ผมถามตัวเองแล้วว่าจะใช้ชีวิตเป็นอะไรกันแน่ ผมตอบว่าผมจะเป็นนักเขียนภาพประกอบ เขียนภาพเหมือน" เขายืนยันพระฉายาสาทิสลักษณ์ที่เคยเป็นปกนิตยสารกินรี อุกฤษณ์ ยังจับงานอีกหลายอย่าง ทั้งปกนิตยสาร ปฏิทิน โปสเตอร์หนัง รวมไปถึงภาพเหมือนของบุคคล ได้รับการชื่นชมจากนักเขียนว่าสามารถทำความเข้าใจเรื่อง หยิบเอาแก่นมาสร้างเป็นภาพปก จับบุคลิกตัวละครในนิยาย แปลงเป็นภาพประกอบ ทั้งหมดนี้เป็นตามโลกความคิดของเขา ผ่านการอ่าน ซึมซับรับรู้ งานนับ ๒oo ชิ้นของเขาไม่เคยแสดงที่ไหน แม้ว่าความพร้อมในการแสดงตัวงาน ดูเหมือนจะมีภาษีดีกว่าผู้คนที่เรียกตัวเองว่า ศิลปินทำงานศิลปะบริสุทธิ์ แต่ในที่สุดก็ยอมรับว่า ธุรกิจในเชิงศิลปะนั้นมีอยู่จริง'รงค์ วงษ์สวรรค์' ก่อนเป็นปกหนังสือ 'พูดกับบ้าน' ทำไม อุกฤษณ์ ทองระอา ถึงวางตัวเองเช่นนั้น นี่คือคำถามที่น่าสงสัย"ผมไม่ได้คิดถึงภาพของการแสดงงาน หรือภาพของการขึ้นไปยืนบนเวทีศิลปะระดับแนวหน้า แต่ผมเขียนรูปทุกวัน ผมไม่มีเวลาไปคิดถึงเรื่องอื่น อาจจะเป็นเพราะผมมีชีวิตไม่ลำบาก มีความสุขตามอัตภาพ แต่เมื่อมีการเขียนรูปก็ต้องมีการแสดงงานตามกระแส ที่ผมไม่ทำอย่างนั้นก็เพราะ ผมมีเวทีของผมอยู่แล้ว ร้านหนังสือเป็นเวทีแสดงงานของผม มีคนดูงานของผมทุกวัน ผมทำมาครบทุกอย่างแล้ว โดยที่ไม่ต้องไปเปิดตัวใด ๆ ค่าตอบแทนจากการทำงานก็ทำให้ผมมีชีวิตอยู่ได้...
ถามว่าจะมีการแสดงงานของผมไหม? มีแน่ ผมอยากให้คนเห็นรูปอีกขนาดหนึ่งที่ไม่ใช่การย่อส่วนแบบปกหนังสือ ซึ่งผลจากการพิมพ์ทำให้สีผิดไปจากความจริง กระดาษไม่ดี ผมอยากให้เห็นภาพ original เท่านั้นเอง แต่ยังไม่ถึงเวลา ผมยังมีงานอีกมากเหลือเกิน" สืบ นาคะเสถียร (สีน้ำมัน) อะไรคือความแตกต่างในความเหมือน? อุกฤษ์ ทองระอา เขียนภาพเหมือนจริงได้ดี อาจจะเป็นเพราะภาพโดยส่วนใหญ่ของเขามีภาพคนเป็นหลัก มีคนสนใจและติดต่อให้เขาเขียนภาพเหมือน แน่นอน ภาพที่ติดฝาผนังตามสถานที่ องค์กรต่าง ๆ จึงเป็นภาพเหมือนของบุคคล ใช้อะไรเป็นหลักเกณฑ์เลือกการเขียนภาพบุคคล?"ผมเลือกทำงานที่ไม่มีปัญญา ศิลปินแต่าละคนมีความถนัดหรือความต้องการที่จะทำงานแตกต่างกัน คนที่เลือกไม่ได้ส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่องการเงิน การต่อรองจึงเกิดขึ้น ผมผ่านจุดนั้นไปแล้ว ผมอยากจะเขียนให้กับทุกคน แต่ขอทำในลักษณะของผมเท่านั้น ทำแล้วจะต้องไม่มีการแก้ไข ผมฟังคอมเมนท์จากคนอื่นได้ แต่เมื่อตกลงกันก็จะไม่มีการแก้ ถ้าไม่เป็นไปตามเงื่อนไขก็ตัดออกไป ถ้าคิดอยู่ตลอดเวลาว่าทำให้เขาประทับใจหรือเปล่า ก็เท่ากับเราได้ลดความเป็นตัวเองออกไป เราจะแสดงออกทางฝีมือไม่เต็มที่ งานหลายชิ้นผมจึงต้องตัดออกไป" หลุยส์ ลามูส์ นักเขียนแนวคาวบอยตะวันตก การเก็บรายละเอียดในการเขียนรูป อุกฤษณ์ ทำให้ภาพมีชีวิต สีหน้า แววตา และอารมณ์ พลังอันอ่อนโยนและกล้าแกร่งจากปลายพู่กันจะส่งลงไป ผ่านสี น้ำหนักและหัวใจ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เขาคุ้นเคยกับสิ่งใดแล้ว ก็จะเกิดความผูกพันกับสิ่งนั้น และกลายเป็นความสัมพันธ์ที่ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่สามารถทำสิ่งอื่น ๆ ได้ดีไปกว่าสิ่งที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน นั่นก็คือการเขียนรูป"เวลาที่ผ่านมา ผมรู้ว่าผมมีชีวิตเพื่อสิ่งนี้เท่านั้น สิ่งที่ผมทำได้ดีที่สุดคือการเขียนรูป ผมมุ่งมั่นทุ่มเทลงไป และต้องคอยแก้ปัญหา ๓ ข้อ คือ ๑. ระยะเวลา ๑. สติปัญญาและความเข้าใจ ๓. ความเชี่ยวชาญและทักษะฝีมือ ผมหลอมสิ่งนี้เข้าด้วยกัน ผมแก้ปัญหาเรื่องเพนติ้งทุกวัน" อุกฤษ์ พอใจกับเวลา ๕ ปี นับจากจุดเริ่มต้นจนถึงวันนี้ เขาคิดถึงการทำงาน คิดถึงการใช้สี คอมโพสิชั่น ความสมดุล และความเป็นเอกภาพของรูป การขับขานในใจของเขา มองเห็นจิตรกรรมคลาสสิก เช่นภาพของ MICHEL ANGELO, LEONARDO DAVINCI, REMBRANTD, JAMES BAMA, ANDREW WYETH แม้ว่าศิลปินที่เขายึดเป็นแนวทางจะเป็น NORMAN ROCKWELL, TÜRNER และ DURER ก็ตามดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล ปกนิตยสาร ไรเตอร์ เขาหลงใหลในโทนสีคลาสสิค?"สีบอกเล่าตัวเองได้ดีที่สุด บอกเล่าความเป็นตัวตน มันจะค่อนข้างเปลี่ยนแปลงยาก ถ้าดาวินชีมีสีเดียวหรือดินสอแท่งเดียว ผมเชื่อว่าเขาสามารถทำอะไรที่นอกเหนือความคาดหมายได้ ไม่มีเหตุผลใดที่ผมต้องเปลี่ยนแปลงสี" ภาพเขียนถือเป็นมรดกทางปัญญา ผ่านการเรียนรู้ในพฤติกรรมมนุษย์ อุกฤษ์ ที่เป็นคนถ่อมตน พบปะผู้คนน้อยหรือเฉพาะในแวดวงจำกัด เขารักการดูหนัง อ่านหนังสือ ค้นหาโลเกชั่น ลักษณะเฉพาะของแต่ละคน เพื่อหามุมมองสำหรับการเล่นพื้นที่ในการเขียนรูปปกรวมเรื่องสั้น 'จับตาย' ของ มนัส จรรยง ใบปิดภาพยนตร์เรื่อง "ฉลุยหิน คนไข่สุดขอบโลก" แม้มิได้มีดีกรีทางด้านการศึกษา และไม่มีพรรคพวกในวงการศิลปินมากนัก อุกฤษ์ ขึ้นเวทีนี้โดยไม่มีอะไรเลย ขึ้นไปอย่างคนธรรมดาที่พอใจกับค่าตอบแทนน้อย ๆ หลายคนยอมรับฝีมือของเขา เพราะงานส่วนใหญ่เข้าไปผูกพันกับภูมิปัญญา ซึ่งแน่นอน มันเป็นงานอีกระดับที่น่าสนใจ"คนเขียนรูปบางคนอาจจะคิดว่ามันทำได้ยาก เพราะไปผูกพันกับการอ่าน โยงเข้ากับหนังสือ แต่ผมไม่ได้คิดแบบนั้น มันเป็นความคุ้นเคยของผมมากกว่า" ราคาของผลงาน คือราคาของความตั้งใจ และได้กลายเป็นราคาของฝีมือ นี่คือเส้นทางเดินของ อุกฤษณ์ ทองระอา ในวัย ๒๖ ปี อุกฤษณ์ และน้องชายอีกสองคนของเขาที่เป็นจิตกรเหมือนกัน อิฎฐสิทธิ์ และ อานิสงส์ ได้ร่วมกันสร้างอาณาจักรของพวกเขาขึ้นเมื่อปี ๒๕๔๕ ในพื้นที่ประมาณ ๓oo ตารางวา แบ่งส่วนสร้างบ้านเพื่ออยู่อาศัยของคนในครอบครัว และทำเป็นสตูดิโอสำหรับสร้างงาน มีแกลเลอรีที่ติดตั้งแสดงผลงานด้วย ชื่อว่า CROSS GALLERY OF ART สอบถามเส้นทางการเดินทางไปได้ที่ o-๔๖๙๕-๘๖๘๑ ส่วนหนึ่งของผลงานวาดภาพปก Writer จาก FB Writer Thailand พระบรมสาทิสลักษณ์ ภาพวาด และข้อมูลจาก หนังสือกินรี ฉบับเดือน ธ.ค. ๒๕๓๙manager.co.th บล็อกนี้อยู่ในหมวดศิลปะ บีจีจากคุณเนยสีฟ้า ไลน์จากคุณญามี่ กรอบจากคุณ ebaemiFree TextEditor
Create Date : 01 ตุลาคม 2558
Last Update : 1 ตุลาคม 2558 22:33:45 น.
24 comments
Counter : 20382 Pageviews.
โดย: ญามี่ วันที่: 2 ตุลาคม 2558 เวลา:4:46:32 น.
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 2 ตุลาคม 2558 เวลา:6:36:38 น.
โดย: เนินน้ำ วันที่: 2 ตุลาคม 2558 เวลา:10:25:48 น.
โดย: ดอยสะเก็ด วันที่: 2 ตุลาคม 2558 เวลา:23:02:49 น.
โดย: mambymam วันที่: 3 ตุลาคม 2558 เวลา:5:13:09 น.
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 3 ตุลาคม 2558 เวลา:6:55:46 น.
โดย: พรหมญาณี วันที่: 3 ตุลาคม 2558 เวลา:11:33:29 น.
โดย: sawkitty วันที่: 3 ตุลาคม 2558 เวลา:18:05:03 น.
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 3 ตุลาคม 2558 เวลา:23:55:27 น.
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 4 ตุลาคม 2558 เวลา:7:06:56 น.
โดย: พรไม้หอม วันที่: 4 ตุลาคม 2558 เวลา:10:36:58 น.
โดย: Tui Laksi วันที่: 5 ตุลาคม 2558 เวลา:10:47:11 น.
โดย: ภาวิดา (คนบ้านป่า ) วันที่: 5 ตุลาคม 2558 เวลา:21:13:53 น.
โดย: kae+aoe วันที่: 7 ตุลาคม 2558 เวลา:17:14:01 น.
โดย: Bally PR Hiso IP: 124.120.78.69 วันที่: 8 ตุลาคม 2558 เวลา:15:38:32 น.
โดย: ข้างหลังภาพ IP: 27.55.47.19 วันที่: 10 ธันวาคม 2558 เวลา:22:04:04 น.
โดย: Kung Kung IP: 49.237.233.134 วันที่: 2 พฤษภาคม 2559 เวลา:16:33:16 น.
โดย: ต้น IP: 101.108.150.20 วันที่: 25 มกราคม 2560 เวลา:12:20:58 น.
เก็บได้หลายคำค่ะคุณไฮกุ ชอบๆ
-- ธุรกิจในเชิงศิลปะ
-- ราคาของผลงาน คือราคาของความตั้งใจ
แต่ราคาของฝีมือนี่ไม่แน่ซะแล้วค่ะ คุณค่าอยู่ที่ผู้มองเห็น นิคคิดงั้นนะคะ